รายงานภัยพิบัติเสาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 เรดาร์​ฝน​ TMD แสดงฝนตก​หนัก​ใน จ.อุดรธานี
  • 21:45 เรดาร์ TMD แสดงฝนฟ้าคะนองใจ จ.แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร และบางอำเภอในจังหวัดใกล้เคียง
  • 17:30 เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตก ในพื้นที่ ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา มีหมู่บ้านที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมูที่ 3 บ้านดอนไชยป่าแขม หมู่ที่ 5 บ้านต้นฝาง หมู่ที่ 6 บ้านหลวง หมู่ที่ 7 บ้านฝายแก้ว หมู่ที่ 8 บ้านป่าแพะ
  • 16:30 เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ที่ อ.สวรรคโลก และ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
  • 13:00 พายุโซนร้อน Gelena ในมหาสมุทรอินเดียโซนซีกโลกใต้อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชันและได้สลายตัวลงไปแล้ว ขณะที่พายุโซนร้อน Oma ในมหาสมุทรแปซิฟิกโซนซีกโลกใต้ พัฒนาเป็นไซโคลนแล้วในเวลานี้
  • 07:30 มีฝนตกใน กทม แถบฝั่งธน และ ฝนอีกกลุ่มใน จ.นนทบุรี
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • 06:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เช้านี้ มีค่า 30.5 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=89 ไม่เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนเหลือง สามารถใช้ชีวิตกลางแจ้งได้ตามปกติ
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี อ่างเก็บน้ำสอง จ.แพร่ (PHRA) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

อาทิตย์ 1 กรกฏาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:05 แผ่นดินไหว 1.9 ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 
  • 19:10 แผ่นดินไหว 3.8 ทางตะวันตกของแม่ฮ่องสอน ในเขตประเทศพม่า 
  • 10:00 พายุฝนที่พัดถล่มตั้งแต่รัฐอินเดียนามาจนถึงนิวเจอร์ซีย์ ทำให้บ้านเรือนประชาชนและอาคารพาณิชย์กว่า 4 ล้านหลังคาเรือนในรัฐทางตะวันออกของสหรัฐฯ ต้องอยู่โดยปราศจากกระแสไฟฟ้าเมื่อวานนี้ อีกทั้งเกิดคลื่นความร้อนกว่า 37 องศา ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 13 ราย
  • 04:00 พายุสุริยะความเร็ว 646 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเริ่มมีการสั่นสะเทือนที่ระดับ kp=4

พฤหัส 8 มีนาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:00 ระดับโปรตรอนหลังการเข้าชนของ CME พุ่งเกือบทะลุกราฟ ซึ่งเป็นระดับที่สูงมากผิดปกติแบบไม่เคยเกิดหลายปี ระดับความเร็วลมสุริยะ 284 กม/วินาที ยังคงต่ำมาก ไม่มีพายุสุริยะใดๆ
  • 18:00 CME จากดวงอาทิตย์เข้าชนโลก ก่อให้เกิดพายุแม่เหล็กโลก ที่ kp=5 ผลที่เกิด จะรายงานให้ทราบต่อไป 
  • 15:30 ลมสุริยะความเร็ว 291 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกยังอยู่ในสภาพปกติ
  • 15:00 มีรายงานการเกิดพายุลูกเห็บแถบเมือง เซ็ดกวิก รัฐแคนซัส
  • 11:30 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 3 กดอ่าน
  • 11:15 ลมสุริยะยังคงพัดเบาๆ ที่ 289 กม/วินาที ขณะที่จุดดับ 1429 โคจรจนหันหน้าตรงกับโลกเราแล้ว 
  • 10:30 พายุแม่เหล็กในบรรยากาศโลก เริ่มสงบลงแล้ว เหลือความสั่นสะเทือนที่ kp=2 
  • นักวิเคราะห์จาก  Goddard Space Weather Lab คาดหมายว่ากลุ่มพลาสมาที่ปะทุจากดวงอาทิตย์ (CME) จะเดินทางมาถึงโลก 13:25 เวลาไทย (+/- เจ็ดชั่วโมง)
  • 05:00 อุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุฤดูร้อนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 02:00 ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อน Irina ใน มาดากัสการ์ อยู่ที่ 72 ศพ และมีผู้ไร้ที่อยูอาศัยจำนวน 78,000 ราย
  • 01:30 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน 16S ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • 01:00 ระดับความร้อนของพลาสมา วัดที่ยานอวกาศในวงโคจรนอกโลกช่วงวันที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ 
  • 00:00 ยังคงเกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกที่ระดับ kp=5 และ 6 อยู่อย่างต่อเนื่องดังกราฟที่ 1 ระดับรังสีเอ็กซ์กลับเข้าสู่ปกติแล้ว ดังกราฟที่ 2 ระดับโปรตรอนทุกช่วงคลื่นยังสูงผิดปกติ ดังกราฟที่ 3 ที่แปลกคือไม่มีพายุสุริยะ ลมสุริยะยังมีความเร็วต่ำมากคือ 286 กม/วินาที
  • เอกวาดอร์ – ฝนที่ตกหนักมายาวนาน ทำให้หลายจังหวัดในพื้นที่ชายฝั่งต้องเผชิญกับน้ำไหลบ่าเข้าชุมชนต่างๆ อย่างรวดเร็ว บางแห่งระดับน้ำท่วมสูงถึงเอว มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยอย่างน้อย 20 คน บาดเจ็บอีก 65 คน และอีกกว่า 2,800 คน ต้องอพยพออกจากบ้านไปอยู่ในที่พักชั่วคราว รวมทั้งมีบ้านเรือนเสียหายราว 160 หลัง
  • ออสเตรเลีย – รัฐนิวเซาท์เวลส์  และควีนส์แลนด์ ยังคงเจอฝนหนักต่อเนื่อง มีน้ำท่วมในบริเวณกว้าง โดยเฉพาะซิดนีย์ ที่มาโดนฝนหลังสุดแต่ปริมาณฝนถือว่าตกหนักที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา

อังคาร 28 ก.พ. 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • มุกดาหาร  – สภาพอากาศแล้งจัด สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง  ส่อวิกฤติหนักกว่าทุกปี เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลงอย่างรวดเร็วมาก จนปัจจุบันระดับน้ำลดลงเหลือเพียง 1.55 เมตร จากระดับน้ำปกติอยู่ที่ 13.35 เมตร
  • กาฬสินธุ์ -เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่ม บ้านโนนสมควร ตำบลนิคมห้วยผึ้ง ได้รับความเสียหายครอบคลุมถึง 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล เสียหายกว่า 100 หลังคาเรือน
  • 14:23 JTWC พบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำเหนือประเทศอมาดากัสการ์ มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุหมุนในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้
  • 08:21 แผ่นดินไหว 2.8 ติดอำเภอแม่สาย ในเขตประเทศพม่า
  • 07:15 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิดในทุกมหาสมุทร
  • 07:00 กทม 28°C กระบี่ 24°C พะเยา 13°C ภูเก็ต 26°C ท่าวังผา 17°C มุกดาหาร 20°C สกล 20°C สงขลา 25°C ลำปาง 17°C อุบล 22°C เชียงราย 13°C เชียงใหม่  17°C
  • การปะทะของลมสุริยะที่นำอนุภาคจากมวล CME ของดวงอาทิตย์มาถึงโลกเมื่อวานนี้ เกิดออโรราที่ประเทศฟินแลนด์ ภาพนี้ถ่ายโดย  Andy Keen 
  • เมื่อวานนี้ 27 ก.พ. 55 เขื่อนภูมิพล ระบายน้ำลดลง 0.24 เมตร รทก . คงเหลือปริมาณน้ำ 9,552.48 ล้าน ลบม หรือ 70.96%

Thunderstorms – พายุฤดูร้อน

Thunderstorms แปลตรงๆว่า พายุฝนฟ้าคะนอง (ไม่ได้มีลมหมุนแบบพายุหมุนเขตร้อนที่เราเข้าใจกันตามปกติ) แต่กรมอุตุไทยจะเรียก พายุฤดูร้อน เพราะมักเกิดในฤดูร้อน บางทีเรียกแบบนี้ อาจสร้างความสับสนให้ประชาชนผู้รับข่าวสารได้

พายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น

สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อน มักเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทยในจังหวะที่มีความกดต่ำปกคลุมอยู่ก่อนเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดการปะทะกัน ระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยจากความกดต่ำ และอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีนจากความกดสูง

การปะทะกันแบบนี้ อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus หรือ Cb) ที่มีลักษณะเป็นเมฆรูปทั่งขนาดยักษ์ สูงหลายสิบกิโลเมตร

เมฆคิวมูโลนิมบัส  หรือ เมฆฝนฟ้าคะนอง จะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา มีการยกตัวของอากาศร้อนบนพื้นอย่างรวดเร็ว อากาศเย็นกว่าในระนาบพื้นจะไหลมาแทนที่อย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดลมกรรโชกแรงกระทันหัน ลมนี้เป็นเหมือนลมพายุใต้ก้อนเมฆที่ก่อตัวแบบกระทันหัน และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้ แต่เหตุการณ์ทั้งหมด จะจบใน 2 ชั่วโมงเป็นอย่างมาก ในแต่ละจุด จากนั้นเมฆ Cb นี้จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เหลือฝนโปรยปรายธรรมดา

พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่นๆ จะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด

อันตรายที่อาจเกิด และวิธีป้องกัน

  • อันตรายจากฟ้าผ่า ให้ติดตั้งสายล่อฟ้าในอาคารสูงๆ หลักเลี่ยงการออกไปยืนในที่โล่งแจ้งในขณะเกิดพาายุฝนฟ้าคะนองนี้
  • อันตรายจากลมกรรโชกแรง ให้ระวังป้ายโฆษณา หลังคาบ้าน จะปลิวมาทับ ให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน อุดช่องว่างไม่ให้ลมเข้า เพราะลมจะเข้ามายกตัวทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย
  • ระวังลูกเห็บตกใส่
  • ระวังต้นไม้ใหญ่โค่นล้ม เสาทีวีหัก และอาจเกิดไฟรั่วจากน้ำที่เจิ่งนองพื้น