รายงานภัยพิบัติ 3 ตุลาคม 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00  สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำอยู่ที่ 6.96 เมตร ปริมาณ 2,268 m³/วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง  (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)  
  • 13:24 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 (mb) ลึก​ 58 กม. พิกัด​ 94.10°E 24.84°N พรมแดน​พม่า-อินเดีย
  • 13:00 พายุโซนร้อน “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันและสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำไปแล้วในที่พิกัด N38°00′ E131°00′  ในทะเลญี่ปุ่น 
  • 09:00 พายุดีเปรสชัน “นาร์ดา” Narda ที่เม็กซิโก สลายตัวแล้ว
  • 07:30 สรุปสถานการณ์น้ำจากกรมชลประทาน 
  • 07:00 พายุโซนร้อน “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น เคลื่อนตัวจากฝั่งประเทศเกาหลีใต้ลงสู่ทะเลญี่ปุนแล้ว ล่าสุดศูนย์กลางพายุอยู่ที่พิกัด N33°50′ E125°20′ ความเร็วลม 40 น็อต ความกดอากาศ 992 hPa เคลื่อนไปทางตะวันออก แนวโน้มอ่อนกำลังลงต่อเนื่อง
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 02:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 93W ที่พิกัด  14.0°N 170.0°E ทางเหนือของเกาะมาแชล มีโอกาสกลายเป็นดีเปรสชันลูกใหม่ แนวโน้มเคลื่อนไปทางไต้หวัน-ญี่ปุ่น
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 2 ตุลาคม 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 7.26 เมตร ปริมาณ 2,417 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 0.26 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 117 m³/วินาที (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)
  • 19:00 พา่ยุโซนร้อน “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้แล้วในเวลานี้ที่พิกัด N33°50′ E125°20′ ด้วยความเร็วลม 86 กม.ชม ความกดอากาศ 985 hPa เคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะไปสลายตัวในทะเบญี่ปุ่น
  • 08:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 04:00 โลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูกคือ พายุดีเปรสชัน “นาร์ดา” บนฝั่งประเทศเม็กซิโก กำลังจะสลายตัว พายุเฮอริเคน “ลอเรนโซ” ในแปซิฟิกเหนือ กำลังมุ่งไปยุโรป และพายุโซนร้อน  “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ในทะเลจีนตะวันออก กำลังมุ่งไปขึ้นฝั่งเกาหลีใต้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 1 ตุลาคม 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พา่ยุโซนร้อนกำลังแรง “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น อยู่ที่พิกัด N30°10′ E122°30′ หมู่เกาะโจวซาน มณฑลเจ้อเจียง ความเร็วลม 60 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa มุ่งหน้าต่อไปทางประเทศเกาหลีใต้ 
  • 22:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 22 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=72 อยู่ในมาตรฐาน 
  • 17:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 7.66 เมตร ปริมาณ 2,733 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 0.66 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 433 m³/วินาที (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)
  • 16:00 พายุไต้ฝุ่น “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ความเร็วลม 70 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 980 hPa N29°20′ E122°20′ ในทะเลจีนตะวันออก ใกล้มณฑลเจ้อเจียง  มุ่งหน้าต่อไปทางประเทศเกาหลีใต้ 
  • 13:00 พายุโซนร้อน Narda เคลื่อนขึ้นฝั่งทางตะวันตกของเม็กซิโก แนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันและสลายตัวในวันพรุ่งนี้
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 07:00 แผนที่ลมระดับผิวพื้นเวลานี้ แสดงให้เห็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนแรง 
  • 04:00 พายุไต้ฝุ่น “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ความเร็วลม 75 น็อต ความกดอากาศ 965 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ N27°05′ E122°30′  ในทะเลจีนตะวันออก  มุ่งหน้าต่อไปทางประเทศเกาหลีใต้ 
  • 04:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 38 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=106 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนสีส้ม ส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ เด็ก และคนชรา ส่งผลน้อยต่อบุคคลทั่วไป
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 30 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:00 พายุไต้ฝุ่น “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น เคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวันที่พิกัด N25°05′ E122°55′ ความเร็วลม 75 น็อต ความกดอากาศ 965 hPa มุ่งหน้าต่อไปทางทะเลจีนตะวันออก
  • 20:00 ค่าฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในกรุงเทพฯค่ำนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 62 µg/m³ ควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน
  • 15:50 กทม.มีฝนเล็กน้อยสลับปานกลางเขต บางซื่อ บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ดุสิต พญาไท
  • 15:00 ภาพดาวเทียมแสดงลักษณะ และตำแหน่งของพายุไต้ฝุ่น “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ที่กำลังเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวันเวลานี้ อุตุฯไต้หวันหรือ CWB ประกาศเตือนภัยระดับสีม่วงซึ่งเป็นระดับสูงสุดในเทศมณฑลอี๋หลาน และเตือนภัยระดับรองลงมาในเมืองข้างเคียงแล้ว
  • 14:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 131 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=190 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนแดง ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถานเป็นเวลานาน
  • 13:00 พายุดีเปรสชัน 16E ทางตะวันตกของเม็กซิโก ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า Narda เส้นทางมุ่งเข้าอ่าวแคลิฟอร์เนีย
  • 11:00 สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวังจากกรมชลประทาน
  • 10:00 พายุไค้ฝุ่น “มิทาค” หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ความเร็วลม กศก. 70 น็อต ค่าความกดอากาศ 970 hPa พิกัดเวลานี้อยู่ที่ N20°10′ E122°55′ เส้นทางเคลื่อนไปทางริมฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวันในคืนนี้
  • 08:00 จุดความร้อนในรอบ 24 ชั่วโมงปรากฏมากในภาคกลาง 
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 05:00 ค่าฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนในกรุงเทพฯเช้านี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 66 µg/m³ ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่นอกอาคารเป็นเวลานาน
  • ไต้หวันเตือนฝนหนักใน เถาหยวน อี๋หลาน นิวไทเป จากอิทธิพลไต้ฝุ่น “มิทาค” ที่จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ในวันนี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 28 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 โมเดลเส้นทางพายุจากสำนักอุตุฯ 6 ประเทศ พายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือพายุโซนร้อน “มิทาค” Mitag ในเวลานี้ ส่วนใหญ่เห็นว่าจะเคลื่อนไปขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ช่วงวันที่ 2 ต.ค. 62 หลังทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว
  • 08:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 8.76 เมตร ปริมาณ 3,443.80 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 1.76 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 1143.8 m³/วินาที (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)
  • 07:00 อุตุฯญี่ปุ่นหรือ JMA ยกระดับพายุดีเปรสัชน TD19W ที่พิกัด N15°25′ E132°05′  เป็นพายุโซนร้อน ใช้ชื่อ “มิทาค” Mitag หรือพายุหมายเลข 18 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น ความเร็วลม กศก. 35 น็อต ค่าความกดอากาศ 1002 hPa มีแนวโน้มพัฒนาเป็นไต้ฝุ่น เส้นทางเคลื่อนไปทางทะเลจีนตะวันออก จากนั้นเคลื่อนไปทางช่องแคบ Tsushima เข้าสู่ทะเลญี่ปุ่นต่อไป
  • 07:00 เชียงราย 20°C พะเยา 20°C เชียงใหม่ 23°C ลำปาง 23°C ลำพูน 23°C แม่ฮ่องสอน 23°C เลย 22°C นครพนม 23°C น่าน 22°C แพร่ 22°C สุรินทร์ 23°C อุบลฯ 24°C ตาก 24°C นครสวรรค์ 25°C ภูเก็ต 25°C หัวหิน 27°C สนามบินสุวรรณภูมิ 27°C
  • 07:00 แผนที่ลมผิวพื้น แสดงให้เห็นลมมรสุมเปลี่ยนทิศทางเป็นตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 05:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เช้านี้ มีค่า 44 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=122 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนสีส้ม ส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ เด็ก และคนชรา ส่งผลน้อยค่อบุคคลทั่วไป 
  • 01:00 ทั่วโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูกได้แก่ พายุดีเปรสชัน “คาเรน” และพายุเฮอเริเคน “ลอเรนโซ” ในมหาสมุทรแอตแลนติก ไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง พายุโซนร้อน 19W “มิทาค” ทางตะวันออกของทะเลฟิลิปปินส์ แนวโน้มเคลื่อนคัวไปทางทะเลญี่ปุ่น
  • แถบแสง “สตีฟ” ในสาธารณรัฐเอสโตเนีย 27 กันยายน 62 โดย Tarmo Tanilsoo “สตีฟ” STEVE (Strong Thermal Emission Velocity Enhancement) ไม่ใช่แสงเหนือ มันคือแก้สร้อน 3000°C จากดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านเกราะแม่เหล็กโลกปรากฏเป็นแสงสว่างแนวแคบยาว
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 27 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:21 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.9 ลึก​ 113 กม. พิกัด​ 69.21°W  23.23°S ประเทศ​ชิลี
  • 17:58 แผ่นดินไหวขนาด 4.8 ลึก 10 กิโลเมตร พิกัด 88.68°E  37.78°N มณฑล​ซิน​เจียง​ ประเทศ​จีน
  • 13:00 TSR ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชัน 19W บริเวณเกาะกวม มีแนวโน้มจะทวีกำลังไปจนเป็นพายุไต้ฝุ่น โดยจะได้ใช้ชื่อ “มิทาค” Mitag ตั้งโดยไมโครนีเซีย เป็นชื่อผู้หญิงในภาษายาป (ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาปในไมโครนีเซีย) แปลว่า “ดวงตาของฉัน” เส้นทางน่าจะเคลื่อนไปทางทะเลจีนตะวันออก จากนั้นเคลื่อนไปทางช่องแคบ Tsushima 
  • 10:00 พายุดีเปรสชัน “เจอรี” สลายตัวแล้ว
  • 07:15 สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวังจากกรมชลประทาน
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 04:00 กรมอุตุ ของญี่ปุ่นหรือ JMA ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W บริเวณเกาะกวม ขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 30 น็อต ค่าความกดอากาศ 1008hPa
  • 02:15 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.9 (mb) ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 91.72°E  10.89°N หมู่เกาะ​อันดามัน​ มหาสมุทร​อินเดีย 
  • 01:00 พายุดีเปรชัน “กิโก” ทางตะวันออกของแปซิฟิกสลายตัวแล้ว เวลานี้ทั่วโลกมีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูก ได้แก่พายุดีเปรสชัน “เจอรี” พายุโซนร้อน “คาเรน” และ พายุเฮอริเคน “ลอเรนโซ” ในแอตแลนติกที่เวลานี้กลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 26 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:00 มีผู้เสียชีวิต 20+ ราย (ยอดยังไม่นิ่ง) จากแผ่นดินไหว 6.4 (Mw) บริเวณเกาะอัมบน แถบเกาะเซรัม ของอินโดนีเซียช่วงเช้าที่ผ่านมา via ข่าว อัลจาเซรา
  • 09:00 สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวังจากกรมชลประทาน
  • 08:00 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว 6.4 (Mw) บริเวณเกาะอัมบน แถบเกาะเซรัม ของอินโดนีเซียช่วงเช้าที่ผ่านมา

  • 07:30 ม่อนแจ่ม ต.โป่งแยง อ.แม่ริม เชียงใหม 12°C via 
  • 07:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 45 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=122 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนสีส้ม ส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ เด็ก และคนชรา ส่งผลน้อยต่อบุคคลทั่วไป
  • 07:00 เมืองที่มีอุณหภูมิสูงสุดในรอบ 24 ชั่วโมงจากทั่วโลก
    Failakah Island (Kuwait) 47.6°C
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:46 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.4 (Mw) ลึก 10 กม.พิกัด 128.45°E 3.56°S บนเกาะอัมบน-ฮารูกุ แถบเกาะเซรัม ประเทศอินโดนีเซีย
  • 04:00 เวลานี้ทั่วโลกมีพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก ได้แก่พายุดีเปรชัน “กิโก” ทางตะวันออกของแปซิฟิก พายุดีเปรชัน “เจอรี” พายุโซนร้อน “คาเรน” และ พายุเฮอริเคน “ลอเรนโซ” ในแอตแลนติก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 25 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 รายชื่อเขื่อนที่มี % ของปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือน้อยในระดับวิกฤต และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บเก็กมากระดับวิกฤตเวลานี้ 
  • 16:00 พายุดีเปรสชัน “มาริโอ” สลายตัวแล้ว ทั่วโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 5 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อน  “Hikaa” บนฝั่งประเทศโอมานที่กำลังจะสลายตัว พายุโซนร้อน “คาเรน” “เจอรี” และ “ลอเรนโซ” ในมหาสมุทรแอตแลนติก พายุดีเปรสชัน “กิโก” ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกที่กำลังจะสลายตัว
  • 15:28 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.4 ลึก 50 กม. พิกัด 39.3°N 142.1°E ในทะเลนอกชายฝั่งจังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 3 ตามมาตราชินโดะ
  • 15:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 9.31 เมตร ปริมาณ 3,662 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 2.31 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 1,362 m³/วินาที (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)
  • 13:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุฯญี่ปุ่นหรือ JMA ได้ยกระดับหย่อมความกาอากาศต่ำ 91W ทางตะวันออกของเกาะกวมขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันลูกใหม่ เส้นทางมุ่งตะวันตก
  • 10:00 พายุไซโคลน Hikaa อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนหลังขึ้นฝั่งประเทศโอมานเมื่อคืนนี้
  • 08:51 เกิดหลุมโคโรนาขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์ในด้านที่หันตรงมาทางโลก ลมสุริยะในช่วงหลายวันจากนี้จะมีความเร็วเพิ่มขึ้น อาจเกิดพายุแม่เหล็กโลกเป็นผลให้เห็นแสงออโรราได้ง่ายขึ้นในประเทศที่อยู่แถบละติจูดสูงๆ
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวัง จากกรมชลประทาน
  • พายุไซโคลน Hikaa เคลื่อนตัวจากทะเลอาหรับ ขึ้นฝั่งประเทศโอมานเมื่อคืนนี้ เครดิต Weather Events [wpvp_embed type=youtube video_code=ftYLyDk6XMU width=560 height=315]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 24 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:00 สภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปากีสถาน ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 19+ ราย (ยอดยังไม่นิ่ง บาดเจ็บ 300+ ราย  [wpvp_embed type=youtube video_code=0pm-BZCqRD0 width=560 height=315]
  • 20:00 รายชื่อเขื่อนที่มี % ของปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือน้อยในระดับวิกฤต และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บเก็กมากระดับวิกฤตเวลานี้
  • 19:00 ทั่วโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 6 ลูก ได้แก่ พายุไซโคลน  “Hikaa” ในทะเลอาหรับ พายุโซนร้อน “คาเรน” “เจอรี” และ “ลอเรนโซ” ในมหาสมุทรแอตแลนติก พายุโซนร้อน “กิโก” พายุดีเปรสชัน “มาริโอ” ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก
  • 18:01 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.3 (Mw) ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 73.80°E 33.04°N จุดศูนย์กลางใกล้กับเมือง “มีร์ปุระ” (Mirpur) ประเทศ​ปากีสถาน (ทาง EMSC วัดขนาดได้ 5.9) 
  • 13:45 พายุไซโคน Hikka ในทะเลอาหรับ เคลื่อนเข้าใกล้ฝั่งประเทศโอมาน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางราว 120-130 กม./ชม คาดวา่าจะขึ้นฝั่งภายในคืนนี้
  • 10:00 ภาพระดับน้ำใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี วันนี้ via 
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 07:00 สรุปสถานการณ์น้ำวันนี้จากกรมชลประทาน
  • 04:00 พายุโซนร้อน 03A ในทะเลอาหรับ ได้ชื่อเรียกว่า “Hikaa” ล่าสุดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลน ความเร็วลมประมาณ 130 กท./ชม ทิศทางมีแนวโน้มมุ่งหน้าไปขึ้นฝั่งประเทศโอมาน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:30 เส้นทางไต้ฝุ่นฟรานซิสโกจากสำนักอุตุฯ 6 ประเทศปรับปรุงล่าสุด พายุจะเบี่ยงห่างออกจากโตเกียว เคลื่อนที่ซ้ำรอยไต้ฝุ่นวิภา  
  • 15:00 ศูนย์กลางพายุของไต้ฝุ่นฟรานซิสโก ขณะนี้อยู่แถวเกาะโอกินาวา
  • 13:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงให้เห็นขนาดและตำแหน่งล่าสุดของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นเลกิมา และไต้ฝุ่นฟรานซิโก (ลูกหลังยังมีแนวโน้มส่งผลต่อญี่ปุ่นใน 1-3 วันนี้)
  • 04:32 ภาพดาวเทียมของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นเลกีมา ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค ที่ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางกว่า 260 กม/ชม พายุไม่มีเส้นทางขึ้นฝั่งที่ประเทศใด
  • 04:00 ตำแหน่งและขนาดพายุหมุนเขตร้อนทั้ง 4 ลูกทั่วโลกเวลานี้ 
  • 00:00 เส้นทางพายุไต้ฝุ่นฟรานซิสโกประเมินล่าสุดจาดสำนักอุตุ 6 ประเทศ พายุจะไม่ผ่านโตเกียวโดยตรงfrancisco20131023-0000
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)