รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 มกราคม 2556

[stextbox id=”alert”]ย้ำอีกครั้งสำหรับท่านที่ถูกสื่อต่างๆหลอกลวงเรื่อง CME ว่าไม่มีเหตุการณ์ใดๆตามที่ท่านทราบมาผิดๆนะครับ CME เป็นปรากฏการณ์ปกติบนดวงอาทิตย์ซึ่งเกิดอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นแบบนี้มานับล้านปีแล้ว ที่ท่านต้องทำคือหาความรู้เพิ่มเติม และขอบคุณสื่อเหลวไหลเหล่านั้น ที่อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยรู้จักศัพท์วิทยาศาสตร์คำใหม่[/stextbox]

รังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งเป็นแถบคลื่นสั้น (สีม่วง) จะถูกบรรยากาศของโลกป้องกันไว้หมด เหลือแต่แสงสว่าง (สีรุ้ง) ที่ตามองเห็น รังสี UV A,B ปกติที่โดนกันทุกวัน (สีม่วงแท่งสุดท้ายติดสีรุ้ง) อินฟราเรด (ความร้อน) และคลื่นวิทยุ (สีแดง) เท่านั้นที่ลงมาถึงพื้นโลกได้ จึงไม่ต้องตื่นกลัวอันตรายใดๆ

เหตุการณ์วันนี้

  • 23.38 แผ่นดินไหวขนาด 6.0 บริเวณ ทางตะวันออกของ ประเทศคาซัสถาน ที่ความลึก 15.00 กม. ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนในมณฑลซินเจียงเสียหายกว่า 7,458 หลังคาเรือน ค่าเสียหายกว่า 60 ล้านหยวนScreen-Shot-2013-01-29-at-16.17.13
  • 14:29 ท่าม่วง กาญจนบุรี ฝนตก
  • 14:25 ฝนตกตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย
  • 14:10 ร.ร.กรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ฝนตกหนัก
  • 14:00 ทุ่นสึนามิ 2 ตัวทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ไม่ทำงานมาเป็นสัปดาห์แล้ว ยังไม่มีการแก้ไขแต่ยอย่างใด (สีแดง คือยังใช้งานอยู่ แต่หยุดส่งสัญญาณไป สีเหลืองคือปกติ สีส้มคือหยุดใช้งานถาวรแล้ว) 
  • 13:58 ราชประสงค์ฝนตก
  • 13:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ แสดงหย่อมความอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทย ความกดอากาศโดยทั่วไปลดต่ำลง มีฝนตกหลายจังหวัดทั่วไทย 
  • 12:30 ฝนตกบางกรวย บางใหญ่ นครชัยศรี นครปฐม
  • 09:30 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุแกรี Garry แล้ว ขณะนี้ด้านมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่มีการก่อตัวของพายุใดๆ 
  • 09:12 ดวงอาทิตย์เข้าช่วงสงบติดต่อกันเป็นวันที่ 7 (ทางดาราศาสตร์นับจากการที่ไม่มีการปะทุที่แรงกว่าระดับ B) ลมสุริยะเริ่มลดความเร็วลงเมื่อรูโหว่บนชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ หันไปห่างจากโลก (บริเวณสีดำด้านขวาล่างในภาพ) หลังหันตรงหันโลกในวันที่ 23 ที่ผ่านมาแล้วทำให้ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นมาเมื่อวานซืนนี้ (26) 
  • 08:00 พายุโซนร้อนแกรี ในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ กำลังจะสลายตัว
  • 05:30 ฝนตกสมุทรปราการ บางเสาธง บางพลี ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก สายไหม ธัญบุรี พระประแดง สมุทรเจดีย์ กลุ่มฝนเคลื่อนไปทางแปดริ้ว
  • 03:30 ฝนตกสมุทรปราการ บางพลี รังสิต ลาดพร้าว บางนา ประเวศ สายไหม วังทองหลาง มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก ดอนเมือง รังสิต ธัญบุรี บางกะปิ พระโขนง บางเขน สะพานสูง
  • 01:00 ฝนตกพิษณุโลก
  • 00:14 ยังมีเมฆฝนอยูแถบภาคกลางตอนบนในเวลานี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 สนามแม่เหล็กโลกเริ่มเงียบสงบลงหลังเกิดการเบี่ยงเบนเล็กน้อยในช่วงเที่ยงวานนี้ 
  • 06:50 ฝนตกหนักบางพลัด บางกรวย สมุทรเจดีย์ และอีกหลายจุด
  • 05:30 พายุไซโคลนแกรี ในแปซิฟิคใต้ ลดความเร็วลงมาเป็นพายุโซนร้อน
  • 05:00 แสงออโรราสวยงาม เริ่มเกิดขึ้นโดยมีที่มาจากลมสุริยะช่วงนี้ที่มีความเร็วสูงพอใช้คือบางช่วงอยู่ที่เกิน 500 กม/วินาที และ Ronn Murray ก็โชคดี  ถ่ายภาพแสงออโรรานี้ได้ที่  Fairbanks อลาสกา 
  • 00:43 ความเร็วลมสุริยะ 497 กม/วินาที แรงดัน 3.1 nPa สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • จ.น่าน ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติหนาวครบทั้ง 15 อำเภอแล้ว
  • อินโดนีเซีย – ดินโคลนถล่ม ในเกาะสุมาตรา ตาย 9 สูญหาย 17

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อนลูกใหม่ 13S ในมหาสมุทรอินเดียใต้ ทิศทางมุ่งหน้าเกาะมาดากัสการ์ 
  • 22:40 พบต้นตอของข่าวลือแล้ว นั่นคือหลังจากการปะทุ CME ลูกหนึ่งไปทีดาวพุธเวลา 13:48 ในวันที่ 23 ที่ผ่านมาตามเวลาไทย และทางเว็บเราได้แจ้งข่าวไปแล้วนั้น หลังจากนั้นอีกในช่วงดึกของวันเดียวกัน ดวงอาทิตย์ได้ปะทุ CME ขนาดเล็กมากอีกลูกหนึ่ง ในทิศทางตรงมายังโลก .โดยเวลาที่ปะทุคือ 22:12 ตามเวลาไทย ซึ่งตามข้อมูลจาก ข่าวนี้ ของทาง NASA ได้ยืนยันว่า CME ที่ตรวจพบนี้้ มีขนาดเล็กกว่าปกติและความเร็วไม่พอที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ใดๆบนผิวโลกได้ทั้งสิ้น (600 km/s) ไม่มีผลทางไฟฟ้า ไม่มีการรบกวนคลื่นวิทยุ ไม่มีการรบกวนดาวเทียม หรือที่ปล่อยข่าวลือกันว่าจะมีรังสีรั่วลงมาก่อมะเร็งใดๆ
    ยกเว้นแสงออโรราที่สวยงามเท่านั้น และนี่คือต้นเหตุของการเบี่ยงเบนในกราฟแม่เหล็กที่ดาวเทียม GOES-13 ตรวจพบเมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา 

[stextbox id=”alert”]ตามที่ได้มีข่าวออกทางช่อง 5 ว่ามีการปะทุปล่อย CME รุนแรงห้ามออกจากบ้านนั้น เป็นเรื่องเท็จนะครับ ตั้งแต่เวลา 21:23 ของวันที่ 20 มกราที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ปะทุขนาดเล็กมาก คือ C จำนวน 1 ครั้ง และ B จำนวน 21 ครั้ง (นับถึงนาทีนี้) ไม่มีการปะทุใหญ่ระดับ X หรือแม้แต่ระดับกลางคือ M จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีอะไรมาปะทะโลกแบบที่ออกข่าวกันช่วงนี้[/stextbox]

  • 20:28 ลมสุริยะความเร็ว 505 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงใต้ที่ -8.2nT สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมไทยตอนบน ช่วงนี้มีฝนตกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพ 
  • 18:00 ภาพจากดวงอาทิตย์ทุกช่วงแสง จะเห็นว่าไม่มีจุดดับไหนที่หันตรงมาทางโลกในเวลานี้  และจากตารางด้านล่าง จะไม่พบการปะทุในระดับรุนแรงเลย
    image
  • 12:05 เครื่องวัดแม่เหล็กในแกนขนาน (HP) ของดาวเทียม GOES-13 และ GOES-15 ตรวจพบว่าสนามแม่เหล็กโลกในด้านกลางคืน (ฝั่งอเมริกา) เวลานี้ยืดยาวออกไป  แม้ในเวลานี้ไม่มี CME หรือพายุสุริยะใดๆมากระทบด้านกลางวัน ลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกในระดับต่ำๆ หากมีความคืบหน้าในด้านสาเหตุจะรายงานให้ทราบต่อไป (ดาวเทียม GOES มีตัววัดแม่เหล็ก 3 แกน คือ HP HE และ HN) โดยล่าสุดลมสุริยะความเร็วอยู่ที่ 400 กม/วินาที สนามแม่เหล็กโลกเบี่ยงไปทางใต้ -8.1 nT
  • 06:30 กทม 25°C ชุมพร 27°C สมุย 27°C อุบล 22°C หาดใหญ่ 21°C ตาก 20°C อุดร 20°Cลำปาง 17°C แพร่ 17°C เชียงใหม่ 14°C เชียงราย 13°C
  • 00:10 พายุไซโคลนแกรีในมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
    image
  • สหรัฐฯ – เกิดพายุหิมะถล่ม Knoxville  รัฐเทนเนสซี ไฟฟ้าดับ 4000 ครัวเรือน
  • โมแซมบีค – เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ต้องอพยพคนกว่า 7 หมื่น เสียชีวิต 36 ศพ
  • ออสเตรเลีย – ฝนหนักจากพายุ Oswald ที่สลายตัวไปก่อนหน้านี้ ยังส่งผลให้รัฐควีนส์แลนด์เกิดน้ำท่วมหนัก บ้านเรือนประชาชนหลายร้อยหลังจมน้ำ และมีรายงานประชาชนสูญหายไปจำนวนหนึ่ง  ที่เมืองบันดาเบิร์ก เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย พยายามที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนทางอากาศ หลังจากระดับน้ำสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกไว้และหวั่นเป็นอันตราย ส่วนในเมืองบริสเบน เมืองหลวงของรัฐ บ้านเรือนประชาชนเกือบ 5,000 หลัง กำลังเสี่ยงถูกน้ำท่วมเช่นกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้รับรายงานว่า มี 2 คน เสียชีวิต

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ มีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมกรุงเทพ อากาศหนาวจะหายไปในช่วงนี้ และบางแห่งอาจมีฝน 

[stextbox id=”alert”]วันนี้ข่าวลือเรื่องดวงอาทิตย์ปล่อย CME จากเว็บนี้ กดอ่าน ขอเตือนว่า ไม่เป็นความจริงนะครับ ดวงอาทิตย์สงบมากในเวลานี้ จุดดับทั้งหมดหันออกห่างจากโลก ลมสุริยะความเร็วต่ำมาก และ CME ที่ปะทุสุดท้ายก็ไปทางดาวพุธ ไม่เกี่ยวกับโลกเลย บทความนาซาอะไรที่อ้างมาก็หาไม่เจอ [/stextbox]

  • 12:50 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ดวงอาทิตย์มีปฎิกิริยาต่ำมาก 
  • 12:40 ฝนหนักปทุม ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม
  • 07:52 พายุโซนร้อนแกรีทางตะวันออกของเกาะซามัว ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนแล้วในขณะนี้ 
  • 07:50 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก ความเร็วลมสุริยะ 277 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 06:30  อีกเดือนเศษ ชาวโลกจะได้ยลโฉมดาวหางดวงแรกของปีด้วยตาเปล่า ราวช่วงต้นมีนาคมหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็น ซึ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากพอที่จะโดนอิทธิพลของลมสุริยะจนระเหิดน้ำแข็งออกเป็นหางยาวสวยงาม แต่ขณะนี้ ดาวหางนี้ยังอยู่ที่ใกล้วงโคจรของดาวอังคาร และเริ่มมีหางสั้นๆงอกออกมาแล้ว ยืนยันโดยภาพถ่ายจากทีมนักดาราศาสตร์ในอาเจนตินา ซึ่งได้ถ่ายภาพ ดาวหางแพนสตาร์ Pan STARRS เมื่อคืนนี้ด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 0.3 เมตร (ซีกโลกใต้จะได้เห็นก่อน)
  • 06:00 ระดับน้ำในเขื่อนทั่วไทยล่าสุดวันนี้ ข้อมูลจากกรมชลประทาน เหลือเขื่อนศรีนครินทร์แห่งเดียวที่มีน้ำมากพอใช้ในหน้าแล้ง เขื่อนอื่นยังน่าห่วง 
  • 04:00 พายุโซนร้อนพีต้า Peta หรือ 201312S ใกล้เมือง Onslow ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง คือ 1,013.25 hPa[/stextbox]

  • 14:20 ฝนตกนนทบุรี หลักสี่ บางซื่อ สายไหม
  • 14:00 ตำแหน่งล่าสุดของดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 วันนี้ อยู่ที่ระยะห่าง 0.00807 AU  ดังในภาพ จะเข้าเฉียดโลกที่ระยะดาวเทียมในวันที่ 15 ก.พ. ที่จะถึงนี้
  • 13:52 ภาพจากด่าวเทียม GOES ล่าสุด แสดงลักษณะพายุโซนร้อนแกรี ทางตะวันออกของหมู่เกาะซามัว 
  • 10:00 CME จากการปะทุเมื่อวานนี้บนดวงอาทิตย์ พุ่งตรงไปถูกดาวพุธ ตามภาพจาก Clip ด้านล่างนี้ (Lasco)
  • 09:00 ภาพไอน้ำจากภูเขาไฟในเกาะไวท์ ของนิวซีแลนด์ (บ่ายสามเวลาท้องถิ่น) 
  • 05:00 พายุโซนร้อนแกรี หรือ TS10P เคลื่อนผ่านประเทศซามัวแล้ว กำลังจะออกสู่ทะเลลึก 
  • 04:00 พายุโซนร้อนพีต้า Peta หรือ 201312S ใกล้เมือง Onslow ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลียมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ และจะสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้
    image
  • 03:30 ฝนตกระยอง
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุ แสดงหย่อมความกดอากาศต่ำขนาด 1012 mbar ปกคลุมกรุงเทพ ต้นเหตุอากาศที่อุ่นขึ้น มีเมฆมาก ในช่วงนี้ 
  • ฟิลิปปินส์ – มีผู้เสียชีวิต 6 รายสูหาย 4 ราย ต้องอพยพอีก 125,000 ราย หลังเกิดฝนตกหนักบนเกาะมินดาเนา ทำให้เมืองดาเวา และอีก 9 เมืองใกล้เคียงถูกน้ำท่วม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 18 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]หน่วยวัดความดันของอากาศ  hPa ย่อมาจาก เฮกโตปาสคาล ซึ่งมีค่าเท่ากับ  mbar หรือ มิลลิบาร์พอดี สองหน่วยนี้จึงใช้แทนกันได้ เช่น 1000 hPa = 1000 mbar[/stextbox]

  • 20:30 นราธิวาส ฝนตกหนัก ตลอดภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรงจัด
  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ แสดงให้เห็นเส้นความกดอากาศ 1018 mbar เข้ามาในเขตไทยแล้ว อากาศจะเย็นลงอีก 
  • 18:00 พายุโซนร้อน Emang สลายตัวแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกยังไม่มีพายุลูกใดก่อตัวใหม่
  • 06:40 สนามแม่เหล็กโลกวัดจากดาวเทียม  GOES-15 (ติดตั้งเครื่องวัด Hp ซึ่งตั้งฉากกับระนาบวงโคจรดาวเทียมและขนานกับแกนหมุนของโลก ) แสดงการลดลงอย่างรวดเร็ว (เส้นสีน้ำเงิน) ของสนามแม่เหล็กในด้านหันหาพระอาทิตย์ หรือด้านกลางวัน (ตัวย่อ M มาจาก Midnight และ  N มาจาก Noon) ซึ่งเกิดจากการบีบอัดของสนามแม่เหล็กโลกในด้านที่ถูก CME เข้าปะทะ (ด้านกลางวัน) 
  • 01:33 สนามแม่เหล็ก IMF เบี่ยงใต้มากกว่าปกติคือ Bz ไปมากถึง -12nT ลักษณะแบบนี้อาจทำให้ผู้คนแถบซีกโลกเหนือได้พบกับแสงออโรราที่ละติจูดต่ำได้ ส่วนลมสุริยะความเร็ว 392.7 km/s²  ซึ่งลดความเร็วมาโดยตลอดนับจากช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีความดันต่ำมากที่ 0.1 nPa
  • 01:00 จำนวนอนุภาคโปรตรอนต่อตารางเซ็นติเมตรในช่วงพลังงานสูงเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ที่ผ่านมา และเพิ่มสูงสุดช่วง 19:00 ของวานนี้ จากนั้นเริ่มลดจำนวนลง ส่วนโปรตรอนที่มีระดับพลังงานต่ำ  47-68 KeV มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนในลักษณะน่าสนใจในเวลานี้
  • 00:30 สนามแม่เหล็กโลกเริ่มเกิดความสั่นสะเทือนที่ระดับค่า kp=4 ในช่วง 1 ทุ่มวานนี้
  • 00:10 คาดการณ์การมาถึงของ CME จากดวงอาทิตย์ซึ่งเดินทางมาในทิศทางของโลกจากการปะทุระดับ M1 เมื่อวันก่อน จากนี้อาจเกิดปฏิกิริยาหลายอย่างกับอวกาศรอบโลก
  • น้ำระบายและน้ำท่า จากรายงานของกรมชลฯ เขื่อนภูมิพล 336 ลบ.ม./วิ เขื่อนสิริกิติ์ 324 ลบ.ม./วิ เขื่อนแควน้อย 8 ลบ.ม./วิ เขื่อนนเรศวร 184 ลบ.ม./วิ เขื่อนนครสวรรค์ 404  ลบ.ม./วิ เขื่อนเจ้าพระยา 60 ลบ.ม./วิ เขื่อนบางไทร 214 ลบ.ม./วิ เขื่อนป่าสัก 61 ลบ.ม./วิ  เขื่อนพระรามหก 7 ลบ.ม./วิ
  • อินโดนีเชีย – ผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมล่าสุด 11 ศพ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 15 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 11:30 ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 533  km/sec สนามแม่เหล็กโลกยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ เริ่มปรากฏแสงออโรราที่ประเทศแถบเหนือ ภาพนี้ถ่ายจากสวีเดน เผยแพร่โดยนายปีเตอร์ โรเซน จากเมืองไครูนา
  • 07:30 ดวงอาทิตย์กลับสู่ความสงบ ไม่มีรอยโหว่บนบรรยากาศชั้นโคโรนา จุดดับทั้งหมดปะทุไม่เกินระดับ C
  • 05:30 พายุโซนร้อน Narelle และ Emang ต่างลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเหลือเพียง 35 น็อตทั้งคู่
    image
  • 00:13 ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 514  km/sec สนามแม่เหล็กโลกยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ 
  • พบ CME (Coronal Mass Ejection มวลพลาสมาร้อนจากบรรยากาศชั้นโคโรนา) หลุดออกจากดวงอาทิตย์ โดยมีอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่ที่ระดับช้ามาก ราว 371 km/s ทิศทางตรงมายังโลก จึงคาดว่าจะไม่เกิดผลกระทบเช่นพายุแม่เหล็กโลกหรือพายุรังสีใดๆ (จุดแดงในภาพคือยาน STEREO-A จุดน้ำเงินคือ STEREO-B จุดเขียวทางขวาของภาพคือโลก) ภาพด้านขวาคือขณะที่มีการเข้าชน ราววันที่ 17 มกราคมนี้ตามเวลาไทย
  • สหรัฐฯ – มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากน้ำท่วมฉับพลันทางตอนเหนือของมิสซูรี
  • เม็กซิโก – หน่วยงานด้านสัตวแพทย์รายงานการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ซีโรไทป์ H7N3 จำนวน 2 ครั้ง ในฟาร์มไก่ไข่ของรัฐ Aguascalientes  ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 โดยพบว่ามีสัตว์ปีกในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 284,755 ตัว ติดโรค 2,990 ตัว และตาย 740 ตัว ซึ่งสัตว์ปีกที่เหลือถูกนำไปทำลาย
  • ญี่ปุ่น – พายุหิมะพัดถล่มกรุงโตเกียวอย่างฉับพลันติดต่อกันเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา วัดปริมาณหิมะที่ท่วมพื้นได้สูง 7 เซนติเมตร ส่งผลให้ขณะนี้ มีรายงานนักท่องเที่ยวตกค้างอยู่ในสนามบินนาริตะ ใกล้กรุงโตเกียว มากกว่า 3,000 คน อีกทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศหลายสิบเที่ยวต้องยกเลิกการให้บริการแก่ผู้โดยสาร และต้องยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศถึง 862 เที่ยวบิน บ้านเรือนประชาชน 6,200 หลังไม่มีมไฟฟ้าใช้ ส่วนที่ จ.ยามานาชิ มีหิมะตกท่วมพื้นสูงถึง 40 เซนติเมตร  รวมแล้วมีผู้บาดเจ็บ 267 ราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 13 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:38 เกิดการปปะทุระดับ M1.7 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N17W22 บนดวงอาทิตย์ 
  • 12:30 PAGASA ประกาศการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน  Bising แล้ว 
  • 12:15 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาปานกลาง ความเร็วลมสุริยะ 380 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 11:00 ภาพจากดาวเทียม Meteo-7 พายุไซโคลน Naraelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือ 80 น็อต กลายเป็นไซโคลนระดับ CAT1 
  • 07:45 เกิดการปปะทุระดับ M1.0 จากจุดดับ 1652 ที่พิกัด N18W18 บนดวงอาทิตย์
  • 07:00 กทม 25°C หาดใหญ่  22°C กระบี่ 21°C อุดร 17°C ขอนแก่น 17°C พะเยา 14°C ตาก 16°C มกดาหาร 16°C นครพนม 15°C ลำพูน 12°C สกลนคร 15°C  ลำปาง 15°C อุบล 17°C แพร่ 15°C เชียงราย 13°C เชียงใหม่ 13°C แม่ฮ่องสอน 12°C
  • 07:00 ระบบของทางตะวันตก เช่น JTWC หรือ TSR ฯลฯ ยังไม่ยอมรับการเกิดขึ้นของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งล่าสุดอุตุนิยมฯของฟิลิปปินส์หรือ PAGASA รายงานว่าพายุเคลื่อนตัวออกห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ (ฟิลิปปินส์ เรียกพายุลูกนี้ว่า Bising)
  • [stextbox id=”info”]04:53 เวลานี้ วันนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ตามเวลาไทย) เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ประเทศเฮติ วัดได้  7.0 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศเฮติ ไปราว 25 กิโลเมตร มีคนตายไป 250,000 คน บาดเจ็บ 300,000 บ้านเรือน 250,000 หลัง และอาคารพาณิชย์อีกกว่า 30,000 หลัง และจนบัดนี้ การฟื้นฟูยังไปไม่ถึงไหน ผู้รอดชีวิตและผู้ไร้บ้านนับแสนคน ยังคงต้องอาศัยอยู่ตามเต็นท์ประสบภัยชั่วคราว แถมยังต้องเผชิญกับการก่ออาชญากรรม อหิวาตกโรค ลมฝนพายุ ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลาแล้วแต่ฤดูกาล โดยยังไม่มีวี่แววว่า ชีวิตพวกเขาจะกลับสู่ความปกติวันใด [/stextbox]
  • 04:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 90 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT2
  • 03:30 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 09S ในมหาสมุทรอินเดีย 
  • เปรียบเทียบขนาดของจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จะกว้างกว่าดาวพฤหัส 
  • เดนนิส ซิมมอนส์ (Dennis Simmons) ถ่ายภาพกลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ จากกล้องดูดาวแบบส่วนตัวมาให้ชม เค้าเล่าว่าภาพนี้ถ่ายท่ามกลางหมอดควันจากไฟป่าใกล้ๆแถบบริสเบรน ของประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 ขยายขนาดจากปลายด้านหนึ่งถึงอีกด้าน 1.8 แสนกิโกลเมตร หรือ 14 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางโลก และเกิดการปะทุระดับ M ถึง 2 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
  • น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำทั้งหมด 47,375 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68% ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปีก่อน 11,833 ล้าน ลบ.ม.

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 พายุไซโคลน Narelle ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงมาอยู่ที่ 110 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT3
  • 11:00 JMA ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน “ซานซาน” หรือชื่อที่อุตุฟิลิปปินส์เรียกว่า “Bising” ที่ 170 กม ตะวันออกเฉียงเหนือของโบรอนกัน ซามาตะวันออก ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 45 กม/ชม ถือเป็นพายุลูกที่ 2 ของปีนี้ 
  • 08:00 ฝนตกเขตดุสิต บางซื่อ ดินแดง ห้วยขวาง
  • 07:15 ฝนตกเขตดุสิต จตุจักร บางซื่อ พระประแดง สมุทรปราการ
  • 07:00 TMD  ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน 2013 02W  
  • 06:00 ปริมาณน้ำล่าสุดในเขื่อนต่างๆทั่วไทย ข้อมูลจากกรมชลฯ
  • 01:05 JTWC แสดงภาพถ่ายดาวเทียมให้เห็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางที่ฟิลิปปินส์ (Medium) ที่กำลังก่อตัวอาจกลายสภาพเป็นพายุ ด้านล่างซ้ายคือพายุไซโคลนระดับ 4 ชื่อ Narelle และล่างขวาคือหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในแปซิฟิคใต้ 
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก TMD แผนที่ลำชั้นบน ลมเปลี่ยนทิศจากลมเหนือเป็นลมตะวันออก นำความชื้นและกลุ่มเมฆเข้ามา ฝนอาจตก 
  • 00:20 พายุไซโคลน Narelle ทวีกำลังลมขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT4 ที่ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางกว่า 115 น็อต
  • 00:10 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ค่า kp < 2 ลมสุริยะอยู่ที่ความเร็วต่ำ คือ 333 km/s แต่เกิด Radio Blackouts ที่ R1

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 11 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:51 เกิดการปะทุระดับ M1.0 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 เคลื่อนที่มาอยู่ที่พิกัด N06E44 บนดวงอาทิตย์
  • 18:00 กำแพงพายุฝุ่นทรายแดงที่ปรากฏให้เห็นบนชายฝั่งเมือง Onslow ก่อนที่ตัวพายุไซโคลน Narelle จะมาถึง 
  • 17:10 พายุไซโคลน Narelle ทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไปที่ 110 น็อตกลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT3 แล้วในเวลานี้ คาดการทิศทางการเคลื่อนที่ตามภาพ  
  • 16:11 ในที่สุด  กลุ่มจุดดับ 1654 ก็ปะทุระดับ M จนได้หลังรอกันมานานเป็นเดือนสำหรับนักท่องเที่ยวและกลุ่มทัวร์ที่จัดดูแสงออโรราทางซีกโลกเหนือ โดยได้ปะทุขนาด M 1.2 ออกมาในขณะนี้  โดยจุดดับกลุ่มนี้ได้ปะทุขณะที่เคลื่อนมาถึงพิกัด  N05E36 บนดวงอาทิตย์
  • 14:14 ฝนตกเขตภาษีเจริญ ตลิ่งชัน บางแค บางกรวย บางเขน
  • 13:14 เกิดการปะทุระดับ C9.2 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ยังไม่ส่งผลใดๆต่อโลก ขณะนี้กลุ่มจุดดับ 1654 เคลื่อนที่มาอยู่ที่พิกัด N05E45 บนดวงอาทิตย์
  • 10:40 มาบตาพุด จ.ระยองฝนตกหนัก
  • 09:12 ภาพสดภูเขาไฟซากุระจิมาของญี่ปุ่น พ่นไอน้ำออกมาสวยงาม ในเวลานี้
  • 08:32 ภาพถ่าย พายุไซโคลน Narelle จากดาวเทียม MTSAT-2 เวลานี้ พายุกำลังเคลื่อนเข้าใกล้เมือง Exmouth ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย
  • 04:00 พายุไซโคลน Narelle เพิ่มความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุไปที่ 85 น็อต กลายเป็นพายุไซโคลนระดับ CAT2
  • 02:46 เกิดการปะทุระดับ C8 ที่กลุ่มจุดดับ 1654 บนดวงอาทิตย์ ยังไม่ส่งผลใดๆต่อโลก
  • 00:10 พายุไซโคลน Narelle คงความเร็วที่ 80 น็อต เส้นทางพายุยังคงวิ่งลงด้านทิศใต้
  • สหรัฐฯ – มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก หลังเกิดการระบาดอย่างรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ H3N2  นับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะนครบอสตัน ในมลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ส ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • บังกลาเทศ  – ยอดผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวจัดในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็น 90 คนแล้ว ขณะที่อุณหภูมิบางพื้นที่ลดต่ำลง เหลือเพียง 3.2°C  ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 45 ปี

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)