รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:50 นับถึงเวลานี้  การระบาดและยอดตายของไวรัสอีโบลา ทำสถิติสูงสุดเทียบย้อนหลังไปถึงปี 2519 
  • 23:00 พายุโซนร้อนฮาลอง เริ่มมีทิศทางชัดเจนว่าจะตรงไปโอกินาวา 
  • 21:42 ภาพจากกล้อง LASCO-C3  เกิดการปะทุที่มุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือบนดวงอาทิตย์ (จุดสว่างด้านขวาในภาพคือดาวพฤหัส จานดำตรงกลางคือโลหะบังแสง เส้นทำซ้ายล่างคือแขนที่ยกโลหะ )
  • 16:30 ฝนตกเกือบทั่วกรุงเทพ
  • 16:00 ไม่นับพายุโซนร้อนนากรี ที่ WMO ไม่ยอมรับเป็นพายุ ทั่วโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก คือพายุโซนร้อนฮาลอง ใกล้ทะเลฟิลิปปินส์ พายุดีเปรสชันเจนนีวิฟและพายุโซนร้อนไอเซลเล ในแปซิฟิคตะวันออก พายุโซนร้อนเบอร์ทาในมหาสมุทรแอตแลนติก
  • 13:00 โมเดลของ JMA พายุโซนร้อนชนิดรุนแรง (STS) นากรี ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุล่าสุดยังคงที่ 55 น็อต  ล่าสุดอยู่ที่พิกัด 29.3°N 126.8°E ในทะเลจีนตะวันออก ทิศทางยังมุ่งขึ้นเหนือไปทางทะเลเหลือง  
  • 11:00 ปริมาณน้ำในเขื่อนเวลานี้ 
  • 10:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อนเบอร์ทา Bertha ในมหาสมุทรแอตแลนติกทิศทางตรงไปโดมินิกัน-เปอโตริโก
  • 09:48 ภาพระยะแค่ 1,000 กม ของดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ถ่ายโดยยานอวกาศ Rosetta เห็นนิวเคลียสคู่ชัดเจน 67p_strip
  • 08:30 สภาพลมฝนรุนแรงจากพายุโซนร้อนนากรีในโอกินาวาเวลานี้  [wpvp_embed type=youtube video_code=0C20sRgmODo width=560 height=315]
  • 07:00 จากข้อมูลของ JMA พายุโซนร้อนนากรี ทวีกำลัขึ้นเป็นพายุโซนร้อนชนิดรุนแรง (STS) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุล่าสุดที่ 55 น็อต  ล่าสุดอยู่ที่พิกัด 28.5°N 127.3°E เคลื่อนออกจากโอกินาวาไปทางทะเลเหลือง 
  • 05:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อน Iselle ทางตะวันออกของแปซิฟิค ขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือของพายุ Genevieve ทวีกำลังกลับเป็นดีเปรสชันอีกครั้ง
  • ระดับน้ำในแม่น้ำมูลที่สถานีวัดน้ำสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 26 ซม. ทำให้มีระดับน้ำสูงถึงระดับ 6.95 ม. ห่างจากตลิ่งเพียง 5 ซ.ม อัตราไหลของน้ำมีความเร็ว 1,668 ลบม/วินาที
  • อุบลราชธานี – มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังอยู่ 7 อำเภอประกอบด้วย อ.เมือง อ.วารินชำราบ อ.พิบูลมังสาหาร อ.เดชอุดม อ.นาเยีย อ.ตระการพืชผล และ อ.ดอนมดแดง
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • กราฟแผ่นดินไหวของกรมอุตุ เป็นแบบขยาย ลองเปรียบทียบกับของมหาวิทยาลัยเซาท์แคโรไลนา อ่านค่าจากสถานี CHTO เชียงใหม่เช่นกัน จะเห็นแอมปริจูดต่างกันเปรียบเทียบจากคลื่นแผ่นดินไหว 3 แห่งCHTO-20140801
  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวาน นี้ถึง 07:00 เช้านี้ แสดงให้เห็นแผ่นดินไหวใกล้จะเป็นคลื่นความถี่สูงกว่าแผ่นดินไหวไกล

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)