NDBC

เรื่องล่าสุด

รายงานภัยพิบัติเสาร์ 19 กรกฎาคม 2568

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 พายุโซนร้อน “วิภา” Wipha หรือพายุหมายเลข 6 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลดลงมาที่ 50 น็อต ความกดอากาศ 979 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 21.0°N 117.7°E ในทะเลจีนใต้ แนวโน้มขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจว มณฑลกวางตุ้งของจีน วันที่ 21 ก.ค. ก่อนลงสู่อ่าวตังเกี๋ย จากนั้นขึ้นฝั่งอีกครั้งทางตอนเหนือของเวียดนามแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นในแขวงหลวงพระบางของ สปป.ลาว
  • 16:20 เรดาร์ตรวจอากาศ TMD สุวรรณภูมิ แสดงกลุ่มฝนภาคกลางตอนล่าง และจังหวัดรอบอ่าวไทยตอนใน ตลอด 1 ชั่วโมง 10 นาทีที่ผ่านมา
  • 16:00 ภาพดาวเทียมพายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา” ในทะเลจีนใต้ กำลังมุ่งหน้าไปขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจว มณฑลกวางตุ้ง ก่อนข้ามอ่าวตังเกี๋ยสู่เวียดนาม
  • 13:00 พายุโซนร้อน “วิภา” Wipha หรือพายุหมายเลข 6 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือ Crising ตามวิธีเรียกแบบฟิลิปปินส์ มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเพิ่มขึ้นเป็น 55 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 20.5°N 118.9°E ในทะเลจีนใต้ แนวโน้มขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจว มณฑลกวางตุ้งของจีน วันที่ 21 ก.ค. ก่อนลงสู่อ่าวตังเกี๋ย จากนั้นขึ้นฝั่งอีกครั้งทางตอนเหนือของเวียดนามแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นใน สปป ลาว
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในกรุงเทพฯย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในประเทศไทยย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้) จากกรมอุตุฯ
  • 06:58 กราฟแผ่นดินไหวชนิดที่ใช้ดูเวลาเกิดเหตุเป็นหลัก แสดงภาพตามแนวตั้ง (BHZ) จากสถานีเครือข่าย IRIS สาขาเชียงใหม่ (CHTO) จาก 07:00 เช้าเมื่อวานนี้จนถึงเวลานี้ เส้นกราฟตามแนวนอนเส้นละ 10 นาที แยกสีเส้นกราฟเพื่อให้ดูได้ง่าย ช่องแบ่งตามแนวตั้งช่องละ 1 นาที
  • 01:00 พายุโซนร้อน “วิภา” Wipha หรือพายุหมายเลข 6 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือ Crising ตามวิธีเรียกแบบฟิลิปปินส์ มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเพิ่มขึ้นเป็น 45 น็อต ความกดอากาศ 984 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 19.8°N 120.8°E กำลังเคลื่อนตัวออกจากช่องแคบฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ แนวโน้มขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจว มณฑลกวางตุ้งของจีน วันที่ 21 ก.ค. ก่อนลงสู่อ่าวตังเกี๋ย จากนั้นขึ้นฝั่งอีกครั้งทางตอนเหนือของเวียดนามแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นใน สปป ลาว
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก JMA
  • จำนวน พิกัดตำแหน่ง ขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:52 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานีดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์เรื่องของเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว โดยแยกสีเป็นแดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)
  • 06:00 สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและเพื่อนบ้านตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาที่ตรวจวัดได้โดยกรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon เยอรมนี ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

  1. รายงานภัยพิบัติศุกร์ 18 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  2. รายงานภัยพิบัติพฤหัส 17 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  3. รายงานภัยพิบัติพุธ 16 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  4. รายงานภัยพิบัติอังคาร 15 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  5. รายงานภัยพิบัติ 14 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  6. รายงานภัยพิบัติ 13 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  7. รายงานภัยพิบัติเสาร์ 12 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  8. รายงานภัยพิบัติศุกร์ 11 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น
  9. รายงานภัยพิบัติ 10 กรกฎาคม 2568 ใส่ความเห็น