รายงาน​ภัยพิบัติ​ 13 สิงหาคม​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 พบการ​ก่อ​ตัวใหม่​ของ​พายุ​ดีเปรสชัน​ 09W ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า Wukong 悟空 หมายถึงลิงวิเศษ​หงอคง ตั้งโดยประเทศ​จีน พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 28.1 N 149.8 E ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​ 30 น็อต​ ยังไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่งประเทศใด
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 01:00 พายุ​ดีเปรสชัน​ 08W ที่ก่อตัวขึ้นใหม่ใกล้เกาะอีโวจิมะ ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนได้ชื่อเรียกว่า “อ็อมปึล” អំពិល Ampil หมายถึงมะขาม ตั้งโดยประเทศกัมพูชา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 40 น็อต ความกดอากาศ 992 hPa​ เคลื่อนตัวไปทางทิศ​เหนือ​ มุ่งไปทางเกาะฮอนชู
  • 01:00 พายุ​ดีเปรสชัน​ 07W ที่ก่อตัวขึ้นใหม่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า “เซินติญ” Son-Tinh เป็นชื่อเทพเจ้าของเวียดนาม ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 40​ น็อต​ ความกดอากาศ 993 น็อต​ เคลื่อนตัว​ไป​ทางทิศ​เหนือ
  • 01:00 พายุ​โซน​ร้อน​ “มารีอา” Maria ​เคลื่อนตัว​ลงสู่ทะเล​ญี่ปุ่น​ อ่อนกำลัง​ลง​เป็น​พายุ​ดีเปรสชัน​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ลดลง​เหลือ​ 25 น็อต​ ความกด​อากาศ​ 999 hPa​ พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 40.8°N 138.8°E แนวโน้ม​สลายตัว​
  • 01:00​ ​แผนที่​อากาศ​จาก​ JMA

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำะพฤหัส 26 กรกฎาคม 2561

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:21 ฝนตก อ.เมืองสมุทรปราการ เคลื่อนตัวทิศตะวันออก พื้นที่ กทม.ไม่พบกลุ่มฝน ดูภาพเรดาร์
  • 18:00 พายุโซนร้อนหวู่คงมีแนวโน้มจะสลายตัวใน 24 ชม. ส่วนพายุโซนร้อนชงดารีกำลังจะกลายเป็นไต้ฝุ่นใน 24 ชมเช่นกัน เส้นทาวไปขึ้นฝั่งญี่ปุ่น
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • 06:00 ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเช้านี้ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง via  
  • รัฐบาล​ไทย​เปิด​บัญชี​รับบริจาค​ช่วยน้ำท่วม สปป ลาว บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล ชื่อบัญชี “หัวใจไทยส่งไป สปป. ลาว” เลขที่บัญชี 067 – 0 – 12886-4
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี SRDT เขื่อนศรีนครินทร์ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากแถบเส้นศูนย์สูตร มีคำเตือนถึงการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ในซีกโลกใต้คือ 06P
    image

  • 22:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 05P ทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน
  • 21:00 สรุปยอดตายล่าสุดในฟิลิปปินส์จากพายุหวู่คงล่าสุดที่ 11 ราย
  • 19:30 อีก 3 วันก็สิ้นปี 2555 หรือ 2012 ก้าวเข้าสู่ที่ได้รับการทำนายว่าเป็น Solar Maximum ของวัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้ (เริ่มจากปี 2008) แต่จากการติดตามจำนวนจุดดับของดวงอาทิตย์ ปรากฏยอดแหลมหรือ Peak ที่ปลายปีที่แล้วหรือ 2554 /2011 จากนั้นดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะสงบลงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ทั้งนี้ก็น่าจะยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะมีจำนวนจุดดับกลับเพิ่มขึ้นได้ปีในปีหน้าหรือ 2556/2013 และหากเป็นเช่นนั้นจริง วัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้จะมียอดแหลม 2 ยอดเลยทีเดียว (เส้นแดงในกราฟคือการคาดการณ์ เส้นดำคือจำนวนที่เกิดจริง เส้นน้ำเงินคือเส้นดำที่เฉลี่ยให้เรียบดูง่ายขึ้น)
    image
  • 19:00 เส้นทางพายุดีเปรสชั่นหวู่คงจาก TSR หลังพายุนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 25 น็อตและมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวดังในภาพ
    image
  • 15:00 ข้อสังเกต –  คาบการเกิดแผ่นดินไหวรายงานจากเอเย่นต์สากลต่างๆเช่น USGS หรือ Geofon นั้นทิ้งช่วงห่างจาก 3-6 ชั่วโมง จากระดับปกติที่จะมีแผ่นดินไหวชั่วโมงละหลายครั้ง หรืออยางช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง และสัปดาห์ที่ผ่านมา แผ่นดินไหวทั่วโลกก็เกิดน้อยครั้งกว่าปกติ

[stextbox id=”warning”]ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดี พยายามถล่มเว็บภัยพิบัติเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งทางเว็บเราให้ข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้มีผลประโยชน์จากทางใดเลย แต่เราไม่ก้มหัวให้ความลวงโลกหรือการโป้ปดต่างๆ และคงไปเปิดโปงให้ใครอับอายในความโง่เขลา จึงพยายามทำเช่นนี้มาตลอด[/stextbox]

  • 10:00 ทาง JTWC ขณะจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (ทางขวาของภาพดาวเทียม) เมื่อเวลา 03:30 ตามเวลาไทย กลับพบว่า พายุหวู่คง TD27W ซึ่งประกาศสลายตัวไปแล้วนั้น ได้รวมตัวขึ้นมาใหม่เป็นพายุดีเปรสชัน และทางอุตุนิยมญี่ปุ่นก็ยืนยันเรื่องนี้ ทั้งยังคาดแนวทางพายุจะเคลื่อนมาใกล้ทางมาเลฯกับภาคใต้ของไทยด้วย 
  • 07:00 แผนที่อากาศกรมอุตุ ช่วงนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นเนื่องจากหย่อมความกดอากาศสูงหย่อมเก่าผ่านเลยไปแล้ว แต่หย่อมใหม่กำลังแรง H ขนาด 1052 mbar กำลังจะเข้ามา น่าจะมีผลช่วง 3-5 วันข้างหน้านี้ (ในภาพจะไม่เห็นพายุหวู่คงแล้วเนื่องจากทางไทยถือว่าสลายตัว) 
  • 06:30 กทม 25°C กระบี่ 23°C พะเยา 17°C กาญจนบุรี  25°C สงขลา 23°C ลำพูน 18°C ขอนแก่น 20°C อุดร 19°C อุบล 21°C ลำปาง 17°C เชียงใหม่ 18°C เชียงราย 17°C
  • 06:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทย 
  • 01:28 ลมสุริยะลดความเร็วลงเหลือเพียงแค่ 277 กม/วินาที แรงดันตกลงมาเหลือแค่ 0.2 nPa ถือเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อนหวู่คงถล่มฟิลิปปินส์ ล่าสุดขณะนี้ 4 ราย
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมมาเลเชียเพราะฝนหนักขณะนี้ 2 ราย
[stextbox id=”info”]ลำดับของความเสียหายในอุปกรณ์ไฟฟ้าบนผิวโลก เริ่มจาก CME หรือ พายุสุริยะ Solar storm ไปก่อให้เกิด พายุสนามแม่เหล็กโลก Geomagnetic storm แล้ว พายุสนามแม่เหล็กโลก ไปก่อให้เกิด กระแสเหนี่ยวนำภาคพื้นดิน  Geomagnetically induced currents (GIC) อีกที แล้วกระแส GIC นี้ จึงมีผลต่อสิ่งของบนโลก โดยปกติตัวพายุสุริยะเองนั้นทำอะไรผิวโลกไม่ได้ นอกจากสร้างแสงออโรราสวยงาม เว้นแต่ความเร็วลมสูงจัดเกิน 800 km/s ขึ้นไปเท่านั้น[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2555 (ครบ 8 ปี สึนามิภาคใต้)

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 รัสเซีย – 10 วันที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 123 ราย กับอากาศหนาว -30°C ในมอสโค และ -50°C ในไซบีเรีย
  • 20:45 ปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง บางช่วงลมสุริยะลดต่ำกว่า 300 กม/วินาที
  • 20:30 พายุหวู่คง กำลังจะเคลื่อนออกจากประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ ด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต 
  • 10:27 ภาพช่องโหว่ในบรรยากาศชั้นโคโรนาเวลานี้ ถ่ายโดยช่วงแสง 193A ปรากฏว่าช่องโหว่นั้นหมดสภาพที่จะส่งอนุภาคหรือลมสุริยะมายังโลก เนื่องจากขนาดของช่องหดเล็กลงและหันออกจากแนวตรง 
  • 09:00 อุตุฯเวียดนาม คาดการณ์ว่าพายุหวู่คง จะสลายตัวก่อนถึงฝั่งประเทศตน ไม่ส่งผลมาถึงไทย ลาว กัมพูชา
  • 07:15 พายุหงอคง หรือ หวู่คง หรือ QUINTA ตามการเรียกของฟิลิปปินส์ อ่อนแรงลงเล็กน้อยเมื่อขึ้นฝั่งที่ Leyte และล่าสุดกำลังเคลื่อนไปทางเกาะ Camotes
  • 06:30 กรุงเทพ 24°C ระนอง 24°C  กระบี่ 23°C ลพบุรี 24°C ตรัง 23°C ระยอง 21°C ลำปาง 20°C ลำพูน 20°C เชียงใหม่ 20°C อุบล 20°C หนองคาย 19°C เชียงราย 18°C
  • 06:15 พายุสุริยะความเร็วลม 325 km/s สนามแม่เหล็กโลก -เงียบสงบ-  สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 03:00 ดีเปรสชันหวู่คง ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์แล้ว
    image
  • 02:00 พายุ 04A ทางตะวันออกของประเทศโซมาเลีย สลายตัวแล้ว
  • 00:10 ความกดอากาศสูงจากจีนอ่อนแรงลง อากาศโดยทั่วไปเริ่มอุ่นขึ้นเล็กน้อย
  • 00:00 ทั่วโลกแผ่นดินหยุดไหวไป 7 ชั่วโมง สงบเงียบผิดปกติ (วัดจากรายงานของเอเยนเจ้าใหญ่ๆ เช่น USGS Geofon)
  • น้ำท่วม จ.พัทลุง เริ่มคลี่คลาย หลังฝนหยุดตก ส่วนดินถล่มริมป่าเทือกเขาบรรทัด ขยายวงกว้าง เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง
[stextbox id=”info”]ความเร็วเดินทางของสึนามิ  คิดจาก √(GD) โดย D คือความลึกของท้องทะเลของจุดเกิดแผ่นดินไหว และ G คือความเร่งที่ 9.81 m² เมื่อคลื่นเข้าหาฝั่ง ความเร็วจะลดลงเท่ากับ 3.1 x √(d) โดย d คือความลึกของฝั่ง แต่คลื่นจะพยายามรักษาคาบ (T) ไว้ จาก T=L/Cดังนั้น เมื่อความเร็ว C ลด ความกว้างคลื่น L ย่อมลด และเมื่อคลื่นจะพยายามคงคาบ T ไว้ คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าฝั่ง  จากที่อธิบายมานี้ การจะรู้ว่าคลื่นสึนามิเข้าหาดไหนสูงกี่เมตร ต้องรู้ค่า D และ d ตอนเกิดเหตุแล้วเท่านั้น จะมาพูดล่วงหน้าไม่ได้ ระวังจะถูกหลอก[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 22:20 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.48,96.15) ขนาด 4.8  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 394 กม.
  • 20:59 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.29,96.21) ขนาด 5.6  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 373 กม.
  • 15:48 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.68,96.32) ขนาด 4.8   ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 404 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”] ไม่มีหลักฐานทางวิชาการใดๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ จะระบุได้ว่าแผ่นดินไหวกับพายุสุริยะมีความเกี่ยวข้องกัน ระวังจะถูกหลอก [/stextbox]