เหตุการณ์วันนี้
- 23:59 ได้รูปคลื่นแผ่นดินไหว จากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือวันนี้มาแล้ว รูปคลื่นนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหว MDJ ของจีน ซึ่งต่อเชื่อมกับเครือข่ายนานาชาติหรือ GSN โดยมีการคำนวนเปรียบเทียบว่ามีการทดลองนี้ประมาณเท่ากับระเบิด TNT ที่ 7,000 ตัน ซึ่งแรงกว่าการทดสอบครั้งที่แล้วในปี 2006 (<1,000 ตัน) และ 2009 (2,200 ตัน)
- 15:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก สลายตัวแล้ว
- 09.57 แผ่นดินไหวขนาด
mb 4.9mb 5.1 บริเวณ ประเทศเกาหลีเหนือ ที่ความลึก 1.00 กม. เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ที่ทั่วโลกรู้เพราะคลื่นแผ่นดินไหวใดๆที่แรงกว่า M4.5 จะแผ่ไปทั่วโลกตามปกติอยู่แล้ว แต่ลักษณะคลื่นจะต่างกัน ดูตัวอย่างด้านล่าง (รูปนี้จากการทดลองนุ้กของประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 11 เดือนพฦษภาคม ปี 1998) สีแดงคือคลื่นจากการทดลองนุ้ก สีฟ้าคือคลื่นที่มาจากแผ่นดินไหวธรรมชาติ สัญญาณชุดนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหวของประเทศปากีสถาน จะเห็นคลื่นสีแดงจะมีลักษณะหัวโตตัวเล็ก คลื่นแรกที่มาถึง (Pn) จะสูงปริ๊ด แล้วคลื่นต่อๆไป (Pg,Sn,Lg) จะเล็กลง (Body Wave ใหญ่กว่า Surface wave) นี่คือคลื่นแผ่นดินไหวจากการทดลองนุ้ก ส่วนคลื่นสีฟ้าจะมีลักษณะหัว (Pn) เล็ก แล้วตัวจะมาโตทีหลัง (Body Wave เล็กกว่า Surface wave) นี่คือแผ่นดินไหวตามปกติ
รูปด้านล่างคือการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่แล้วของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2006 ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด mb 4.3ดูให้ชัดๆเปรียบเทียบกันอีกที ดังรูปด้านล่าง ภาพบนซ้ายขวาคือคลื่อนแผ่นดินไหวจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ รูปด้านล่างซ้ายขวาคือแผ่นดินไหวธรรมชาติ (หากวัดด้วยมาตรา mb เทียบกับ Ms จะเห็นได้ชัดเจนว่า mb ขนาด ที่วัดได้นั้น ใหญ่กว่า Ms มาก เช่นในแผ่นดินไหวของวันนี้ ขนาดวัดได้ mb 5.1 แต่ Ms ได้แค่ 4.0 เท่านั้น) - 09:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 อยู่ห่างจากโลกที่ระยะ 0.0131 AU ในเวลานี้ (ดาวเคราะห์น้อยจะเคลื่อนที่พาดผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของโลก และจะผ่านเหนือน่านฟ้าด้านเอเชีย เวลาประมาณ 02:25 เช้าวันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาในประเทศไทย จะอยู่ในเงาของโลกประมาณ 18 นาที)
- 05:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุโซนร้อนกีโน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )
- ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์
แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)
- เมื่อ 22.40 ตามเวลาไทย เกิดอาฟเตอร์ช็อคขนาด 5.1 บริเวณ หมู่เกาะซานตาครูส ที่ความลึก 10.10 กม.
- เมื่อ 20.15 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.1 บริเวณ Kepulauan Barat Daya ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 125.00 กม.
- เมื่อ 18.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ เกาะโคดิแอค อลาสกา ที่ความลึก 74.70 กม.
- เมื่อ 15.53 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 112.40 กม.
- เมื่อ 15.51 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 บริเวณ Seram ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 10.00 กม.
- เมื่อ 11.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 98.80 กม.
- เมื่อ 09.55 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ เขตปกครองตนเองธิเบต-มณฑลชิงไห่ (ตรงรอยต่อ) ที่ความลึก 38.10 กม.
- เมื่อ 08.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณ คาบสมุทรแคนาย อลาสกา ที่ความลึก 39.40 กม.
- เมื่อ 08.23 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 บริเวณ ประเทศฟิจิ ที่ความลึก 526.00 กม.
- เมื่อ 06.03 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 บริเวณ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 44.30 กม.