รายงานภัยพิบัติ 19 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:30 กลุ่มเมฆฝนยังคงก่อตัวสูงในเขตบางนา จากนั้นกระจายตัวไปทางตะวันตก เกิดน้ำท่วมขังในถนนหลายสาย มีไฟฟ้าดับในหลายพืนที่ของกรุงเทพฯตอนล่าง
  • 19:40 เรดาร์หนองแขมแสดงกลุ่มฝนที่ก่อตัวขึ้นบริเวณเขตบางนาและประเวศของกรุงเทพฯเวลานี้ กดดูภาพเคลื่อนไหวทำให้มีฝนปานกลางถึงหนักปกคลุมตอนล่างของกรุงเทพฯไปจนถึงสมุทรปราการ
  • 15:00 ฝุ่นควันจากการเผาป่าในอินโดฯปกคลุมสิงคโปร์อย่างหนาแน่นในวันนี้ via @thandojo
  • 14:06 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 6.1 (Mw) ลึก​ 619 กม. พิกัด​ 111.86°E  6.14°S ใน​ทะเล​ทางเหนือ​ของ​เกาะ​ชวา
  • 13:00 พายุหมายเลข 17 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือพายุโซนร้อน “ตาปะฮ์” Tapah ความเร็วลม กศก. 35 น้อต ความกดอากาศ 994 hPa มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าทะเลจีนตะวันออกในวันพรุ่งนี้ และเคลื่อนเข้าทะเลญี่ปุน่ในวันถัดไป
  • 12:00 ระดับน้ำที่ท่วมบ้านทัพไทย อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครดิตในภาพ
  • 09:00  สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 10.21 เมตร ปริมาณ 4,125 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 3.21 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 1,825 m³/วินาที
  • 07:42 เรดาร์อมก๋อย แสดงกลุ่มฝนที่กำลังตกอยู่ในภาคเหนือเวลานี้
  • 07:30 น้ำท่วมขังเมืองเชียงใหม่จากฝนหนักเช้านี้ via 
  • 07:15 สภาพความเสียหายจากลมกระโชกแรงฝนฟ้าคะนองเมื่อคืนนี้ที่บางบัวทอง นนทบุรี via 
  • 07:00 พายุดีเปรสชัน 18W (ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 95W) ทางใต้ของโอกินาวา มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุโซนร้อน ถ้าไม่มีการแซงคิวจากพายุลูกอื่น พายุนี้จะได้ใช้ขื่อ “ตาปะฮ์” Tapah ตั้งโดยมาเลเซีย หมายถึงปลาน้ำจืดหลายชนิดในสกุลปลาค้าว เส้นทางพายุมุ่งเหนือเช้าทะเลญี่ปุ่น
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 18 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:30 ฝนฟ้าคะนองเป็นแนวยาวตั้งแต่จ.นนทบุรี เขตหลักสี่ บางเขน บางซื่อ จตุจักร ลาดพร้าว พญาไท ราชเทวี ดินแดง ห้วยขวาง บางกะปิ สวนหลวง วัฒนา คลองเตย พระโขนง บางนา และตอนล่างเขตทุ่งครุ บางขุนเทียน ต่อเนื่องจ.สมุทรปราการ เคลื่อนตัวทิศตะวันตก
  • 20:00 กลุ่มฝนฟ้าคะนองเคลื่อนตัวเข้ามาตกในกรุงเทพฯและปริมณฑลจากด้านตะวันออก (กดดูภาพเคลื่อนไหว)
  • 19:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 99W ในทะเลจีนใต้ เคลื่อนตัวย้อนศรข้ามเกาะลูซอนไปลงทะเลฟิลิปปินส์ หากพัฒนาเป็นดีเปรสชัน แนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นเหนือไปทางญี่ปุ่น
  • 19:00 แผนที่ลมที่ความสูง 1500 เมตร (850 hPa) แสดงหย่อมความกดอากาศต่ำ L ในกัมพูชา ต้นเหตุน้ำท่วมเกาะช้างและฝนหนักในภาคตะวันออกที่ยังไม่ยอมสลายตัว ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่เริ่มพัดต่อเนื่องเข้ามา และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงในภาคใต้ที่ยังส่งผลให้มีฝนและคลื่นสูง
  • 07:00 JMA ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำ 95W ทางตะวันออกของไต้หวันทางเหนือของทะเลฟิลิปปินส์เป็นพายุดีเปรสชัน ความร็วลม กศก 30 น็อต แทบไม่เคลื่อนตัว
  • 07:000 พายุโซนร้อน Imelda (11L) ในอ่าวเม็กซิโก ขึ้นฝั่งที่ฮูสตัน เวลานี้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว
  • 07:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 10.43 เมตร ปริมาณ 4,455 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 3.43 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 2,155 m³/วินาที
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 06:30 สนามบินสุวรรณภูมิ 25°C เชียงใหม่ 24°C มีฝน ลำปาง 23°C เลย 23°C น่าน 22°C
  • 01:00 ตามข้อมูลจาก TSR โลกเวลานี้มีพายุก่อตัวใหม่ 4 ลูกคือ พายุโซนร้อน Mario และ Lorena ทางตะวันออกของแปซิฟิก พายุโซนร้อน Imelda ในอ่าวเม็กซิโก ดีเปรสชัน 10L ตอนกลางของแอตแลนติก รวมพายุเดิม 2 ลูกคือเฮอริเคน Humnberto ชายฝั่งตะวันออกสหรัฐฯและพายุโซนร้อน Kiko ทางตะวันออกของแปซิฟิก เป็นทั้งสิ้น 6 ลูก
  • มีการติดตั้งเครื่องเร่งความเร็วน้ำในแม่น้ำมูลบริเวณใต้สะพานพิบูลมังสาหาร และใต้สะพานข้ามแม่น้ำมูล แก่งสะพือ จำนวนหลายตัวเพื่อเร่งระบายน้ำในจังหวัดอุบลฯ
  • กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ เผย พบการติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกันในสุกรรายที่ 2 ที่ฟาร์มสุกรในเมืองยอนชอน ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเกาหลีเหนือ อีกทั้งอยู่ห่างจากเมืองปาจู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการติดเชื้อรายแรก 48 กม.ขณะที่ จนท.จะฆ่าทำลายสุกร 4,700 ตัว เพื่อควบคุมการติดเชื้อ
  • ฝนหนักถล่มเมืองออก้า เมืองหลวงของรัฐอานัมบรา ทางใต้ของไนจีเรียยวานนี้ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เสียชีวิต 1 ราย [ที่มาของข่าว]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 9 เมษายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:50 ยอดทางการผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหวอิหร่านล่าสุด  37 ศพ เจ็บ 850 ราย บ้านพัง 700 หลัง
  • 18.52 แผ่นดินไหวขนาด 6.3 บริเวณ ทางใต้ของ ประเทศอิหร่าน ที่ความลึก 10.00 กม.ตาย 12 31 ราย บาดเจ็บ 500 800 ราย
  • 17:00 ซินหัวรายงานจีนพบชายวัย 83 ปี เสียชีวิตเป็นรายที่ 8 จากไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 รวมป่วย 24 คน
  • 14:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุโซนร้อนวิคตอเรีย VICTORIA ทางตะวันตกของออสเตรเลีย 
  • 10:00 พายุโซนร้อน 21S ในมหาสมุทรอืนเดียใต้ ได้ชื่อเรียกแล้วว่า IMELDA
  • 06:00 มีหมอกลง ในกรุงเทพ
  • 00:30 เกิดการปะทุของ  ‘Akhtarma-Pashali’ ภูเขาไฟโคลนลูกใหญ่ที่สุดในอาเซอไบจัน
  • กรมชลฯรายงานฝนสูงสุดรายภาค ที่ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 4.6 มม. ภาคอื่นๆไม่มีรายงานฝนตก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • กราฟแผ่นดินไหวจากเครื่อข่าย GSN กรณีแผ่นดินไหวขนาด 6.3 อิหร่านเมื่อ 18:52 เวลาไทย สถานี PAB ในเสปน สถานี GTBY หาดกวนตานาโม-คิวบา สถานี CHTO เชียงใหม่ และรอบนี้  สถานี CMMT ของกรมอุตุจับสัญาณได้แล้ว
  • จากแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ที่นอกฝั่งเกาะชวา ตอน 01:53 ประเทศอินโดฯ นั้น สถานีแผ่นดินไหวของกรมอุตุไม่สามารถจับสัญญาณได้เลยแม้แต่สถานีเดียว ดังรูปคลื่นของสถานี CMMT เชียงใหม่ หรือแม้แต่สถานีเขื่อนบางวาดภูเก็ต PKDT ที่อยู่ใกล้เหตุการณ์มากๆ ต่างจากสถานีสากลของ GSN เช่น CHTO ที่เชียงใหม่ สถานี CTAO ของออสเตรเลีย TATO ในไต้หวัน สถานี ULN ในประเทศมองโกเลีย ซึ่งจับสัญญาณได้ชัดเจนแม้อยู่ไกลกว่ามาก โดยเฉพาะสถานี FURI ที่อยู่ไกลถึงเอธิโอเปีย

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)