เหตุการณ์วันนี้
[stextbox id=”info”]หน่วยวัดความดันของอากาศ hPa ย่อมาจาก เฮกโตปาสคาล ซึ่งมีค่าเท่ากับ mbar หรือ มิลลิบาร์พอดี สองหน่วยนี้จึงใช้แทนกันได้ เช่น 1000 hPa = 1000 mbar[/stextbox]
- 20:30 นราธิวาส ฝนตกหนัก ตลอดภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรงจัด
- 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ แสดงให้เห็นเส้นความกดอากาศ 1018 mbar เข้ามาในเขตไทยแล้ว อากาศจะเย็นลงอีก
- 18:00 พายุโซนร้อน Emang สลายตัวแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกยังไม่มีพายุลูกใดก่อตัวใหม่
- 06:40 สนามแม่เหล็กโลกวัดจากดาวเทียม GOES-15 (ติดตั้งเครื่องวัด Hp ซึ่งตั้งฉากกับระนาบวงโคจรดาวเทียมและขนานกับแกนหมุนของโลก ) แสดงการลดลงอย่างรวดเร็ว (เส้นสีน้ำเงิน) ของสนามแม่เหล็กในด้านหันหาพระอาทิตย์ หรือด้านกลางวัน (ตัวย่อ M มาจาก Midnight และ N มาจาก Noon) ซึ่งเกิดจากการบีบอัดของสนามแม่เหล็กโลกในด้านที่ถูก CME เข้าปะทะ (ด้านกลางวัน)
- 01:33 สนามแม่เหล็ก IMF เบี่ยงใต้มากกว่าปกติคือ Bz ไปมากถึง -12nT ลักษณะแบบนี้อาจทำให้ผู้คนแถบซีกโลกเหนือได้พบกับแสงออโรราที่ละติจูดต่ำได้ ส่วนลมสุริยะความเร็ว 392.7 km/s² ซึ่งลดความเร็วมาโดยตลอดนับจากช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีความดันต่ำมากที่ 0.1 nPa
- 01:00 จำนวนอนุภาคโปรตรอนต่อตารางเซ็นติเมตรในช่วงพลังงานสูงเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ที่ผ่านมา และเพิ่มสูงสุดช่วง 19:00 ของวานนี้ จากนั้นเริ่มลดจำนวนลง ส่วนโปรตรอนที่มีระดับพลังงานต่ำ 47-68 KeV มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนในลักษณะน่าสนใจในเวลานี้
- 00:30 สนามแม่เหล็กโลกเริ่มเกิดความสั่นสะเทือนที่ระดับค่า kp=4 ในช่วง 1 ทุ่มวานนี้
- 00:10 คาดการณ์การมาถึงของ CME จากดวงอาทิตย์ซึ่งเดินทางมาในทิศทางของโลกจากการปะทุระดับ M1 เมื่อวันก่อน จากนี้อาจเกิดปฏิกิริยาหลายอย่างกับอวกาศรอบโลก
- น้ำระบายและน้ำท่า จากรายงานของกรมชลฯ เขื่อนภูมิพล 336 ลบ.ม./วิ เขื่อนสิริกิติ์ 324 ลบ.ม./วิ เขื่อนแควน้อย 8 ลบ.ม./วิ เขื่อนนเรศวร 184 ลบ.ม./วิ เขื่อนนครสวรรค์ 404 ลบ.ม./วิ เขื่อนเจ้าพระยา 60 ลบ.ม./วิ เขื่อนบางไทร 214 ลบ.ม./วิ เขื่อนป่าสัก 61 ลบ.ม./วิ เขื่อนพระรามหก 7 ลบ.ม./วิ
- อินโดนีเชีย – ผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมล่าสุด 11 ศพ
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)
- ไม่มี
แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)
- เมื่อ 20.29 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.4 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 14.00 กม.
- เมื่อ 19.42 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.4 บริเวณ ทางตะวันตกของ Sichuan ประเทศจีน ที่ความลึก 31.20 กม.
- เมื่อ 19.25 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ Nias ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 21.80 กม.
- เมื่อ 17.22 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 33.10 กม.
- เมื่อ 15.26 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ หมู่เกาะเวอร์จิน ที่ความลึก 25.00 กม.
- เมื่อ 12.20 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ England United Kingdom ที่ความลึก 12.00 กม.
ถามหน่อยครับ ว่าทำไมnasa ถึงไม่เคยนำยานไปสำรวจหรือลงจอดด้านมืดของดวงจันทร์ หรือเป็นเพราะด้านมืดของดวงจันทร์ การสื่อสารระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ไม่สามารถทำได้ และพี่คิดว่าระบบสุริยะควบคู่กับระบบสุริยะของเรา น่าจะมีอยู่หรือเปล่า เลยทำให้สงสัยว่า มีตัวเราเองในระบบสุริยะคู่ขนาน ดำรงชีวิตอยู่ไหม (ขอโทษครับ ถ้าคำถามดูเป็นหนังไปหน่อย)
ยานแฝดสำรวจด้านไกลของดวงจันทร์ (เราไม่เรียกด้านมืดเพราะมันสว่างในคืนแรมแต่เราไม่เห็น) ชื่อโครงการ Grail ครับ และสามารถถ่ายคลิปของด้านที่เราไม่เคยเห็นส่งกลับมาให้ดูกันตามนี้ http://www.nasa.gov/mission_pages/grail/news/grail20120201.html