รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 21 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน Oswald ในอ่าว Carpentaria ของประเทศออสเตรเลีย อาจขึ้นฝั่งบนคาบสมุทรเคปยอร์คใน 12 ชม นี้
  • 10:00 พายุโซนร้อน 10P ในแปซิฟิคใต้ ทางเหนือของเกาะซามัว ได้รับชื่อเป็นทางการแล้วว่า แกรี Garry พายุนี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นไซโคลน ทิศทางการเคลื่อนที่จะผ่านทางตอนเหนือประเทศซามัวออกทะเลลึก
  • 08:15  ดาวหางแพนสตาร์หรือ C/2011L4 ขณะนี้อยู่ห่างโลก 1.93  AU ยังอยู่นอกวงโคจรของดาวอังคาร   ดาวหางนี้จะปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าในเดือนมีนาคมนี้
  • 08:10 ดาวหางไอซอน หรือ C/2012S1 ขณะนี้อยู่ห่างโลก 4.09 AU เลยวงโคจรของดาวพฤหัสเข้ามาเล็กน้อย  ดาวหางนี้จะปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าในเดือนพฤศจิกายนนี้
  • 06:30 กทม 24 จันทบุรี 19°C ชัยภูมิ  17°C ลำพูน 17°C ลำปาง 14°C เชียงใหม่ 16°C แพร่ 14°C น่าน 14°C
  • 06:09 ระดับน้ำที่คงเหลือในเขื่อนต่างๆเวลานี้โดยกรมชลฯ
    image
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • ดาวเคราะห์น้อย (2013 BT15) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 4.6 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 15 เมตร ความเร็ว 6.97 กม/วินาที

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 15 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 11:30 ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 533  km/sec สนามแม่เหล็กโลกยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ เริ่มปรากฏแสงออโรราที่ประเทศแถบเหนือ ภาพนี้ถ่ายจากสวีเดน เผยแพร่โดยนายปีเตอร์ โรเซน จากเมืองไครูนา
  • 07:30 ดวงอาทิตย์กลับสู่ความสงบ ไม่มีรอยโหว่บนบรรยากาศชั้นโคโรนา จุดดับทั้งหมดปะทุไม่เกินระดับ C
  • 05:30 พายุโซนร้อน Narelle และ Emang ต่างลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเหลือเพียง 35 น็อตทั้งคู่
    image
  • 00:13 ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 514  km/sec สนามแม่เหล็กโลกยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ 
  • พบ CME (Coronal Mass Ejection มวลพลาสมาร้อนจากบรรยากาศชั้นโคโรนา) หลุดออกจากดวงอาทิตย์ โดยมีอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่ที่ระดับช้ามาก ราว 371 km/s ทิศทางตรงมายังโลก จึงคาดว่าจะไม่เกิดผลกระทบเช่นพายุแม่เหล็กโลกหรือพายุรังสีใดๆ (จุดแดงในภาพคือยาน STEREO-A จุดน้ำเงินคือ STEREO-B จุดเขียวทางขวาของภาพคือโลก) ภาพด้านขวาคือขณะที่มีการเข้าชน ราววันที่ 17 มกราคมนี้ตามเวลาไทย
  • สหรัฐฯ – มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากน้ำท่วมฉับพลันทางตอนเหนือของมิสซูรี
  • เม็กซิโก – หน่วยงานด้านสัตวแพทย์รายงานการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ซีโรไทป์ H7N3 จำนวน 2 ครั้ง ในฟาร์มไก่ไข่ของรัฐ Aguascalientes  ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 โดยพบว่ามีสัตว์ปีกในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 284,755 ตัว ติดโรค 2,990 ตัว และตาย 740 ตัว ซึ่งสัตว์ปีกที่เหลือถูกนำไปทำลาย
  • ญี่ปุ่น – พายุหิมะพัดถล่มกรุงโตเกียวอย่างฉับพลันติดต่อกันเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา วัดปริมาณหิมะที่ท่วมพื้นได้สูง 7 เซนติเมตร ส่งผลให้ขณะนี้ มีรายงานนักท่องเที่ยวตกค้างอยู่ในสนามบินนาริตะ ใกล้กรุงโตเกียว มากกว่า 3,000 คน อีกทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศหลายสิบเที่ยวต้องยกเลิกการให้บริการแก่ผู้โดยสาร และต้องยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศถึง 862 เที่ยวบิน บ้านเรือนประชาชน 6,200 หลังไม่มีมไฟฟ้าใช้ ส่วนที่ จ.ยามานาชิ มีหิมะตกท่วมพื้นสูงถึง 40 เซนติเมตร  รวมแล้วมีผู้บาดเจ็บ 267 ราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 13 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:38 เกิดการปปะทุระดับ M1.7 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N17W22 บนดวงอาทิตย์ 
  • 12:30 PAGASA ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน  Bising แล้ว 
  • 12:15 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาปานกลาง ความเร็วลมสุริยะ 380 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 11:00 ภาพจากดาวเทียม Meteo-7 พายุไซโคลน Naraelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือ 80 น็อต กลายเป็นไซโคลนระดับ CAT1 
  • 07:45 เกิดการปปะทุระดับ M1.0 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N18W18 บนดวงอาทิตย์
  • 07:00 กทม 25°C หาดใหญ่  22°C กระบี่ 21°C อุดร 17°C ขอนแก่น 17°C พะเยา 14°C ตาก 16°C มกดาหาร 16°C นครพนม 15°C ลำพูน 12°C สกลนคร 15°C  ลำปาง 15°C อุบล 17°C แพร่ 15°C เชียงราย 13°C เชียงใหม่ 13°C แม่ฮ่องสอน 12°C
  • 07:00 ระบบของทางตะวันตก เช่น JTWC หรือ TSR ฯลฯ ยังไม่ยอมรับการเกิดขึ้นของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งล่าสุดอุตุนิยมฯของฟิลิปปินส์หรือ PAGASA รายงานว่าพายุเคลื่อนตัวออกห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ (ฟิลิปปินส์ เรียกพายุลูกนี้ว่า Bising)
  • [stextbox id=”info”]04:53 เวลานี้ วันนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ตามเวลาไทย) เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ประเทศเฮติ วัดได้  7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศเฮติ ไปราว 25 กิโลเมตร มีคนตายไป 250,000 คน บาดเจ็บ 300,000 บ้านเรือน 250,000 หลัง และอาคารพาณิชย์อีกกว่า 30,000 หลัง และจนบัดนี้ การฟื้นฟูยังไปไม่ถึงไหน ผู้รอดชีวิตและผู้ไร้บ้านนับแสนคน ยังคงต้องอาศัยอยู่ตามเต็นท์ประสบภัยชั่วคราว แถมยังต้องเผชิญกับการก่ออาชญากรรม อหิวาตกโรค ลมฝนพายุ ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลาแล้วแต่ฤดูกาล โดยยังไม่มีวี่แววว่า ชีวิตพวกเขาจะกลับสู่ความปกติวันใด [/stextbox]
  • 04:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 90 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT2
  • 03:30 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 09S ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • เปรียบเทียบขนาดของจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จะกว้างกว่าดาวพฤหัส 
  • เดนนิส ซิมมอนส์ (Dennis Simmons) ถ่ายภาพกลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จากกล้องดูดาวแบบส่วนตัวมาให้ชม เค้าเล่าว่าภาพนี้ถ่ายท่ามกลางหมอดควันจากไฟป่าใกล้ๆแถบบริสเบรน ของประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 ขยายขนาดจากปลายด้านหนึ่งถึงอีกด้าน 1.8 แสนกิโกลเมตร หรือ 14 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก และเกิดการปะทุระดับ M ถึง 2 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
  • น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 47,375 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68% ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปีก่อน 11,833 ล้าน ลบ.ม.

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ดวงอาทิตย์ปะทุขนาด X6.9 ครั้งสุดท้ายเมื่อ 11:05 เวลาไทย ของวันที่ 9 สิงหาคม 2554 จากจุดดับหมายเลข 1263 ถือว่าแรงที่สุดในรอบหลายปี แต่ไม่ปรากฏมีอะไรบนโลกเสียหาย ไม่มีแผ่นดินไหวสำคัญในวันนั้นหรือช่วงเวลาของวันที่เกี่ยวข้องกับวันนั้น นอกจากแผ่นดินไหวที่เกิดตามปกติทุกวัน [/stextbox]

  • 19:30 พายุโซนร้อนโซนามู ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันรอบที่ 2 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุเหลือ 30 น็อต
  • 16:00 พายุโซนร้อน 08S ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ได้ชื่อเรียกแล้วว่า NARELLE ทิศทางเลื่อนตัวลงใต้ ยังไม่มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่ง
  • 13:30 พายุดีเปรสชันโซนามู ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งแล้วเลี้ยวเข้าหาประเทศมาเลเซียทางด้านเกาะบอร์เนียว หลังจากทำท่าจะสลายตัวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา 
  • 11:00 จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ อาจทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • 08:05 ภาพดวงอาทิตย์ล่าสุดจากยาน SDO ในย่านแสง AIA 171 แสดงจุดดับล่าสุดทั้งหมดพร้อมการระบุว่าบริเวณในเป็นแม่เหล้กขั้วเดียว (alpha) แม่เหล็กสองขั้ว (beta) หรือ กลุ่มจุดดับแบบแม่หล็กขั้วผสมภายใต้อิทธิพลแม่เหล็กสองขั้ว (BG)
  • 08:00 กรุงเทพ 25°C มุกดาหาร 20°C สกลนคร 20°C อุบล 22°C น่าน 17°C ลำปาง 16°C

[stextbox id=”info”]วัฏจักรของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ มีอายุเป็นสองเท่าของวัฏจักรของจุดดำ คือประมาณ 22.2 ปี[/stextbox]

  •  07:30  พายุดีเปรสชั่นโซนามู แนวโน้มจะขึ้นฝั่งที่เกาะ Bunguran Barat และสลายตัวใน 24 ชม ข้างหน้านี้
  • 03:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียก่อตัวเป็นพายุโซนร้อน 08S ทิศทางมุ่งลงใต้ไปทางเมือง Onslow 
  • 00:10  พายุโซนร้อนโซนามู ลดความเร็วลมเหลือ 30 น็อต กลายเป็นพายุดีเปรสชั่น แนวโน้มสลายตัวใน 36 ชม 
  •  จีน – อุณหภูมิเฉลี่ยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลดลงอีก สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 43 ปีที่ – 15.3°C ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้
  •  เลบานอน -เกิดพายุฝน กระแสลมแรงจัด ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ต้นไม้หักโค่นเป็นจำนวนมาก ไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ การจราจรกลายเป็นอัมพาต โดยเฉพาะในกรุงเบรุต
  • พื้นที่ภูเขาเส้นทางที่จะไปยังกรุงดามัสกัสของซีเรีย ต้องปิดใช้งาน เพราะมีหิมะตกหนัก

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:00 พายุโซนร้อนโซนามู ลดความเร็วลมเหลือ 35 น็อตและเปลี่ยนทิศทางลงใต้กระทันหัน รูปแบบนี้จะส่งผลต่อไทยน้อยลงมาก
  • 11:00 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-2 แสดงลักษณะพายุโซนร้อนโซนามู เคลื่อนมาถึงใต้แหลมญวนแล้ว ส่งผลให้มีฝนตกทั่วไปในเวียดนาม
  • 07:45 JMA คาดการณ์ว่าพายุโซนามูจะสลายตัวในวันที่ 9 มกราคมนี้ ล่าสุดศูนย์กลางพายุอยู่ที่พิกัด N6°40′(6.7°) E108°25′(108.4°) ความกดอากาศ 994hPa เคลื่อนตัวในทิศแปดนาฬิกาช้าๆ
  • 06:30 พายุโซนร้อนโซนามู ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 40 น็อต แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ 
  • ดวงอาทิตย์ สิวเพียบ กลุ่มของจุดดับยังคงทวีจำนวนขึ้น แต่ปฏิกิริยาถือว่าต่ำมากหากเทียบกับจำนวนจุดดับมากขนาดนี้ เหมือนเป็นสิวผด  ไม่อักเสป ไม่แตก หลังกลุ่มของจุดดับเกิดใหม่ทางขอบตะวันออกเช่น 1652 1653 ยังมีจุดอื่นอีก แต่ที่จับตาดู คือสิวอักเสปหมายเลข1650 ที่ปะทุระดับกลางๆไปวานนี้
  • หมอกลงหนาจัด ปกคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวน ทางตอนใต้ของประเทศจีนตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินกว่า 180 เที่ยว ผู้โดยสารตกค้างกว่า 15,000 คน

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 6 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 พายุโซนามู ลดความเร็วลมจาก 45->40 น็อต แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ
  • 18:00 พายุ Dumile ดูไมล์ ในมหามุทรอินเดีย สลายตัวแล้ว
  • 13:30 TSR ประเมิณเส้นทางล่าสุดของพายุโซนร้อนโซนามุ พายุจะสลายตัวเร็วกว่าเดิม คือในวันที่ 9 มกราคม 
  • 13:00 JTWC พบหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย มีโอกาสก่อตัวเป็นพายุ 
  • 12:00 PAGASA จับตาการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ใกล้เกาะมินดาเนา ซึ่งมีแนวโน้มพัฒนาเป็นดีเปรสชันลูกต่อไป
  • 11:40 ภาพจากกล้องชายหาดที่หลังสวน จ.ชุมพร (AWS11) ทะเลสงบ และที่เกาะตะเภาน้อย (AWS14 ) ก็สงบเช่นกัน 
  • 11:00 พายุโซนามู ความเร็วลมยังอยู่ที่ 45 น็อต เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเล็กน้อย การประเมิณทิศทางล่าสุดของ TSR พายุจะไม่ขึ้นฝั่งประเทศใด แต่จะสลายตัวในทะเลทางตะวัยออกของมาเลเซียในช่วงวันที่ 11 มกราคมนี้
  • จุดดับบนดวงอาทิตย์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ล่าสุดอยู่ที่ 12 กลุ่มจุดคือหมายเลข 1640 ถึง 1651 มี แต่ละกลุ่มจุดมีหน่วยย่อยรวมแล้วทั้งหมด 181 จุด (SN
  • 00:10 พายุโซนร้อนดูไมล์ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ลดกำลังลงเรื่อยๆ มีแนวโน้มว่าจะสลายตัว
  • ภาพการปะทุ M1.7 ครั้งแรกของปี 2013 เมื่อเวลา 16:34 วานนี้ ซึ่งทางฝั่งยุโรปสามารถตรวจจับคลื่นในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ของโลกได้ ตามนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 22:08 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (20.23,95.73) ขนาด 3.3 ห่าวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 256 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]

  • 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย 
  • 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส 
  • 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
  • 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
  • 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
  • 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่ 
  • 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
  • 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
  • 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410  โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก  ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
  • 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ 
  • 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
  • 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8  (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
  • 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C  อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
  • 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย 
  • 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
  • บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
  • ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน 
  • ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:30 พายุโซนร้อนฟรีดา เคลื่อนผ่านเส้น 160°E แล้ว ถือว่าเข้าเขตน่านน้ำออสเตรเลีย ทางการเริ่มจับตาดูอย่างใกล้ชิด
[stextbox id=”alert”]ทางเว็บได้ถูกผู้ไม่หวังดีโจมตีอีกครั้งในช่วงเที่ยงเป็นต้นมา แก้ไขได้ตอนบ่ายสองโมง ขอบคุณ[/stextbox]
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุหวู่คงเป็นครั้งที่ 2 ไม่พบพายุนี้ในภาพดาวเทียมลาสุดเวลานี้ แต่มีภาพของพายุเกิดใหม่ในซีกโลกใต้คือมิตเชล และฟรีดา รวมทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • 12:00 สนามแม่เหล็กโลกมีความสงบเงียบอย่างยิ่งมาหลายวันแล้ว 
  • 09:00 พายุโซนร้อน 06S ทิศตะวันตกของออสเตรเลีย ได้รับชื่อเรียกว่า มิตเชล Mitchell
  • 08:00 พายุโซนร้อน 05P ทิศใต้ของเกาะโซโลมอน ได้รับชื่อเรียกว่า ฟรีดา Freda
  • 07:00 กทม 26°C หนองคาย 21°C ชัยภูมิ 21°C ระยอง 24°C ภูเก็ต 24°C ขอนแก่น 21°C อุดร 19°C หาดใหญ่ 23°C เชียงใหม่ 17°C ลำปาง 17°C น่าน 16°C
  • ประกาศเตือนภัย- อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนัก คลื่นลมแรง บริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ แสดงหหย่อมความกดอากาศสูงกำลังแรงลูกใหม่ที่กำลังเคลื่นเขามา (ปกติจะเคลื่อนมาจากด้านตะวันตก) ซึ่งจะส่งผลใหมีอากาศหนาวในช่วงต่อไป และย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากเกิดขึ้นมาแถบเส้นศูนย์สูตร คือฝนหนักในภาคใต้ ท่แปลกคือเส้นความชันที่มีลักษณะหยักเป็นคลื่นค่อนข้างมาก
  • 00:10 วานนี้ หลัง 15:50 เป็นต้นมา แผ่นดินก็กลับมาไหวทั่วโลกตามปกติชั่วโมงละหลายครั้ง ผิดจากช่วงก่อนหน้านั้น ที่เงียบหายไป ไม่มีแผ่นดินไหวเลย เว้นยาว 3-6 ชั่วโมงต่อครั้ง

[stextbox id=”grey”]หลังกระแสตื่นกลัววันสิ้นโลกจางลง ทางเว็บจะลดการรายงานเรื่องของดวงอาทิตย์ไปอยู่ในระดับปกติ คือจะรายงานทันทีที่มีการปะทุระดับ M ขึ้นไปหรือเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสำคัญ[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:38 ลมสุริยะลดความเร็วลงต่ำ เหลือเพียงแค่ 287 กม/วินาที การที่ความเร็วลดลงต่ำแบบนี้ ในระยะยาวก็ไม่เป็นผลดี เนื่่องจากลมสุริยะระดับ 400-500 กม/วินาที เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่ในการผลักดันรังสีคอสมิคจากนอกระบบสุริยะไม่ให้เข้ามา
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชันหวู่คงแล้ว (RMNTS) ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางลูกใหม่ก่อตัวขึ้น 
  • 11:14 ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ล่าสุดขณะนี้ ในช่วงแสง 171A จะเห็นบริเวณจุดดับทั้งหมดไม่มีบริเวณใดหันมาตรงกับโลก ทั้งจุดดับเดิมคือ 1633 1634 1635 ที่กำลังจะโคจรลับตาไป กับ 1636 และ 1637 ที่เกิดใหม่ 
  • 10:00 JTWC ออก Final Warning กับพายุหวู่คง หรือ หงอคง แล้ว หมายถึงพายุนี้กำลังจะสลายตัว
  • 06:40 พายุหวู่คง ล่าสุดอยู่ในทะเลจีนใต้ ลดกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ความเร็วลรอบศูนย์กลางเหลือเพียง 25 น็อต มีโอกาสสลายตัวใน 24 ชม นี้  
  • 06:30 กรุงเทพ 25°C  กระบี่ 23°C พะเยา 16°C ลำพูน 19°C อุดร 20°C ขอนแก่น 21°C โคราช 24°C ลำปาง 17°C  อุบล 22°C เชียงใหม่ 19°C เชียงราย 16°C สุราษฎ์ธานี  23°C
  • 00:10 ลมสุริยะความเร็วลม 316 กม/วินาที สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • ญี่ปุ่น – ฮอกไกโด ซัปโปโร พายุหิมะถล่ม ความเร็วลมเกือบ 90 กม./ชม. อุณหภูมิลงต่ำเกือบ -30°C
  • สนามแม่เหล็กระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก (IMF) แตะจุดสูงสุดที่ 6.6 nT เวลา 18:44 ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ (26 ธ.ค.55) ตามเอกสารหมายเลข 42969 ของ  USAF/NOAA ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในช่วงปฏิกิริยาต่ำ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]ยังไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้ แต่มนุษย์นั้นอ่อนแอ ไม่อาจอยู่กับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ในเชิงจิตวิยาจึงพยายามโยงแผ่นดินไหวเข้ากับเหตุการณ์อื่นอยู่เสมอ[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2555 (ครบ 8 ปี สึนามิภาคใต้)

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 รัสเซีย – 10 วันที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 123 ราย กับอากาศหนาว -30°C ในมอสโค และ -50°C ในไซบีเรีย
  • 20:45 ปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง บางช่วงลมสุริยะลดต่ำกว่า 300 กม/วินาที
  • 20:30 พายุหวู่คง กำลังจะเคลื่อนออกจากประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ ด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต 
  • 10:27 ภาพช่องโหว่ในบรรยากาศชั้นโคโรนาเวลานี้ ถ่ายโดยช่วงแสง 193A ปรากฏว่าช่องโหว่นั้นหมดสภาพที่จะส่งอนุภาคหรือลมสุริยะมายังโลก เนื่องจากขนาดของช่องหดเล็กลงและหันออกจากแนวตรง 
  • 09:00 อุตุฯเวียดนาม คาดการณ์ว่าพายุหวู่คง จะสลายตัวก่อนถึงฝั่งประเทศตน ไม่ส่งผลมาถึงไทย ลาว กัมพูชา
  • 07:15 พายุหงอคง หรือ หวู่คง หรือ QUINTA ตามการเรียกของฟิลิปปินส์ อ่อนแรงลงเล็กน้อยเมื่อขึ้นฝั่งที่ Leyte และล่าสุดกำลังเคลื่อนไปทางเกาะ Camotes
  • 06:30 กรุงเทพ 24°C ระนอง 24°C  กระบี่ 23°C ลพบุรี 24°C ตรัง 23°C ระยอง 21°C ลำปาง 20°C ลำพูน 20°C เชียงใหม่ 20°C อุบล 20°C หนองคาย 19°C เชียงราย 18°C
  • 06:15 พายุสุริยะความเร็วลม 325 km/s สนามแม่เหล็กโลก -เงียบสงบ-  สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 03:00 ดีเปรสชันหวู่คง ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์แล้ว
    image
  • 02:00 พายุ 04A ทางตะวันออกของประเทศโซมาเลีย สลายตัวแล้ว
  • 00:10 ความกดอากาศสูงจากจีนอ่อนแรงลง อากาศโดยทั่วไปเริ่มอุ่นขึ้นเล็กน้อย
  • 00:00 ทั่วโลกแผ่นดินหยุดไหวไป 7 ชั่วโมง สงบเงียบผิดปกติ (วัดจากรายงานของเอเยนเจ้าใหญ่ๆ เช่น USGS Geofon)
  • น้ำท่วม จ.พัทลุง เริ่มคลี่คลาย หลังฝนหยุดตก ส่วนดินถล่มริมป่าเทือกเขาบรรทัด ขยายวงกว้าง เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง
[stextbox id=”info”]ความเร็วเดินทางของสึนามิ  คิดจาก √(GD) โดย D คือความลึกของท้องทะเลของจุดเกิดแผ่นดินไหว และ G คือความเร่งที่ 9.81 m² เมื่อคลื่นเข้าหาฝั่ง ความเร็วจะลดลงเท่ากับ 3.1 x √(d) โดย d คือความลึกของฝั่ง แต่คลื่นจะพยายามรักษาคาบ (T) ไว้ จาก T=L/Cดังนั้น เมื่อความเร็ว C ลด ความกว้างคลื่น L ย่อมลด และเมื่อคลื่นจะพยายามคงคาบ T ไว้ คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าฝั่ง  จากที่อธิบายมานี้ การจะรู้ว่าคลื่นสึนามิเข้าหาดไหนสูงกี่เมตร ต้องรู้ค่า D และ d ตอนเกิดเหตุแล้วเท่านั้น จะมาพูดล่วงหน้าไม่ได้ ระวังจะถูกหลอก[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 22:20 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.48,96.15) ขนาด 4.8  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 394 กม.
  • 20:59 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.29,96.21) ขนาด 5.6  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 373 กม.
  • 15:48 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.68,96.32) ขนาด 4.8   ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 404 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”] ไม่มีหลักฐานทางวิชาการใดๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ จะระบุได้ว่าแผ่นดินไหวกับพายุสุริยะมีความเกี่ยวข้องกัน ระวังจะถูกหลอก [/stextbox]