มาตราวัดค่าความแรงที่ใช้ในรายงานแผ่นดินไหวสากล
แผ่นดินไหวไม่มีหน่วยวัด ที่ชอบพูดกันว่า 4.0R หรือ 4.0 ริกเตอร์ นี่ผิดถนัด และการวัดขนาดนั้น แล้วแต่ว่าจะใช้กรรมวิธีคำนวนแบบไหน ซึ่งจะขึ้นกับระยะห่างระหว่างจุดที่เกิดแผ่นดินไหวกับสถานี
หากแผ่นดินไหวขนาด น้อยกว่า 4.3 เครือข่ายนานาชาติที่มีสถานีอยู่ไกลจะวัดไม่ได้ ต้องใช้สถานีใกล้เคียงซึ่งจะวัดโดยวิธีโบราณที่สุด (ตั้งแต่ ค.ศ. 1935) คือ “ริกเตอร์” หรือ ML ((local earthqyuake magnitude ตัวย่อเขียนอักษรใหญ่หมด) ซึ่งเป็นมาตรายอดฮิตที่คนไทยและสื่อไทยรู้จัก
แต่ถ้าขนาดใหญ่กว่านี้ คือใหญ่กว่า 4.3 สถานีอยู่ไกลออกไป ก็จะสามารถวัดค่าได้ จึงรายงานออกมาเป็นขนาดอื่น เช่น mb (body wave magnitude) Ms (surface-wave magnitude) หรือถ้าขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก เช่นเกิน 5-5.5 สถานีก็สามารถรายงานออกมาเป็นขนาด Mw (Moment magnitude มาตราโมเมนต์)
โดยทฤษฎีแล้ว แต่ละมาตราจะมีเสกลไม่เท่ากัน ดังนั้น 4.5 mb จะไม่เท่ากับ 4.5ML และ 4.5 Mw เวลานำไปใช้ ต้องระบุให้แน่ ว่าเป็นมาตราวัดแบบไหน เพราะอาจพลาดได้
ทีนี้ เรามาดูมาตราที่เกิดหลังสุด และแม่นยำที่สุด คือ มาตราโมเมนต์ Mw (ตัว w ย่อมาจาก mechanical work หรืองานเชิงกล มาตรานี้คิดขึ้นโดย Hanks &Kanamori ในปี 1979) ซึ่งเป็นมาตราที่ไม่มีข้อจำกัดการใช้งานทั้งระยะ ความลึก และขนาดของแผ่นดินไหว คือแสดงค่าได้ตั้งแต่ขนาด 5.0 ขึ้นไปถึงขนาดใหญ่ที่สุดแบบไม่จำกัด ข้อแตกต่างของมาตรานี้กับมาตราอื่นที่กล่าวมาแล้วคือ ML, mb และ Ms คือการคำนวณขนาดในมาตรา Mw ไม่ได้วัดความสูงของคลื่น (attitude) แต่จะคำนวณจากผลคูณของ (มอดูลัสเฉือน rock rigidity) x (พื้นที่บริเวณพังทลาย fault area) x (ระยะการเลื่อนตัว slip distance) หรือ Mo = uAd หน่วยออกมาเป็นนิวตันเมตร และหาค่าต่อโดย Mw=2/3log Mo-6.0 เพื่อให้สามารถวัดขนาดแผ่นดินไหวได้ใหญ่กว่าของมาตราอื่นโดยไม่คาดเคลื่อน นั่นเพราะ
- ML จะวัดได้ ตั้งแต่ 0.0 สูงสุดแค่ M7.0 เกินกว่านี้จะคลาดเคลื่อน
- mb จะวัดได้ ตั้งแต่ 4.3 สูงสุดแค่ M6.8 เกินกว่านี้จะคลาดเคลื่อน
- Ms จะวัดได้ ตั้งแต่ 4.3 สูงสุดแค่ M8.0 เกินกว่านี้จะคลาดเคลื่อน
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ผมขออณุญาตในไปเผยแพร้ต่อน่ะครับ โดยจะอ้างอิงที่มาไว้ครับ
Real great information can be found on blog .