รายงานภัยพิบัติ 6 กันยายน 62

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พายุหมายเลข 13 หรือ ไต้ฝุ่น “เหล่งเหลง” เคลื่อนเข้าใกล้เกาะเชจู ของงเกาหลี ศูนย์กลางพายุเวลานี้อยู่ที่พิกัด N32°35′ E125°10′ ความเร็วลม 157 กม./ชม คาดว่าจะขึ้นฝั่งคาบสมุทรเกาหลีวันพรุ่งนี้
  • 17:09 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.8 ลึก​ 102 กม. พิกัด​ 94.70°E  21.19°N ประเทศ​พม่า
  • 17:00  เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาตรเก็บกัก 94% ยังคงมีน้ำไหลเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 13:00 พายุดีเปรสชัน “เฟอร์แนน” บนฝั่งประเทศแม็กซิโกสลายตัวแล้ว โลกยังคงมีพายุหมุนเขตร้อน 6 ลูกได้แก่เฮอริเคนระดับ 1 “ดอเรียน” และพายุโซนร้อน “กาเบรียล” ในแอตแลนติก
    เฮอริเคน “จูเลียต” และดีเปรสชัน 12E ที่กลายเป็นพายุโซนร้อน Akoni ในแปซิฟิกตะวันออก
    ไต้ฝุ่น “เหล่งเหลง” และพายุโซนร้อน “ฟ้าใส” ในแปซิฟิกตะวันตก via TSR
  • 09:00 ถ.เดชอุดม-บุณฑริก จ.อุบลราชธานี จากหน้าวัดป่าชัยมงคล ถึง แยกหนองยาว มีน้ำท่วมสูง รถเล็กผ่านไม่ได้ ผู้ใช้เส้นทางโปรดระมัดระวัง Cr. เทศบาลเมืองเดชอุดม
  • 08:30 มีเขื่อนปริมาณน้ำเก็บกัก (รนก.) มากวิกฤต 1 แห่ง คือเขื่อนสิรินธรในจังหวัดอุบลราชธานี ที่รองรับน้ำที่มาจากแม่น้ำมูลและชีจากน้ำที่ท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเขื่อนปริมาณใช้การได้ น้อยวิกฤต ยังมีหลายเขื่อน
  • 08:26 CCTV แม่น้ำยม บริเวณสะพานพระแม่ย่า ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย เช้านี้ ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวานแล้ว แต่ยังล้นตลิ่งอยู่
  • 08:00 พายุเฮอริเคนระดับ 2 “ดอเรียน” อยู่ในทะเลนอกชายฝั่งเมืองจอร์จทาวน์ รัฐเซาท์แคโรไลนา สหรัฐฯ กำลังมุ่งเลียบชายฝั่งขึ้นทางเหนือ ขณะที่พายุโซนร้อนแกเบรียลในแอตแลนติกไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ส่วนพายุดีเปรสชัน “เฟอร์แนน” บนฝั่งประเทศแม็กซิโกกำลังจะสลายตัว
  • 07:30 ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะพายุไต้ฝุ่น “เหล่งเหลง” หรือ พายุหมายเลข 13 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ล่าสุดมีความเร็วลม กศก. ราว 222 กม/ชม. เทียบเท่าระดับ 4 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน  อยู่ในทะเลจีนตะวันออก กำลังมุ่งหน้าไปทางคาบสมุทรเกาหลี
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • อัพเดทล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 30 ราย บ้านเรือนเสียหายราว 13,000 หลังคาเรือนในบาฮามาส จากอิทธิพลพายุเฮอริเคน “ดอเรียน”
  • แขวงสาละวัร อพยพประชาชนเมืองคงเซโดน 4 หมื่นคน เพราะน้ำท่วม 68 หมู่บ้าน via 
  • จากพายุ “พอดึล” ที่เข้าไทย ทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก ดินสไลด์ ในพื้นที่ 32 จ. (อํานาจเจริญ กระบี่ ปราจีนบุรี แพร่ นครพนม เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ระนอง เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ขอนแก่น หนองบัวลําภู ยโสธร กาฬสินธุ์ น่าน ตราด มุกดาหาร อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ สุรินทร์ พิษณุโลก พิจิตร แม่ฮ่องสอน ชุมพร อุดรธานี สระแก้ว ลําปาง เลย สุโขทัย ศรีสะเกษ สกลนคร) บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 332,328 ครัวเรือน และได้รับความเสียหายบางส่วน 3,818 หลัง มีผู้เสียชีวิต 23 ราย (อํานาจเจริญ 4 ราย ร้อยเอ็ด 4 ราย ขอนแก่น 3 ราย พิจิตร 2 ราย อุบลราชธานี 1 ราย พิษณุโลก 1 ราย มุกดาหาร 1 ราย สกลนคร 1 ราย ยโสธร 6 ราย) สูญหาย 1ราย (น่าน) ผู้บาดเจ็บ 1 ราย (ชัยภูมิ)
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 5 กันยายน 62

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 ไต้ฝุ่น “เหล่งเหลง” หรือ พายุหมายเลข 13 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ความเร็วลม 167 กม/ชม พิกัดล่าสุดอยู่ที่ N25°40′ E125°10′ กำลังมุ่งไปทางทะเลจีนตะวันออก ตรงไปทางเกาหลี
  • 17:41 ภาพถ่ายดาวเทียม Cosmo-skymed- 4 ของวันที่ 5 กันยายน 2562 เมื่อเวลา 17:41 จาก GISDA แสดงน้ำท่วม (สีฟ้า) ในบริเวณบางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร และมุกดาหาร รวมเนื้อที่ได้ความเสียประมาณ 347,720 ไร่ ส่วนใหญ่กระจายในที่ลุ่มพื้นที่การเกษตร และบริเวณริมแม่น้ำสายหลักและลำน้ำย่อย
  • 16:50 กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้ามาตกในภาคกลางตอนล่าง
  • 16:00 พายุเฮริเคน “ดอเรียน” ทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ความเร็วลมล่าสุด 185 กม/ชม. เส้นทางยังมีแนวโน้มเคลื่อนเลียบชายฝั่งขึ้นไปทางแคนาดา 
  • 16:00 พายุดีเปรสชัน 14W ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือพายุหมายเลข 15 ตามวิธีเรียกของญี่ปุ่น ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า “ฟ้าใส” ຟ້າໃສ ตั้งโดย สปป.ลาว  เป็นชือผู้หญิง พิกัดล่าสุดอยู่ที่ N20°00′ E155°05′ ความเร็วลม 35 น็อต เส้นทางมุ่งไปขึ้นฝั่งฮอกไกโดของญี่ปุ่น
  • 13:00 พายุโซนร้อน “เฟอแนน” Farnanand ขึ้นฝั่งประเทศเม็กซิโกแล้ว ล่าสุดอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน แนวโน้มสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงจากนี้
  • 10:00 สภาพน้ำท่วมสนามกีฬาแขวงจำปาสัก ที่นครปากเซ สปป.ลาว via 
  • 10:00 เรดาร์ TMD แสดงกลุ่มฝนที่ตกใน จ.นครพนม สกลนคร เวลานี้
  • 09:00 เช้านี้ น้ำล้นตลิ่งในลุ่มน้ำมูลล่าง-ชีล่าง E20A อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร E98 อ.เขื่องใน จ.อุบลฯ M182 อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ M7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลฯ 
  • 08:30 โครงการส่งน้ำและบำรุงเพชรบุรี ปิดการจราจรเส้นที่จะเข้าไปยังโครงการฯ ทางด้านติดคลองสายสอง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เนื่องจากคอสะพานข้ามคลองสายสามที่จะเชื่อมไปยัง อ.ท่ายาง ขาดเป็นทางยาวระยะประมาณ 5 เมตร ซึ่งตอนนี้เกรงว่ารอยร้าวของสะพานอาจจะขยายตัวออกไปอีก via ห้อง 61 ปภ.
  • 08:05 CCTV แม่น้ำยม บริเวณสะพานพระแม่ย่า ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย น้ำยังล้นตลิ่ง เศษไม้ติดเต็มสะพาน
  • 07:00 หลังการสลายตัวของดีเปรสชัน “คาจิกิ” โลกยังคงมีพายุหมุนเขตร้อน 7 ลูกได้แก่เฮอริเคน “ดอเรียน” ดีเปรสชัน “เฟอร์แนน” พายุโซนร้อน “กาเบรียล” ในแอตแลนติก เฮอริเคน “จูเลียต” ดีเปรสชัน 12E ในแปซิฟิกตะวันออก ไต้ฝุ่น “เหล่งเหลง” ดีเปรสชัน 14W ในแปซิฟิกตะวันตก via TSR
  • 07:00 ศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำหลังการสลายตัวของดีเปรสชัน “คาจิกิ” อยู่ที่ 17.8°N 110.3°E ริมฝั่งเกาะไหหลำ ความเร็วลม 15 น็อต ความกดอากาศ 1010 hPa
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 พายุดีเปรสชั้น 14W ในทะเลฟิลิปปินส์ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า กองเรย (ภาษากัมพูชา) ทิศทางมุ่งเหนือ  201314W-20130826-2000
  • 17:00 พายุโซนร้อน Fernand ขึ้นฝั่งประเทศเม็กซิโกบริเวณใกล้เมืองเวราครูส 201306N
  • 12:00 TSR ยืนยันการก่อตัวของดีปรสชัน 14W จากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลฟิลิปปินส์ ทิศทางมุ่งเหนือ 
  • 10:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของดีปรสชัน Pewa ในแปซิฟิค และการก่อตัวของดีเปรสชัน 14W ในทะเลฟิลิปปินส์ 
  • 08:00 ทุ่นเตือนสึนามิของไทย (23401) นอกชายฝั่งภูเก็ต ตำแหน่ง 8.905°N 88.540°E หยุดส่งสัญญาณมาตั้งแต่ 21 ส.ค.56 (ใช้สัญญาณจาก ทุ่น 23227 ของอินเดีย ทางตะวันตกของภูเก็ต ตำแหน่ง 6.255°N 88.792°E แทน)
    23401-Fail
  • 06:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน Fernand (06L) ในอ่าวเม็กซิโก 201306N-20130826-0600
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก USGS (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณอเมริกาและใกล้เคียง)

  • เมื่อ 21.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ทางใต้ของ มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ที่ความลึก 15.70 กม.
  • เมื่อ 19.54 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ Guerrero ประเทศเม็กซิโก ที่ความลึก 26.90 กม.
  • เมื่อ 18.03 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ ทางตะวันออกของ เขตปกครองตนเองธิเบต ที่ความลึก 55.40 กม.
  • เมื่อ 14.17 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ เกาะโคดิแอค อลาสกา ที่ความลึก 25.00 กม.
  • เมื่อ 13.48 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ อ่าว อลาสกา ที่ความลึก 11.90 กม.
  • เมื่อ 13.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ Mona Passage เปอร์โตริโก ที่ความลึก 8.00 กม.
  • เมื่อ 13.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 44.00 กม.
  • เมื่อ 12.12 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ สันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 12.10 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ สันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย ที่ความลึก 10.00 กม.
  • เมื่อ 11.58 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 66.90 กม.
  • เมื่อ 10.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ คาบสมุทรแคนาย อลาสกา ที่ความลึก 71.80 กม.
  • เมื่อ 08.44 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 บริเวณ ทางเหนือของ ประเทศโคลอมเบีย ที่ความลึก 163.80 กม.
  • เมื่อ 07.47 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ Tajikistan ที่ความลึก 18.20 กม.
  • เมื่อ 06.41 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 5.00 กม.
  • เมื่อ 06.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ ทางเหนือของ ประเทศโคลอมเบีย ที่ความลึก 23.30 กม.
  • เมื่อ 06.09 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ทิศใต้ของ หมู่เกาะฟิจิ ที่ความลึก 539.20 กม.
  • เมื่อ 02.50 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ Virginia-ทิศเหนือของ Carolina (ตรงรอยต่อ) ที่ความลึก 9.10 กม.
  • เมื่อ 02.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ เปอร์โตริโก ที่ความลึก 41.00 กม.
  • เมื่อ 01.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.6 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 3.50 กม.
  • เมื่อ 01.50 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 1.40 กม.
  • เมื่อ 00.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 104.70 กม.