รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]

  • 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย 
  • 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส 
  • 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
  • 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
  • 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
  • 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่ 
  • 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
  • 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
  • 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410  โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก  ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
  • 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ 
  • 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
  • 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8  (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
  • 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C  อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
  • 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย 
  • 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
  • บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
  • ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน 
  • ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 4 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:30 จุดดับบนดวงอาทิตย์หมายเลข 1640 ที่ขยายตัวกว้างกว่า 200,000 กม ขณะนี้ได้หันออกจากแนวของโลก หากมีการปะทุ แนวอนุภาคจะไม่ส่งผลโดยตรงกับระบบแม่เหล็กของโลก
  • 21.05 เมืองนครศรีธรรมราช ฝนตก
  • 20:00 พายุโซนร้อนโซนามู มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • 13:00 พายุดีเปรสชันโซนามู ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน เส้นทางพายุล่าสุดอาจขึ้นฝั่งที่มาเลเชีย
  • 07:32 ภาพดาวเทียมล่าสุดในแสงปกติของพายุดีเปรสชันโซนามูทางตะวันตกของฟิลิปปินส์  
  • 07:15 เส้นทางพายุโซนามู ปรับแก้ล่าสุด จาก TSR 
  • 07:00 กรุงเทพ 25°C กระบี่ 24°C พะเยา 18°C มุกดาหาร 18°C นครพนม 16°C ลำพูน 20°C สกลนคร 16°C สงขลา 24°C อุดร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 19°C สุพรรณ 25°C ปัตตานี-สตูล 24°C เชียงใหม่ 20°C เชียงราย 18°C หาดใหญ่ 24°C หนองคาย 18°C กาญจน์ 20°C แพร่ 19°C เลย 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C
  • 02:00 พายุดีเปรสชัน 01W ได้รับการตั้งชื่อแล้วว่า โซนามู เป็นภาษาเกาหลี
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • ภาพถ่าย Fireball จากฝนดาวตก Quadrantids เหนือน่านฟ้าโคโรราโด ภาพนี้ถ่ายโดยนาย Jimmy  Westlake.โดยใช้กล้อง Nikon D700 digital SLR ตั้งความไวแสงที่ ISO 3200 ใช้เลนส์ Nikkor 35 mm lens เอฟสต็อปที่  f4.0 เปิดหน้ากล้องค้าง  20 วินาทีบนขาตั้งกล้อง 

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 3 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:30 ลมสุริยะความเร็ว 294 km/s สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 20:00 ภาพถ่ายจุดดับหมายเลข 1640 จากยาน SDO ซึ่งเป็นจุดดับเกิดใหม่ที่ขยายขนาดรวดเร็วมาก 
  • 18:00 หย่อมความกดอากาศต่ำหมายเลข 92W ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน 201301W ซึ่งถือเป็นพายุลูกแรกของปีนี้ ที่ฝั่งตะวันตกของฟิลิปปินส์  ทิศทางพายุเบื้องต้น ทาง TSR คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้แล้วเบี่ยงไปทางประเทศมาเลเซีย
[stextbox id=”warning”]มีผู้ไม่หวังดีเข้าโจมตีเว็บนี้อีกเมื่อเวลา 15:00 ทางเราพยายามแก้ไขอยู่ ขอบคุณมากครับ[/stextbox]
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุโซนร้อนฟรีดาแล้ว เหลือเป็น RMNTS และจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 92W ที่ฟิลิปปินส์ ที่มีแนวโน้มก่อตัวเป็นดีเปรสชันลูกต่อไป 
  • 03:00 พายุโซนร้อน Dumile กลายสภาพเป็นพายุไซโคลน
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
[stextbox id=”info”]โลกเรากำลังผ่านเข้าสู่ธารสะเก็ดดาวของดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 คืนนี้ ประเทศแถบซีกโลกเหนือจะได้เห็นฝนดาวตก  Quadrantids ฝนดาวตกแรกของปี 2556[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 2 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ขณะนี้มีสื่อปล่อยข่าวลือเรื่องดาวเคราห์น้อย 2012DA14 โหม่งโลกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ทางเว็บขอชี้แจงว่า 2012DA14 ถูก NASA (ตัวจริง) จัดไว้ที่ระดับ 0 ในตารางทอริโน  ซึ่งเป็นระดับสึขาว ไร้อันตรายต่อโลก จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวนี้[/stextbox]

  • 11:00 พายุโซนร้อน Dumile กำลังทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนตามความคาดหมายของ TSR โดยพายุมีทิศทางออกห่้างมาดากัสกา
  • 10.20น นราธิวาส ท้องฟ้ามีเมฆฝนมาก ฝนตกสลับหยุด อากาศเย็นและชื้นมาก
  • 09:00 จำนวนจุดดับบนกวงอาทิตย์ด้านที่หันเข้าหาโลก เริ่มมีจำนวนมากขึ้น 
  • 02:00 พายุไซโคลนฟรีดา ลดความเร็วลมลงกลายเป็นพายุโซนร้อนแล้วใเวลานี้  ตำแหน่งยังอยู่ที่ประเทศนิวคาเลโดเนีย
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • ปัตตานี – ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากฝนที่ตกหนักในหลายพื้นที่ ตลอด 2 – 3 วันที่ผ่านมา ให้ติดตามระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ ตำบลปะกาฮารัง อำเภอเมืองปัตตานี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:32 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มการพัฒนาเพิ่มขึ้น และอาจกลายสภาพเป็นพายุ 
  • 20:00 TSR ปรับโมเดลของพายุฟรีดาอีกครั้ง ล่าสุดแสดงผลพายุไซโคลนฟรีดาเหลือลูกเดียวตามปกติ  เส้นทางเป็นไปตามภาพ 
  • 18:30 พายุโซนร้อน 07S ได้ชื่อเป็นทางการว่า ดูไมล์ Dumile ทาง TSR กำลังปรับเส้นทาง
  • 14:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุ 201207S  ในมหาสมุทรอินเดียใต้ ทางตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์ เส้นทางที่ TSR คำนวนจากโมเดลยังไม่แน่ชัด
  • 10:00 โมเดลจาก TSR พายุไซโคลนฟรีดา ในแปซิฟิคใต้ แยกเป็น 2 ลูก 
  • 07:32  ภาพดาวเทียมของไซโคลนฟรีดา แบบ RBTOP แสดงใจกลางพายุแยกออกเป็นส่วนย่อย 
  • 07:00 กรุงเทพ 22°C จันทบุรี 20°C ปราจีนบุรี 22°C ลำพูน 22°C ลำปาง 19°C ระยอง 20°C เชียงใหม่ 22°C หนองคาย 15°C ขอนแก่น 15°C อุดร 14°C
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ 
  • Elizabeth Gyurgyak ถ่ายภาพแสงออโรราครั้งแรกของปี 2013 นี้ จากอุทยานแห่งชาติ Abisko ในสวีเดน 
  • มีรายงานการพบคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งในพื้นที่แนวชายฝั่งริมถนนระหว่างอำเภอปากพนัง-หัวไทร บริเวณ ต.ขนาบนาค ต.ท่าพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดจากอิทธิพลลมมรสุมกำลังแรง ที่กำลังพัดเข้าอ่าวไทยมาตลอดทุกปี ซึ่งความรุนแรงของคลื่นพบว่า ได้ซัดแนวป้องกันแบบคอนกรีตจนแตกกระจายหลายจุด ส่วนความสูงของคลื่น สูงถึงแนวสายส่งและเสาไฟฟ้าแรงสูง ประมาณ 6 เมตร ทำให้การไฟฟ้าต้องตัดกระแสไฟในบางจุดเนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

สรุปจำนวนครั้ง ความแรง จำนวนผู้เสียชีวิต  ของแผ่นดินไหวทั่วโลก เปรียบเทียบ 13 ปี จาก 2000-2012 (ขนาดแผ่นดินไหวที่เล็กกว่า 4.0 ทาง USGS ไม่ได้รับข้อมูลส่วนใหญ่เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางไปไม่ถึง และ ปกติจะบันทึกโดยสถานีท้องถิ่นของประเทศต่างๆ ตัวเลขจึงน้อยลงไป ทั้งที่แท้จริงตัวเลขส่วนนี้จะมากกว่าระดับใหญ่ๆหลายเท่า ควรระวัง

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”custom”]สิ้นปีแล้ว จบกันที ลาก่อน ปีแห่งข่าวลือ ขอให้ทุกท่านโชคดี ข้ามปีไปด้วยกัน[/stextbox]

  • 23:55 ลมสุริยะความเร็ว 376 กม/วินาที อวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 22:45 พายุไซโคลนฟรีดา ในมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ ลดความเร็วลมลงเหลือระดับ CAT2 พายุลูกอื่น สลายตัวหมดแล้ว
  • 21:00 เกิดโพรมิแนนซ์ส่งท้ายปี ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของดวงอาทิตย์ ไม่มีผลต่อโลกนะ เอามาให้ดูสวยๆ
  • 14:30 ลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง ปะทะหาดของเกาะสมุย ความเร็วลม 10-15 น็อตและอาจแรงกว่านั้นในช่วงบ่ายแก่ๆ บ้านเรือน-เรือ-นักท่องเที่ยว โปรดระวัง 
  • 14:00 พายุไซโคลนฟรีดา กำลังเข้าใกล้ประเทศนิวเมคลิโดเนีย โดยจะส่งผลต่อกรุงนูเมอา ในวันที่ 2 มกราคม นี้
  • ภาพดาวเทียม JTWC แสดงให้รูปร่างและตำแหน่งล่าสุดของฟรีดา 
  • 08:00 เกาะสมุยลมปะทะหาด 12 น็อต ริมหาดโปรดระวังคลื่นแรงจัด
  • 06:30 กรุงเทพ 24°C กระบี่ 23°C ปัตตานี 25°C ลพบุรี 24°C ลำพูน 21°C อุดร 15°C ขอนแก่น 16°C อุบล 17°C ลำปาง 19°C เชียงใหม่ 21°C หนองคาย 15°C อุตรดิตถ์ 19°C แพร่ 19°C
  • 05:30 ลมสุริยะเพิ่มความเร็วมาที่ 473 กม/วินาที แรงดัน 1 kPa สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 04:00 พายุโซนร้อนมิตเชล หรือ 06S กำลังจะสลายตัว
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ ความกดอากาศสูงจากจีน แผ่ลงถึงไทย อากาศโดยทั่วไปเย็นลงหลายองศา 
  • 00:10 ไซโคลนฟรีดาที่ความแรงระดับระดับ 3 ยังไม่มีทิศทางที่จะเลี้ยวเข้าหาออสเตรเลีย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 07:25 กล้องจากหาดหลังสวน จ.ชุมพร ฟ้ามีเมฆฝนปกคลุม image
  • 05:30 พายุโซนร้อนฟรีดา ยกระดับขึ้นเป็นไซโคลน
  • 05:00 อ.สวี จ.ชุมพร ฝนตกหนัก
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • 00:00 พายุหวู่คงสลายตัวรอบสองแล้ว
  • นราธิวาส ประกาศภัยพิบัติน้ำท่วมแล้ว 208 หมู่บ้าน ใน 13 อำเภอ ราษฎรเดือดร้อน รวม 27,637 คน บางพื้นที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ล่าสุดเหลือเพียง 6 ชุมชน คือ ชุมชนหัวสะพาน ท่าโรงเลื่อย ท่าชมพู ท่าเจ๊ะกาเซ้ง ท่าบือเร็ง และท่ากอไผ่ ที่ยังคงมีปริมาณน้ำท่วมขัง ระดับน้ำเหลือเพียง 30-60 ซ.ม
  • ยะลา  น้ำท่วม ต.กายูบอเกาะ ต.เกะรอ ต.ตะโล๊ะหะรอ ต.อาซ่อง ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 17:44 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (21.28,97.81) ขนาด 4.2 ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 201 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์มาโลก (IMF) มีค่าปกติราว 10-50 นาโนเทสลา ซึ่งเบากว่าแม่เหล็กตู้เย็นที่มีค่าราว 5 ไมโครเทสลา ประมาณ 1-5 แสนเท่า จึงทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่ได้ระวังถูกหลอก[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:30 พายุโซนร้อนฟรีดา เคลื่อนผ่านเส้น 160°E แล้ว ถือว่าเข้าเขตน่านน้ำออสเตรเลีย ทางการเริ่มจับตาดูอย่างใกล้ชิด
[stextbox id=”alert”]ทางเว็บได้ถูกผู้ไม่หวังดีโจมตีอีกครั้งในช่วงเที่ยงเป็นต้นมา แก้ไขได้ตอนบ่ายสองโมง ขอบคุณ[/stextbox]
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุหวู่คงเป็นครั้งที่ 2 ไม่พบพายุนี้ในภาพดาวเทียมลาสุดเวลานี้ แต่มีภาพของพายุเกิดใหม่ในซีกโลกใต้คือมิตเชล และฟรีดา รวมทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • 12:00 สนามแม่เหล็กโลกมีความสงบเงียบอย่างยิ่งมาหลายวันแล้ว 
  • 09:00 พายุโซนร้อน 06S ทิศตะวันตกของออสเตรเลีย ได้รับชื่อเรียกว่า มิตเชล Mitchell
  • 08:00 พายุโซนร้อน 05P ทิศใต้ของเกาะโซโลมอน ได้รับชื่อเรียกว่า ฟรีดา Freda
  • 07:00 กทม 26°C หนองคาย 21°C ชัยภูมิ 21°C ระยอง 24°C ภูเก็ต 24°C ขอนแก่น 21°C อุดร 19°C หาดใหญ่ 23°C เชียงใหม่ 17°C ลำปาง 17°C น่าน 16°C
  • ประกาศเตือนภัย- อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนัก คลื่นลมแรง บริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ แสดงหหย่อมความกดอากาศสูงกำลังแรงลูกใหม่ที่กำลังเคลื่นเขามา (ปกติจะเคลื่อนมาจากด้านตะวันตก) ซึ่งจะส่งผลใหมีอากาศหนาวในช่วงต่อไป และย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากเกิดขึ้นมาแถบเส้นศูนย์สูตร คือฝนหนักในภาคใต้ ท่แปลกคือเส้นความชันที่มีลักษณะหยักเป็นคลื่นค่อนข้างมาก
  • 00:10 วานนี้ หลัง 15:50 เป็นต้นมา แผ่นดินก็กลับมาไหวทั่วโลกตามปกติชั่วโมงละหลายครั้ง ผิดจากช่วงก่อนหน้านั้น ที่เงียบหายไป ไม่มีแผ่นดินไหวเลย เว้นยาว 3-6 ชั่วโมงต่อครั้ง

[stextbox id=”grey”]หลังกระแสตื่นกลัววันสิ้นโลกจางลง ทางเว็บจะลดการรายงานเรื่องของดวงอาทิตย์ไปอยู่ในระดับปกติ คือจะรายงานทันทีที่มีการปะทุระดับ M ขึ้นไปหรือเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสำคัญ[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากแถบเส้นศูนย์สูตร มีคำเตือนถึงการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ในซีกโลกใต้คือ 06P
    image

  • 22:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 05P ทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน
  • 21:00 สรุปยอดตายล่าสุดในฟิลิปปินส์จากพายุหวู่คงล่าสุดที่ 11 ราย
  • 19:30 อีก 3 วันก็สิ้นปี 2555 หรือ 2012 ก้าวเข้าสู่ที่ได้รับการทำนายว่าเป็น Solar Maximum ของวัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้ (เริ่มจากปี 2008) แต่จากการติดตามจำนวนจุดดับของดวงอาทิตย์ ปรากฏยอดแหลมหรือ Peak ที่ปลายปีที่แล้วหรือ 2554 /2011 จากนั้นดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะสงบลงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ทั้งนี้ก็น่าจะยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะมีจำนวนจุดดับกลับเพิ่มขึ้นได้ปีในปีหน้าหรือ 2556/2013 และหากเป็นเช่นนั้นจริง วัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้จะมียอดแหลม 2 ยอดเลยทีเดียว (เส้นแดงในกราฟคือการคาดการณ์ เส้นดำคือจำนวนที่เกิดจริง เส้นน้ำเงินคือเส้นดำที่เฉลี่ยให้เรียบดูง่ายขึ้น)
    image
  • 19:00 เส้นทางพายุดีเปรสชั่นหวู่คงจาก TSR หลังพายุนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 25 น็อตและมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวดังในภาพ
    image
  • 15:00 ข้อสังเกต –  คาบการเกิดแผ่นดินไหวรายงานจากเอเย่นต์สากลต่างๆเช่น USGS หรือ Geofon นั้นทิ้งช่วงห่างจาก 3-6 ชั่วโมง จากระดับปกติที่จะมีแผ่นดินไหวชั่วโมงละหลายครั้ง หรืออยางช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง และสัปดาห์ที่ผ่านมา แผ่นดินไหวทั่วโลกก็เกิดน้อยครั้งกว่าปกติ

[stextbox id=”warning”]ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดี พยายามถล่มเว็บภัยพิบัติเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งทางเว็บเราให้ข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้มีผลประโยชน์จากทางใดเลย แต่เราไม่ก้มหัวให้ความลวงโลกหรือการโป้ปดต่างๆ และคงไปเปิดโปงให้ใครอับอายในความโง่เขลา จึงพยายามทำเช่นนี้มาตลอด[/stextbox]

  • 10:00 ทาง JTWC ขณะจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (ทางขวาของภาพดาวเทียม) เมื่อเวลา 03:30 ตามเวลาไทย กลับพบว่า พายุหวู่คง TD27W ซึ่งประกาศสลายตัวไปแล้วนั้น ได้รวมตัวขึ้นมาใหม่เป็นพายุดีเปรสชัน และทางอุตุนิยมญี่ปุ่นก็ยืนยันเรื่องนี้ ทั้งยังคาดแนวทางพายุจะเคลื่อนมาใกล้ทางมาเลฯกับภาคใต้ของไทยด้วย 
  • 07:00 แผนที่อากาศกรมอุตุ ช่วงนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นเนื่องจากหย่อมความกดอากาศสูงหย่อมเก่าผ่านเลยไปแล้ว แต่หย่อมใหม่กำลังแรง H ขนาด 1052 mbar กำลังจะเข้ามา น่าจะมีผลช่วง 3-5 วันข้างหน้านี้ (ในภาพจะไม่เห็นพายุหวู่คงแล้วเนื่องจากทางไทยถือว่าสลายตัว) 
  • 06:30 กทม 25°C กระบี่ 23°C พะเยา 17°C กาญจนบุรี  25°C สงขลา 23°C ลำพูน 18°C ขอนแก่น 20°C อุดร 19°C อุบล 21°C ลำปาง 17°C เชียงใหม่ 18°C เชียงราย 17°C
  • 06:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทย 
  • 01:28 ลมสุริยะลดความเร็วลงเหลือเพียงแค่ 277 กม/วินาที แรงดันตกลงมาเหลือแค่ 0.2 nPa ถือเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อนหวู่คงถล่มฟิลิปปินส์ ล่าสุดขณะนี้ 4 ราย
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมมาเลเชียเพราะฝนหนักขณะนี้ 2 ราย
[stextbox id=”info”]ลำดับของความเสียหายในอุปกรณ์ไฟฟ้าบนผิวโลก เริ่มจาก CME หรือ พายุสุริยะ Solar storm ไปก่อให้เกิด พายุสนามแม่เหล็กโลก Geomagnetic storm แล้ว พายุสนามแม่เหล็กโลก ไปก่อให้เกิด กระแสเหนี่ยวนำภาคพื้นดิน  Geomagnetically induced currents (GIC) อีกที แล้วกระแส GIC นี้ จึงมีผลต่อสิ่งของบนโลก โดยปกติตัวพายุสุริยะเองนั้นทำอะไรผิวโลกไม่ได้ นอกจากสร้างแสงออโรราสวยงาม เว้นแต่ความเร็วลมสูงจัดเกิน 800 km/s ขึ้นไปเท่านั้น[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:38 ลมสุริยะลดความเร็วลงต่ำ เหลือเพียงแค่ 287 กม/วินาที การที่ความเร็วลดลงต่ำแบบนี้ ในระยะยาวก็ไม่เป็นผลดี เนื่่องจากลมสุริยะระดับ 400-500 กม/วินาที เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่ในการผลักดันรังสีคอสมิคจากนอกระบบสุริยะไม่ให้เข้ามา
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชันหวู่คงแล้ว (RMNTS) ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางลูกใหม่ก่อตัวขึ้น 
  • 11:14 ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ล่าสุดขณะนี้ ในช่วงแสง 171A จะเห็นบริเวณจุดดับทั้งหมดไม่มีบริเวณใดหันมาตรงกับโลก ทั้งจุดดับเดิมคือ 1633 1634 1635 ที่กำลังจะโคจรลับตาไป กับ 1636 และ 1637 ที่เกิดใหม่ 
  • 10:00 JTWC ออก Final Warning กับพายุหวู่คง หรือ หงอคง แล้ว หมายถึงพายุนี้กำลังจะสลายตัว
  • 06:40 พายุหวู่คง ล่าสุดอยู่ในทะเลจีนใต้ ลดกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ความเร็วลรอบศูนย์กลางเหลือเพียง 25 น็อต มีโอกาสสลายตัวใน 24 ชม นี้  
  • 06:30 กรุงเทพ 25°C  กระบี่ 23°C พะเยา 16°C ลำพูน 19°C อุดร 20°C ขอนแก่น 21°C โคราช 24°C ลำปาง 17°C  อุบล 22°C เชียงใหม่ 19°C เชียงราย 16°C สุราษฎ์ธานี  23°C
  • 00:10 ลมสุริยะความเร็วลม 316 กม/วินาที สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • ญี่ปุ่น – ฮอกไกโด ซัปโปโร พายุหิมะถล่ม ความเร็วลมเกือบ 90 กม./ชม. อุณหภูมิลงต่ำเกือบ -30°C
  • สนามแม่เหล็กระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก (IMF) แตะจุดสูงสุดที่ 6.6 nT เวลา 18:44 ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ (26 ธ.ค.55) ตามเอกสารหมายเลข 42969 ของ  USAF/NOAA ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในช่วงปฏิกิริยาต่ำ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]ยังไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้ แต่มนุษย์นั้นอ่อนแอ ไม่อาจอยู่กับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ในเชิงจิตวิยาจึงพยายามโยงแผ่นดินไหวเข้ากับเหตุการณ์อื่นอยู่เสมอ[/stextbox]