รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 08:24 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.5 [Mw] บริเวณ หมู่เกาะบารัต ดายา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 30 กม.
  • 08:00 ภาพจากกล้อง LASCO C3 ล่าสุด สภาพดาวหางไอซอน น่าจะเรียกได้ว่า “ตาย” ไปแล้ว หลังผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้ ส่วนหัวและหางแทบไม่มีแสงแล้ว (กดดูภาพเคลื่อนไหว) ghost_strip2
  • 07:30 กทม 24°C เชียงใหม่ 23°C เชียงราย 20°C กาญจน์ 21°C ขอนแก่น 19°C เลย 20°C ลำปาง 21°C นครพนม 20°C โคราช 20°C น่าน 20°C พะเยา 20°C ชุมพร 23°C หาดใหญ่ 24°C สตูล 24°C กำแพงเพชร 22°C ลำพูน 24°C นราธิวาส 27°C สุรินทร์ 18°C อุบล 19°C อุดร  20°C
  • 05:16 ภาพดาวเทียมย้อมสีจาก TWC  ความกดอากาศสูงปกคลุมทั่วไทย ฝนทิ้งช่วง อากาศเย็นลง 
  • ฝนสะสมหลายชั่วโมง มีน้ำป่าจากเทือกเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช ไหลลงสู่พื้นที่ราบลุ่ม 6 อำเภอ คือ นบพิตำ พรหมคีรี ลานสะกา พิปูน ฉวาง และท่าศาลา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:00 ฝนหนักดินสไลด์หินร่วงทับใส่อาคารเรียนโรงเรียนบ้านพะเด๊ะ ต.พระธาตุผาแดง  อ.แม่สอด
  • 08:00 เยอรมนีเผชิญสภาพอากาศร้อนจัดจากคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมคาดช่วงสุดสัปดาห์นี้อุณหภูมิอาจสูงถึง 38 °C
  • 07:30 ปารากวัย ตาย 4 บราซิล ตาย 3 จากภัยหนาว ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ แต่หนุ่มสาวกลับสนุกสนาน (ช่วงนี้เป็นหน้าหนาวโดยปกติของประเทศในซีกโลกใต้)
  • 06:50 ท่อรับน้ำมัน Flex hose ขนาด 16″ ของ PTTGC รั่ว บริเวณทุ่น Single point mooring ห่างจากฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยองไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 20 กม. มีน้ำมันดิบจไม่ทราบจำนวนไหลลงสู่ทะเล
  • 06:30 พายุโซนร้อนดอเรียน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 40 น็อต ยังเคลื่อนตรงเข้าหาเฮติ 201304N-20130727-0600
  • 06:00 พายุโซนร้อนฟลอสซี ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 50 น็อต ยังเคลื่อนตรงเข้าหาฮาวาย 201306E-20130727-0600
  • 05:32 หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งตอนบนของประเทศเวียดนาม 
  • 05:00 เกิดน้ำท่วมขังในเมือง Strabane ของไอร์แลนด์ จากฝนที่ตกหนักในหลายชั่วโมงที่ผ่านมา 
  • 04.32 แผ่นดินไหวขนาด 6.2 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่กาะแซนวิซ ที่ความลึก 10.00 กม.
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

  • เมื่อ 23.22 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ Svalbard ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 23.06 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ นอกชายฝั่ง ประเทศกัวเตมาลา ที่ความลึก 58.20 กม.
  • เมื่อ 23.03 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ ประเทศตองกา ที่ความลึก 32.90 กม.
  • เมื่อ 22.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ Puget Sound Washington ที่ความลึก 11.20 กม.
  • เมื่อ 18.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 40.00 กม.
  • เมื่อ 17.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 99.40 กม.
  • เมื่อ 17.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ ทะเลแบนดา ที่ความลึก 220.10 กม.
  • เมื่อ 17.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ Libertador General Bernardo O’Higgins ประเทศชิลี ที่ความลึก 35.00 กม.
  • เมื่อ 16.42 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของ คาบสมุทรกัมชัตกา ประเทศรัสเซีย ที่ความลึก 35.10 กม.
  • เมื่อ 16.04 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 44.30 กม.
  • เมื่อ 15.13 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 8.00 กม.
  • เมื่อ 14.37 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ Seram ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 9.30 กม.
  • เมื่อ 13.46 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ Ceram Sea ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 67.10 กม.
  • เมื่อ 13.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 55.00 กม.
  • เมื่อ 13.27 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 73.00 กม.
  • เมื่อ 13.10 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.6 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 51.00 กม.
  • เมื่อ 12.30 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.1 บริเวณ Mona Passage สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 105.00 กม.
  • เมื่อ 11.43 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.1 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 62.00 กม.
  • เมื่อ 11.38 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.1 บริเวณ ประเทศกรีซ ที่ความลึก 10.30 กม.
  • เมื่อ 11.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 32.00 กม.
  • เมื่อ 11.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.4 บริเวณ เกาะกวม ที่ความลึก 46.60 กม.
  • เมื่อ 08.27 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ หมู่เกาะโบนิน ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 469.80 กม.
  • เมื่อ 08.14 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ หมู่เกาะไอซุ ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 28.70 กม.
  • เมื่อ 08.09 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.6 บริเวณ หมู่เกาะไอซุ ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 30.80 กม.
  • เมื่อ 07.52 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ คาบสมุทรอลาสกา ที่ความลึก 84.50 กม.
  • เมื่อ 04.52 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 120.40 กม.
  • เมื่อ 03.37 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ เกาะโคดิแอค อลาสกา ที่ความลึก 39.80 กม.
  • เมื่อ 02.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่เกาะฟิจิ ที่ความลึก 547.20 กม.
  • เมื่อ 01.17 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.1 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 11.00 กม.

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อนลูกใหม่ 13S ในมหาสมุทรอินเดียใต้ ทิศทางมุ่งหน้าเกาะมาดากัสการ์ 
  • 22:40 พบต้นตอของข่าวลือแล้ว นั่นคือหลังจากการปะทุ CME ลูกหนึ่งไปทีดาวพุธเวลา 13:48 ในวันที่ 23 ที่ผ่านมาตามเวลาไทย และทางเว็บเราได้แจ้งข่าวไปแล้วนั้น หลังจากนั้นอีกในช่วงดึกของวันเดียวกัน ดวงอาทิตย์ได้ปะทุ CME ขนาดเล็กมากอีกลูกหนึ่ง ในทิศทางตรงมายังโลก .โดยเวลาที่ปะทุคือ 22:12 ตามเวลาไทย ซึ่งตามข้อมูลจาก ข่าวนี้ ของทาง NASA ได้ยืนยันว่า CME ที่ตรวจพบนี้้ มีขนาดเล็กกว่าปกติและความเร็วไม่พอที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ใดๆบนผิวโลกได้ทั้งสิ้น (600 km/s) ไม่มีผลทางไฟฟ้า ไม่มีการรบกวนคลื่นวิทยุ ไม่มีการรบกวนดาวเทียม หรือที่ปล่อยข่าวลือกันว่าจะมีรังสีรั่วลงมาก่อมะเร็งใดๆ
    ยกเว้นแสงออโรราที่สวยงามเท่านั้น และนี่คือต้นเหตุของการเบี่ยงเบนในกราฟแม่เหล็กที่ดาวเทียม GOES-13 ตรวจพบเมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา 

[stextbox id=”alert”]ตามที่ได้มีข่าวออกทางช่อง 5 ว่ามีการปะทุปล่อย CME รุนแรงห้ามออกจากบ้านนั้น เป็นเรื่องเท็จนะครับ ตั้งแต่เวลา 21:23 ของวันที่ 20 มกราที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ปะทุขนาดเล็กมาก คือ C จำนวน 1 ครั้ง และ B จำนวน 21 ครั้ง (นับถึงนาทีนี้) ไม่มีการปะทุใหญ่ระดับ X หรือแม้แต่ระดับกลางคือ M จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีอะไรมาปะทะโลกแบบที่ออกข่าวกันช่วงนี้[/stextbox]

  • 20:28 ลมสุริยะความเร็ว 505 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้ที่ -8.2nT สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมไทยตอนบน ช่วงนี้มีฝนตกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพ 
  • 18:00 ภาพจากดวงอาทิตย์ทุกช่วงแสง จะเห็นว่าไม่มีจุดดับไหนที่หันตรงมาทางโลกในเวลานี้  และจากตารางด้านล่าง จะไม่พบการปะทุในระดับรุนแรงเลย
    image
  • 12:05 เครื่องวัดแม่เหล็กในแกนขนาน (HP) ของดาวเทียม GOES-13 และ GOES-15 ตรวจพบว่าสนามแม่เหล็กโลกในด้านกลางคืน (ฝั่งอเมริกา) เวลานี้ยืดยาวออกไป  แม้ในเวลานี้ไม่มี CME หรือพายุสุริยะใดๆมากระทบด้านกลางวัน ลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกในระดับต่ำๆ หากมีความคืบหน้าในด้านสาเหตุจะรายงานให้ทราบต่อไป (ดาวเทียม GOES มีตัววัดแม่เหล็ก 3 แกน คือ HP HE และ HN) โดยล่าสุดลมสุริยะความเร็วอยู่ที่ 400 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงไปทางใต้ -8.1 nT
  • 06:30 กทม 25°C ชุมพร 27°C สมุย 27°C อุบล 22°C หาดใหญ่ 21°C ตาก 20°C อุดร 20°Cลำปาง 17°C แพร่ 17°C เชียงใหม่ 14°C เชียงราย 13°C
  • 00:10 พายุไซโคลนแกรีในมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
    image
  • สหรัฐฯ – เกิดพายุหิมะถล่ม Knoxville  รัฐเทนเนสซี ไฟฟ้าดับ 4000 ครัวเรือน
  • โมแซมบีค – เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ต้องอพยพคนกว่า 7 หมื่น เสียชีวิต 36 ศพ
  • ออสเตรเลีย – ฝนหนักจากพายุ Oswald ที่สลายตัวไปก่อนหน้านี้ ยังส่งผลให้รัฐควีนส์แลนด์เกิดน้ำท่วมหนัก บ้านเรือนประชาชนหลายร้อยหลังจมน้ำ และมีรายงานประชาชนสูญหายไปจำนวนหนึ่ง  ที่เมืองบันดาเบิร์ก เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย พยายามที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางอากาศ หลังจากระดับน้ำสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกไว้และหวั่นเป็นอันตราย ส่วนในเมืองบริสเบน เมืองหลวงของรัฐ บ้านเรือนประชาชนเกือบ 5,000 หลัง กำลังเสี่ยงถูกน้ำท่วมเช่นกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้รับรายงานว่า มี 2 คน เสียชีวิต

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 หิมะถล่มอังกฤษ ไฟฟ้าดับบางพื้นที่ ถนนปิด โรงเรียนต้องปิดเรียนกว่า 3,000 แห่ง 
  • 07:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 ขณะนี้อยู่ห่างจากโลกราว 0.0978 AU หรือ 38.061 LD (38 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์)  ดาวเคราะห์น้อยซึ่งมีขนาด 45-58 เมตร ดวงนี้จะเดินทางเข้าใกล้โลกที่ระยะใกล้ผิวโลกยิ่งกว่าดาวเทียมค้างฟ้า คือที่ระยะประมาณ 22.000-27,000 กิโลเมตร ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลา 02:26 ไทย จะอยู่ในเงาโลก 18 นาที และจะกลับออกไป โดยไม่มีการปะทะ 
  • 07:00 หนองคาย 16.9 °C เลย 16.6 °C ขอนแก่น 16.1 °C อุบล 16 °C โคราช 17.3 °C ร้อยเอ็ด 16.1 °C มุกดาหาร 15 °C อุดร 15.1 °C หนองบัวลำภู 17.4 °C นครพนม 14.5 °C สกลนคร 14.2 °C กาฬสินธุ์ 14.7 °C  ชัยภูมิ 19 °C ศรีสะเกษ 16.5 °C สุรินทร์ 16.2 °C บุรีรัมย์ 15.2 °C เชียงราย 14.5 °C เชียงใหม่ 16.7 °C แม่ฮ่องสอน 16.4 °C ตาก 16.1 °C  น่าน 14.6 °C อุตรดิตถ์ 17 °C พิษณุโลก 17.2 °C กำแพงเพชร 17.5 °C  พิจิตร 18.2 °C สุโขทัย 17.8 °C พะเยา 13.9 °C ลำพูน 14.5 °C ลำปาง 14.5 °C แพร่ 14.6 °C เพชรบูรณ์ 16.9 °C
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 18 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]หน่วยวัดความดันของอากาศ  hPa ย่อมาจาก เฮกโตปาสคาล ซึ่งมีค่าเท่ากับ  mbar หรือ มิลลิบาร์พอดี สองหน่วยนี้จึงใช้แทนกันได้ เช่น 1000 hPa = 1000 mbar[/stextbox]

  • 20:30 นราธิวาส ฝนตกหนัก ตลอดภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรงจัด
  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ แสดงให้เห็นเส้นความกดอากาศ 1018 mbar เข้ามาในเขตไทยแล้ว อากาศจะเย็นลงอีก 
  • 18:00 พายุโซนร้อน Emang สลายตัวแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกยังไม่มีพายุลูกใดก่อตัวใหม่
  • 06:40 สนามแม่เหล็กโลกวัดจากดาวเทียม  GOES-15 (ติดตั้งเครื่องวัด Hp ซึ่งตั้งฉากกับระนาบวงโคจรดาวเทียมและขนานกับแกนหมุนของโลก ) แสดงการลดลงอย่างรวดเร็ว (เส้นสีน้ำเงิน) ของสนามแม่เหล็กในด้านหันหาพระอาทิตย์ หรือด้านกลางวัน (ตัวย่อ M มาจาก Midnight และ  N มาจาก Noon) ซึ่งเกิดจากการบีบอัดของสนามแม่เหล็กโลกในด้านที่ถูก CME เข้าปะทะ (ด้านกลางวัน) 
  • 01:33 สนามแม่เหล็ก IMF เบี่ยงใต้มากกว่าปกติคือ Bz ไปมากถึง -12nT ลักษณะแบบนี้อาจทำให้ผู้คนแถบซีกโลกเหนือได้พบกับแสงออโรราที่ละติจูดต่ำได้ ส่วนลมสุริยะความเร็ว 392.7 km/s²  ซึ่งลดความเร็วมาโดยตลอดนับจากช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีความดันต่ำมากที่ 0.1 nPa
  • 01:00 จำนวนอนุภาคโปรตรอนต่อตารางเซ็นติเมตรในช่วงพลังงานสูงเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ที่ผ่านมา และเพิ่มสูงสุดช่วง 19:00 ของวานนี้ จากนั้นเริ่มลดจำนวนลง ส่วนโปรตรอนที่มีระดับพลังงานต่ำ  47-68 KeV มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนในลักษณะน่าสนใจในเวลานี้
  • 00:30 สนามแม่เหล็กโลกเริ่มเกิดความสั่นสะเทือนที่ระดับค่า kp=4 ในช่วง 1 ทุ่มวานนี้
  • 00:10 คาดการณ์การมาถึงของ CME จากดวงอาทิตย์ซึ่งเดินทางมาในทิศทางของโลกจากการปะทุระดับ M1 เมื่อวันก่อน จากนี้อาจเกิดปฏิกิริยาหลายอย่างกับอวกาศรอบโลก
  • น้ำระบายและน้ำท่า จากรายงานของกรมชลฯ เขื่อนภูมิพล 336 ลบ.ม./วิ เขื่อนสิริกิติ์ 324 ลบ.ม./วิ เขื่อนแควน้อย 8 ลบ.ม./วิ เขื่อนนเรศวร 184 ลบ.ม./วิ เขื่อนนครสวรรค์ 404  ลบ.ม./วิ เขื่อนเจ้าพระยา 60 ลบ.ม./วิ เขื่อนบางไทร 214 ลบ.ม./วิ เขื่อนป่าสัก 61 ลบ.ม./วิ  เขื่อนพระรามหก 7 ลบ.ม./วิ
  • อินโดนีเชีย – ผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมล่าสุด 11 ศพ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 11 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:51 เกิดการปะทุระดับ M1.0 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 เคลื่อนที่มาอยู่ที่พิกัด N06E44 บนดวงอาทิตย์
  • 18:00 กำแพงพายุฝุ่นทรายแดงที่ปรากฏให้เห็นบนชายฝั่งเมือง Onslow ก่อนที่ตัวพายุไซโคลน Narelle จะมาถึง 
  • 17:10 พายุไซโคลน Narelle ทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไปที่ 110 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT3 แล้วในเวลานี้ คาดการทิศทางการเคลื่อนที่ตามภาพ  
  • 16:11 ในที่สุด  กลุ่มจุดดับ 1654 ก็ปะทุระดับ M จนได้หลังรอกันมานานเป็นเดือนสำหรับนักท่องเที่ยวและกลุ่มทัวร์ที่จัดดูแสงออโรราทางซีกโลกเหนือ โดยได้ปะทุขนาด M 1.2 ออกมาในขณะนี้  โดยจุดดับกลุ่มนี้ได้ปะทุขณะที่เคลื่อนมาถึงพิกัด  N05E36 บนดวงอาทิตย์
  • 14:14 ฝนตกเขตภาษีเจริญ ตลิ่งชัน บางแค บางกรวย บางเขน
  • 13:14 เกิดการปะทุระดับ C9.2 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ยังไม่ส่งผลใดๆต่อโลก ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 เคลื่อนที่มาอยู่ที่พิกัด N05E45 บนดวงอาทิตย์
  • 10:40 มาบตาพุด จ.ระยองฝนตกหนัก
  • 09:12 ภาพสดภูเขาไฟซากุระจิมาของญี่ปุ่น พ่นไอน้ำออกมาสวยงาม ในเวลานี้
  • 08:32 ภาพถ่าย พายุไซโคลน Narelle จากดาวเทียม MTSAT-2 เวลานี้ พายุกำลังเคลื่อนเข้าใกล้เมือง Exmouth ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย
  • 04:00 พายุไซโคลน Narelle เพิ่มความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุไปที่ 85 น็อต กลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT2
  • 02:46 เกิดการปะทุระดับ C8 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ยังไม่ส่งผลใดๆต่อโลก
  • 00:10 พายุไซโคลน Narelle คงความเร็วที่ 80 น็อต เส้นทางพายุยังคงวิ่งลงด้านทิศใต้
  • สหรัฐฯ – มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก หลังเกิดการระบาดอย่างรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ H3N2  นับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะนครบอสตัน ในมลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ส ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • บังกลาเทศ  – ยอดผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวจัดในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 90 คนแล้ว ขณะที่อุณหภูมิบางพื้นที่ลดต่ำลง เหลือเพียง 3.2°C  ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 45 ปี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 9 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 ฝนหนักถล่มเท็กซัส มีถนนอย่างน้อย 18 สายในซานแอนโตนิโอ ที่ต้องปิดเพราะน้ำท่วม
  • 17:00 พายุโซนร้อน  NARELLE ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 65  น็อต
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชันโซนามูแล้ว โดยให้เป็นส่วนที่หลงเหลือ หรือ RMNTS 
  • 06:30 กราฟ SN ล่าสุดออกมาแล้ว จุดสุดท้ายของกราฟที่เว้นว่างไว้ท้ายปี 2012 ได้รับการเติมเต็ม จะเห็นว่าจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ปลายปี 2012 ลดต่ำลงอย่างไม่น่าเชื่อเหลือไม่ถึง 40 จุด  ซึ่งขัดแย้งกับคำทำนายเรื่องวันสิ้นโลกเป็นอย่างมาก และต่ำกว่าการประเมิณของนาซาเองอีกด้วย (เส้นสีแดงคือการประเมินจำนวนจุดดับที่ควรเป็น ) ซึ่งการลดต่ำมากๆของจุดดับไม่ใช่เรื่องดี เพราะหากมีผลไปจนลมสุริยะลดความเร็วลงต่ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เกราะป้องกันระบบสุริยะหรือ heliosphere ลดกำลังลง เปิดโอกาสให้อนุภาคแปลกปลอมจากภายนอกระบบสุริยะ หลุดเข้ามาได้มากกว่าปกติ อนุภาคพวกนี้คือสิ่งที่เรียกรวมๆกันว่ารังสีคอสมิค ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหากทะลุเกราะป้องกันด่านที่สองและสามคือสนามแม่เหล็กและชั้นบรรยากาศโลกลงมาได้
  • 04:10 พายุดีเปรสชันโซนามูอาจสลายตัวก่อนขึ้นฝั่งเกาะบอร์เนียว ล่าสุดลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเหลือเพียง 20 น็อต
  • วันนี้ กรมชลฯ ระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล 313 ลบ.ม./วิ สิริกิติ์ 294 ลบ.ม./วิ  แควน้อย 39 ลบ.ม./วิ นเรศวร 180  ลบ.ม./วินครสวรรค์ 483 ลบ.ม./วิ เจ้าพระยา 64 ลบ.ม./วิ บางไทร 142 ลบ.ม./วิ ป่าสัก 40 ลบ.ม./วิ พระรามหก 8 ลบ.ม./วิ
  • ออสเตรเลีย – ขณะนี้เป็นหน้าร้อน สภาพอากาศร้อนจัดกว่า 40.3°C อากาศแล้งและลมแรง ทำให้ทั่วออสเตรเลียเผชิญไฟป่าที่ลุกลามไปในหลายพื้นที่ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6  โดยได้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย รวมเกิดไฟป่าแล้ว 130 จุด และยังไม่สามารถควบคุมได้กว่า 40 จุด
  • เชียงใหม่   ประกาศพื้นที่ภัยหนาว 18 อำเภอ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD) (วัดความลึกไม่ได้)

  • 08:41 แผ่นดินไหว พรมแดนพม่า-อินเดีย (25.49,94.79) ขนาด 5.9 

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]

  • 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย 
  • 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส 
  • 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
  • 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
  • 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
  • 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่ 
  • 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
  • 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
  • 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410  โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก  ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
  • 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ 
  • 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
  • 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8  (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
  • 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C  อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
  • 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย 
  • 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
  • บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
  • ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน 
  • ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:38 ลมสุริยะลดความเร็วลงต่ำ เหลือเพียงแค่ 287 กม/วินาที การที่ความเร็วลดลงต่ำแบบนี้ ในระยะยาวก็ไม่เป็นผลดี เนื่่องจากลมสุริยะระดับ 400-500 กม/วินาที เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่ในการผลักดันรังสีคอสมิคจากนอกระบบสุริยะไม่ให้เข้ามา
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชันหวู่คงแล้ว (RMNTS) ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางลูกใหม่ก่อตัวขึ้น 
  • 11:14 ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ล่าสุดขณะนี้ ในช่วงแสง 171A จะเห็นบริเวณจุดดับทั้งหมดไม่มีบริเวณใดหันมาตรงกับโลก ทั้งจุดดับเดิมคือ 1633 1634 1635 ที่กำลังจะโคจรลับตาไป กับ 1636 และ 1637 ที่เกิดใหม่ 
  • 10:00 JTWC ออก Final Warning กับพายุหวู่คง หรือ หงอคง แล้ว หมายถึงพายุนี้กำลังจะสลายตัว
  • 06:40 พายุหวู่คง ล่าสุดอยู่ในทะเลจีนใต้ ลดกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ความเร็วลรอบศูนย์กลางเหลือเพียง 25 น็อต มีโอกาสสลายตัวใน 24 ชม นี้  
  • 06:30 กรุงเทพ 25°C  กระบี่ 23°C พะเยา 16°C ลำพูน 19°C อุดร 20°C ขอนแก่น 21°C โคราช 24°C ลำปาง 17°C  อุบล 22°C เชียงใหม่ 19°C เชียงราย 16°C สุราษฎ์ธานี  23°C
  • 00:10 ลมสุริยะความเร็วลม 316 กม/วินาที สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • ญี่ปุ่น – ฮอกไกโด ซัปโปโร พายุหิมะถล่ม ความเร็วลมเกือบ 90 กม./ชม. อุณหภูมิลงต่ำเกือบ -30°C
  • สนามแม่เหล็กระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก (IMF) แตะจุดสูงสุดที่ 6.6 nT เวลา 18:44 ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ (26 ธ.ค.55) ตามเอกสารหมายเลข 42969 ของ  USAF/NOAA ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในช่วงปฏิกิริยาต่ำ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]ยังไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้ แต่มนุษย์นั้นอ่อนแอ ไม่อาจอยู่กับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ ในเชิงจิตวิยาจึงพยายามโยงแผ่นดินไหวเข้ากับเหตุการณ์อื่นอยู่เสมอ[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 ธันวาคม 2555 (ครบ 8 ปี สึนามิภาคใต้)

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 รัสเซีย – 10 วันที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 123 ราย กับอากาศหนาว -30°C ในมอสโค และ -50°C ในไซบีเรีย
  • 20:45 ปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ ลดลงอย่างต่อเนื่อง บางช่วงลมสุริยะลดต่ำกว่า 300 กม/วินาที
  • 20:30 พายุหวู่คง กำลังจะเคลื่อนออกจากประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ ด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต 
  • 10:27 ภาพช่องโหว่ในบรรยากาศชั้นโคโรนาเวลานี้ ถ่ายโดยช่วงแสง 193A ปรากฏว่าช่องโหว่นั้นหมดสภาพที่จะส่งอนุภาคหรือลมสุริยะมายังโลก เนื่องจากขนาดของช่องหดเล็กลงและหันออกจากแนวตรง 
  • 09:00 อุตุฯเวียดนาม คาดการณ์ว่าพายุหวู่คง จะสลายตัวก่อนถึงฝั่งประเทศตน ไม่ส่งผลมาถึงไทย ลาว กัมพูชา
  • 07:15 พายุหงอคง หรือ หวู่คง หรือ QUINTA ตามการเรียกของฟิลิปปินส์ อ่อนแรงลงเล็กน้อยเมื่อขึ้นฝั่งที่ Leyte และล่าสุดกำลังเคลื่อนไปทางเกาะ Camotes
  • 06:30 กรุงเทพ 24°C ระนอง 24°C  กระบี่ 23°C ลพบุรี 24°C ตรัง 23°C ระยอง 21°C ลำปาง 20°C ลำพูน 20°C เชียงใหม่ 20°C อุบล 20°C หนองคาย 19°C เชียงราย 18°C
  • 06:15 พายุสุริยะความเร็วลม 325 km/s สนามแม่เหล็กโลก -เงียบสงบ-  สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 03:00 ดีเปรสชันหวู่คง ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์แล้ว
    image
  • 02:00 พายุ 04A ทางตะวันออกของประเทศโซมาเลีย สลายตัวแล้ว
  • 00:10 ความกดอากาศสูงจากจีนอ่อนแรงลง อากาศโดยทั่วไปเริ่มอุ่นขึ้นเล็กน้อย
  • 00:00 ทั่วโลกแผ่นดินหยุดไหวไป 7 ชั่วโมง สงบเงียบผิดปกติ (วัดจากรายงานของเอเยนเจ้าใหญ่ๆ เช่น USGS Geofon)
  • น้ำท่วม จ.พัทลุง เริ่มคลี่คลาย หลังฝนหยุดตก ส่วนดินถล่มริมป่าเทือกเขาบรรทัด ขยายวงกว้าง เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง
[stextbox id=”info”]ความเร็วเดินทางของสึนามิ  คิดจาก √(GD) โดย D คือความลึกของท้องทะเลของจุดเกิดแผ่นดินไหว และ G คือความเร่งที่ 9.81 m² เมื่อคลื่นเข้าหาฝั่ง ความเร็วจะลดลงเท่ากับ 3.1 x √(d) โดย d คือความลึกของฝั่ง แต่คลื่นจะพยายามรักษาคาบ (T) ไว้ จาก T=L/Cดังนั้น เมื่อความเร็ว C ลด ความกว้างคลื่น L ย่อมลด และเมื่อคลื่นจะพยายามคงคาบ T ไว้ คลื่นจึงยกตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าฝั่ง  จากที่อธิบายมานี้ การจะรู้ว่าคลื่นสึนามิเข้าหาดไหนสูงกี่เมตร ต้องรู้ค่า D และ d ตอนเกิดเหตุแล้วเท่านั้น จะมาพูดล่วงหน้าไม่ได้ ระวังจะถูกหลอก[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 22:20 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.48,96.15) ขนาด 4.8  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 394 กม.
  • 20:59 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.29,96.21) ขนาด 5.6  ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 373 กม.
  • 15:48 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.68,96.32) ขนาด 4.8   ไม่รู้ความลึก ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 404 กม.

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

[stextbox id=”info”] ไม่มีหลักฐานทางวิชาการใดๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ จะระบุได้ว่าแผ่นดินไหวกับพายุสุริยะมีความเกี่ยวข้องกัน ระวังจะถูกหลอก [/stextbox]