รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 14:00 แอนดรู คูโอโม่ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กประกาศภาวะฉุกเฉินใน 10 เขตทางฝั่งตะวันตกของรัฐนิวยอร์ก และมีคำเตือนให้ระวังหิมะตกหนักอาจถึง 1.8 เมตรในฝั่งตะวันตกของรัฐ
  • 12:00 สภาพแถบ Cheektowaga รัฐนิวยอร์ค ที่โดน Lake effect snow B21dPRCIAAAqDBL
  • 11:00 ระดับน้ำในแม่น้ำโกลก จ.นราธิวาส ที่จุดวัด สะพานลันตู เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง เตือนประชาชนให้ระวัง X119A
  • 06:30 กทม 24°C ภูเก็ต 26°C ชัยภูมิ 22°C เชียงใหม่ 22°C กำแพงเพชร 21°C หนองคาย 20°C ลำปาง 19°C ขอนแก่น 18°C ร้อยเอ็ด 18°C สกลฯ 18°C อุดร 17°C
  • 07:00 ปริมาณน้ำคงเหลือในเขื่อนสำคัญทั่วไทยวันนี้  
  • 06:00 พายุโซนร้อน ADJALI ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ยังไม่มีผลต่อประเทศใด ล่าสุดพายุเริ่มมีแนวโน้มอ่อนกำลังลง 
  • เกิดสภาพผิดปกติอุณหภูมิทั่วประเทศสหรัฐไม่เว้นฮาวาย ลดลงถึงระดับ 0°C หรือต่ำกว่านั้น อุณหภูมิต่ำสุดที่เมืองมิลวอกี้ -7°C วานนี้ ถือเป็นเดือนพฤศจิกายนที่หนาวที่สุดในรอบ 38 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 สาเหตุเกิดจากลมขั้วโลกที่พัดปกคลุมทั่วทั้งสหรัฐตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยปกติ อากาศหนาวจัดขนาดนี้จะเริ่มเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคม
  • รัฐนิวยอร์คโดนหิมะจาก Lake effect ซึ่งเกิดจากลมเย็นจัดที่พัดผ่านพื้นน้ำอุ่นในทะเลสาบก่อให้เกิดหิมะตกริมชายฝั่ง(ภาพเร่งความเร็ว) ภาพจาก weather.com [wpvp_embed type=youtube video_code=KA9XNRHxKbg width=560 height=315]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 เมษายน 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 พายุไซโคลนแจ็ค ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน มีแนวโน้มสลายตัวในไม่กี่ ชม ข้างหน้านี้ 
  • สภาพอุณหภูมิน้ำในแปซิฟิคพัฒนาเข้ารูปแบบเอลนิญโญค่อนข้างชัดเจนในเดือนนี้ Blz7LYyCMAASHH7
  •  นับจากปี 2001 ถึงปี 2013 โลกเราโดนอุกกาบาตลูกใหญ่ๆถล่มถึง 26 ลูก  [wpvp_embed type=vimeo video_code=92478179 width=500 height=281]
  • ปภ. ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 42 จังหวัด ได้แก่  กำแพงเพชร เชียงราย ลำพูน พะเยา อุตรดิตถ์ ลำปาง น่าน นครสวรรค์ แพร่ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุดรธานี เลย หนองคาย อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชัยภูมิ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี สมุทรปราการ กาญจนบุรี  ฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี สระแก้ว ระยอง ชลบุรี นครนายก สตูล และชุมพร
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้า /  บ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

สรุปภัยพิบัติโลก และสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2013

***บทความยังไม่สมบูรณ์ กำลังอยู่ระหว่างแก้ไข

จบจากปีแห่งข่าวลือโลกแตก 2012 โดยแทบไม่มีเหตุร้ายใหญ่โตใดๆ เข้าสู่คริสตศักราช 2013 ซึ่งกลับกลายเป็นปีที่โลกต้องจดจำในสถิติภัยพิบัติต่างๆแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายๆปี ทั้งพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ขณะขึ้นฝั่ง ทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในจุดที่ห่างจากรอยเลื่อนขอบทวีบ ทั้งอุกกาบาตที่เกือบทำให้เมืองใหญ่ของรัสเซีย ราบเป็นหน้ากลอง โดยหมดทางป้องกัน

ความเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสภาพภูมิอากาศโลกเริ่มส่งผลให้เห็น แม้ไม่ใช่สาเหตุของภัยพิบัติหลักๆทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสะสมตัวแล้วก่อผลให้แก่ภัยพิบัติในระยะยาว โดยเฉพาะภัยพิบัติในด้านภูมิอากาศเช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง หรือแม้แต่ภัยหนาว ให้รุนแรงขึ้น โดย ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือ

  1. ไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ก่อตัวในอ่าวไทย)
  2. BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.ก่อตัวจากฟิลิปปินส์พร้อมไห่เยี่ยน)
  3. พายุโซนร้อนเลฮาร์ (มาจาก LPA92W ก่อตัวในอ่าวไทย ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย)
  4. พายุไซโคลนเฮเลน (จากพอดึล TD32W ก่อตัวจากฟิลิปปินส์)

ซึ่งการเป็นเช่นนี้ได้  นั่นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งอุณหภมิน้ำที่สูงขึ้นในโซนอ่าวไทย รวมทั้งร่องลม ITCZ ที่มีกำลังแรง

ปีนี้ยังมีการก่อตัวของพายุในโซนกลางแปซิฟิค มากถึง 3 ลูก (พายุโซน C) ซึ่งก็ไม่เคยมีมาในปีอื่นๆ ทั้งหมดนี้ ยังไม่เท่ากับอุณหภูมิน้ำอุ่นที่สูงถึง 31 องศาสะสมตัวปลายเดือนตุลาคม สุดท้ายก็ก่อมหาพายุไห่เยี่ยน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมขณะขึ้นฝั่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา มหาพายุนี้ได้เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในวันที่ 8 พ.ย. สร้างความย่อยยับเหลือคณานับ

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นจากอะไร หากลงไปดูโดยข้อมูลทางลึกแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า กระแสน้ำเทอร์โมฮาลีน ซึ่งทำหน้าที่เฉลี่ยอุภหูมิของน้ำและอากาศทั่วโลก กำลังมีอาการสะดุดหรือไหลช้าลง ทำให้การเฉลี่ยความร้อนของน้ำทะเลไม่ทั่วถึง เกิดอาการแปรปรวนท ตรงที่ร้อนก็ร้อนจัด ตรงที่เย็นที่เย็นจัด ทน้ำที่ร้อยนผิดปกติ ทำให้มีการก่อตัวของพายุที่รุนแรงระดับซุปเปอร์ถึง 3 ลูกคือซุปเปอร์ไซโคลนไพลิน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิ และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

ปี 2013 ยังเป็นปีที่มีพายุ “เข้าไทย” ถึง4 ลูก คึอ

  1. TD 18W
  2. พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บ
  3. พายุดีเปรสชันวิลมา** TD30W
  4. พายุดีเปรสชันพอดึล TD32W (กรมอุตุเรียกโพดอล)

ยังมีน้ำท่วมใหญ่ยุโรป ชนิดที่ประเทศที่พัฒนาถึงขีดสุดอย่างเยอรมันไม่อาจแก้ไขได้ ท่วมทั้งออสเตรีย เช็ค และอีกหลายประเทศ เกิดฝนตกเกือบพัน มม. ในไม่กี่ชม จนน้ำท่วมบนเขาสูง เกิดคลื่นสึนามิภูเขาในอินเดีย และเหตุการณ์แบบนี้ก็ไปเกิดที่เสฉวน เกิดแล้งจัดในไทย เกิดทอร์นาโดขนาด EF-5 ในโอกลาโอมา เกิดทอร์นาโดในญี่ปุ่น เกิดหิมะตกเดือนพฤษภาคมในฮอกไกโด หิมะตกเดือนธันวาในที่ๆไม่ควรมีหิมะ คือประเทศอียิปต์

ซึ่งหากสายพานลำเลี่ยงน้ำเทอร์โมฮาลีนสะดุดลงจริงๆ สภาวะวิกฤตของภูมิอากาศโลกจะมาถึง พายุขนาดรุนแรงจะเกิดบ่อยขึ้น ฝนหนักหลายร้อย มม. แบบอินเดียปีนี้ สุดท้าย มีการประมาณว่าจะพาให้โลกเกิดการก้าวเข้าสู่ LIA หรือยุคน้ำแข็งย่อย ก็อาจเป็นไปได้

ทางด้านภัยพิบัติที่ไม่เกี่ยวกับภูมิอากาศโลก ในปี 2013 ก็ยังมีอีก โดยเฉพาะในวันที่ 15 ก.พ. นั่นคือ อุกาบาต ชิลยาบินส์

ภัยนี้ไม่มีทางป้องกัน ทั้งที่เราทุกคนทั่วโลก ต่างเทความมั่นใจให้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือที่มีหน้าที่โดยตรงกับการเฝ้าดูภัยพิบัติชนิดนี้ คือหน่วยงานอวกาศของยุโรป สหรัฐฯ หรือรัสเซีย

อุกาบาต ชิลยาบินส์ มาจากดาวเคราะห์น้อยไร้ชื่อ (เพราะตรวจไม่พบ) ขนาดราว 17-20 เมตรหนัก 7,000 ตัน เข้าสู่บรรยากาศโลกที่ความเร็ว 66,960 กม/ชม ลุกไหม้จนขนาดเล็กลงหลายเท่าและระเบิดตัวเองที่ความสูง 23.3 กม เหนือเขตชิลยาบินส์ แคว้นอูราล ซึ่งได้รับการชี้แจง (แก้ตัว) ว่าเป็นเพราะดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีขนาดเล็กกว่า 20 เมตร และมืดเกินกว่าจะตรวจพบล่วงหน้า (แปลกที่ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่สุดคือ  2008 TS26  มีขนาดเพียง 1 เมตร และมีความสว่างปรากฏเพียงแมกนิจูด 32 กลับมีการตรวจพบและบันทึกชื่อไว้) แรงอัดอากาศ (ช็อคเวฟ) จากการระเบิด แม้ในอากาศระดับสูง ก่อความเสียหายต่ออาคารและผู้คนนับพันตามรายงานจากสื่อต่างๆ

แรงระเบิดจากอุกกาบาตนี้ คำนวนได้เทียบเท่าระเบิด TNT หนัก 440 กิโลตัน คำถามคือหากอุกกาบาตนี้ไม่ระเบิดตัวเองในบรรยากาศระดับสูงเสียก่อน แต่กลับตกลงถึงพื้น พลังจากอำนาจระเบิดที่รุนแรงกว่าถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา (TNT 12.5 กิโลตัน)  จะสร้างความเสียหายให้มวลมนุษย์ชาติมากมายขนาดไหน

อีกภัยใหญ่ของปี คือแผ่นดินไหวนอกรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 7.1 ที่เกาะโบฮอล ประเทศฟิลิปปินส์ ความลึก 20 กม. แผ่นดินไหวนี้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้เกาะโบฮอลและเกาะโดยรอบอย่างมากมาย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โครงสร้างพิ้นฐานเสียหายหมดสิ้น

ภัยแผ่นดินไหวหรืออุกกาบาตนั้น คงไม่อาจไปจัดการอะไรได้ แต่ภัยที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพโลกร้อน ซึ่งหมายถึงการต้องเร่งกวดขันพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเราท่าน ให้เอาใจใส่สภาพรอบตัวมากกว่านี ก่อนจะสายเกินไป

** วิลมา และโซไรดา เป็นชือพายุของ PAGASA หรืออุตุฟิลปปินส์
** กรมอุตุไทยไม่หาทางเรียกชื่อพายุหากพายุไม่มีความเร็วตาม WMO กำหนด แต่จะตามแบบอุตุญี่ปุ่นก็ไม่ตามทั้งหมด (ญี่ปุ่นเรียกด้วยตัวเลขเช่น 1301) อุตุไทยจึงสร้างความสับสนเวลาระบุพายุ คือเรียกว่า “พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้” ซ้ำๆตลอดมา หากเกิด 2 ลูกพร้อมกันก็ไม่ทราบจะแยกยังไง
**JTWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 31 มี.ค.
**ทุ่นสึนามิไทย 23401 เกิดเสาอากาศหลุดจากชุด BPR ในวันที่ 21 ส.ค. จวบจนสิ้นปีก็ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม

 

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 เมษายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • สรุปถึงวันนี้ ปี 2556 มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดแล้ว 4 ลูก เป็นดีเปรสชัน 2 ลูกคือ TD02W และ TD04W และพายุโซนร้อน 2 ลูกคือโซนามู TS01W (ตาย 2) และซานซาน TS03W (ตาย 4) (ภาพจากวิกิพีเดีย) โดยพายุโซนร้อนโซนามูและดีเปรสชัน 02W เกิดในเดือนมกราคม พายุโซนร้อนซานซานเกิดในเดือนกุมภาพันธ์ และดีเปรสชัน 04W เกิดในเดือนมีนาคมตามภาพ2013storm
  • 20.00 แผ่นดินไหวขนาด 6.2 บริเวณ ทางตะวันออกของ ประเทศรัสเซีย-ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศจีน (ตรงรอยต่อ) ที่ความลึก 561.90 กม.
  • 12:00 คนงานชายในฟาร์มไก่ที่มณฑลเจียงซูเสียชีวิตเป็นรายที่4จากไข้หวัดนก H7N9 ยอดคนป่วยรวม 11 ราย-เวียดนามสั่งแบนไก่จีนแล้ว
  • 11:00 ประกาศกรมอุตุเรื่องพายุฤดูร้อนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • ภูเขาไฟตอลบาชิกในคาบสมุทรกัมชัดกาของรัสเซียปะทุธารลาวากว้าง 15 เมตรไหลด้วยความเร็ว 5 เมตร/วินาที
  • น้ำท่วมอาร์เจนฯยังสูญหาย 20 คน ยอดตายเพิ่มเป็น 57
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • กราฟแผ่นดินไหวประจำวันนี้ ของสถานี CMMT-กรมอุตุ
  • 23:20 แผ่นดินไหว  ขนาด 2.9 มีจุดศูนย์กลางบริเวณตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  เบื้องต้นได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณอำเภอแม่วาง อ.หางดง และที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ Q2320
  • 13:44 แผ่นดินไหวขนาด 4.3 พม่า Q1344
  • 10:48 แผ่นดินไหวขนาด 3.2 พม่าQ1048
  • 04:22 แผ่นดินไหขนาด 2.7 พม่า Q0422

[stextbox id=”black”]สังเกตแผ่นดินไหวพม่า หรือแม้แต่ในประเทศไทย จ.เชียงใหม่วันนี้ ล้วนมีขนาดเล็กกว่า 4.5 ทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เอเย่นต์สากลรับสัญญาณไม่ได้หรือได้ไม่สมบูรณ์ จึงมีแต่กรมอุตุไทยเท่านั้นที่ออกมารายงาน เนื่องจากถือเป็น Local Siesmic ต่างจากขนาด 5.x เมื่อวานที่ถือเป็น TeleSiesmic และเอเย่นต์สากลรับสัญญาณได้ทั่วทั้งโลก [/stextbox]

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

ปี 2012 เป็นรอยต่อเข้าสู่ช่วงร้อนแล้งรุนแรงใน 2013

ผลการวิจัยจากหลายสถาบัน โดยใช้ ENSO แบบหลายตัวแปร หรือ MEI ในการพยากรณ์สภาพลมฟ้าอากาศในปี 2012 และปี 2013 ได้ผลค่อนข้างตรงกัน ว่ากำลังจะเกิดสภาพร้อนแล้งสาหัสในภูมิภาคแถบนี้

โดยกราฟด้านบนนี้ ได้มาจาก skepticalscience.com แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเข้าลักษณะเอลนิลโยในปี 2013 โดยมีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามตารางด้านล่างนี้

 Year
 ENSO
TSI  CO2
Temp Anomaly
2010 0.036 -0.060 0.63
2011 -0.092 -0.056 0.02 0.51
2012 -0.024 -0.015 0.04 0.65
2013 0.030 0.025 0.06 0.76

จะเห็นว่าตัวแปรที่มีอิทธพลทั้ง 3 ล้วนชี้ไปในทิศทางที่บ่งบอกว่า  ปี 2012 แม้จะยังไม่เข้าสู่ช่วงเอลนิลโยเต็มตัว แต่จะเป็นการนำสู่การไต่ระดับของอุณหภูมิ และจะปรากฏชัดเจนในปีถัดไป คือ 20123 ซึ่งผลของเอลนิลโย จะส่งผลชัดเจน

ดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3 ชนโลกที่ซูดาน

เมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคม 2551 มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งได้พุ่งเข้าสู่โลกและระเบิดขึ้นในบรรยากาศสูงขึ้นไป 37 กิโลเมตรเหนือน่านฟ้าของประเทศซูดาน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า 2008 TC3 ซึ่งถูกค้นพบก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน

แม้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าการระเบิดนั้นจะทำลายเนื้อเดิมไปจนหมดสิ้นกลางอากาศ แต่ปฏิบัติการค้นหาชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยก็เกิดขึ้นที่ทะเลทรายนิวเบียน และการค้นหานี้ก็ได้ผลลัพท์ที่ไม่คาดฝัน

นักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยคาร์ทอม ขณะกำลังเตรียมค้นหาเศษอุกกาบาต

การค้นหาดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเซติและมหาวิทยาลัยคาร์ทอม โดยค้นหาเป็นระยะทางยาว 29 กิโลเมตรในเส้นทางที่คำนวณจากทิศทางที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าสู่โลก เพียงสองชั่วโมงหลังจากการค้นหาเริ่มต้นก็พบเศษอุกกาบาตชิ้นแรก และเมื่อสิ้นสุดการค้นหา ก็นับจำนวนได้ทั้งสิ้น 280 ชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าไข่ไก่

“นี่เป็นโอกาสที่พิเศษจริง ๆ เป็นครั้งแรกที่เราสามารถนำตัวอย่างของเศษดาวเคราะห์น้อยที่เห็นตั้งแต่ยังอยู่ในอวกาศ และนำมันมาเข้าห้องทดลองได้” เจนนิสเกน หัวหน้าผู้เขียนรายงานที่ตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์กล่าว

ความน่าสนใจยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ไมเคิล โซเลนสกี นักวิทยาแร่อวกาศจากศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาพบว่าอุกกาบาตที่พบนี้มีความพรุนถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่แม้จะพรุนมากแต่ก็ยังแข็งพอที่จะฝ่าบรรยากาศมาถึงพื้นโลกได้

จากการศึกษาสเปกตรัม นักดาราศาสตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อย 2008 ทีซี 3 เป็นดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟ (F-class asteroid) การที่นักดาราศาสตร์สามารถเชื่อมโยงอุกกาบาตที่พบบนพื้นโลกเข้ากับดาวเคราะห์น้อยที่เห็นในอวกาศและทราบชนิดมาก่อน ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถวัดสมบัติต่าง ๆ ของดาวเคราะห์น้อยชนิดนั้นได้โดยตรง

“การศึกษาดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟจากอุกกาบาตจึงมีผลดีต่อการหาวิธีป้องกันโลก จากการรุกรานของดาวเคราะห์น้อยชั้นเอฟดวงที่ใหญ่กว่าที่อาจจะมาชนโลกในวัน ข้างหน้าได้ การที่ได้รู้ว่าดาวเคราะห์น้อยจำพวกนี้มีความเปราะมากเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยมรณะชั้นเอฟด้วยระเบิดนิวเคลียร์แบบที่เห็นในภาพยนต์นั้นย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ฉลาด เพราะ การระเบิดจะทำให้วัตถุเดี่ยวที่คาดการณ์ได้ต้องแตกออกเป็นฝูงของดาวเคราะห์ น้อยดวงเล็กที่ยังมีอานุภาพร้ายแรงแต่มีจำนวนมากซึ่งคาดการณ์ได้ยากกว่า” เจนนิสเกนส์อธิบาย

ที่มา:

พบวัตถประหลาดขนาดยักษ์ที่ดวงอาทิตย์

เมื่อวันที่ 11-12 มีนาคม 2555 กล้องของ NASA ได้ส่องพบก้อนวัตถลึกลับขนาดใหญ่กว่าโลกหลายเท่า มีเส้นใยยึดโยงกับดวงอาทิตย์และได้หลุดออกมาในภายหลัง ยังหาคำอธิบายสิ่งนี้ไม่ได้


 


ข่าว-ดาวเคราะห์น้อยชนโลกปี ค.ศ. 2040

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5

ช่วงวันสองวันนี้ มีข่าวจากสื่อต่างๆในไทย เรื่องดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  ที่จะเข้าชนโลกใน 28 ปีข้างหน้า ซึ่งจะตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2040 หรือ พ.ศ. 2583 นั้น

ทางเว็บภัยพิบัติ ได้ตรวจสอบข้อมูลจาก NASA และขอชึ้แจงว่า ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ในขณะนี้ ค่าความเสี่ยงการชนกับโลก ในตารางทอริโน = 1  ในระดับสีเขียว ซึ่งแปลว่ายังไม่ควรมีความกังวลใดๆทั้งในระดับประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานรัฐฯ (อ้างอิง บทความเพิ่มเติม)

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ได้รับการค้นพบในวันที่ 8 มกราคม 2554 ด้วยกล้อง 60 นิ้วชนิดสะท้อนแสง บนยอดเขาแคทารินา ในรัฐนเอริโซนา

ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 มีลักษณะเป็นก้อนหินแบบรี ขนาดของส่วนที่กว้างที่สุด 140 เมตร มีมวล 4 พันล้านกิโลกรัม มีแรงปะทะ 102 ล้านตัน และมีความเร็วในวงโคจร 14.67 กิโลเมตร/วินาที

จากการคำนวนในขณะนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  มีโอกาสชนกับโลกที่  0.16% แปลว่าจะพลาดไปจากโลกสูงถึง 99.84%  ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 2040

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเรายังไม่มีรูปแบบวงโคจรเต็มวงของ 2011 AG5 ซึ่งปกติเราต้องใช้วงโคจรเต็มวง 2 รอบเพื่อแน่ใจในการคำนวนโอกาสการเข้าชนของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ และการกำหนดรูปแบบวงโคจร จะทำในเดือนกันยายน ปี 2013 ซึ่ง ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 จะเข้ามาใกล้โลกที่ระยะ 147 ล้านกิโลเมตร

หลังจากนั้น จะมีการสังเกตช่วงการเข้า keyhole หรือ รูกุญแจ ของก้อนหินก้อนนี้ในปี 2023 ซึ่ง 2011 AG จะเข้ามาใกล้โลกมากถึงระยะ 1.6 ล้านกิโลเมตร และจะเป็นการกำหนดความแน่นอนระยะสุดท้าย เพราะหากดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5  รอดรูกุญแจของมันได้ในปี 2023 นั่นแปลว่ารอบต่อไปจะเกิดการเข้าชนในความน่าจะเป็นที่สูงที่สุด และเรามีเวลา 17 ปีในการเตรียมการรับมือ

ปล. รูกุญแจ คือบริเวณที่แรงดึงดูดของโลกมีผลหักเหวงโคจรของ NEO ต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่สมมุติไว้ มีขนาดไม่กี่ไมล์ถึงไม่กี่ร้อยไมล์ และจะเป็นการสังเกตในรอบโคจรรอบสุดท้ายก่อนหน้าการเข้าชน 1 รอบ หาก NEO ไม่ผ่านเข้ารูกุญแจ การเข้าชนกับโลกในรอบต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น

ท่านสามารถกดดู ตารางข้อมูล และ วงโคจร จาก NASA ได้โดยตรงโดยคลิ็กที่ Link

Thunderstorms – พายุฤดูร้อน

Thunderstorms แปลตรงๆว่า พายุฝนฟ้าคะนอง (ไม่ได้มีลมหมุนแบบพายุหมุนเขตร้อนที่เราเข้าใจกันตามปกติ) แต่กรมอุตุไทยจะเรียก พายุฤดูร้อน เพราะมักเกิดในฤดูร้อน บางทีเรียกแบบนี้ อาจสร้างความสับสนให้ประชาชนผู้รับข่าวสารได้

พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น

สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อน มักเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทยในจังหวะที่มีความกดต่ำปกคลุมอยู่ก่อนเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดการปะทะกัน ระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยจากความกดต่ำ และอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีนจากความกดสูง

การปะทะกันแบบนี้ อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus หรือ Cb) ที่มีลักษณะเป็นเมฆรูปทั่งขนาดยักษ์ สูงหลายสิบกิโลเมตร

เมฆคิวมูโลนิมบัส  หรือ เมฆฝนฟ้าคะนอง จะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา มีการยกตัวของอากาศร้อนบนพื้นอย่างรวดเร็ว อากาศเย็นกว่าในระนาบพื้นจะไหลมาแทนที่อย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดลมกรรโชกแรงกระทันหัน ลมนี้เป็นเหมือนลมพายุใต้ก้อนเมฆที่ก่อตัวแบบกระทันหัน และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้ แต่เหตุการณ์ทั้งหมด จะจบใน 2 ชั่วโมงเป็นอย่างมาก ในแต่ละจุด จากนั้นเมฆ Cb นี้จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เหลือฝนโปรยปรายธรรมดา

พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่นๆ จะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด

อันตรายที่อาจเกิด และวิธีป้องกัน

  • อันตรายจากฟ้าผ่า ให้ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูงๆ หลักเลี่ยงการออกไปยืนในที่โล่งแจ้งในขณะเกิดพาายุฝนฟ้าคะนองนี้
  • อันตรายจากลมกรรโชกแรง ให้ระวังป้ายโฆษณา หลังคาบ้าน จะปลิวมาทับ ให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน อุดช่องว่างไม่ให้ลมเข้า เพราะลมจะเข้ามายกตัวทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย
  • ระวังลูกเห็บตกใส่
  • ระวังต้นไม้ใหญ่โค่นล้ม เสาทีวีหัก และอาจเกิดไฟรั่วจากน้ำที่เจิ่งนองพื้น