เหตุการณ์วันนี้
[stextbox id=”info”]เส้นทางพายุจะเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง โปรดติดตามข้อมูลบ่อยๆ อย่าปักใจเชื่อว่าจะมีเส้นทางตามเดิมตลอดไป[/stextbox]
- 22:00 พายุโซนร้อนโซนามุ ทวีความเร็วลมขึ้นจาก 40 เป็น 45 น็อต และทิศทางพายุล่าสุดจาก TSR พายุจะหันหัวออก ไม่ขึ้นฝั่งไทย หรือมาเลเซีย
- 18:40 พายุโซนร้อนโซนามุ เคลื่อนออกมาทางตะวันตกอีกเล็กน้อย แนวทางเดินพายุปรับล่าสุดจากทาง TSR ยังคงไปขึ้นฝั่งที่นราธิวาส
- 17:58 WCATWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิทั้งหมดแล้ว ตามเอกสารนี้
- 17:08 USGS ปรับลดขนาดแผ่นดินไหวที่อลาสกาจาก 7.7->7.5
- 17:01 WCATWC ออกประกาศเตือนสึนามิบริเวณบริติซโคลัมเบีย ตามเอกสารนี้
- 16:55 คลื่น Body Wave จากแผ่นดินไหวที่อลาสกา เดินทางมาถึงสถานีวัด CHTO ของ IRIS ที่เชียงใหม่
- 16:50 เกิดการปะทุขนาด M1.7 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับใหม่ล่าสุดหมายเลข 1650 ทิศทางไม่ตรงกับโลก (บางสถานีบันทึกได้เวลา 16:34)
- 16:46 PTWC ออกเอกสารเตือนไปที่ฮาวาย กดอ่าน ระดับของสึนามิที่เกิดจะไม่แตกต่างจากความสูงปกติของน้ำทะเล
- 16:43 PTWC ออกเอกสารเตือนสึนามิแปซิฟิกฉบับที่ 2 กดอ่าน ระบุว่ามีสึนามิเกิดขึ้นแล้วหลังจากพบระดับน้ำทะเลผิดปกติเล็กน้อยจากทุ่น DART เช่นหมายเลข 46410 โดยเอกสารได้เตือนไปที่ชายฝั่งใกล้เคียงให้ระวังคลื่นขนาดเล็ก ขนาดราว 13 ซม. อย่างไรก็ตาม เอกสารนี้ไม่หมายรวมไปถึงคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ (เมเจอร์) ใดๆ
- 15.58 แผ่นดินไหวขนาด 7.7 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. เบื้องต้น PTWC ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้
- 10:30 พายุโซนร้อนโซนามู ทวีความเร็วลมขึ้นเป็น 40 น็อต ทิศทางเปลี่ยนไปเล็กน้อย โดยทาง TSR คาดการล่าสุดว่าอาจจะเข้านราธิวาสในสภาพดีเปรสชัน
- 10:00 โมเดลเส้นทางพายุจากอุตุฯญี่ปุ่น JMA (อุตุไทยมักใช้ข้อมูลจากที่นี่) คาดว่าพายุโซนร้อนโซนามุจะไปถึงมาเลเซียในวันที่ 8 (เวลาดูโมเดลพายุ เส้นประวงๆที่เห็นคือ “ความเป็นไปได้” ที่พายุจะเปลี่ยนทางไป ไม่ใช่ขนาดของพายุ โปรดระวังการใช้งาน
[stextbox id=”info”]ลำดับการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อน เรียงจากความเร็วลม เบาไปแรง ดังนี้ 1.หย่อมความกดอากาศต่ำ -> 2.พายุดีเปรสชัน -> 3.พายุโซนร้อน -> 4.พายุไต้ฝุ่นหรือไซโคลนหรือเฮอริเคนแล้วแต่เกิดโซนไหนของโลก[/stextbox]
- 07:00 กรุงเทพ 23°C จันทบุรี 21°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 20°C ชัยภูมิ 20°C พะเยา 19°C อุบล 18°C สกลนคร 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 17°C แพร่ 17°C แม่ฮ่องสอน 17°C เลย 16°C มุกดาหาร 16°C นครพนม 15°C
- 06:45 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 341 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- 05:30 พายุโซนร้อนโซนามุ หันลงใต้เล็กน้อย ตำแหน่งล่าสุดอยู่เกือบกลางทะเลจีนใต้ ทิศทางยังคงมุ่งไปที่ประเทศมาเลเซีย
- 04:00 พายุไซโคลนดูไมล์ที่เกาะมาดากัสกา ลดความเร็วลมลงเป็นพายุโซนร้อน
- นราธิวาส – ปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่ 13 อำเภอ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำ 3 สายหลักมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่แม่น้ำโก-ลก ซึ่งรับน้ำป่ามาจากคลองบูเก๊ะตา อ.แว้ง ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1.50 เมตร ทำให้ขณะนี้ประชาชนในชุมชนท่าก่อไผ่ ชุมชนหัวสะพาน และชุมชนบ้านบือเร็ง จำนวน 8 ครัวเรือน รวม 32 คน ต้องอพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 เป็นการชั่วคราว
- บราซิล– มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ไร้ที่อยู่อาศัยหลายร้อยคนจากฝนที่ตกหนักมากในหลายวันที่ผ่านมา
- ออสเตรเลีย – มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากไฟป่าในเขตทาสมาน
- ภาพผิวดวงอาทิตย์ EUVI/AIA ในช่วงแสง 195A แสดงกลุ่มของจุดดับในด้านหน้าของดวงอาทิตย์ (ลองติจูด -90 ถึง +90) และด้านหลัง (ลองติจูด +-90 ถึง +-180) ปฏิกิริยาที่มีทิศทางตรงกับโลก (เฉพาะพวกที่เดินทางด้วยความเร็วแสง) จะอยู่ในช่วงลองติจูด -30 ถึง +30 (ในจุดดับ 1 หมายเลขจะมีจุดดับย่อยๆตั้งแต่ 1 ถึงหลายสิบจุด) ปฏิกิริยาอื่นในส่วนของ CME ให้ระวังจุดดับด้านซ้ายของภาพมากกว่าด้านขวา เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์
- ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายลดต่ำ ทำให้มองเห็นฐานขององค์พระธาตุกลางน้ำแล้วเกือบ 2 เมตร
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)
- ไม่มี
แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)
[stextbox id=”info”]มาตราริกเตอร์ เป็นหนึ่งในหลายๆมาตราที่ใช้วัดแผ่นดินไหว แต่ไม่ใช่หน่วยแบบกิโลกรัมหรือเมตร การพูดว่า 4.5 ริกเตอร์ หรือ 5 ริกเตอร์ เป็นการพูดที่ผิด เราควรใช้คำว่า แผ่นดินไหวขนาด 4 ตามมาตราริกเตอร์ วิธีเขียนคววรเขียน แผ่นดินไหวขนาด 4.5 หรือ M4.5 เฉยๆถ้าไม่แน่ใจว่าขณะนั้นอ้างมาตราไหน[/stextbox]
- เมื่อ 22.32 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 บริเวณ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 10.00 กม.
- เมื่อ 21.58 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.0 บริเวณ สาธารนรัฐโดมินิกัน ที่ความลึก 32.00 กม.
- เมื่อ 19.50 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ ทางใต้ของ ประเทศอิหร่าน ที่ความลึก 10.00 กม.
- เมื่อ 19.35 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ ทางเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 2.40 กม.
- เมื่อ 19.08 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ นอกชายฝั่ง Coquimbo ประเทศชิลี ที่ความลึก 9.40 กม.
- เมื่อ 18.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 บริเวณ นอกชายฝั่งของ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.90 กม.
- เมื่อ 17.11 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ นอกชายฝั่งของ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 7.00 กม.
- เมื่อ 16.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 บริเวณ ทางใต้ของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 3.80 กม.
- เมื่อ 16.27 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ นอกชายฝั่งของ ทิศใต้ของทางตะวันออกของ อลาสกา ที่ความลึก 9.90 กม.
- เมื่อ 15.58 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด
7.77.5 บริเวณ ตะวันออกเฉียงใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 9.60 กม. - เมื่อ 07.39 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.6 บริเวณ รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก ที่ความลึก 10.00 กม.
- เมื่อ 06.57 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 2.40 กม.
- เมื่อ 06.16 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ ประเทศวานูอาตู ที่ความลึก 73.30 กม.
- เมื่อ 05.10 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 184.80 กม.
- เมื่อ 02.46 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ ประเทศเอกวาดอร์ ที่ความลึก 191.30 กม.
- เมื่อ 00.59 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ เกาะฮัลมาเฮรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 129.30 กม.