เสาร์ 7 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 กล้อง Web Cam ส่องภูเขาไฟ Etna สดสด คลื็ก
  • 10:00 JTWC เริ่มจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำหย่อมใหม่ที่อาจก่อตัวเป็นไซโคลนแถบเกาะมาดากัสการ์ 
  • 07:30 กรุงเทพ 23°C นครศรีธรรมราช 23°C พะเยา 16°C นครพนม 16°C มุกดาหาร 16°C ลำพูน 18.3°C แม่สอด 17°C อุดร 17°C ลำปาง 18°C เชียงใหม่ 19°C
  • 06:50 พบรายงานการปะทุบนขั้วเหนือของดวงอาทิตย์ และได้ปล่อย CME ตรงมายังโลก จากการคำนวนในรอบแรก กลุ่มแก้สร้อนและอนุภาคจาก CME จะผ่านโลกเราไปโดยไม่สัมผัส แต่จากการคำนวนซ้ำโดยห้องปฎิบัติการ Goddard Space Weather ได้ผลออกมาว่า CME ก้อนนี้จะตรงมาที่โลกและจะมาถึงโลกเราในวันนี้ต่อเนื่องพรุ่งนี้ (วันที่ 7-8 ม.ค.) กดดูที่ภาพเพื่อดูการเคลื่อนไหว วงกลมเหลืองคือโลกเรา ผลจากการเข้าปะทะของ CME จะทำให้เกิดความปั่นป่วนของสนามแม่เหล็กโลกจากพายุสุริยะ อาจมีผลทำให้เกิดการรบกวนดาวเทียมหรือระบบสื่อสารต่างๆในซีกโลกเหนือ โปรดติดตาม
  • 06:00 ทั่วโลกไม่พบการก่อตัวของพายุไซโคลน โซนร้อน เฮอริเคน หรือดีเปรสชันใดๆในขณะนี้
  • 05:00 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 460.5 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ

สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก 7 มกราคม 2555

รายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกจาก USGS นี้ ไม่มีรายงานของแผ่นดินไหวในไทยรวมอยู่ด้วย เนื่องจากข้อมูลกรมอุตุไทยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสากล

Total 28 Times

บทความ-เหตุการณ์สึนามิ อะลูเชียน วันที่ 1 เมษายน 1946

เมื่อราว 65 ปี ที่แล้ว ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489) ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด แมกนิจูด 7.5 ขึ้นแถบชายฝั่งอาลาสกา และได้ก่อทำให้เกิดคลื่นสึนามิ  ซึ่งเรารู้จักกันในชื่อของการเกิดสึนามิจากหมู่เกาะอะลูเชี่ยน ซึ่งมีผลทำให้ตึกประภาคารบนเกาะยูนิแมกที่ชายฝั่งอาลาสก้าซึ่งมีความสูงถึง 135 ฟุต ได้ถูกทำลายลงด้วยคลื่นสึนามินี้ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ 5 คน ที่ประจำหน้าที่อยู่ในขณะนั้น ประภาคารหลังนี้สร้างขึ้นด้วยการเสริมคอนกรีตอย่างแน่นหนาแต่ก็ได้ถูกสึนามิทำลายจนราบเรียบถึงฐานราก ตามรูปข้างล่างนี้

ภาพประภาคารก่อนวันที่ 1 เมษายน 1946

สภาพประภาคารหลังถูกคลื่นสึนามิในวันที่ 1 เมษายน 1946

คลื่นสึนามิอะลูเชี่ยนเคลื่อนที่ตรงออกจากจุดกำเนิดที่อาลาสก้าไปสู่เกาะฮาวาย คลื่นลูกแรกได้ไปถึงฮาวายในอีก 5 ชม.ต่อมา ได้เข้าสู่ O’ahu และ เกาะมาอุย


มันได้กวาดชายหาดฮิโร และเมืองต่างๆแถบชายหาดเช่น เมือง Haena ระดับความสูงคลื่นตั้งแต่ 33 ถึง 55 ฟุต

โดยไม่มีการเตือนภัยใดๆเหมือนในปัจจุบัน ทำให้ชาวเกาะฮาวายต้องสังเวยชีวิตไปถึง 170 รายในวันนั้น