คลื่นแผ่นดินไหวมีความถี่หลายความถี่ แต่จะค่อยๆลดทอนหายไปตามระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยคลื่นความถี่สูงจะลดทอนมากกว่า ดังนั้น ในที่ไกลจากจุดนย์กลางแผ่นดินไหวจึงเหลือแต่คลื่นความถี่ต่ำที่เดินทางไปถึง แต่คลื่นความถี่ต่ำเหล่านี้ มีแอมปริจูดลดน้อยลงตามระยะทางเช่นกัน จึงไม่เกิดอันตรายต่ออาคารที่ห่างแผ่นดินไหวมากๆ ส่วนสาเหตุที่อาคารสูงในกรุงเทพเท่านั้นที่รับรู้แรงสั่นไหวจากแผ่นดินไหวไกล นั่นเป็นผลจากการเรโซแนนซ์ของความถี่ ตามคลิปด้านล่างนี้
[wpvp_embed type=youtube video_code=LV_UuzEznHs width=560 height=315]
จากคลิปการทดลอง จะเห็นว่า อาคารเตีั้ยๆจะเรโซแนนซ์กับความถี่สูง 11.35Hz อาคารกลางๆจะเรโซแนนซ์กับความถี่กลางๆ 6.35Hz และ อาคารสูงจะเรโซแนนซ์กับความถี่ต่ำ 4Hz
ภาพด้านบนแสดงการลดทอนหรือ Attenuation โดยเก็บตัวอย่างจากแผ่นดินไหว 3 ครั้ง พบกว่าความรุนแรงหรือ intensity จะลดลงอย่างรวดเร็วที่ระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิน 200 กม.ดังนั้น แม้อาคารสูงในกรุงเทพจะรับรู้แรงสั่นไหวได้ ก็ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด มันเป็นผลจากการเรโซแนนซ์กับความถี่ต่ำเท่านั้น
ภาพจาก NOAA แสดงให้เห็นแอมปริจูดที่ลดลงตามระยะทาง จะเห็นว่าสถานีวัดแผ่นดินไหว #1 วัดขนาดคลื่นแผ่นดินไหวได้ใหญ่กว่าสถานี #2
กราฟสถานีเชียงใหม่ ให้ดูเพื่อสังเกต แผ่นดินไหวไกลๆจากสุมาตรา จะมาเป็นความถี่ต่ำ เส้นห่าง เดินทางได้ไกล ส่วนแผ่นดินไหวใกล้จากเชียงรายจะมาเป็นความถี่สูง เส้นแคบ
Pingback: ว่าด้วยเรื่อง "แผ่นดินไหว 6.8 ในพม่า" | STEM.in.th