คลื่นแผ่นดินไหวมีหลายชนิด โดยคลื่นตัวกลาง (Body Wave) สองคลื่นคือคลื่น P และ S ที่กำเนิดจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวจะเดินทางไปทั่วโลก คลื่น P จะมีช่วงอับคลื่นตรงหรือ Shadow Zone ที่ระยะห่างราว 104° and 140° หรือ 11,570 and 15,570 km จากจุดอิพิเซ็นเตอร์ ในช่วงที่อับคลื่นตรงนี้ การคำนวนของนักแผ่นดินไหวจะใช้เฟสอื่นของ P แทน เช่น Pdiff ส่วนคลืน S จะหายไปหลัง 104° ไม่ปรากฏอีกเพราะผ่านของเหลวตรงแก่นโลกด้านนอกไม่ได้
นับจากจุดโฟกัส คลื่น P และ S อาจจะหักเห หรือ สะท้อน (refraction or reflection) กลายเป็นเฟสต่างๆเช่น
- คลื่น P สะท้อนเปลือกโลก 3 ครั้งกลายเป็นเฟส PPP
- คลื่น S เดินทางในแกนโลกชั้นนอกไม่ได้ เมื่อไปถึงรอยต่อก็จะเปลี่ยนเป็น P ซึ่ง P ในแกนโลกชั้นนอกเราใช้สัญญลักษณ์ K เมื่อคลื่นออกจากแกนโลกจึงเป็น P นั่นคือ SKP จากนั้นหาก P นี้ไปสะท้อนกลับที่ผิวโลกแล้วเดินทางเข้าไปในแกนโลกอีกครั้งก่อนถึงสถานี ช่วงหลังก็จะเป็น PKP รวมช่วงแรกกลายเป็นเฟส SKPPKP เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเฟสแผ่นดินไหวมีมากมาย เดินทางไปทั่วโลก นักแผ่นดินไหวสามารถเลือกใช้เฟสต่างๆแทนเฟส P หรือ S ในช่วงอับคลื่นตรง หรือใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติแต่ละเฟสได้แตกต่างกันในหาการหาค่าอื่นๆด้วย นักแผ่นดินไหวหาความลึกของจุดกำเนิดแผ่นดินไหวหรือจุดโฟกัส หรืออีกชื่อคือ จุดไฮโปเซนเตอร์ได้ โดยใช้ความเร็วคลื่นคูณด้วยค่าความต่างของเวลาการมาถึงสถานีวัดของเฟส pP และ เฟส P หรือบางครั้งอาจใช้เฟส S ร่วมกับ sP,sS,pS แทนก็ได้