เหตุการณ์วันนี้
- 23:30 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากแถบเส้นศูนย์สูตร มีคำเตือนถึงการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ในซีกโลกใต้คือ 06P
- 22:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 05P ทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน
- 21:00 สรุปยอดตายล่าสุดในฟิลิปปินส์จากพายุหวู่คงล่าสุดที่ 11 ราย
- 19:30 อีก 3 วันก็สิ้นปี 2555 หรือ 2012 ก้าวเข้าสู่ที่ได้รับการทำนายว่าเป็น Solar Maximum ของวัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้ (เริ่มจากปี 2008) แต่จากการติดตามจำนวนจุดดับของดวงอาทิตย์ ปรากฏยอดแหลมหรือ Peak ที่ปลายปีที่แล้วหรือ 2554 /2011 จากนั้นดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะสงบลงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ทั้งนี้ก็น่าจะยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะมีจำนวนจุดดับกลับเพิ่มขึ้นได้ปีในปีหน้าหรือ 2556/2013 และหากเป็นเช่นนั้นจริง วัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้จะมียอดแหลม 2 ยอดเลยทีเดียว (เส้นแดงในกราฟคือการคาดการณ์ เส้นดำคือจำนวนที่เกิดจริง เส้นน้ำเงินคือเส้นดำที่เฉลี่ยให้เรียบดูง่ายขึ้น)
- 19:00 เส้นทางพายุดีเปรสชั่นหวู่คงจาก TSR หลังพายุนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 25 น็อตและมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวดังในภาพ
- 15:00 ข้อสังเกต – คาบการเกิดแผ่นดินไหวรายงานจากเอเย่นต์สากลต่างๆเช่น USGS หรือ Geofon นั้นทิ้งช่วงห่างจาก 3-6 ชั่วโมง จากระดับปกติที่จะมีแผ่นดินไหวชั่วโมงละหลายครั้ง หรืออยางช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง และสัปดาห์ที่ผ่านมา แผ่นดินไหวทั่วโลกก็เกิดน้อยครั้งกว่าปกติ
[stextbox id=”warning”]ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดี พยายามถล่มเว็บภัยพิบัติเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งทางเว็บเราให้ข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้มีผลประโยชน์จากทางใดเลย แต่เราไม่ก้มหัวให้ความลวงโลกหรือการโป้ปดต่างๆ และคงไปเปิดโปงให้ใครอับอายในความโง่เขลา จึงพยายามทำเช่นนี้มาตลอด[/stextbox]
- 10:00 ทาง JTWC ขณะจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (ทางขวาของภาพดาวเทียม) เมื่อเวลา 03:30 ตามเวลาไทย กลับพบว่า พายุหวู่คง TD27W ซึ่งประกาศสลายตัวไปแล้วนั้น ได้รวมตัวขึ้นมาใหม่เป็นพายุดีเปรสชัน และทางอุตุนิยมญี่ปุ่นก็ยืนยันเรื่องนี้ ทั้งยังคาดแนวทางพายุจะเคลื่อนมาใกล้ทางมาเลฯกับภาคใต้ของไทยด้วย
- 07:00 แผนที่อากาศกรมอุตุ ช่วงนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นเนื่องจากหย่อมความกดอากาศสูงหย่อมเก่าผ่านเลยไปแล้ว แต่หย่อมใหม่กำลังแรง H ขนาด 1052 mbar กำลังจะเข้ามา น่าจะมีผลช่วง 3-5 วันข้างหน้านี้ (ในภาพจะไม่เห็นพายุหวู่คงแล้วเนื่องจากทางไทยถือว่าสลายตัว)
- 06:30 กทม 25°C กระบี่ 23°C พะเยา 17°C กาญจนบุรี 25°C สงขลา 23°C ลำพูน 18°C ขอนแก่น 20°C อุดร 19°C อุบล 21°C ลำปาง 17°C เชียงใหม่ 18°C เชียงราย 17°C
- 06:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทย
- 01:28 ลมสุริยะลดความเร็วลงเหลือเพียงแค่ 277 กม/วินาที แรงดันตกลงมาเหลือแค่ 0.2 nPa ถือเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก
- ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อนหวู่คงถล่มฟิลิปปินส์ ล่าสุดขณะนี้ 4 ราย
- ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมมาเลเชียเพราะฝนหนักขณะนี้ 2 ราย
[stextbox id=”info”]ลำดับของความเสียหายในอุปกรณ์ไฟฟ้าบนผิวโลก เริ่มจาก CME หรือ พายุสุริยะ Solar storm ไปก่อให้เกิด พายุสนามแม่เหล็กโลก Geomagnetic storm แล้ว พายุสนามแม่เหล็กโลก ไปก่อให้เกิด กระแสเหนี่ยวนำภาคพื้นดิน Geomagnetically induced currents (GIC) อีกที แล้วกระแส GIC นี้ จึงมีผลต่อสิ่งของบนโลก โดยปกติตัวพายุสุริยะเองนั้นทำอะไรผิวโลกไม่ได้ นอกจากสร้างแสงออโรราสวยงาม เว้นแต่ความเร็วลมสูงจัดเกิน 800 km/s ขึ้นไปเท่านั้น[/stextbox]
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)
- ไม่มี
แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)
- เมื่อ 23.11 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 17.20 กม.
- เมื่อ 22.04 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ตอนเหนือของมหาสมุทรอินเดีย ที่ความลึก 14.10 กม.
- เมื่อ 18.07 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ทะเลแบนดา ที่ความลึก 540.10 กม.
- เมื่อ 17.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 67.00 กม.
- เมื่อ 15.50 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ Cordoba ประเทศอาเจนตินา ที่ความลึก 34.10 กม.
- เมื่อ 12.21 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ ทะเลโมลุกกะ ที่ความลึก 21.00 กม.
- เมื่อ 09.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 78.00 กม.
- เมื่อ 06.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.1 บริเวณ ประเทศกรีซ ที่ความลึก 12.60 กม.
- เมื่อ 01.11 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 7.30 กม.