รวมมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว (Earthquake Magnitude Scale)

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว (Earthquake Magnitude Scale) นั้นมีมากมาย แตกต่างกันตามวิธีการใช้ประโยชน์จากระยะทาง ชนิดคลื่น ความเร็วในการคำนวน

  • ML มาตราริกเตอร์ หรือ มาตราท้องถิ่น (Local magnitude) เป็นมาตราฐาน กำเนิดก่อนและรู้จักนิยมใช้กันมากที่สุด พัฒนาโดยเซอร์ ฟรานซิส ริกเตอร์ ข้อดีคือคำนวนได้ง่ายและเร็ว แต่มีข้อจำกัดที่วัดได้ในระยะไม่เกิน 600 กม. และวัดขนาดได้ไม่เกิน 7.0 นิยมใช้ในประเทศที่มีขนาดเล็กเช่นไต้หวัน ไทย เนปาล  อินโดนีเซีย ฯลฯ
  • MLv เป็นมาตราท้องถิ่นที่คำนวนโดยอิง vertical component using a correction term to fit with the standard ML
  • MLh เป็นมาตราท้องถิ่นที่คำนวนโดยอิง horizontal components to SED specifications
  • MS หรือมาตราคลื่นผิว (Surface wave magnitude) พัฒนาโดยเบโน กูเต็นเบิร์ก เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวระยะไกลโดยใช้แอมปริจูดของคลื่นเรลีย์และคลื่นเลิฟ ในคาบ 20 วินาที มาตรานี้วัดขนาดได้แม่นยำในระหว่าง 5.0-8.0 วัดได้ไกลในระยะทาง 20°-180° (ระยะทาง 1 องศาในวิชาแผ่นดินไหวคือราวๆ 111 กิโลเมตร) นิยมใช้ในประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่
  • MSn เป็นมาตรา MSที่ถูกพัฒนาโดย  Nuttli (1983) ให้วัดเฉพาะคลื่นในวินาทีแรก
  • MS_20 – พัฒนาขึ้นในปี 1962 ในสูตรคำนวนที่เรียกว่า “Moscow-Prague formula”
  • MS_BB มาตราคลื่นผิวที่วัดได้จากเครื่องมือชนิด broad-band (เหมือน Ms แต่คำนวนจาก velocity /2 pi) โดยวัดแอมพลิจูดที่ใหญ่ที่สุดของกระบวนคลื่นเรลีย์ เป็นระยะเวลานานถึง 60 วินาที
  • MS7 ใช้โดยประเทศจีน เป็น MS เดิมที่ถูกปรับเทียบสำหรับใช้กับเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนระยะยาวรุ่น “763” ที่ผลิตในประเทศจีน
  • mB หรือมาตราคลื่นตัวกลางดั้งเดิม พัฒนาร่วมกันโดย เบโน กูเต็นเบิร์ก และฟรานซิส ริกเตอร์ เพื่อเอาชนะมาตรา Mในเรื่องของระยะทาง มาตราสามารถใช้ได้ดีในขนาด M5.5 ไปถึง M8.0 ทุกวันนี้ไม่นิยมใช้ และถูกแทนที่โดยมาตรา mBBB  ที่ถูกปรับให้วัดคาบของคลื่นนานถึง 30 วินาที
  • mb นิยมใชในทุกวันนี้มากกว่า mB โดยถูกปรับให้วัดเฉพาะคลื่น P Wave ใน 2-3 วินาทีแรก สามารถวัดแผ่นดินไหวขนาดเล็กระยะไกลได้ดีกว่า mB รวมทั้งยังสามารถใช้วัดขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน  มาตรานี้วัดขนาดระหว่าง 4.0-7.0 ไดดีที่ระยะทาง 16°-100° นิยมใช้ในการวัดขนาดแผ่นดินไหวไกลข้ามซีกโลก
  • Md – Duration magnitude นิยมใช้กับคลื่นแผ่นดินไหวหัวตัดที่ปรากฏในเครื่องวัด การที่มองไม่เห็นยอดทำให้คำนวนจากแอมปริจูดไม่ได้ มาตรานี้วัดขนาดน้อยกว่า 4.0 ไกลไม่เกิน 400 กม.
  • Me Energy magnitude Based on the amount of recorded seismic energy radiated by the earthquake. มาตรานี้วัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไม่จำกัดความไกล
  • Mjma – หรือย่อว่า Mj เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวของอุตุนิยมญี่ปุ้่นหรือ JMA รายละเอียด
  • MLg มาตราคลื่นเลิฟความถี่สูง หรือคลื่น Lg มาตรานี้วัดแอมปริจูดของคลื่น Lg โดยสามารถวัดขนาดระหว่าง 5.0-8.0  ไม่จำกัดความไกล
  • Mw  – มาตราโมเมนต์ Moment magnitude มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่มีความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด สามารวัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไปจนเท่าไรก็ได้และไม่จำกัดความไกล ข้อเสียคือคำนวนได้ช้าที่สุด
  • Mwp – มาตราโมเมนต์ ที่ใช้คลื่น P Wave เป็นหลัก เน้นความเร็วในการคำนวน นิยมใช้ในการหาขนาดแผ่นดิวไหวที่จะก่อสึนามิเพราะต้องการความเร็ว รายละเอียด
  • Mi  – มาตราโมเมนต์ Based on the integral of the first few seconds of P wave on broadband instruments (Tsuboi method). มาตรานี้วัดขนาดใหญ่กว่า 3.5 ไม่จำกัดความไกล