รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ดวงอาทิตย์ปะทุขนาด X6.9 ครั้งสุดท้ายเมื่อ 11:05 เวลาไทย ของวันที่ 9 สิงหาคม 2554 จากจุดดับหมายเลข 1263 ถือว่าแรงที่สุดในรอบหลายปี แต่ไม่ปรากฏมีอะไรบนโลกเสียหาย ไม่มีแผ่นดินไหวสำคัญในวันนั้นหรือช่วงเวลาของวันที่เกี่ยวข้องกับวันนั้น นอกจากแผ่นดินไหวที่เกิดตามปกติทุกวัน [/stextbox]

  • 19:30 พายุโซนร้อนโซนามู ลดกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันรอบที่ 2 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุเหลือ 30 น็อต
  • 16:00 พายุโซนร้อน 08S ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ได้ชื่อเรียกแล้วว่า NARELLE ทิศทางเลื่อนตัวลงใต้ ยังไม่มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่ง
  • 13:30 พายุดีเปรสชันโซนามู ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งแล้วเลี้ยวเข้าหาประเทศมาเลเซียทางด้านเกาะบอร์เนียว หลังจากทำท่าจะสลายตัวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา 
  • 11:00 จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ อาจทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • 08:05 ภาพดวงอาทิตย์ล่าสุดจากยาน SDO ในย่านแสง AIA 171 แสดงจุดดับล่าสุดทั้งหมดพร้อมการระบุว่าบริเวณในเป็นแม่เหล้กขั้วเดียว (alpha) แม่เหล็กสองขั้ว (beta) หรือ กลุ่มจุดดับแบบแม่หล็กขั้วผสมภายใต้อิทธิพลแม่เหล็กสองขั้ว (BG)
  • 08:00 กรุงเทพ 25°C มุกดาหาร 20°C สกลนคร 20°C อุบล 22°C น่าน 17°C ลำปาง 16°C

[stextbox id=”info”]วัฏจักรของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ มีอายุเป็นสองเท่าของวัฏจักรของจุดดำ คือประมาณ 22.2 ปี[/stextbox]

  •  07:30  พายุดีเปรสชั่นโซนามู แนวโน้มจะขึ้นฝั่งที่เกาะ Bunguran Barat และสลายตัวใน 24 ชม ข้างหน้านี้
  • 03:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียก่อตัวเป็นพายุโซนร้อน 08S ทิศทางมุ่งลงใต้ไปทางเมือง Onslow 
  • 00:10  พายุโซนร้อนโซนามู ลดความเร็วลมเหลือ 30 น็อต กลายเป็นพายุดีเปรสชั่น แนวโน้มสลายตัวใน 36 ชม 
  •  จีน – อุณหภูมิเฉลี่ยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลดลงอีก สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 43 ปีที่ – 15.3°C ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้
  •  เลบานอน -เกิดพายุฝน กระแสลมแรงจัด ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ต้นไม้หักโค่นเป็นจำนวนมาก ไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ การจราจรกลายเป็นอัมพาต โดยเฉพาะในกรุงเบรุต
  • พื้นที่ภูเขาเส้นทางที่จะไปยังกรุงดามัสกัสของซีเรีย ต้องปิดใช้งาน เพราะมีหิมะตกหนัก

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

7 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 มกราคม 2556

    • ครับ เกิด “เกือบ” ทุกวัน ในระดับต่างๆกัน ตั้งแต่ A,B,C,M,X เราสนใจตั้งแต่ M ขึ้นมา

  1. P’VOP ครับ ช่วยอธิบายเรื่อง แม่เหล้กขั้วเดียว (alpha) แม่เหล็กสองขั้ว (beta) หรือ กลุ่มจุดดับแบบแม่หล็กขั้วผสมภายใต้อิทธิพลแม่เหล็กสองขั้ว (BG) มันจะเกิดปฏิกิริยาอะไรยังไงบ้างครับ และส่งผลอะไรหากเกิดการปะทุ ดูแล้วมันน่ากลัว เยอะเหลือเกิน

    • แม่เหล็ก 2 ขั้วหรือไบโพลาร์ สนามแม่เหล็กจะพุ่งขึ้นออกจากจุดดำจุดหนึ่งสู่บรรยากาศชั้นบนเหนือโฟโตสเฟียร์ แล้วเลี้ยวโค้งวกกลับลงสู่จุดดำอีกจุดหนึ่งที่อยู่คู่กัน จุดดำสองจุดนี้จึงมีขั้วแม่เหล็กที่ตรงข้ามกันเสมอ เหมือนกับแม่เหล็กแบบเกือกม้าที่ติดอยู่บนผิวดวงอาทิตย์ อันนี้จะเกิดปรากฏการณ์จำพวกโพรมิแนนซ์ ส่วนกลุ่มจุดดับแบบแม่หล็กขั้วผสมภายใต้อิทธิพลแม่เหล็กสองขั้ว เป็นบริเวณที่มีจุดดำรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกขนาดใหญ่จะมีรูปร่างของสนามแม่เหล็กที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังคงเป็นสนามแม่เหล็กปิดเช่นเดียวกับสนามแม่เหล็กแบบไบโพลาร์ แต่ที่น่าสนใจ คือ alpha หรือ แม่เหล็กขั้วเดียว เป็นบริเวณที่มีจุดดำเป็นจุดเดียวโดด ๆ ไม่รวมกลุ่มหรือเข้าคู่กับจุดดำอื่น ๆ สนามแม่เหล็กจะพุ่งออกจากจุดดำชั้นในและสาดออกไปสู่อวกาศโดยไม่วกกลับเข้ามา เรียกว่าเป็นสนามแม่เหล็กเปิด ซึ่งเป็นช่องทางที่มวลสารจำนวนมากดวงอาทิตย์พุ่งทะลักสู่อวกาศ และเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดลมสุริยะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *