รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]

  • 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย 
  • 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส 
  • 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
  • 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
  • 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
  • 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่ 
  • 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
  • 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
  • 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410  โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก  ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
  • 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ 
  • 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
  • 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8  (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
  • 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C  อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
  • 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย 
  • 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
  • บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
  • ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน 
  • ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 2 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ขณะนี้มีสื่อปล่อยข่าวลือเรื่องดาวเคราห์น้อย 2012DA14 โหม่งโลกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ทางเว็บขอชี้แจงว่า 2012DA14 ถูก NASA (ตัวจริง) จัดไว้ที่ระดับ 0 ในตารางทอริโน  ซึ่งเป็นระดับสึขาว ไร้อันตรายต่อโลก จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวนี้[/stextbox]

  • 11:00 พายุโซนร้อน Dumile กำลังทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนตามความคาดหมายของ TSR โดยพายุมีทิศทางออกห่้างมาดากัสกา
  • 10.20น นราธิวาส ท้องฟ้ามีเมฆฝนมาก ฝนตกสลับหยุด อากาศเย็นและชื้นมาก
  • 09:00 จำนวนจุดดับบนกวงอาทิตย์ด้านที่หันเข้าหาโลก เริ่มมีจำนวนมากขึ้น 
  • 02:00 พายุไซโคลนฟรีดา ลดความเร็วลมลงกลายเป็นพายุโซนร้อนแล้วใเวลานี้  ตำแหน่งยังอยู่ที่ประเทศนิวคาเลโดเนีย
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • ปัตตานี – ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ ตลอด 2 – 3 วันที่ผ่านมา ให้ติดตามระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ ตำบลปะกาฮารัง อำเภอเมืองปัตตานี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:32 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการพัฒนาเพิ่มขึ้น และอาจกลายสภาพเป็นพายุ 
  • 20:00 TSR ปรับโมเดลของพายุฟรีดาอีกครั้ง ล่าสุดแสดงผลพายุไซโคลนฟรีดาเหลือลูกเดียวตามปกติ  เส้นทางเป็นไปตามภาพ 
  • 18:30 พายุโซนร้อน 07S ได้ชื่อเป็นทางการว่า ดูไมล์ Dumile ทาง TSR กำลังปรับเส้นทาง
  • 14:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุ 201207S  ในมหาสมุทรอินเดียใต้ ทางตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์ เส้นทางที่ TSR คำนวนจากโมเดลยังไม่แน่ชัด
  • 10:00 โมเดลจาก TSR พายุไซโคลนฟรีดา ในแปซิฟิคใต้ แยกเป็น 2 ลูก 
  • 07:32  ภาพดาวเทียมของไซโคลนฟรีดา แบบ RBTOP แสดงใจกลางพายุแยกออกเป็นส่วนย่อย 
  • 07:00 กรุงเทพ 22°C จันทบุรี 20°C ปราจีนบุรี 22°C ลำพูน 22°C ลำปาง 19°C ระยอง 20°C เชียงใหม่ 22°C หนองคาย 15°C ขอนแก่น 15°C อุดร 14°C
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ 
  • Elizabeth Gyurgyak ถ่ายภาพแสงออโรราครั้งแรกของปี 2013 นี้ จากอุทยานแห่งชาติ Abisko ในสวีเดน 
  • มีรายงานการพบคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งในพื้นที่แนวชายฝั่งริมถนนระหว่างอำเภอปากพนัง-หัวไทร บริเวณ ต.ขนาบนาค ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดจากอิทธิพลลมมรสุมกำลังแรง ที่กำลังพัดเข้าอ่าวไทยมาตลอดทุกปี ซึ่งความรุนแรงของคลื่นพบว่า ได้ซัดแนวป้องกันแบบคอนกรีตจนแตกกระจายหลายจุด ส่วนความสูงของคลื่น สูงถึงแนวสายส่งและเสาไฟฟ้าแรงสูง ประมาณ 6 เมตร ทำให้การไฟฟ้าต้องตัดกระแสไฟในบางจุดเนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

สรุปจำนวนครั้ง ความแรง จำนวนผู้เสียชีวิต  ของแผ่นดินไหวทั่วโลก เปรียบเทียบ 13 ปี จาก 2000-2012 (ขนาดแผ่นดินไหวที่เล็กกว่า 4.0 ทาง USGS ไม่ได้รับข้อมูลส่วนใหญ่เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางไปไม่ถึง และ ปกติจะบันทึกโดยสถานีท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ตัวเลขจึงน้อยลงไป ทั้งที่แท้จริงตัวเลขส่วนนี้จะมากกว่าระดับใหญ่ๆหลายเท่า ควรระวัง