รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 พายุโซนร้อนฮารูนา เคลื่อนผ่านมาดากัสการ์ลงมหาสมทุรอินเดียอีกด้านหนึ่ง ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด 10 ราย รายละเอียดข่าว201316S-230213-2330
  • 23:09 จุดดับ 1678 อันโด่งดังปะทุแค่ระดับ C 4.7 แถมมาจากด้านข้างๆของดวงอาทิตย์เพราะหมุนเลยไปแล้ว  สร้างความผิดหวังแก่คนคอยลุ้นหลายกลุ่ม 267994_385225821575718_1566883018_n
  • 17:20 สรุปยอดผู้เสียชีวิตจากดีเปรสชัน 02W หรือ Crising ของ Pagasa หรือซานซาน ของJMA ในเขตมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ล่าสุด 5 ราย บาดเจ็บ 10 ราย ไร้ที่อยู่นับพัน  รายละเอียด
  • 16:00 ตามที่คาดไว้ กรมอุตุออกประกาศฉบับที่ 6 เรื่องพายุโซนร้อนซานซาน อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ตามนี้
  • 13:00 JMA ปรับปรุงข้อมูลพายุโซนร้อนซานซาน ล่าสุดลดกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว ไม่มีทีท่าจะเคลื่อนที่อีก แนวโน้มสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงนี้ 1302-00-230213
  • 10:30 พายุไซโคลนฮารูนาลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 60 น็อต
  • 09:32 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-1R แสดงกลุ่มเมฆจากส่วนที่หลงเหลือของพายุดีเปสชันซานซาน เคลื่อนผ่านเกาะลาทูนามาทางตะวันตกแล้ว20130223.0232.mtsat1r.x.vis1km_high.02WSHANSHAN.20kts-1005mb-35N-1100E.100pc
  • 04:00 อุตุนิยมญี่ปุ่นหรือ JMA คำนวนเส้นทางพายุโซนร้อนซานซาน ว่าจะลดกำลังลงเป็นดีเปรสชันในคืนนี้ และจะสลายตัวในลำดับต่อไป  ล่าสุดมีตำแหน่งศูนย์กลางพายุอยู่ทางตะวันออกของเกาะลาทูนา (ทาง JTWC และ TSR ถือว่าพายุนี้สลายตัวไปหลายขั่วโมงแล้ว)  jma-230213-1
  • กรีซ  ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ทำให้ท้องถนนในกรุงเอเธนส์ จมอยู่ใต้น้ำ ย่านฮาลันดรี ได้รับผลกระทบหนักสุด รถยนต์จำนวนมากติดอยู่บนท้องถนน ต้นไม้หักโค่นและบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมขัง ยอดผู้เสียชีวิตยังไม่นิ่ง

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ตามที่่มีข่าวลือเรื่องพายุสุริยะจากจุดดับที่ใหญ่กว่าโลกคือหมายเลข 1678 ซึ่งเป็นจุดดับที่เติบโตเร็วมากโดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงนั้น ขณะนี้จุดดับ 1678 ได้หันพ้นขอบดวงอาทิตย์ด้านที่หันหาโลกแล้ว ไม่ส่งผลใดๆโดยตรงต่อโลกทั้งสิ้น[/stextbox]

  • 22:30 ที่แย่คือกรมอุตุไทยที่ใช้ข้อมูลของญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นปรับลดระยะทางพายุ กรมอุตุไทยก็ยังไม่ได้ปรับตาม จึงออกรายงานมาแบบนี้ กดอ่าน (เส้นทางพายุเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง)
  • 19:30 TSR ยืนยันการสลายตัวของดีเปรสชัน 02W แต่ทางญี่ปุ่นซึ่งประกาศว่าพายุกลายเป็นโซนร้อนและใช้ชื่อ “ซานซาน” ไปแล้วนั้น ลำดับต่อไปชื่อพายุอาจเหลื่อมกัน  (ในแผนที่จะเห็นว่าเหลือพายุไซโคลนฮารูนาเพียงลูกเดียว)TSR-220213-n
  • 19:00 ภาพจากดาวเทียม METEO-7 แสดงการขึ้นฝั่งที่มาดากัสการ์ของพายุไซโคลนฮารูนา20130222.1200.meteo7.x.vis1km_high.16SHARUNA.80kts-963mb-230S-439E.100pc
  • 19:00 JMA ปรับเส้นทางพายุใหม่ โดยคาดว่าพายุจะสลายตัวโดยไม่ขึ้นฝั่งมาเลเซียตามรายงานของทางฝรั่ง 
  • 13:00 หย่อมความกดอากาศต่ำที่คลุมไทยหายไปหมด อากาศจะเริ่มเย็นลง 
  • 11:30 เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง JMA ของญี่ปุ่น (กรมอุตุไทยใช้ข้อมูลด้านอากาศจากที่นี่) และหน่วยงาน JTWC ของสหรัฐฯ เรื่องพายุดีเปรสชัน 02W โดยทาง JMA ประกาศว่าพายุได้ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและให้ใช้ชื่อพายุว่า “ซานซาน” และทิศทางพายุจะเคลื่อนไปทางประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยก็ประกาศไปตามนั้น แต่ทาง JTWC และ TSR ของอังกฤษ กลับระบุว่าพายุจะอ่อนกำลังลงและสลายตัวในวันนี้ โดยเฉพาะ JTWC นำข้อมูลพายุออกจากการเฝ้าระวังไปแล้ว  (พายุลูกนี้ทางฟิลิปปินส์ใช้ชื่อว่า Crising ตามระบบตั้งชื่อของตนหรือ PAGASA)1302-00-220213
  • 11:00 กรมอุตุออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 07:30 มีการเผยแพร่ภาพฝนตกเป็นไฟบนดวงอาทิตย์ ตามนี้ โดยเป็นภาพที่นำมาจากเว็บของ NASA เป็นการปะทุและเกิดโพรมิแนนซ์บนดวงอาทิตย์ในวันที่ 19 ก.ค. 2554 (ปีที่แล้ว) และวงโค้งของโพรมิแนนซ์สลายตัวจากแรงดึงดูดจึงเกิดเปลวไฟแยกเป็นจุดๆตกลงบนผิวดวงอาทิตย์เหมือนฝนตก เป็นภาพที่หาดูได้ยาก
  • 05:00 NASA จับตาบริเวณจุดดับ 1678 ซึ่งขยายขนาดอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสเกิดการปะทุที่มีระดับ M หรือ X ได้
  • 00:30 พายุไซโคลนฮารูนา ที่มาดากัสการ์ ทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT3 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 185 กม/ชม 201316S-220213
  • สุรินทร์ – ล่าสุดจังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มอีก 1 อำเภอ คืออำเภอกาบเชิง รวมแล้ว 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.เขวาสินรินทร์ อ.ศรีณรงค์ อ.สำโรงทาบ อ.ท่าตูม อ.ศีขรภูมิ อ.สังขะ และอ.พนมดงรัก จำนวน 79 ตำบล 994 หมู่บ้าน ร้อยละ 46.89 ของพื้นที่ทั้งหมด ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 87,244 ครัวเรือน สำหรับพื้นที่การเกษตร ได้แก่ นาข้าวได้รับความเสียหายแล้ว 95,742 ไร่

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:30 พายุดีเปรสชัน 02W เคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้แล้ว แนวโน้มอ่อนกำลังลง ทาง TSR คาดว่าจะสลายตัวใน 24 ชม ข้างหน้า 201302W-210213-2
  • 17:30 JTWC พบหย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากใต้เส้นศูนย์สูตร (ไม่มีอิทธิพลกับไทยหรือประเทศเหนือเส้นศูนย์สูตรเพราะข้ามเส้นมาไม่ได้) JTWC-210213
  • 12:30 พายุไซโคลนฮารูนาที่เกาะมาดากัสการ์ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT 2 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 95 น็อต
  • 11:00 ข้อมูลระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ ณ ขณะนี้ โดยกรมชลฯ จะเห็นปริมาณน้ำเหลือน้อยแม้ยังไม่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
    image
  • 08:05 ลมสุริยะความเร็ว 439 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้เล็กน้อย โดยรวมยังปกติ
  • 07:55 ฝนตกบางนา
  • 07:30 ฝนตกบางพลี กลุ่มฝนเคลื่อนตัวไปทางบางนา
  • 05:00 พายุดีเปรสชัน 02W ยังคงมี ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง  25 น็อต มุ่งไปหน้าไปทางตะวันตก แนวโน้มสลายตัวในบริเวณทะเลจีนใต้201302W-210213
  • 02:00 พายุโซนร้อนฮารูนาที่เกาะมาดากัสการ์ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT1 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 70 น็อตHaruna-210213
  • อังกฤษพบผู้ติดเชื้อ”โคโรน่าไวรัส”เสียชีวิตรายแรกของปีนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 10:00 TSR ปรับเส้นทางพายุดีเปรสชัน 02W ใหม่ โดยคาดว่าพายุจะสลายตัวในทะเลจีนใต้ 201302W-2
  • 08:00 ในเวลาก่อตัวไม่ถึงวัน บริเวณจุดดับ 1678 ได้ขยายขนาดจนใหญ่กว่าโลกถึง 3 เท่าในขณะนี้ และมีแนวโน้มไม่เสถียร หากมีการเกิดรีคอนเนคชันของกระแสแม่เหล็ก ก็จะทำให้เกิดการปะทุของบริเวณจุดดับนี้ได้ ดูคลิปการขยายขนาดar1678_strip
  • 06:30 พายุดีเปรสชัน 02W เคลื่อนที่ทางตะวันตกด้วยความเร็ว 24 กม/ชม แนวโน้มทวีกำลังขึ้นเรื่อยๆ ทาง PAGASA รายงานความเร็วลมรอบศูนย์กลางที่ 45 กม/ชม ภาพฝนตกน้ำท่วมในมินดาเนา สามารถชมได้ ทางนี้201302W-200213
  • 00:10 พายุโซนร้อน 16S ที่มาดากัสการ์ ได้รับชื่อเป็นทางการแล้วว่า ฮารูนา 201316S-200213
  • อิตาลี – ภูเขาไฟ เอตนา (Etna) ปะทุลาวาเป็นครั้งที่ 24 นับจากต้นปี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 11:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 16S ในช่องแคบโมแซมบิค ทิศทางมุ่งหน้าเข้าหามาดากัสการ์ 201316S-190213
  • 09:00 รูปจันทร์เคียงดาวพฤหัส เมื่อคืนนี้เกิดในไทย แต่อันนี้จากซีกโลกตะวันตก ณ เวลานี้ (ฝั่งไทยเป็นช่วงกลางวัน)BDb3iNNCUAECv4P
  • 06:00 หย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กลายสภาพเป็นพายุดีเปรสชัน 02W ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 25 น็อต201302W-190213
  • 00:10 ดาวหางแพนสตาร์  Pan-STARRS (C/2011 L4) ดาวหางดวงแรกที่เราคาดหวังจะได้เห็นกันทั้งโลกด้วยตาเปล่าในเดือนมีนาคมปีนี้ ขณะนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์กว่าดาวศุกร์แล้ว เริ่มปรากฏหางฃัดเจน โดยหางมีลักษณะเป็น  fan-shaped หรือรูปพัด อีกทั้งสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาในชีกโลกใต้แล้ว โดยภาพนี้ Ignacio Diaz Bobillo ส่งมาจากบัวโนสไอเรส อาเจนตินาร์ (ถ่ายภาพผ่านกล้องดูดาว)panstarrs_strip
  • อินเดีย – พบหวัดหมู 37 รายในนิวเดลฮี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 13 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:38 เกิดการปปะทุระดับ M1.7 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N17W22 บนดวงอาทิตย์ 
  • 12:30 PAGASA ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน  Bising แล้ว 
  • 12:15 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาปานกลาง ความเร็วลมสุริยะ 380 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 11:00 ภาพจากดาวเทียม Meteo-7 พายุไซโคลน Naraelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือ 80 น็อต กลายเป็นไซโคลนระดับ CAT1 
  • 07:45 เกิดการปปะทุระดับ M1.0 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N18W18 บนดวงอาทิตย์
  • 07:00 กทม 25°C หาดใหญ่  22°C กระบี่ 21°C อุดร 17°C ขอนแก่น 17°C พะเยา 14°C ตาก 16°C มกดาหาร 16°C นครพนม 15°C ลำพูน 12°C สกลนคร 15°C  ลำปาง 15°C อุบล 17°C แพร่ 15°C เชียงราย 13°C เชียงใหม่ 13°C แม่ฮ่องสอน 12°C
  • 07:00 ระบบของทางตะวันตก เช่น JTWC หรือ TSR ฯลฯ ยังไม่ยอมรับการเกิดขึ้นของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งล่าสุดอุตุนิยมฯของฟิลิปปินส์หรือ PAGASA รายงานว่าพายุเคลื่อนตัวออกห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ (ฟิลิปปินส์ เรียกพายุลูกนี้ว่า Bising)
  • [stextbox id=”info”]04:53 เวลานี้ วันนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ตามเวลาไทย) เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ประเทศเฮติ วัดได้  7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศเฮติ ไปราว 25 กิโลเมตร มีคนตายไป 250,000 คน บาดเจ็บ 300,000 บ้านเรือน 250,000 หลัง และอาคารพาณิชย์อีกกว่า 30,000 หลัง และจนบัดนี้ การฟื้นฟูยังไปไม่ถึงไหน ผู้รอดชีวิตและผู้ไร้บ้านนับแสนคน ยังคงต้องอาศัยอยู่ตามเต็นท์ประสบภัยชั่วคราว แถมยังต้องเผชิญกับการก่ออาชญากรรม อหิวาตกโรค ลมฝนพายุ ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลาแล้วแต่ฤดูกาล โดยยังไม่มีวี่แววว่า ชีวิตพวกเขาจะกลับสู่ความปกติวันใด [/stextbox]
  • 04:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 90 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT2
  • 03:30 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 09S ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • เปรียบเทียบขนาดของจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จะกว้างกว่าดาวพฤหัส 
  • เดนนิส ซิมมอนส์ (Dennis Simmons) ถ่ายภาพกลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จากกล้องดูดาวแบบส่วนตัวมาให้ชม เค้าเล่าว่าภาพนี้ถ่ายท่ามกลางหมอดควันจากไฟป่าใกล้ๆแถบบริสเบรน ของประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 ขยายขนาดจากปลายด้านหนึ่งถึงอีกด้าน 1.8 แสนกิโกลเมตร หรือ 14 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก และเกิดการปะทุระดับ M ถึง 2 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
  • น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 47,375 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68% ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปีก่อน 11,833 ล้าน ลบ.ม.

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 110 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT3
  • 11:00 JMA ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” หรือชื่อที่อุตุฟิลิปปินส์เรียกว่า “Bising” ที่ 170 กม ตะวันออกเฉียงเหนือของโบรอนกัน ซามาตะวันออก ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 45 กม/ชม ถือเป็นพายุลูกที่ 2 ของปีนี้ 
  • 08:00 ฝนตกเขตดุสิต บางซื่อ ดินแดง ห้วยขวาง
  • 07:15 ฝนตกเขตดุสิต จตุจักร บางซื่อ พระประแดง สมุทรปราการ
  • 07:00 TMD  ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน 2013 02W  
  • 06:00 ปริมาณน้ำล่าสุดในเขื่อนต่างๆทั่วไทย ข้อมูลจากกรมชลฯ
  • 01:05 JTWC แสดงภาพถ่ายดาวเทียมให้เห็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางที่ฟิลิปปินส์ (Medium) ที่กำลังก่อตัวอาจกลายสภาพเป็นพายุ ด้านล่างซ้ายคือพายุไซโคลนระดับ 4 ชื่อ Narelle และล่างขวาคือหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในแปซิฟิคใต้ 
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก TMD แผนที่ลำชั้นบน ลมเปลี่ยนทิศจากลมเหนือเป็นลมตะวันออก นำความชื้นและกลุ่มเมฆเข้ามา ฝนอาจตก 
  • 00:20 พายุไซโคลน Narelle ทวีกำลังลมขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT4 ที่ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางกว่า 115 น็อต
  • 00:10 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ค่า kp < 2 ลมสุริยะอยู่ที่ความเร็วต่ำ คือ 333 km/s แต่เกิด Radio Blackouts ที่ R1

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)