แผ่นดินไหวเชียงราย 5 พ.ค. 57

ในวันที่ 5 พฦษภาคม 2557  เวลา 18:08 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในจังหวัดเชียงราย โดยมีขนาดและจุดเหนือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แตกต่างกันตามหน่วยงานที่วัดค่าและสังเกต ดังนี้

  • TMD หรือกรมอุตุฯ วัดขนาดได้ 6.3 ML ลึก 7 กม. ระบุจุดเหนือจุดศูนย์กลางที่พิกัด 19.685°N,99.687°E หลังโรงเรียนบ้านร่องธาร หมู่ที่ 9 ตำบลทรายขาว อำเภอพาน
  • USGS วัดขนาดได้ 6.0 mwp ลึก 7.4 กม. ระบุจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่พิกัด 19.703°N, 99.683°E อยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร
  • EMSC วัดขนาดได้ 6.2 Mw ลึก 10 กม. ระบุจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่พิกัด 19.68°N 99.78°E
  • Geofon วัดขนาดได้ 6.2 Mw ลึก 10 กม.ระบุจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่พิกัด 19.71°N 99.79°E
  • TMD แก้ไขใหม่ ระบุจุดเหนือจุดศูนย์กลางที่พิกัด 19.756°N,99.678°E ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว

โดยทุกราย คำนวนว่าเป็นการเคลื่อนของรอยเลื่อนแบบ Stike Slip เลื่อนไปทางขวา ตามภาพ moment tensor ด้านล่างนี้ แนวรอยเลื่อนจะเลื่อนแนวเกือบเหนือใต้ โดย อ.พานเลื่อนลงล่างM6.0 - 9km S of Mae Lao, Thailand 2014-05-05 11 08 43 UTC

ปัญหามาเกิดตรงที่กลุ่มรอยเลื่อนที่เป็นต้นเหตุของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ เป็นรอยเลื่อนในกลุ่มแม่ลาวหรือพะเยาเหนือ อีกทั้งความเสียหายที่ไปลงพื้นที่สำรวจของเจ้าหน้าที่กรมทรัพฯ ก็ไปจับกลุ่มกันใน บ้านห้วยส้านยาวหมู่ 13 หรือ บ้านใหม่จัดสรร ต.ดงมะดะ และพบความเสียหายในบางหมู่บ้านของ  ต.จอมหมอกแก้ว  อ.แม่ลาว เป็นส่วนใหญ่ แนวความเสียหายขนานไปตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้มากกว่า และหากเป็นไปตามสมมุติฐานนี้ ก็จะกลายเป็นการเคลื่อนของรอยเลื่อนแบบ Stike Slip เลื่อนไปทางซ้าย ตามภาพ moment tensor ด้านล่างนี้แทน ซึ่งสอดคล้องกับรอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนน้ำมา และแนวการเคลื่อนของรอยเลื่อนอื่นในแถบนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมาM6-20140505

ในวันที่ 30 พฦษภาคม  57 พบรอยแยกใหม่จากเขตบ้านเลขที่ 292 ของ น.ส.อรวรรณ ไชยชมภู ที่เป็นอาคารคอนกรีตสูง 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดเป็นร้านขายของชำ ซึ่งรอยแยกดังกล่าวผ่านตัวบ้านขึ้นมาใหม่ เป็นร่องขนาดใหญ่ และมีมากถึง 3 จุด จนทำให้พื้นบ้านคอนกรีตที่ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 20 ซม.แตกก่อนหลุดและกะเทาะออกมา ซึ่งรอยแยกดังกล่าวเกิดขึ้นยาวตั้งแต่เขตบ้านออกไปยังถนนภายในหมู่บ้านด้วย

ผ่านไปกว่า 2 สัปดาห์ จึงสรุปความเสียหายแผ่นดินไหวเชียงรายได้ดังนี้ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ 45 ตำบล 519 หมู่บ้าน 18,488 ครัวเรือน 54,542 คน บ้านเสียหายทั้งหลัง 12 หลัง ,เสียหายบางส่วน 8,371 หลัง ,วัด 63 แห่ง,โรงเรียน 3 แห่ง ,สถานที่ราชการ 31 แห่ง ,โรงแรม 1 แห่ง ,สะพาน 4 แห่ง ,ถนน 5 สาย ,อาคารชุมชน 1 แห่ง ,ระบบไฟฟ้า 2 แห่ง ,ท่อส่งน้ำประปาหมู่บ้าน 1 แห่ง

โดยทางศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มก. ใช้โมเดลคำนวน Sadigh et al.(1997) Attenuation เพื่อสร้าง PGA Map ด้านล้างนี้NjpUs24nCQKx5e1DHNGcWUUd7mXdmWDJBlIWCO9PLlv

 

อ่านสรุปเรื่องแผ่นดินไหว 6.3 เชียงรายจาก เว็บวิชาการธรณีไทย

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *