เหตุการณ์วันนี้
- 21:30 ลมสุริยะความเร็ว 294 km/s สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
- 20:00 ภาพถ่ายจุดดับหมายเลข 1640 จากยาน SDO ซึ่งเป็นจุดดับเกิดใหม่ที่ขยายขนาดรวดเร็วมาก
- 18:00 หย่อมความกดอากาศต่ำหมายเลข 92W ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน 201301W ซึ่งถือเป็นพายุลูกแรกของปีนี้ ที่ฝั่งตะวันตกของฟิลิปปินส์ ทิศทางพายุเบื้องต้น ทาง TSR คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้แล้วเบี่ยงไปทางประเทศมาเลเซีย
[stextbox id=”warning”]มีผู้ไม่หวังดีเข้าโจมตีเว็บนี้อีกเมื่อเวลา 15:00 ทางเราพยายามแก้ไขอยู่ ขอบคุณมากครับ[/stextbox]
- 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุโซนร้อนฟรีดาแล้ว เหลือเป็น RMNTS และจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 92W ที่ฟิลิปปินส์ ที่มีแนวโน้มก่อตัวเป็นดีเปรสชันลูกต่อไป
- 03:00 พายุโซนร้อน Dumile กลายสภาพเป็นพายุไซโคลน
- 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
[stextbox id=”info”]โลกเรากำลังผ่านเข้าสู่ธารสะเก็ดดาวของดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 คืนนี้ ประเทศแถบซีกโลกเหนือจะได้เห็นฝนดาวตก Quadrantids ฝนดาวตกแรกของปี 2556[/stextbox]
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)
- ไม่มี
แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)
- เมื่อ 21.54 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ คาบสมุทรแคนาย อลาสกา ที่ความลึก 56.50 กม.
- เมื่อ 21.09 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ เกาะฮาวาย รัฐฮาวาย ที่ความลึก 13.30 กม.
- เมื่อ 17.36 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 105.00 กม.
- เมื่อ 16.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 35.80 กม.
- เมื่อ 14.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ Colorado ที่ความลึก 1.00 กม.
- เมื่อ 12.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ Manipur ประเทศอินเดีย ที่ความลึก 65.70 กม.
- เมื่อ 08.40 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ นอกชายฝั่ง เอล ซาวาดอ ที่ความลึก 71.00 กม.
- เมื่อ 08.17 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 80.20 กม.
- เมื่อ 07.02 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.4 บริเวณ Kepulauan Obi ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 27.50 กม.
- เมื่อ 06.18 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 47.80 กม.
พี่ครับภาพล่าสุดที่จุดดับขยายเร็ว จุดนี้ตรงมาที่โลกใช่ไหมครับ ถ้าปะทุจะอันตรายไหมครับ
เต็มที่ไม่เกินระดับ M ครับ ไม่ถึงระดับ X
ขอบคุณมากครับ
เปิดดูบ่อยมากๆครับเพราะข้อมูลทางนี้ update กว่า และขอเป็นอีกหนึ่งกําลังใจ ครับ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
ขอรบกวนช่วยอธิบายข้อเท็จจริง เรื่องที่สุริยะจักรวาลกำลังวิ่งตัดผ่านระนาบทางช้างเผือก
ที่กล่าวว่า จะตัดผ่านทุกประมาณ 33 ล้านปี ให้ทราบด้วยครับ ว่าความจริงเป็นเช่นไร อาจเกิดผลกระทบอย่างไร
ผมเห็นในเนทบางที่บอกว่ากำลังตัดผ่าน บางที่บอกว่าตัดผ่านไปตั้ง 3 ล้านปีแล้ว ผมเลยไม่แน่ใจว่าความจริงเป็นอย่างไรครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความขอบคุณต่อผู้จัดทำเวปนี้เป็นอย่างมาก ต่อข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนจำนวนมากครับ
จิรันตน์
ระบบสุริยะเกิดมา 4.6 พันล้านปี หมุนรอบกาแลคซีแล้ว 27 รอบ ลดระดับเอียงจากระนาบกลาง จาก 200 ปีแสงเหลือ 15 ปีแสงในขณะนี้ แต่ผมไม่เห็นว่าต้องไปสนใจอะไร เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่แนวระนาบไม่มีผลต่อระบบของเรา จากระยะห่างกว่า 26,000 ปีแสงนั้นไกลเกินจะส่งผล
ขอบคุณมากครับ
ช่วยตอบข้อสงสัยด้วยครับ อยากถามว่าในช่วง10ปี ที่ผ่านมา มีความรู้สึกว่า โลกเราเห็นฝนดาวตกบ่อยมาก ทั้งที่ก่อนหน้า10-20ปี การที่จะเห็นกลุ่มฝนดาวตกเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นนานๆครั้ง หรือเห็นได้ไม่บ่อย ดังนั้นจึงอยากทราบว่า วงโคจรในระบบสุริยะของเรายังเป็นปกติอยู่หรือเปล่า ยังคงอยู่ขอบของกาแล็คซี่ทางช้างเผือก หรือมีการขยับวงโคจรเข้าใกล้ หรือออกห่างไกลจาก กาแล็คซี่ทางช้างเผือก เพราะการที่โลกเราโคจรพบฝนดาวตกบ่อยๆ ก็เท่ากับว่า มีวัตถุนอกอวกาศที่มีขนาดใหญ่ เข้าใกล้อยู่บ่อยๆ แต่ไม่กระทบต่อโลกเรา เพียงมีสะเก็ดจากวัตถุนอกอวกาศชิ้นเล็ก กระทบเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเรา ขอบคุณล่วงหน้า สำหรับองค์ความรู้ครับผม
ฝนดาวตกเป็นเรื่อง “ภายในครอบครัว” ของระบบสุริยะครับ ไม่เกี่ยวกับทางช้างเผือก มันเป็นเส้นทางที่ดาวหางและอดีตดาวหางทิ้งไว้ให้โลกตัดผ่าน ที่เราเจอข่าวมากขึ้นเพราะระบบติดตามข่าวเราดีขึ้นครับ
ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมครับ เรื่องวงโคจรของระบบสุริยะของเรา ยังคงโคจรเป็นปกติหรือเปล่าครับ ระยะห่างจากใจกลางกาแล็คซี่ ยังเท่าเดิมอย่างที่ควรเป็น หรือโคจรเขยิบเข้าใกล้ หรือออกห่างจากใจกลางกาแล็คซี่ ครับผม
ระบบสุริยะหมุนเข้าใกล้จุดศูนย์กลางทางช้างเผือก
มากขึ้นกว่าช่วงเวลากำเนิดแรกๆครับ
ถ้าเป็นอย่างนั้น แสดงว่าในอนาคต เราก็มีโอกาส เจอวัตถุนอกโลก หรือดาวเคราะห์แปลกๆ โคจรเข้ามาใกล้ โลกหรือระบบสุริยะของเรา มากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมครับ แล้วทุกระบบโคจรเข้าหาศูนย์กลางกาแล็คซี่เหมือนกันหมดไหม ขอบคุณครับ สำหรับองค์ความรู้
ชอบมากครับเว็บนี้ ขอเป็นอีกหนึ่งกําลังใจ ครับ
\(^o^)/ \(^o^)/
ขอบคุณครับ