ศุกร์ 20 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:45 แผ่นดินไหว 1.7 อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ 
  • พบผู้เสียชีวิตทั้งในจีน,เวียดนามและกัมพูชา จากไข้หวัดนก ล่าสุดเป็นเด็กหญิงวัย 5 ขวบในอินโดนีเซีย”
  • 16:00 พายุโซนร้อน Ethel ในมหาสมุทรอินเดีย ทวีความเร็วขึ้นเป็นแปรสภาพเป็นพายุไซโคลน  โดยมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 70 น็อต ในขณะที่พายุโซนร้อน Funso ก็กลายเป็นไซโคลนแล้วในขณะนี้ โดยมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 75 น็อต 
  • นราธิวาส-สภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งคืนทำให้น้ำป่าที่มีต้นกำเนิดบนเทือกเขาสันกาลาคีรี ในพื้นที่ อ.สุคิริน ได้ไหลทะลักลงมาเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฏรพื้นที่ทางการเกษตรและถนนในพื้นที่ 3 หมู่บ้านคือบ้านแว้ง หมู่ 1 บ้านเจ๊ะเหม หมู่ 3 ต.แว้ง และบ้านแม่ดง หมู่ 5 ต.แม่ดง ซึ่งมีระดับน้ำท่วมขังสูงโดยเฉลี่ย 70-100 ซ.ม. นอกจากนี้ยังมีสถานที่ราชการและโรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคม ต้องปิดให้บริการและประกาศหยุดการเรียนการสอนเป็นการฉุกเฉินแบบไม่มีกำหนด ส่งผลกระแสน้ำที่เชี่ยวกiากยังได้พัดบ้านเรือนของราษฎรในพื้นที่บ้านเจ๊ะเหม หมู่ 3 ต.แว้ง ได้รับความเสียหาย จำนวน 3 หลัง ถนนสายหลักยานพาหนะขนาดเล็กทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ และกำแพงรั้วด้านหน้าของโรงเรียนเวียงสุวรรณวิทยาคมยังถูกกระแสน้ำพัดได้รับความเสียหายเกือบทั้งแถบ
  • 02:52 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.3 ในพม่า ตามแผนที่ด้านล่างนี้
  • NASA รายงานว่าปี 2554 ที่ผ่านมา เป็นปีที่อุณหภูมิเฉลี่ยขอโลก ขึ้นสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา
  • ดาวเคราะห์น้อย (2012 AN10) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 29 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 138 เมตร ความเร็ว 11.97 กม./วินาที พลังงาน 70 เมกกะตัน ดูวงโคจร
  • 06:30 กทม 26°C หาดใหญ่  24°C ฝนตก ชัยภูมิ 22°C ฝนตก ขอนแก่น 22°C ลำปาง 15°C เชียงใหม่ 15°C
  • พายุโซนร้อน 08S ทีช่องแคบโมซัมบิก ได้รับการตั้งชื่อแล้ว่า FUNSO ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 45 น็อต แนวโน้มกำลังจะแปลสภาพเป็นไซโคลน ส่วนพายุ ETHEL ยังมีความเร็วลมคงเดิม ทิศทางมุ่งลงใต้

สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก 20 มกราคม 2555

รายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกจาก USGS นี้ ไม่มีรายงานของแผ่นดินไหวในไทยรวมอยู่ด้วย เนื่องจากข้อมูลกรมอุตุไทยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสากล

Total 16 Times

พฤหัส 19 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:15 เกิดการปะทุระดับความแรง M1 บนดวงอาทิตย์ จากจุดดับหมายเลข 1401
  • พายุหิมะถล่มซีแอตเทิลอย่างหนัก จนทางการต้องระงับเที่ยวบินทั้งหมดในสนามบิน Sea-Tac  อ่านข่าว
  • พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน ETHEL ในมหาสมุทรอินเดีย ความเร็วลม 45 น็อต 
  • พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน 08S ในช่องแคบโมซัมบิก ใกล้ๆเกาะประเทศมาดากัสการ์  ความเร็วลมขณะนี้ 35 น็อต
  • 06:30 กทม 26°C หาดใหญ่ 24°C ลำพูน 12.8°C ลำปาง 12°C เชียงใหม่ 12°C หนองคาย 20°C อุบล 25°C
  • 05:55  ทั่วโลกไม่พบการก่อตัวของพายุไซโคลน โซนร้อน เฮอริเคน ไต้ฝุ่น หรือดีเปรสชันใดๆในขณะนี้
  • 05:40 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำ ความเร็วลมสุริยะ 335.5 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ดาวเคราะห์น้อย (2012 AN10) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 29 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 138 เมตร ความเร็ว 11.97 กม./วินาที พลังงาน 70 เมกกะตัน ดูวงโคจร
  • เขื่อนน้ำมากวิกฤต(%รนก.) : แม่งัด(102%),กระเสียว(100%),ลำแซะ(99%),มูลบน(96%),แม่กวง(89%),ลำตะคอง(89%),ลำพระเพลิง(89%),ภูมิพล(88%),ศรีนครินทร์(87%),กิ่วลม(86%),สิริกิติ์(86%),สิรินธร(86%)

สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก 19 มกราคม 2555

รายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกจาก USGS นี้ ไม่มีรายงานของแผ่นดินไหวในไทยรวมอยู่ด้วย เนื่องจากข้อมูลกรมอุตุไทยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสากล

Total 30 Times

คลื่นสึนามิยักษ์ที่อ่าวไลทูยา เมื่อปี 2501

คลื่นสึนามิยักษ์ ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดสูงกว่าตึกเอ็มไร์เสตท เกิดขึ้นในวันที่ 9 กรกฏาคม 2501 ที่อ่าวไลทูยา รัฐอลาสกา สหรัฐอเมริกา


ภาพอนิเมชันแสดงลักษณะการเกิดหินถล่มและสึนามิ
ต้นเหตุของคลื่นมหายักษ์ครั้งนี้ เกิดจากแผ่นดินไหวทำให้หน้าผาหินขนาดใหญ่ด้านก้นอ่าว ทำให้หินปริมาตรมากกว่า 60 ล้านลูกบาศเมตร น้ำหนักหลายล้านตันถล่มลงในน้ำที่ก้นอ่าว ก่อให้เกิดคลื่นมหายักษ์ ยอดคลื่นสูงถึง 524 เมตร กวาดต้นไม้บนยอดเขาริมหน้าผาฝั่งตรงข้าม ที่มีระดับหน้าผาสูงจากน้ำทะเลถึง 520 เมตรจนหมดสิ้น
ภาพเปรียบเทียบขนาดคลื่นสึนามิยักษ์ในครั้งนั้น
คลื่นมหายักษ์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วกว่า 600 ไมล์ต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ออกจากจุดที่หินถล่มกวาดทุกสิ่งทุกอย่างตลอดแนวอ่าวตรงสู่ปากอ่าว ในขณะนี้ มีเรือประมงสามลำอยู่บิรเวณนั้น เรือลำแรกล่มลงพร้อมผู้เสียชีวิตสองราย แต่อีกสองลำกลับรอดโดยปฏิหารย์ รายชื่อลูกเรือที่รอดชีวิตในครั้งนั้นได้แก่ Adam Gray, William A. Swanson และ Howard G. Ulrich ซึ่งได้ยืนยันว่าเรือของพวกเขาได้ลอยขึ้นบนยอดคลื่นโดยไม่ได้ถูกม้วนหายไปเช่นลำแรก อย่างไรก็ตาม คลื่นมหายักษ์ครั้งนี้ ได้สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ประมาณเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดและจบในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น
รูปที่ 2 จุดที่ลูกศรชี้ คือจุดหน้าผาสูง 1,720 ฟุตที่ลูกคลื่นยักษ์สูงที่สุดในโลกเข้าปะทะ โดยฝั่งตรงข้ามคือส่วนที่หน้าผาหินถล่มลงน้ำ เป็นจุกเริ่มต้นของสึนามิในครั้งนี้
การวิเคราะห์คลื่นมหายักษ์แบบละเอียด จากบทความของ George Pararas-Carayannis

พุธ 18 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:10 เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 3.4 ทางเหนือแม่ฮ่องสอนในเขตพม่า 
  • 06:30 กทม 25°C ชัยภูมิ 22°C ลำพูน 11.8°C สงขลา 24°C อุดร 20°C ลำปาง 12°C เชียงใหม่ 12°C
  • การปะทุของภูเขาไฟในทะเลแดงของเยเมน ที่มีขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2554) ได้สงบลงแล้ว ทิ้งไว้เพียงเกาะที่เกิดใหม่จากแรงระเบิดซึ่งปรากฏขึ้นมาในวันที่ 7 มกราคมและเป็นข่าวมาช่วงหนึ่ง ตามภาพจากดาวเทียม  Earth Observing-1 (EO-1) ของ NASA ด้านล่างนี้ 
  • กองทุนเพื่อการดูแลสัตว์นานาชาติ (IFAW) ระบุว่านับตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่(12) มีโลมาราว 60 แล้วที่ถูกพบนอนเกยตื้นในรัศมี 40 กิโลเมตรของชายฝั่งแหลมเคปคอด นับเป็นกรณีที่จู่ๆมีปลาโลมาว่ายขึ้นมาบนฝั่งด้วยตัวมันเองเป็นจำนวนมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปี

 

สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก 18 มกราคม 2555

รายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกจาก USGS นี้ ไม่มีรายงานของแผ่นดินไหวในไทยรวมอยู่ด้วย เนื่องจากข้อมูลกรมอุตุไทยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสากล

Total 17 Times

อังคาร 17 มกราคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:36 แผ่นดินไหวขนาด 0.7 อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 
  • ดาวเคราะห์น้อย (2011 YH40) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 5.4 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 109 เมตร ความเร็ว 9.17 กม./วินาที พลังงาน 20 เมกกะตัน
  • 13:30 ฝนอ่อน ตกแถบซีคอน ศรีนครินทร์ อ่อนนุช ฝนหนักตกแถบ มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง ปทุมธานี
  • 07:30 กทม 27°C ภูเก็ต 25°C ลำพูน 12°C โคราช 24°C ระยอง 26°C สงขลา 26°C
  • 07:00 เชียงใหม่ 12°C เชียงราย 10°C  ลำปาง 11°C แพร่ 11°C  อุตรดิตถ์ 11°C พะเยา 10°C เลย 18°C ท่าวังผา 9°C น่าน 9°C แม่สอด 9°C
  • 01:00 NWS เตือนรัฐวอชิงตัน ทุกพื้นที่ เฝ้าระวังพายุฤดูหนาว 48 ชม ข้างหน้านี้
  • 00:47 เิกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 ทางเหนือของเชียงรายในเขตพม่า 
  • เขื่อนน้ำมากวิกฤต(%รนก.) : แม่งัด(102%),กระเสียว(100%),ลำแซะ(99%),มูลบน(97%),ภูมิพล(89%),ลำตะคอง(89%),ลำพระเพลิง(89%),แม่กวง(89%),สิริกิติ์(87%),ศรีนครินทร์(87%),กิ่วลม(86%),สิรินธร(86%),ป่าสักฯ(86%)

สรุปรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลก 17 มกราคม 2555

รายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกจาก USGS นี้ ไม่มีรายงานของแผ่นดินไหวในไทยรวมอยู่ด้วย เนื่องจากข้อมูลกรมอุตุไทยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบสากล

Total 18 Times

วิธีการอ่านกราฟแผ่นดินไหว (Seismogram)

เราจะอ่านกราฟแผ่นดินไหวได้อย่างไร?

Seismogram คือเส้นกราฟที่เกิดขึ้นโดยการบันทึกการสะบัดไปมาของปากกาที่เหวี่ยงจากแรงสั่นไหวของพื้นดินของเครื่อง Seismograph  โดยเครื่องจะบันทึกการสั่นสะเทือนทุกชนิดโดยไม่สนใจแหล่งที่มา บางครั้ง ความสั่นไหวก็มาจากรถบรรทุกหนัก จากคลื่นทะเลลูกโตๆที่กระทบฝั่ง หรือแม้จากแรงลม จุดหรือเส้นเล็กๆบนกราฟก็จะโผล่ขึ้นมา แต่เราจะอ่านค่าและแยกแยะมันได้จากแผ่นดินไหวจริงโดยอาศัยความเข้าใจดังจะกล่าวต่อไปนี้

 

รูปที่ 1 – SEISMOGRAM แบบหนึ่งที่เห็นได้ค่อนข้างบ่อย.

จากกราฟในรูปที่ 1 จะเห็นเส้นเล็กๆซ้ายมือ นั่นคือเครืองหมายขั้นเวลา ปกติจะเป็น “นาที” โดยจะปรากฏขึ้นบนกราฟทุก 1 นาที

ถัดไป คือคลื่นที่จับได้จาก  P wave หรือคลื่นแผ่นดินไหวปฐมภูมิ   คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง และของเหลว โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที ซึ่งจะเป็นคลื่นแรกสุด ที่มาถึงเครื่องวัด

จากนั้นก็เป็น  คลื่นทุติยภูมิ (S wave) คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที ทำให้มาถึงเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวช้ากว่าเป็นอันดับ 2

ภาพที่ 2 การเดินทางของ P wave และ S wave ขณะเกิดแผ่นดินไหว

          ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว  จะเกิดแรงสั่นสะเทือนขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทุกทาง เนื่องจากวัสดุภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่นทั้งสองจึงมีความเร็วและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปดังภาพที่ 2 คลื่นปฐมภูมิหรือ P wave สามารถเดินทางผ่านศูนย์กลางของโลกไปยังซีกโลกตรงข้ามโดยมีเขตอับ (Shadow zone) อยู่ระหว่างมุม 100 – 140 องศา แต่คลื่นทุติยภูมิ หรือ S wave ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้ จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 120 องศาเป็นต้นไป

คลื่นกลุ่มที่ 3 คือคลื่น surface wave ปะรกอบด้วยคลื่น Love และ Rayleigh จะต่างออกไป คลื่นสองตัวนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าคลื่น P และ S แต่มีความถี่ต่ำกว่า อีกทั้งยังเคลื่อนที่ได้ช้าที่สุด คลื่นกลุ่มนี้ คือกลุ่มหลักที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างนั่นเอง

เครื่องมือวัด  Seismograph นั้น จะมีกราฟออกมาอย่างน้อย 3 ชุด คือกราฟที่วัดตามแนวแกน X หรือตะวันออกตะวันตก ตามแนวแกน Y หนือเหนือใต้ สองแกนนี้เพื่อหาตำแหน่งทิศทางในแนวราบ และกราฟตามแนวแกน Z หรือแนวตั้ง เพื่อหาทิศทางตามส่วนโค้งของโลกและเพื่อกำหนดหาความแรงของการสั่นสะเทือนในแนวนี้ การอ่านกราฟต้องเอาค่าทั้ง 3 แกนมาตีความรวมกันอีกทั้งคำนวนจากระยะเวลา ก็จะได้ตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวและขนาดความแรงโดยประมาณเบื้องต้นได้