รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ มีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมกรุงเทพ อากาศหนาวจะหายไปในช่วงนี้ และบางแห่งอาจมีฝน 

[stextbox id=”alert”]วันนี้ข่าวลือเรื่องดวงอาทิตย์ปล่อย CME จากเว็บนี้ กดอ่าน ขอเตือนว่า ไม่เป็นความจริงนะครับ ดวงอาทิตย์สงบมากในเวลานี้ จุดดับทั้งหมดหันออกห่างจากโลก ลมสุริยะความเร็วต่ำมาก และ CME ที่ปะทุสุดท้ายก็ไปทางดาวพุธ ไม่เกี่ยวกับโลกเลย บทความนาซาอะไรที่อ้างมาก็หาไม่เจอ [/stextbox]

  • 12:50 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ดวงอาทิตย์มีปฎิกิริยาต่ำมาก 
  • 12:40 ฝนหนักปทุม ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม
  • 07:52 พายุโซนร้อนแกรีทางตะวันออกของเกาะซามัว ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนแล้วในขณะนี้ 
  • 07:50 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก ความเร็วลมสุริยะ 277 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 06:30  อีกเดือนเศษ ชาวโลกจะได้ยลโฉมดาวหางดวงแรกของปีด้วยตาเปล่า ราวช่วงต้นมีนาคมหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็น ซึ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากพอที่จะโดนอิทธิพลของลมสุริยะจนระเหิดน้ำแข็งออกเป็นหางยาวสวยงาม แต่ขณะนี้ ดาวหางนี้ยังอยู่ที่ใกล้วงโคจรของดาวอังคาร และเริ่มมีหางสั้นๆงอกออกมาแล้ว ยืนยันโดยภาพถ่ายจากทีมนักดาราศาสตร์ในอาเจนตินา ซึ่งได้ถ่ายภาพ ดาวหางแพนสตาร์ Pan STARRS เมื่อคืนนี้ด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 0.3 เมตร (ซีกโลกใต้จะได้เห็นก่อน)
  • 06:00 ระดับน้ำในเขื่อนทั่วไทยล่าสุดวันนี้ ข้อมูลจากกรมชลประทาน เหลือเขื่อนศรีนครินทร์แห่งเดียวที่มีน้ำมากพอใช้ในหน้าแล้ง เขื่อนอื่นยังน่าห่วง 
  • 04:00 พายุโซนร้อนพีต้า Peta หรือ 201312S ใกล้เมือง Onslow ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 พายุโซนร้อนแกรี ที่ซามัว ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้
  • 15:00 พายุ 12S ได้ชื่อเรียกว่า Peta และได้ขึ้นฝั่งที่ด้านตะวันตกของ Port Hedland
  • 14:00 ฝนตกหลายพื้นที่ในกรุงเทพ
  • 13:48 ดวงอาทิตย์ปล่อยมวล CME ออกทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทิศทางไม่ตรงกับโลก  (ภาพล่างเป็นภาพจาก Lasco แผ่นวงกลมสีดำกลางภาพคือแผ่นโลหะกันแสง)
  • 12:00  พายุ Oswald ที่ทางเหนือออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 08:00 พบการก่อตัวของพายุ 12S ทางตะวันตกของออสเตรเลีย
  • 07:00 มีรูโหว่ในบรรยากาศชั้นโคโนาของดวงอาทิตย์ ลมสุริยะจากรูโหว่นี้จะเพิ่มกำลังแรงขึ้นในช่วง 3 วันนับจากนี้ 

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 110 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT3
  • 11:00 JMA ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” หรือชื่อที่อุตุฟิลิปปินส์เรียกว่า “Bising” ที่ 170 กม ตะวันออกเฉียงเหนือของโบรอนกัน ซามาตะวันออก ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 45 กม/ชม ถือเป็นพายุลูกที่ 2 ของปีนี้ 
  • 08:00 ฝนตกเขตดุสิต บางซื่อ ดินแดง ห้วยขวาง
  • 07:15 ฝนตกเขตดุสิต จตุจักร บางซื่อ พระประแดง สมุทรปราการ
  • 07:00 TMD  ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน 2013 02W  
  • 06:00 ปริมาณน้ำล่าสุดในเขื่อนต่างๆทั่วไทย ข้อมูลจากกรมชลฯ
  • 01:05 JTWC แสดงภาพถ่ายดาวเทียมให้เห็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางที่ฟิลิปปินส์ (Medium) ที่กำลังก่อตัวอาจกลายสภาพเป็นพายุ ด้านล่างซ้ายคือพายุไซโคลนระดับ 4 ชื่อ Narelle และล่างขวาคือหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในแปซิฟิคใต้ 
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก TMD แผนที่ลำชั้นบน ลมเปลี่ยนทิศจากลมเหนือเป็นลมตะวันออก นำความชื้นและกลุ่มเมฆเข้ามา ฝนอาจตก 
  • 00:20 พายุไซโคลน Narelle ทวีกำลังลมขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT4 ที่ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางกว่า 115 น็อต
  • 00:10 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ค่า kp < 2 ลมสุริยะอยู่ที่ความเร็วต่ำ คือ 333 km/s แต่เกิด Radio Blackouts ที่ R1

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงการเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำจำนวนมากแถบเส้นศูนย์สูตร มีคำเตือนถึงการก่อตัวของดีเปรสชันลูกใหม่ในซีกโลกใต้คือ 06P
    image

  • 22:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 05P ทางทิศใต้ของหมู่เกาะโซโลมอน
  • 21:00 สรุปยอดตายล่าสุดในฟิลิปปินส์จากพายุหวู่คงล่าสุดที่ 11 ราย
  • 19:30 อีก 3 วันก็สิ้นปี 2555 หรือ 2012 ก้าวเข้าสู่ที่ได้รับการทำนายว่าเป็น Solar Maximum ของวัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้ (เริ่มจากปี 2008) แต่จากการติดตามจำนวนจุดดับของดวงอาทิตย์ ปรากฏยอดแหลมหรือ Peak ที่ปลายปีที่แล้วหรือ 2554 /2011 จากนั้นดวงอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะสงบลงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ทั้งนี้ก็น่าจะยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะมีจำนวนจุดดับกลับเพิ่มขึ้นได้ปีในปีหน้าหรือ 2556/2013 และหากเป็นเช่นนั้นจริง วัฏจักรสุริยะที่ 24 นี้จะมียอดแหลม 2 ยอดเลยทีเดียว (เส้นแดงในกราฟคือการคาดการณ์ เส้นดำคือจำนวนที่เกิดจริง เส้นน้ำเงินคือเส้นดำที่เฉลี่ยให้เรียบดูง่ายขึ้น)
    image
  • 19:00 เส้นทางพายุดีเปรสชั่นหวู่คงจาก TSR หลังพายุนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 25 น็อตและมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวดังในภาพ
    image
  • 15:00 ข้อสังเกต –  คาบการเกิดแผ่นดินไหวรายงานจากเอเย่นต์สากลต่างๆเช่น USGS หรือ Geofon นั้นทิ้งช่วงห่างจาก 3-6 ชั่วโมง จากระดับปกติที่จะมีแผ่นดินไหวชั่วโมงละหลายครั้ง หรืออยางช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง และสัปดาห์ที่ผ่านมา แผ่นดินไหวทั่วโลกก็เกิดน้อยครั้งกว่าปกติ

[stextbox id=”warning”]ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดี พยายามถล่มเว็บภัยพิบัติเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งทางเว็บเราให้ข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่ได้มีผลประโยชน์จากทางใดเลย แต่เราไม่ก้มหัวให้ความลวงโลกหรือการโป้ปดต่างๆ และคงไปเปิดโปงให้ใครอับอายในความโง่เขลา จึงพยายามทำเช่นนี้มาตลอด[/stextbox]

  • 10:00 ทาง JTWC ขณะจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (ทางขวาของภาพดาวเทียม) เมื่อเวลา 03:30 ตามเวลาไทย กลับพบว่า พายุหวู่คง TD27W ซึ่งประกาศสลายตัวไปแล้วนั้น ได้รวมตัวขึ้นมาใหม่เป็นพายุดีเปรสชัน และทางอุตุนิยมญี่ปุ่นก็ยืนยันเรื่องนี้ ทั้งยังคาดแนวทางพายุจะเคลื่อนมาใกล้ทางมาเลฯกับภาคใต้ของไทยด้วย 
  • 07:00 แผนที่อากาศกรมอุตุ ช่วงนี้อากาศเริ่มอุ่นขึ้นเนื่องจากหย่อมความกดอากาศสูงหย่อมเก่าผ่านเลยไปแล้ว แต่หย่อมใหม่กำลังแรง H ขนาด 1052 mbar กำลังจะเข้ามา น่าจะมีผลช่วง 3-5 วันข้างหน้านี้ (ในภาพจะไม่เห็นพายุหวู่คงแล้วเนื่องจากทางไทยถือว่าสลายตัว) 
  • 06:30 กทม 25°C กระบี่ 23°C พะเยา 17°C กาญจนบุรี  25°C สงขลา 23°C ลำพูน 18°C ขอนแก่น 20°C อุดร 19°C อุบล 21°C ลำปาง 17°C เชียงใหม่ 18°C เชียงราย 17°C
  • 06:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญทั่วไทย 
  • 01:28 ลมสุริยะลดความเร็วลงเหลือเพียงแค่ 277 กม/วินาที แรงดันตกลงมาเหลือแค่ 0.2 nPa ถือเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อนหวู่คงถล่มฟิลิปปินส์ ล่าสุดขณะนี้ 4 ราย
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมมาเลเชียเพราะฝนหนักขณะนี้ 2 ราย
[stextbox id=”info”]ลำดับของความเสียหายในอุปกรณ์ไฟฟ้าบนผิวโลก เริ่มจาก CME หรือ พายุสุริยะ Solar storm ไปก่อให้เกิด พายุสนามแม่เหล็กโลก Geomagnetic storm แล้ว พายุสนามแม่เหล็กโลก ไปก่อให้เกิด กระแสเหนี่ยวนำภาคพื้นดิน  Geomagnetically induced currents (GIC) อีกที แล้วกระแส GIC นี้ จึงมีผลต่อสิ่งของบนโลก โดยปกติตัวพายุสุริยะเองนั้นทำอะไรผิวโลกไม่ได้ นอกจากสร้างแสงออโรราสวยงาม เว้นแต่ความเร็วลมสูงจัดเกิน 800 km/s ขึ้นไปเท่านั้น[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:50 ลมสุริยะความเร็ว 429 กม/วินาที สภาพโดยรวมของอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 22:00 ไซโคลนอีวาน ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • 18:00 ระดับน้ำในแม่น้ำโก-ลก วัดที่สถานี X119A  สะพานลันตู อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส  ล่าสุดต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 1.20 เมตร  ระดับยังเพิ่มขึ้น แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโก-ลก  ในเขตเทศบาลสุไหงโก-ลก ตลาดบ้านมูโนะ ตำบลมูโนะ และในพื้นที่อำเภอตากใบ เตรียมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง
  • 14:00 จุดดับ 1629 และ 1631 ลับสายตาไปทางขอบตะวันตก (ด้านขวาของภาพดวงอาทิตย์) แล้ว ขณะที่จุดดับใหม่ ที่โผล่จากขอบตะวันออก ได้รับการตั้งหมายเลขว่า 1635 ในช่วงต่อไป จะมีจุดดับ 3 กลุ่มที่หันหน้าตรงสู่โลก คือ 1633 1634 และ 1635
  • 13:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC  แสดงตำแหน่งล่าสุดของพายุไซโคลนอีวาน EVAN 
  • 10:00 พบหย่อมความกดอากาศต่ำหย่อมใหม่ 93W ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เหนือฟิลิปปินส์
  • 09:50 ลมสุริยะความเร็ว 480 กม/วินาที สภาพโดยรวมของอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 09:00 ภาพล่าสุดของดวงอาทิตย์ จุดดับที่เป็นที่จับตามอง 2 จุดคือ 1633 และ 1634 รวมทั้งจุดดับเกิดใหม่อีกหนึ่งจุด กำลังหันมายังโลก แต่หากจะมีอนุภาคใดๆที่จะเดินทางมาถึงโลกตามข่าวลือ ด้วยระยะห่าง 150 ล้าน กม และต้องการให้อนุภาคเดินทางมาถึงวันที่ 21 ธันวาคม อนุภาคจะต้องรีบเดินทางด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 600 กม/วินาที (600 x 86,400= 51.8 ล้าน กม/วัน) ซึ่งจวบจนบัดนี้ ยังไม่มีวี่แววการปะทุของจุดดับใดๆที่จะเกิดกระแสอนุภาคที่เดินทางด้วยความเร็วที่ว่านี้ 
  • 06:30 กรุงเทพ 27°C สุพรรณ 27°C พัทยา 28°C กระบี่ 23°C สงขลา 23°C ลำพูน 19°C เชียงใหม่ 19°C ลำปาง 17°C เชียงราย 14°C
  • 05:30 พายุไซโคลนอีวาน EVAN ลดกำลังลงจาก CAT2 เหลือ CAT1 ที่ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 65 น็อต แนวโน้มจะอ่อนกำลังลงอีก 
  • เชียงใหม่ประกาศภัยหนาว 10 อำเภอ
  • เชียงรายประกาศภัยหนาวทุกอำเภอ
  • เกิดน้ำท่วมฉับพลันในศรีลังกา ตาย 9 ไร้ที่อยู่ 3,000
  • ภัยหนาวจู่โจมยูเครน ตายแล้ว 37 ราย นับจากต้นเดือนธันวา

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 30 พ.ย. 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 พายุโซนร้อนโบพาทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น โดยมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 65 น็อต
    image
  • 03:00 หย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรอินเดียเป็นตัวดึงลมตะวันออกจากเส้นศูนย์สูตรผ่านภาคใต้ของไทย และแนว low frront ในภาพจะดึงลมมรสุมให้พัดจากส มหาสมุทรอินเดียผ่านภาคเหนือกลับไปทางตะวันออกอีกครั้ง
    image
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • เริ่มมีการพูดถึงปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD)  ในสื่อหลัก เพื่อพยายามอธิบายว่าทำไมเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ฝนตกในภาคใต้น้อยกว่าปีก่อนๆ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 19:58 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า (22.49,96.14) ขนาด 4.8 ไม่มีปัญญารายงานความลึก

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติ ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 มีการประเมินล่าสุดจากหลายสำนักว่า วันจันทร์ที่ 8 พายุแคมีจะมีชีวิตรอดมาถึงโคราชในสภาพดีเปรสชัน
  • 15:00 เวียดนามสั่งประชาชนในจังหวัดฝูเอียน (Phu Yen) และ จังหวัดกว๋างจิ (Quang Tri) เตรียมพร้อมรับมือพายุแคมี Gaemi แล้วในขณะนี้ โดยให้ประชาชนในที่ลุ่มต่ำและที่ราบเชิงเขาออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และเรือประมงหลายหมื่นลำให้ออกนอกเขตพายุ
  • 14:00 TSR ประเมินล่าสุด พายุโซนร้อนแคมี Gaemi  ต่างจากเมื่อเช้าเล็กน้อย โดยพายุจะอ่อนกำลังลงกลายเป็นดีเปรสชันเมื่อเข้าเขตประเทศลาว และมาสลายตัวในไทยแถวศรีสะเกษ 
  • 13:00 JTWC พบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ 2 หย่อมคือ 97W และ 98W 
  • 12:08 ภาพถ่ายดาวเทียมพายุแคมีเวลานี้ ด้่านขวาคือฟิลิปปินส์ 
  • 11:00 เส้นทางพายุแคมี ล่าสุดจากอุตุเวียดนาม เจ้าของพื้นที่ พายุจะสลายไปในลาวก่อนเข้าไทยวันที่ 7 
  • 09:00 พายุดีเปรสชัน 15N กลางมหาสมุทรแอตแลนติค ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้รับชื่อเป็นทางการแล้วว่า ออสการ์
  • 06:00  แผนผังปริมาณน้ำเทียบวันนี้-วานนี้ เจ้าพระยาตอนล่าง    ระดับน้ำในเขื่อนๆต่างๆ
  • 05:00 JTWC ประเมินล่าสุด พายุโซนร้อนแคมี Gaemi จะมีเส้นทางตามภาพ โดยจะขึ้นฝั่งในวันที่ 6 และมาสลายตัวแถว จ.ศรีสะเกษในวันที่ 7 ต.ค. โดยไม่กลายสภาพเป็นไต้ฝุ่น
  • 04:00 TSR ประเมินล่าสุด พายุโซนร้อนแคมี Gaemi กำลังอ่อนแรงลง จะไม่เป็นไต้ฝุ่น และสลายตัวแค่แถบจังหวัดศรีสะเกษ ไม่เข้ามาลึกถึงภาคกลาง ใน 96 ชม ข้างหน้า
    image
  • 03:00 อุตุนิยมฮ่องกง HKO ปรับทิศทางพายุอีกครั้ง พายุจะขึ้นฝั่งในวันที่ 7 ต.ค. และมาสลายตัวที่ชายแดนประเทศลาวด้านติดกับเวียดนาม 
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ แสดงทิศทางพายุแคมี Gaemi ที่เริ่มหันเข้าหาด้านเวียดนาม 

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 23:56 แผ่นดินไหวขนาด 1.7 เชียงราย

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติ ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พายุโซนร้อนแคมี Gaemi ความเร็วลมล่าสุด 55 น็อต จะเป็นไต้ฝุ่นที่ 64 น็อตใน 24 ชม ข้างหน้า ตามการคาดการณของ TSR , JTWC
  • 21:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุดีเปรสชัน AL15 ในมหาสมุทรแอตแลนติค
  • 19:00 แผนที่อากาศเวลานี้ พายุโซนร้อนแคมี Gaemi เริ่ม “กลับลำ” 
  • 13:00 อุตุนิยมฯญี่ปุ่น หรือ JMA คำนวนเส้นทางพายุแคมี Gaemi ว่าในวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม  พายุจะเคลื่อนมาถึงฝั่งเมืองญาจาง Nha Trang ของเวียดนามเท่านั้น 
  • 13:00 JTWC พบหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ 97W ทางเหนือของเกาะนิวกินี
  • 11:30 ระบบ TSR ปรับเส้นทางพายุแคมีอีกครั้ง มาสลายตัวที่อ่างทอง-สิงห์บุรี ใน 120 ชม ข้างหน้า หรือวันที่ 7 ต.ค (เส้นทางจะปรับปรุงอยู่ตลอด)
  • 11:13 ระดับน้ำในเขื่อนป่าสักฯ สังเกตรอยระดับน้ำสูงสุดในภาพ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมมากันยายนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามกราฟ มาลดระดับลงต้นตุลา
  • 10:00 อุตุฯเวียดนาม คำนวนว่าวันที่ 6 ตุลาคม พายุแคมีจะมาถึงฝั่งดานัง ยังไม่เลยเข้าไปในลาวเหมือนผลคำนวนของฝรั่ง 
  • 07:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุล่าสุด พายุแคมี หันทิศทางมุ่งลงใต้ 
  • 06:30 หย่อมความกดอากาศต่ำ 96W สลายตัวไปแล้ว หย่อมความกดอากาศต่ำใหม่ 97W โผล่มาให้สังเกตการณ์ว่าจะเป็นพายุในแถบนี้ต่อไปหรือไม่
  • 06:00 แผนผังปริมาณน้ำเทียบวันนี้-วานนี้ เจ้าพระยาตอนล่าง   ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ 
  • 05:30 ฝนตก อ.เมืองอุบลฯ
  • 05:00 ระบบของ TSR แก้ไขเส้นทางพายุแคมีอีกครั้ง ว่าจะเข้ามาในไทยทาง จ,อุบล และสลายตัวแถบโคราช ใน 120 ชั่วโมงหรือ 5 วันจากนี้ (เส้นทางเปลี่ยนแปลงได้ตลอด)
    image
  • 04:00 รายงานปรับแก้จาก JTWC พายุแคมีจะกลายเป็นไต้ฝุ่นในวันที่ 4-5 ต.ค. และจะเข้าไทยทาง จ.อุบล ในวันที่ 6-7 ต.ค. ในสภาพลดกำลังลงเป็นดีเปรสชัน
  • 03:00 อุตุฮ่องกง แก้ไขทิศทางพายุโซนร้อนแคมีอีกครั้ง สอดคล้องกับระบบของฝรั่ง โดยแสดงให้เห็นว่าพายุจะเข้าใกล้ฝั่งเวียดนามในวันที่ 6 ต.ค.
    image
  • 01:00 ระบบของ TSR คำนวนล่าสุดว่าพายุโซนร้อนแคมี จะขึ้นฝั่งและสลายตัวในกัมพูชาแถบจังหวัดเสียมเรียบ ใน 120 ชั่วโมงหรือ 5 วันจากนี้ (เส้นทางเปลี่ยนแปลงได้ตลอด) 
  • 01:00 แผนที่อากาศเวลานี้ ของกรมอุตุ แสดงทิศทางพายุแคมี ยังคงเคลื่อนไปทางฟิลิปปินส์ 
  • 00:30 พายุแม่เหล็กโลกสงบลงแล้ว 
  • ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน (ลูกบาศก์เมตร/วินาที) ภูมิพล 12 สิริกิติ์ 68 แควน้อย 31 นเรศวร 165 เจ้าพระยา 1,323 ป่าสัก 100 พระรามหก 106

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 JTWC ยืนยันการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน TD21W แล้วในขณะนี้
    image
    image

  • 21:30 JMA หรืืออุตุนิยมญี่ปุ่น คำนวนเส้นทางพายุดีเปรสชัน TD21W ล่าสุดเป็นดังภาพ คือหมุนวน
    image

  • 21:00 TSR ยืนยันการก่อตัวของ TD21W แล้ว คำนวนทิศทางเข้าสู่ฝั่งเวียดนาม
    image

  • 19:09 ผลการคำนวนทิศทางพายุ TD20W หรือ Twenty ของ Wunderground พายุจะเคลื่อนเข้าใกล้ญี่ปุ่น
    image
  • 16:00 TSR ยังไม่ยืนยันการเกิดของ TD21W ที่เวียดนาม ส่วนทิศทางของ TD20W คำนวนว่าไปทางญี่ปุ่น และยังไม่ประกาศเป็นพายุโซนร้อน
  • 15:00 JMA คำนวนเส้นทางดีเปรสชันที่เวียดนามว่าจะเคลื่อนที่ออกห่างฝั่ง แล้วเริ่มหักหัวลงทางทิศใต้ (ค่าความแม่นยำที่ 70%)ขณะที่ระบบอุตุฯของเวียดนาม ก็คำนวนว่าพายุจะออกห่างฝั่งเช่นเดียวกัน 
  • 14:30 กรมอุตุฯเตือนว่าพายุ TD20W และ TD21W จะ “เข้าไทย” ตามเส้นทางด้านล่าง 
  • 14:00 ฝนตกเขตบางบอน บางขุนเทียน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง สาทร ยานนาวา บางคอแหลม พระประแดง
  • 13:30 ฝนหนัก หาดใหญ่
  • 13:00 กรมอุตุฯ ยกระดับดีเปรสชัน TD20W เป็นพายุโซนร้อนแล้ว ได้ชื่อว่า มาลิกซี Maliksi ซึ่งเป็นภาษาฟิลิปปินส์ แปลว่า “เร็ว” จากแผนที่อากาศด้านล่างนี้ 
  • 13:00 ทาง JTWC และ TSR ยังคงไม่ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95W ใกล้เวียดนามเป็นพายุดีเปรสชัน แม้ทาง JMA หรืออุตุฯไทยและเวียดนามประกาศไปแล้ว 2 วัน ขณะเดียวกันก็ประกาศการสลายตัวของพายุโซนร้อนเจอลาวัตที่ญี่ปุ่นแล้ว
  • 10:45 เกิดพายุแม่เหล็กโลกที่ความแรง G3 (จาก G5 ระดับ) หรือ KP=7 จากการเข้าชนของมวลพลาสมาร้อน CME จากดวงอาทิตย์เมื่อ 05:30 ที่ผ่านมาตามเวลาไทย 
  • 09:00 ยอดผู้เสียชีวิต 2 รายจากไต้ฝุ่นเจอลาวัตที่โอกินาว่าและจ.มิเอะ ผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 181 ราย จาก 14 จังหวัด
  • 06:00 แผนผังปริมาณน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ล่าสุด จากกรมชลฯ ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆเวลานี้
    image
  • 00:30 พายุโซนร้อนนาดีนในมหาสมุทรแอตแลนติค กลายสภาพเป็นพายุเฮอริเคน
  • 00:00 เรดาร์กทม.พบฝนเขตสายไหม บางเขน เคลื่อนไปเขตดอนเมือง หลักสี่ ส่วนปริมณฑลพบที่อ.ลำลูกกา คลองหลวง พุทธมณฑล สามพราน บางใหญ่ บางบัวทอง

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)