รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:30 ระดับความแปรปรวนของสนามแม่เหล็กโลกยังไม่มี ค่า kp-index   ค่อนข้างนิ่ง Kp-140313
  • 15:30  พายุโซนร้อน 20P ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ได้ชื่อเรียกว่า ทิม Tim ทิศทางพายุอาจวกกลับเข้าชายฝั่งแถบทาว์นวิลTIM-140313
  • 11:50 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 320  km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 09:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 20P ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออกสเตรเลีย ความเร็วลมใกล็ศูนย์กลาง 35 น็อต20P
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม
  • ดาวหางแพนสตาร์กับพระจันทร์เสี้ยวที่แคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา BFRjWUmCIAAfLnD
  • น่าน-ภัยแล้งยังทวีความรุนแรง แหล่งน้ำตามธรรมชาติเริ่มแห้งขอด

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • กราฟแผ่นดินไหวสถานี CMMT ของกรมอุตุฯ ประจำวันนี้ กดดู 
  • 10:34 แผ่นดินไหวขนาด 2.8 ห่างไปทางทิศตะวันตกฉียงใต้ของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 68 กม. ไม่รู้ความลึก458619ca-ec95-434d-b661-cb0c394e11ae

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 13 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 ฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง
  • 13:54 ระหว่างที่ CME จากฟิลาเมนท์เมื่อวานนี้ยังเดินทางมาไม่ถึง ล่าสุดได้เกิดการปะทุระดับ C ใกล้จุดดับ 1692 อีกครั้ง พบจากภาพของกล้อง LASCO-C3 
  • 13:05 พายุไซโคลนแซนดร้าลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • 01:30 เกิดฝนฟ้าคะนองที่อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
  • 01:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ
  • 00:30  CME จากฟิลาเมนท์ล่าสุดบนดวงอาทิตย์ จะเคลื่อนที่เฉียดโลกไปในวันที่ 14-15 มีนาคมนี้  โดยก้อนมวลจะเคลื่อนผ่านขั้วเหนือของโลกไป (คลิ๊กที่รูปเพื่อชมภาพเคลื่อนไหว) มีเพียงส่วนปลายที่จะกระทบสนามแม่เหล็กโลก ประมาณว่าจะมีโอกาส 65% ในการเกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกจากการชนครั้งนี้537507_393964980701802_1969207071_n
  • องค์การอนามัยโลกยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคซาร์สเป็นรายที่ 15 ที่ซาอุฯและเป็นรายที่ 9 ที่เสียชีวิต
  • กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชนเตรียมรับมือกับหิมะตกหนักที่สุดในรอบ 50 ปีในช่วง 3 วันนี้ โดยจะมีหิมะตกถึง 25 เซนติเมตร ขณะที่อุณหภูมิจะติดลบถึง 20 องศาเซลเซียส

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 23:59 กราฟแผ่นดินไหวของวันนี้ กดดู
  • 02:00 แผ่นดินไหวขนาด 4.0 ในพม่า ห่าง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอนไปทางตะวันตก 221 กม
    image

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 ฟิลาเมนท์ (โพรมิแนนซ์ในแนวนอน) บนดวงอาทิตย์ ระหว่างจุดดับหมายเลข 1692 และ 1692  ได้ก่อตัวและเกิดรีคอนเนกชัน  มีการปลดปล่อยมวลสารโคโรนา CME ออกมาในทิศทางเกือบตรงกับโลก CME นี้จะเดินทางทาถึงบริเวณวงโคจรของโลกในช่วงวันที่ 14-15 มีนาคมนี้
  • 17:00  เรดาร์ตรวจพบกลุ่มฝนกระจายปกคลุมบริเวณ จ.นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ
  • 14:00  เรดาร์ตรวจพบกลุ่มฝนบางแห่งบริเวณ จ.นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชลบุรี กระบี่ นครศรีธรรมราช
  • 12:30 ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลจากปี 2549-ปัจจุบัน โปรดสังเกตปี 2554 (เส้นสีเลือดหมู) ซึ่งระดับน้ำตัดเส้นกราฟอื่นขึ้นสูงแบบผิดปกติจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ เนื่องจากมีชะลอการระบายน้ำตั้งแต่เดือนเมษา-พฤษภาในขณะนั้น ก่อนฝนจะตกในเดือนมิถุนายนด้วยซ้ำ ส่วนปีปัจจุบันนี้เป็นปีที่ระดับน้ำลดลงต่ำสุด ขณะนี้เหลือเพียง 46% โอกาสเกิดปัญหาน้ำไม่พอมีสูงมาก26e57f39-9d32-4c04-bc45-8b6193ab1c9e
  • 12:00  เรดาร์ตรวจยังไม่พบกลุ่มฝนในทุกจังหวัด ภาคเหนือ ท้องฟ้าโปร่งเป็นส่วนมาก ภาคอื่นๆ ฟ้ามีเมฆบางส่วน
  • 07:30 กรุงปักกิ่งพบกับฝนแรกในปี 2013 00114320db4112a8e8ad17
  • 04:00 ภาคใต้มีเมฆบางส่วน ตรวจไม่พบกลุ่มฝน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน ตรวจไม่พบกลุ่มฝน
  • 01:00 พายุไซโคลนแซนคร้า ลดกำลังลงเป็นพายุระดับ CAT2 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 90 น็อต แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ SANDRA-120313
  • นับถึง 11 มีนาคม 2013 มีดาวเคราะห์น้อยอันตราย (PHAs) 1,384 ดวง
    ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกล่าสุด

    ชื่อดาวเคราะห์น้อย
    วันที่
    ระยะห่างจากโลก
    ขนาด
    2013 EC20
    Mar 9
    0.4 LD
    7 m
    2013 ET
    Mar 9
    2.5 LD
    102 m
    2013 EN20
    Mar 10
    1.2 LD
    7 m
    2007 EO88
    Mar 18
    4.4 LD
    23 m
    1993 UC
    Mar 20
    49 LD
    3.8 km
    2013 ES11
    Mar 22
    6.4 LD
    94 m
    1997 AP10
    Mar 28
    45.9 LD
    1.8 km
    2010 GM23
    Apr 13
    3.9 LD
    50 m
    2005 NZ6
    Apr 29
    24.9 LD
    1.3 km
    2001 DQ8
    Apr 30
    74.3 LD
    1.1 km
    2004 BV102
    May 25
    69.9 LD
    1.4 km
    1998 QE2
    May 31
    15.2 LD
    2.2 km

    หมายเหตุ: LD หมายถึง  “Lunar Distance.” หรือระยะห่างจากโลกไปถึงดวงจันทร์ โดย 1 LD = 384,401 กม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 09:02 แผ่นดินไหวขนาด 3.8 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงราย ในเขตพม่า (ไม่ทราบความลึก)  และ รูปคลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMTQ0902

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 14:54 เกิดการปะทุขนาด M1.2 ที่จุดดับหมายเลข 1686 ทางขอบตะวันตกเฉียงใต้ของดวงอาทิตย์ ทิศของแนวอนุภาคไม่ตรงกับโลก 295535_390622284369405_2043191104_n
  • 13:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ
  • 12:40 จุดดับ 1678 อันโด่งดัง ที่เคยมีข่าวการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนใหญ่กว่าโลก 6 เท่าในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ได้หันไปอยู่ “ด้านไกล” ของดวงอาทิตย์ คือด้านที่หันออกไปจากโลก ได้เกิดการปะทุ CME ออกมาในเวลานี้ ตามภาพที่ถ่ายจาก Lasco-C3 (แ่่ผ่นกลมกลางภาพคือโลหะบังแสง เงาดำด้านซ้ายคือแขนที่ยกแผ่นกลม จุดสว่างด้านขวาคือดาวศุกร์ รูปร่างเป็นเปลวรอบดวงอาทิตย์คือมวลโคโรนาหรือ CME)farsidehalo_strip
  • 11:15 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 376 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 10:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร
  • 07:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ ความกดอากาศสูงระลอกใหม่ปรากฏในประเทศจีน
  • 06:30 กทม 23°C จันทบุรี 22°C เชียงใหม่ 22°C ลำปาง 22°C อุดร 19°C ขอนแก่น 19°C หนองคาย 19°C อุบล 20°C
  • พบหวัดนกในเม็กซฺโก ฆ่าไก่แล้ว 2 ล้านตัว
  • ญี่ปุ่น – ยอดหนาวตายฉับพลันในฮอกไกโด เพิ่มมา 1 ราย รวมเป็น 9 ราย
  • อียิปต์ – ฝูงตั๊กแตนกว่า 30 ล้านตัวถล่มพื้นที่เกษตร

ดาวเคราะห์น้อยที่เข้าใกล้โลกในช่วงนี้

ชื่อดาวเคราะห์น้อย
วันที่ (UT)
ระยะห่าง
ขนาด
2013 DS9
ก.พ. 24
8.7 LD
24 m
2009 AV
ก.พ. 25
59.7 LD
1.0 km
2013 EB
ก.พ. 28
1 LD
16 m
2013 EC
มี.ค. 4
1 LD
12 m
2013 ET
มี.ค. 9
2.5 LD
102 m
2007 EO88
มี.ค. 18
4.4 LD
23 m
1993 UC
มี.ค. 20
49 LD
3.8 km
1997 AP10
มี.ค. 28
45.9 LD
1.8 km
2010 GM23
เม.ย. 13
3.9 LD
50 m
2005 NZ6
เม.ย. 29
24.9 LD
1.3 km
2001 DQ8
เม.ย. 30
74.3 LD
1.1 km
2004 BV102
พ.ค. 25
69.9 LD
1.4 km

หมายเหตุ: ระยะห่าง LD ย่อมาจาก “Lunar Distance.” หรือระยะห่างเทียบกับดวงจันทร์ โดย 1 LD = 384,401 กม หรือ 0.00256 AU ถ้าเทียบกับระยะห่างดวงอาทิตย์กับโลก

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 22:29 แผ่นดินไหว บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง (18.38,99.75) ขนาด 2.4  ลึก 6 กม ช่วงนี้กรมอุตุฯวามารถแจ้งความลึกของจุดเกิดแผ่นดินไหวได้แล้ว 91763748-9307-4ec0-b9c7-76d029019365

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 2 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 07:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ แนวปะทะอากาศเย็น Cold front ไปเกิดในแปซิฟิคทิศใต้ของญี่ปุ่น 
  • 05:40 SWPC รายงานพายุสุริยะความเร็วลม 640 กม/วินาที ความดันลม 1.2 นาโนปาสคาล ก่อพายุสนามแม่เหล็กโลกที่ kp=4 หรือระดับ G1 ซึ่งเป็นผลจากหลุมโคโรนา ในวันที่ 27 ก.พ. โดยไม่เกี่ยวกับการปะทุใดๆ (ช่วงนี้ไม่มีการปะทุเกินระดับ B) และไม่มี CME sw_dials-020313

[stextbox id=”grey”]หลังวันที่ 31 มีนาคมนี้ PTWC จะไม่รายงานสึนามิในเขตมหาสมุทรอินเดีย รายละเอียด ปัญหาจะตกกับเรา ถึงแม้ PTWC จะเคยมีข้อผิดพลาด แต่ก็ยังหาเอเย่นต์อื่นมาทำงานแทนได้ไม่ดีเท่า[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 20:37 แผ่นดินไหวขนาด 1.3 ไม่ทราบความลึก  ที่ อ.เมืองลำปาง
  • 20:35 แผ่นดินไหวขนาด 3.4 ลึก 7 กม ที่ อ.เมืองลำปาง Q2035
  • สถานี CMMT จับรูปคลื่นสัญญาณแผ่นดินไหวขนาด 5.5 ลึก 37.3 เมื่อ 08:30 บริเวณชายแดนประเทศอินเดีย-บังคลาเทศได้ โคยคลื่นเดินทางมาถึงราว 08:32 เศษ ส่วนรูปคลื่นด้านล่างคือแผ่นดินไหวขนาด 3.4 ลึก 7 กม ที่ อ.เมือง จ.ลำปาง(18.36N,99.56E) เวลา 20:35 (กดดูรูปคลื่นของ CHTO)wave_CMMT-020313

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:23 ลมสุริยะพัดเร็วจัด ที่  568.5 กม/วินาที จากหลุมโคโรนาในวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา สนามแม่เหล็กโลกเกิดสภาพเป็นพายุแม่เหล็กในเวลานี้ Kp-010313
  • 20.20 แผ่นดินไหวขนาด 6.7 บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 31.70 กม.
  • 19.53 แผ่นดินไหวขนาด 6.5 บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 40.90 กม.
  • 13:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ ความกดอากาศสูงจากจีนกำลังแผ่ลงมาปะทะความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมไทยอยู่เวลานี้ มีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนองเป็นช่วงสั้นๆครั้งละ 1-2 ชมและมีลมแรง ในแนวที่อากาศปะทะกัน ซึ่งจะมาทางอีสานกับเหนือ
  • 08:20 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 326 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 07:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร
  • 00:30 พายุรัสตี้ สลายตัวแล้ว

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 เกิดหลุมในชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ ลมสุริยะที่รั่วออกมาจะทำให้ความร็วลมเพิ่มจากปกติ โดยเริ่มมีผลในวันที่ 1-2 มีนาคม l0193-270213
  • 14:32 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-2 พายุไซโคลนรัสตี้ ขึ้นฝั่งที่พอร์ต เฮดแลนด์ของออสเตรเลียแล้ว โดยมีความเร็วลมล่าสุด 80 น็อตหรือเป็นไซโคลนระดับ CAT1 ความกดอากาศที่ศูนย์กลางพายุ 963 มิลิบาร์ 20130227.0732.mtsat-2.x.vis1km.17SRUSTY.80kts-963mb-197S-1194E.100pc
  • 12:30 เซอร์เบีย  – ฝนตกไม่หยุดกว่า 24 ชั่วโมง จนน้ำในแม่น้ำ  Moravica ทางใต้ล้นตลิ่ง ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องอพยพออกจากเขตอันตราย ฝนยังคงตกไม่หยุด และปริมาณน้ำที่ท่วมยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสถานีอุตุนิยมวิทยาในเมืองของ Vranje ระบุว่า ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ภายในช่วง 24 ชั่วโมง สูงถึง 64 ลิตรต่อตารางเมตร ถนนหลายสายเริ่มใช้การไม่ได้และสถานการณ์เฝ้าระวังยังคงอยู่
  • 12:00 สรุปน้ำท่วม จ.ยะลา,พัทลุง,นราธิวาส,สงขลา รวม 21 อำเภอ 91 ตำบล 526 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 26,000 ครัวเรือน 99,863 คน
  • 11:00 พายุโซนร้อน 18S ลดกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้วในขณะนี้ เตรียมสลายตัว
  • 10:00 ดาวหางแพนสตาร์ เข้าระยะ 0.452AU จากดวงอาทิตย์ ขณะนี้สามารถมองเห็นด้วยกล้องดูดาวในซีกโลกใต้แล้ว test3822
  • 09:17 ภาพไซโคลนรัสตี้ ประชิดชายฝั่งพอร์ต เฮดแลนด์ออสเตรเลียในขณะนี้ 20130226-rusty1-full
  • 09:00 จากการปะทุ CME ของจุดดับ 1678 ด้านหลังดวงอาทิตย์วานนี้ ตรวจสอบจากโมเดล 3 มิติ แล้ว ไม่พบว่า CME จะเข้าปะทะดาวดวงใดทั้งสิ้น รวมทั้งโลกเรา กดดู
  • 08:30 เกิดปะทุโพรมิแนนซ์ขนาดใหญ่ที่ขอบด้านตะวันตกเฉียงใต้ของดวงอาทิตย์ วงโค้งของโพรมิแนนซ์นี้ กว้างจนสามารถนำดาวพฤหัสลอดผ่านไปได้สบายๆ  sw_eruption_strip

[stextbox id=”info”]พายุทุกลูกในซีกโลกใต้ จะหมุนวนขวารอบศูนย์กลาง เหมือนปิดฝาขวด[/stextbox]

  • 04:00 พายุไซโคลนรัสตี้ทวีกำลังเป็นระดับ CAT2 ตำแหน่งพายุแทบไม่เคลื่อนที่ ส่วนพายุโซนร้อน 18S เคลื่อนออกห่างเกาะคอคอสมาทางตะวันออก ตามแนวลมของซีกโลกใต้S-270213
  • ยะลา – ประชาชนบ้านตลาดล่าง หมู่ 6 ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน กว่า 30 ครัวเรือน ยังเดือดร้อนจากน้ำท่วม บางจุด 1 ม. ต้องอพยพไปอยู่ริมถนน
  • นราธิวาส – น้ำท่วมขยายวงกว้าง 7 อำเภอแล้ว ชาวบ้านเดือดร้อน 6,508 คน โรงเรียนปิดไม่มีกำหนด

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:48 ยะลาฝนตกหนัก
  • 21:00 จุดดับใหญ่กว่าโลก 6 เท่าอันโด่งดัง หมายเลข 1678 เคลื่อนไปอยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์แล้ว (ลองติจูดมากกว่า 90) จุดดับใหญ่เกิดใหม่ยังไม่มีหมายเลข กำลังหมุนจากด้านหลังมาด้านหน้า (จากด้านซ้ายไปขวา หรือ -90 มาหา 0) ภาพนี้ถ่ายในย่านแสง UV โดยยาน STEREO-B ซึ่งทำหน้าที่สังเกคการณ์ด้านหลังของดวงอาทิตย์stoneyhurst_strip
  • 20:00 พายุโซนร้อน 17S บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสดตรเลีย ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน ได้ชื่อเป็นทางการว่า Rusty
  • 19:00 แผนที่อากาศผิวพื้น จาก .intellicast ความกดอากาศต่ำปกคลุมไทย อากาศเริ่มร้อนอีกครั้ง ภาคใต้มีฝนชุกseasi-240213-1900
  • 13:00 JMA ประกาศการสลายตัวของดีเปรสชันซานซานแล้ว
  • 10:40 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน 2013 17S บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสดตรเลีย ทิศทางการเคลื่อนที่ลงใต้ อาจขึ้นฝั่งบริเวณ Port Hedland 17S-240213
  • 09:00 ยอดผู้เสียชีวิตจากไซโคลนฮารูนาในมาดากัสการ์ เพิ่มเป็น 6 ราย บาดเจ็บ 17 ราย
  • 05:24 กล้อง LASCO C2 จับภาพ CME ออกจากขอบด้านตะวันตกของดวงอาทิตย์ในทิศทางที่ไม่ตรงกับโลก 563277_385420004889633_912060867_n
  • 05:00 กรมอุตุออกประกาศฉบับที่ 7 ไม่กลัาวถึงพายุซานซานอีก กดอ่าน
  • 03:00 พายุโซนร้อนฮารูนา ลดความเร็วลมลงเหลือ 45 น็อต
  • ออสเตรเลีย – ฝนหนักน้ำท่วมในนิวเซาท์เวลล์ เป็นวันที่ 3 BD2swRzCQAAWSEc

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

[stextbox id=”info”]แผ่นดินไหวในไทยขนาดมากกว่า 4.5 ขึ้นไป ต่างประเทศหรือที่ไกลๆสามารถก็จะจับสัญญาณได้ ไม่สามารถปิดบัง แต่หากเบากว่านั้น ที่ไกลๆก็จะจับสัญญาณไม่ได้ เราไม่สามารถสร้างเรื่องโกหกได้เช่นกันว่าเกิดแรง ทั้งที่เกิดเบาๆ[/stextbox]

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 พายุโซนร้อนฮารูนา เคลื่อนผ่านมาดากัสการ์ลงมหาสมทุรอินเดียอีกด้านหนึ่ง ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุด 10 ราย รายละเอียดข่าว201316S-230213-2330
  • 23:09 จุดดับ 1678 อันโด่งดังปะทุแค่ระดับ C 4.7 แถมมาจากด้านข้างๆของดวงอาทิตย์เพราะหมุนเลยไปแล้ว  สร้างความผิดหวังแก่คนคอยลุ้นหลายกลุ่ม 267994_385225821575718_1566883018_n
  • 17:20 สรุปยอดผู้เสียชีวิตจากดีเปรสชัน 02W หรือ Crising ของ Pagasa หรือซานซาน ของJMA ในเขตมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ล่าสุด 5 ราย บาดเจ็บ 10 ราย ไร้ที่อยู่นับพัน  รายละเอียด
  • 16:00 ตามที่คาดไว้ กรมอุตุออกประกาศฉบับที่ 6 เรื่องพายุโซนร้อนซานซาน อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ตามนี้
  • 13:00 JMA ปรับปรุงข้อมูลพายุโซนร้อนซานซาน ล่าสุดลดกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว ไม่มีทีท่าจะเคลื่อนที่อีก แนวโน้มสลายตัวในไม่กี่ชั่วโมงนี้ 1302-00-230213
  • 10:30 พายุไซโคลนฮารูนาลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 60 น็อต
  • 09:32 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-1R แสดงกลุ่มเมฆจากส่วนที่หลงเหลือของพายุดีเปสชันซานซาน เคลื่อนผ่านเกาะลาทูนามาทางตะวันตกแล้ว20130223.0232.mtsat1r.x.vis1km_high.02WSHANSHAN.20kts-1005mb-35N-1100E.100pc
  • 04:00 อุตุนิยมญี่ปุ่นหรือ JMA คำนวนเส้นทางพายุโซนร้อนซานซาน ว่าจะลดกำลังลงเป็นดีเปรสชันในคืนนี้ และจะสลายตัวในลำดับต่อไป  ล่าสุดมีตำแหน่งศูนย์กลางพายุอยู่ทางตะวันออกของเกาะลาทูนา (ทาง JTWC และ TSR ถือว่าพายุนี้สลายตัวไปหลายขั่วโมงแล้ว)  jma-230213-1
  • กรีซ  ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ทำให้ท้องถนนในกรุงเอเธนส์ จมอยู่ใต้น้ำ ย่านฮาลันดรี ได้รับผลกระทบหนักสุด รถยนต์จำนวนมากติดอยู่บนท้องถนน ต้นไม้หักโค่นและบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมขัง ยอดผู้เสียชีวิตยังไม่นิ่ง

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ตามที่่มีข่าวลือเรื่องพายุสุริยะจากจุดดับที่ใหญ่กว่าโลกคือหมายเลข 1678 ซึ่งเป็นจุดดับที่เติบโตเร็วมากโดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงนั้น ขณะนี้จุดดับ 1678 ได้หันพ้นขอบดวงอาทิตย์ด้านที่หันหาโลกแล้ว ไม่ส่งผลใดๆโดยตรงต่อโลกทั้งสิ้น[/stextbox]

  • 22:30 ที่แย่คือกรมอุตุไทยที่ใช้ข้อมูลของญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นปรับลดระยะทางพายุ กรมอุตุไทยก็ยังไม่ได้ปรับตาม จึงออกรายงานมาแบบนี้ กดอ่าน (เส้นทางพายุเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง)
  • 19:30 TSR ยืนยันการสลายตัวของดีเปรสชัน 02W แต่ทางญี่ปุ่นซึ่งประกาศว่าพายุกลายเป็นโซนร้อนและใช้ชื่อ “ซานซาน” ไปแล้วนั้น ลำดับต่อไปชื่อพายุอาจเหลื่อมกัน  (ในแผนที่จะเห็นว่าเหลือพายุไซโคลนฮารูนาเพียงลูกเดียว)TSR-220213-n
  • 19:00 ภาพจากดาวเทียม METEO-7 แสดงการขึ้นฝั่งที่มาดากัสการ์ของพายุไซโคลนฮารูนา20130222.1200.meteo7.x.vis1km_high.16SHARUNA.80kts-963mb-230S-439E.100pc
  • 19:00 JMA ปรับเส้นทางพายุใหม่ โดยคาดว่าพายุจะสลายตัวโดยไม่ขึ้นฝั่งมาเลเซียตามรายงานของทางฝรั่ง 
  • 13:00 หย่อมความกดอากาศต่ำที่คลุมไทยหายไปหมด อากาศจะเริ่มเย็นลง 
  • 11:30 เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง JMA ของญี่ปุ่น (กรมอุตุไทยใช้ข้อมูลด้านอากาศจากที่นี่) และหน่วยงาน JTWC ของสหรัฐฯ เรื่องพายุดีเปรสชัน 02W โดยทาง JMA ประกาศว่าพายุได้ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและให้ใช้ชื่อพายุว่า “ซานซาน” และทิศทางพายุจะเคลื่อนไปทางประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยก็ประกาศไปตามนั้น แต่ทาง JTWC และ TSR ของอังกฤษ กลับระบุว่าพายุจะอ่อนกำลังลงและสลายตัวในวันนี้ โดยเฉพาะ JTWC นำข้อมูลพายุออกจากการเฝ้าระวังไปแล้ว  (พายุลูกนี้ทางฟิลิปปินส์ใช้ชื่อว่า Crising ตามระบบตั้งชื่อของตนหรือ PAGASA)1302-00-220213
  • 11:00 กรมอุตุออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 07:30 มีการเผยแพร่ภาพฝนตกเป็นไฟบนดวงอาทิตย์ ตามนี้ โดยเป็นภาพที่นำมาจากเว็บของ NASA เป็นการปะทุและเกิดโพรมิแนนซ์บนดวงอาทิตย์ในวันที่ 19 ก.ค. 2554 (ปีที่แล้ว) และวงโค้งของโพรมิแนนซ์สลายตัวจากแรงดึงดูดจึงเกิดเปลวไฟแยกเป็นจุดๆตกลงบนผิวดวงอาทิตย์เหมือนฝนตก เป็นภาพที่หาดูได้ยาก
  • 05:00 NASA จับตาบริเวณจุดดับ 1678 ซึ่งขยายขนาดอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสเกิดการปะทุที่มีระดับ M หรือ X ได้
  • 00:30 พายุไซโคลนฮารูนา ที่มาดากัสการ์ ทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT3 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 185 กม/ชม 201316S-220213
  • สุรินทร์ – ล่าสุดจังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มอีก 1 อำเภอ คืออำเภอกาบเชิง รวมแล้ว 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.เขวาสินรินทร์ อ.ศรีณรงค์ อ.สำโรงทาบ อ.ท่าตูม อ.ศีขรภูมิ อ.สังขะ และอ.พนมดงรัก จำนวน 79 ตำบล 994 หมู่บ้าน ร้อยละ 46.89 ของพื้นที่ทั้งหมด ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 87,244 ครัวเรือน สำหรับพื้นที่การเกษตร ได้แก่ นาข้าวได้รับความเสียหายแล้ว 95,742 ไร่

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)