รายงานภัยพิบัติ 13 พฤศจิากยน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:28 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.9 (mb) ลึก​ 48 กม. พิกัด​ 121.76°E 16.23°N เกาะ​ลู​ซอน​ ประเทศ​ฟิลิปปินส์
  • 20:10 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 ลึก​ 60 กม. พิกัด​ 93.28°E 25.99°N ประเทศ​อินเดีย
  • 13:00 แบบประเมินเส้นทาง​พายุจากสำนัก​อุตุนิยม​ 6 ประเทศ​ ส่วนใหญ่เห็นว่า พายุโซนร้อน  “คัลแมกี” จะเคลือนไปทางตอนเหนือของเกาะลูซอน
  • 10:00 ทางอุตุนิยมญี่ปุ่นหรือ JMA ยกระดับพายุดีเปรสชัน 27W ในทะเลฟิลิปปินส์เป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า “คัลแมกี” 갈매기 Kalmaegi ตั้งโดยเกาหลีเหนือ หมายถึงนกนางนวล หรือพายุหมายเลข 26 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือ “ราโมน” ตามวิธีเรียกแบบฟิลิปปินส์ พิกัดเวลานี้อยู่ที่ N13°05′ E128°35′ ความเร็วลม 35 น็อต ความกดอากาศ 1000 hPa แนวโน้มเคลื่อนตัวช้าๆไปขึ้นฝั่งเกาะลูซอน
  • 07:09 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 ลึก​ 183 กม. พิกัด​ 70.46°W 15.46°S ประเทศ​เปรู
  • 07:04 ภาพดาวเทียมจาก TWC แสดงขนาด ลักษณะ และตำแหน่งของพายุดีเปรสชัน 27W หรือ “ราโมน” ตามวิธีเรียกของฟิลิปปินส์ รวมทั้งพายุโซนร้อน  “เฟิงเฉิน”  Fengshen ทางตะวันออกของเกาะกวม
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:00 อุณหภูมิค่ำสุดบนยอดดอยอินทนนท์ 10°C
  • 01:00 WMO ยกระดับ​หย่อมความกดอากาศต่ำ ​ 91W เป็น​พายุ​ดีเปรสชัน​ 27W (ทางฟิลิปปินส์ให้ชื่อดีเปรสชั่นลูกนี้ว่า “ราโมน”) ศูนย์กลางพายุเวลานี้​อยู่ที่พิกัด 12.1°N 130.4°E ความเร็ว​ลม​ 25 น็อต เคลื่อนตัวด้วยความเร็ว​ต่ำไปทางเกาะลูซอน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ​ 12 พฤศจิกายน​ 2562​

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:42 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.9 (Mw) ลึก​ 23 กม. พิกัด​ 97.40°E 0.81°N นอก​ชายฝั่ง​ทาง​ตะวันตก​ของ​เกาะ​สุมาตรา 
  • 16:00 อุตุนิยมฟิลิปปินส์หรือ PAGASA ประกาศเตือนภัยหมายเลข 1 สำหรับพิ้นที่ซามาร์ตะวันออก รับมือพายุดีเปรสชัน “ราโมน” (ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W) ที่มีพิกัดเวลานี้อยู่ที่ N12°00′  E131°30′ ความเร็วลม 30 น็อต ความกดอากาศ 1002 hPa เคลื่อนไปทางตะวันตกอย่างช้าๆ
  • 13:00 พายุดีเปรสชัน 26W ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไมโครนีเชีย ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า “เฟิงเฉิน” 風神 Fengshen ตั้งโดยประเทศจีน หมายถึงเทพแห่งลม ความกดอากาศ 1002 hPa ความเร็วลม 35 น็อต ยังไม่มีทิศทางขึ้นฝั่งประเทศใด
  • 07:00 PAGASA ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในทะเลฟิลิปปินส์​เป็นพายุดีเปรสชัน ให้ชื่อท้องถิ่นว่า “ราโมน” Ramon​ คาดการณ์​เส้นทางอาจมุ่งมาทางเกาะลูซอน
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมาขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 06:00 ยอดดอย​อิน​ทน​นท์ อุณหภูมิ​ 4°C
  • 04:00 JMA ประกาศการก่อตัวของพายุดีเปรสชันใหม่ 2 ลูก คือ พายุดีเปรสชัน 26W ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไมโครนีเชีย และพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลฟิลิปปินส์ ทั้ง 2 ลูกเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก
  • 04:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 100 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=173 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนแดง ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถานเป็นเวลานาน 
  • 01:00 TSR ประกาศการก่อตัวของ พายุดีเปรสชัน 26W ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไมโครนีเชีย  มีแนวโน้มเป็นไต้ฝุ่นลุกต่อไป 
  • 00:00 พายุ “นากรี” “บูลบูล” และ Maha สลายตัวแล้ว
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 11 พฤศจิกายน​ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:52 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.9 (Mw) ลึก 10 กม.พิกัด 4.63°E 44.54°N ประเทศฝรั่งเศส
  • 16:02 ภาพดาวเทียมจาก TWC แสดงให้เห็นการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 91W ในทะเลฟิลิปปินส์ และกลุ่มฝนที่เหลือจากการสลายตัวของพายุ “นากรี” เคลื่อนลงทะเลไปทางปลายแหลมญวณ
  • 12:00 ออสเตรเลียต้องประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกจากเหตุไฟป่ารุนแรงวิกฤตหนัก มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 ราย บ้านเรือนถูกทำลายไปกว่า 150 หลัง 
  • 07:00 พายโซนร้อน “นากรี” อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้วบนฝั่งเวียดนาม ความกดอากาศอยู่ที่ 1002 hPa แนวโน้มสลายตัว
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:20 สนามบิน​สุวรรณภูมิ​ 22°C เชียงราย 20°C เชียงใหม่​ 21°C ลำปาง​ 20°C พะเยา 20°C แม่ฮ่องสอน 22°C โคราช 20°C น่าน 20°C สุรินทร์​ 20°C ร้อยเอ็ด​ 19°C อุบล​ 21°C อุดร 18°C มุกดาหาร​ 20°C หนองคาย​ 20°C เลย 17°C นครพนม​ 19°C พัทยา 21°C ภูเก็ต​ 24°C ปัตตานี 25°C หัวหิน​ 23°C
  • 06:00 ดัชนี​คุณภาพ​อากาศ​หรือ​ AQI ของ​กรุงเทพฯ​ เวลานี้​ อยู่ใน​โซน​สีแดง ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ขึ้นไปเมื่อใช้ชีวิตนอกอาคารเป็นเวลานาน
  •  04:00 พายุ​โซน​ร้อน​ “นา​กรี” เคลื่อนตัว​ขึ้น​ฝั่ง​เวียดนาม​แล้ว​ที่จังหวัดฟูเอี้ยน (Phu Yen) ​ พิกัดล่าสุด​อยู่​ที่​ N12°55′ E109°10 ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 35 น็อต ค่า​ความ​กด​อากาศ​ 998 hPa แนวโน้มอ่อนกำลัง​ลง​เป็น​ดีเปรสชันอย่างรวดเร็ว
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 9 พฤศจิกายน​ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 โมเดลประเมินเส้นทางพายุโซนร้อน “นากรี” จากสำนักอุตุ  6 ประเทศ ทาง JTWC และ HKO ที่เห็นว่าพายุจะเลยเข้ามาสลายตัวในเขตไทย ส่วนอีก 4 สำนักเห็นว่าพายุจะสลายตัวในลาวและกัมพูชา
  • 21:16 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.6 ลึก 22 กม.พิกัด  96.77°E 2.08°N นอกชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา
  • 16:00 อุตุฯเวียดนามจับตาพายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” มีพิกัดเวลานี้อยู่ที่ 12.5°N 113.5°E และคาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดบินห์ดินห์ จนถึงจังหวัดนินห์ถ่วนช่วงเช้ามืดของวันที่ 11 พ.ย.62 ที่จะถึงนี้ จากนั้นพายุจะอ่อนกำลังลงและสลายตัวบริเวณพรมแดนลาว โดยให้ประชาชนระวังการเกิดฝนตกหนักมาก น้ำท่วมฉับพลันและคลื่นสตอร์มเสิร์จ
  • 07:00 ไต้ฝุ่น “นากรี” ที่พิกัด N12°25′ E114°20′ ในทะเลจีนใต้ อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุลดลงมาอยู่ที่ 60 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa ทิศทางพายุเคลือนตัวทางตะวันตกด้วยความเร็ว 15 กม./ชม ไปทางฝั่งเวียดนาม
  • 07:00 พายุดีเปรสชัน “หะลอง” ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก สลายตัวแล้ว
  • 07:00 หย่อมความกดอากาศต่ำจากการสลายตัวของพายุ Maha ในทะเลอาหรับ เข้าประชิดฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียเวลานี้
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:30 กทม. 25°C เชียงราย 22°C เชียงใหม่​ 23°C ลำปาง​ 21°C พะเยา 22°C แม่ฮ่องสอน 23°C โคราช 22°C น่าน 22°C สุรินทร์​ 18°C ร้อยเอ็ด​ 20°C อุบล​ 19°C มุกดาหาร​ 21°C อุดรฯ 20°C หนองคาย​ 20°C เลย 19°C นครพนม​ 20°C พิษณุโลก​ 22°C
  • 06:21 ภูเขาไฟเมราปี ในชวากลาง ของอินโดนีเซีย ปะทุเขม่าสูง 1,500 เมตร ช่วง  ที่ผ่านมาเช้านี้ via 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 8 พฤศจิกายน​ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:00 โมเดลเส้นทางพายุไต้ฝุ่น “นากรี” จากสำนักอุตุ 6 ประเทศ มี 3 สำนักเห็นว่าพายุจะสลายตัวในเวียดนาม ส่วนทาง JTWC เห็นว่าพายุจะสลายตัวในลาว CMA ของจีนเห็นว่าจะสลายตัวในกัมพูชาส่วน HKO ฮ่องกงเห็นว่าพายุจะมาสลายตัวในเขตไทย
  • 13:00 พายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” ในทะเลจีนใต้ ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้วในเวลานี้ ความเร็วลม 120 กม./ชม.  ความกดอากาศ 975 hPa เคลื่อนตัวช้ามากไปทางตะวันตก
  • 12:00 เกิดพายุ “นาคเล่นน้ำ” ในทะเลนอกชายฝั่งหาดกะรน เครดิตภาพ เสี่ยเบิ้ม กะรน
  • 07:00 พายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” เริ่มเคลื่อ​นที่ไปทางทิศใต้จากนั้นเบี่ยงไปทางตะวันตก​อย่าง​ช้าๆ มีพิกัดล่าสุดเวลานี้อยู่ที่ N12°25′ E116°30′ ในทะเลจีนใต้ ความเร็วลม กศก. 60 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa 
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 04:00 พายุดีเปรสชัน Maha ในทะเลอาหรับสลายตัวแล้ว และทาง TSR ถือว่าพายุดีเปรสชัน Bulbul ในอ่าวเบงกอลยังมีสภาพเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ  ดังนั้นเวลานี้ทั่วโลกเหลือพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูกคือพายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” ในทะเลจีนใต้ และพายุไต้ฝุ่น “หะลอง” ในแปซิฟิกตะวันตก
  • 04:00 ศูนย์กลางพายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” ในทะเลจีนใต้เริ่มเคลื่อนตัวมาทางทิศใต้อย่างช้าๆ พิกัดเวลานี้อยู่ที่ N12°35′ E116°50′ ความเร็วลม 60 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa
  • 01:00 โมเดลเส้นทางพายุจากสำนักอุตุ 6 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเห็นว่าพายุ “นากรี” จะมาสลายตัวในลาว มีเพียง JTWC ที่เห็นว่าพายุจะมาสลายตัวในเขตไทย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)
รายชื่อดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกใน 3 วันนี้ (LD คือระยะห่างโลก-ดวงจันทร์)

ชื่อดาวเคราะห์น้อย
วันที่
ระยะห่าง
ความเร็ว (กม./วิ)
ขนาด (เมตร)
2019 VM1
2019-Nov-08
11.3 LD
6.1
19
2019 UM12
2019-Nov-08
1.3 LD
13.6
41
2019 UR4
2019-Nov-08
7.3 LD
4.5
15
2019 VE2
2019-Nov-09
7.1 LD
5
12
2019 VB5
2019-Nov-09
0.4 LD
6.2
2
2019 VP3
2019-Nov-09
6.5 LD
9.4
9
2019 VF5
2019-Nov-09
0.5 LD
18
11
2019 VK4
2019-Nov-10
10.8 LD
13.7
16
2019 VT3
2019-Nov-10
9.5 LD
5.3
8
2019 UB7
2019-Nov-10
13.7 LD
17.5
56

ข้อมูลจาก spaceweather.com

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 7 พฤศจิกายน​ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 พายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” แทบไม่เคลื่อนที่ มีพิกัดล่าสุดเวลานี้อยู่ที่ N13°25′ E117°00′ ในทะเลจีนใต้ ทวีกำลังแรงขึ้น ความเร็วลม กศก. 60 น็อต ความกดอากาศ 980 hPa 
  • 12:00 ภาพดาวเทียมของพายุโซนร้อน “บูลบูล” (Bulbul) ในอ่าวเบงกอล (อดีตคือพายุ “มัตโม” ที่ผ่านไทยไป) กำลังเคลื่อนขึ้นเหนือ ไปทางบังคลาเทศ
  • 10:00  โมเดลประเมินเส้นทางพายุจากสำนักอุตุฯ 6 ประเทศ  สำหรับพายุโซนร้อน “นากรี” เห็นต่างกันไปเล็กน้อยว่าพายุจะสลายตัวในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
  • 07:00 พายุโซนร้อนกำลังแรง “นากรี” มีพิกัดล่าสุดเวลานี้อยู่ที่ N13°25′ E117°05′ ในทะเลจีนใต้ ความเร็วลม กศก. 50 น็อต ความกดอากาศ 990 hPa เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างช้าๆ แนวโน้มจะหันกลับไปทางตะวันตกในวันพรุ่งนี้ จากนั้นจะตรงไปขึ้นฝั่งเวียดนาม
  • 07:00 ซูเปอร์พายุไต้ฝุ่น “หะล็อง” Halong อ่อนกำลังลงเทียบเท่าระดับ 4 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พิกัดล่าสุดอยูที่ N23°00′ E151°10′ ทางตะวันตกของมหาสมทุรแปวซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะมาเรียนา ความเร็วลม 95 น็อต ความกดอากาศ 940 hPa ไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:00 ยอดดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เช้านี้ อุณหภูมิ 10°C 
  • 04:58 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.8 ลึก 235 กม. พิกัด 66.37°W 22.93°S อาร์เจนตินา
  • 04:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 63 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=154 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนแดง  ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เมื่อออกนอกเคหสถานเป็นเวลานาน 
  • 01:00 พายุโซนร้อน Maha ในทะเลอาหรับ อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน ศูนย์กลางพายุอยู่ที่พิกัด 19.3 N 68.2 E ความเร็วลม 30 น็อต แนวโน้มอ่อนตัวลงต่อเนื่องจนสลายตัวโดยไม่ขึ้นฝั่ง
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหววัดระนอง (RNTT)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 26 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:00 มีผู้เสียชีวิต 20+ ราย (ยอดยังไม่นิ่ง) จากแผ่นดินไหว 6.4 (Mw) บริเวณเกาะอัมบน แถบเกาะเซรัม ของอินโดนีเซียช่วงเช้าที่ผ่านมา via ข่าว อัลจาเซรา
  • 09:00 สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวังจากกรมชลประทาน
  • 08:00 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว 6.4 (Mw) บริเวณเกาะอัมบน แถบเกาะเซรัม ของอินโดนีเซียช่วงเช้าที่ผ่านมา

  • 07:30 ม่อนแจ่ม ต.โป่งแยง อ.แม่ริม เชียงใหม 12°C via 
  • 07:00 ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 ในกรุงเทพฯ เวลานี้ มีค่า 45 µg/m³ ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI=122 เกินค่ามาตรฐาน อยู่ในโซนสีส้ม ส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยทางเดินหายใจ เด็ก และคนชรา ส่งผลน้อยต่อบุคคลทั่วไป
  • 07:00 เมืองที่มีอุณหภูมิสูงสุดในรอบ 24 ชั่วโมงจากทั่วโลก
    Failakah Island (Kuwait) 47.6°C
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:46 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.4 (Mw) ลึก 10 กม.พิกัด 128.45°E 3.56°S บนเกาะอัมบน-ฮารูกุ แถบเกาะเซรัม ประเทศอินโดนีเซีย
  • 04:00 เวลานี้ทั่วโลกมีพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูก ได้แก่พายุดีเปรชัน “กิโก” ทางตะวันออกของแปซิฟิก พายุดีเปรชัน “เจอรี” พายุโซนร้อน “คาเรน” และ พายุเฮอริเคน “ลอเรนโซ” ในแอตแลนติก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 25 กันยายน 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 รายชื่อเขื่อนที่มี % ของปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือน้อยในระดับวิกฤต และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำเก็บเก็กมากระดับวิกฤตเวลานี้ 
  • 16:00 พายุดีเปรสชัน “มาริโอ” สลายตัวแล้ว ทั่วโลกเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 5 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อน  “Hikaa” บนฝั่งประเทศโอมานที่กำลังจะสลายตัว พายุโซนร้อน “คาเรน” “เจอรี” และ “ลอเรนโซ” ในมหาสมุทรแอตแลนติก พายุดีเปรสชัน “กิโก” ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกที่กำลังจะสลายตัว
  • 15:28 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.4 ลึก 50 กม. พิกัด 39.3°N 142.1°E ในทะเลนอกชายฝั่งจังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 3 ตามมาตราชินโดะ
  • 15:00 สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อุบลราชธานี ระดับตลิ่งปกติ 7 เมตร รับน้ำได้ปริมาณ 2,300 m³/วินาที เวลานี้ระดับน้ำท่วมอยู่ที่ 9.31 เมตร ปริมาณ 3,662 m³/วินาที เท่ากับล้นตลิ่ง 2.31 เมตร ปริมาณเกินกว่าที่ลำน้ำจะรับได้ 1,362 m³/วินาที (ภาพและข้อมูลจากกรมชลประทาน)
  • 13:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุฯญี่ปุ่นหรือ JMA ได้ยกระดับหย่อมความกาอากาศต่ำ 91W ทางตะวันออกของเกาะกวมขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันลูกใหม่ เส้นทางมุ่งตะวันตก
  • 10:00 พายุไซโคลน Hikaa อ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อนหลังขึ้นฝั่งประเทศโอมานเมื่อคืนนี้
  • 08:51 เกิดหลุมโคโรนาขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์ในด้านที่หันตรงมาทางโลก ลมสุริยะในช่วงหลายวันจากนี้จะมีความเร็วเพิ่มขึ้น อาจเกิดพายุแม่เหล็กโลกเป็นผลให้เห็นแสงออโรราได้ง่ายขึ้นในประเทศที่อยู่แถบละติจูดสูงๆ
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • สรุปสถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวัง จากกรมชลประทาน
  • พายุไซโคลน Hikaa เคลื่อนตัวจากทะเลอาหรับ ขึ้นฝั่งประเทศโอมานเมื่อคืนนี้ เครดิต Weather Events [wpvp_embed type=youtube video_code=ftYLyDk6XMU width=560 height=315]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 3 กันยายน 62

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:15 เรดาร์ TMD แสดงกลุ่มฝนที่ตกใน จ.อุบลฯและจังหวัดข้างเคียงเวลานี้
  • 19:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 94W ใกล้เกาะไหหลำ เป็นตัวรบกวนการเคลื่อนที่ของพายุดีเปรสชัน “คาจิกิ”
  • 19:00 พายุ​โซน​ร้อน​ “คาจิกิ” ในทะเล​เวียดนาม​ ศูนย์​กลาง​ล่าสุด​ อยู่ที่พิกัด N17°00′ E109°00′ อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นแล้วในเวลานี้ แนวโน้มอ่อนกำลังลงต่อเนื่อง คาดว่าจะสลายตัวใน 72 ชั่วโมงข้างหน้า 
  • 14:00 เรดาร์สำนักระบายน้ำ แสดงกลุ่มฝนที่เคลื่อนตัวจากตะวันตกเฉียงเหนือเข้ามาตกใน จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพและปริมณฑล 
  • 13:00 โมเดลพายุจาก TSR แสดงให้เห็นศูนย์กลางพายุโซนร้อน  “คาจิกิ” かじき เคลื่อนตัวจากฝั่งเวียดนามกลับลงทะเลเช่นเดียวกับโมเดลของ JMA 
  • 13:00 พายุโซนร้อน  “คาจิกิ” かじき เคลื่อนตัวจากฝั่งเวียดนามกลับลงทะเลแล้วในเวลานี้  โดยศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E109°00′ N16°30′ ความเร็วลม 35 น็อต ความกดอากาศ 996 hPa JMA ประเมินว่าหลังจากนี้พายุจะเคลื่อนตัวตรงไปทางช่องแคบไต้หวัน
  • 13:00 พบการก่อตัวใหม่ของพายุดีเปรสชัน 07L ในอ่าวเม็กซิโก แนวโน้มจะเคลื่อนไปทางตะวันตกขึ้นฝั่งประเทศเม็กซิโกใน 45 ชั่วโมงจากนี้ 
  • 12:00 รายชื่อเขื่อนที่มี % ของปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือน้อยในระดับวิกฤตเวลานี้ 
  • 09:12 ฝนไม่ตกแต่น้ำเก่ายังเหลืออยู่มาก CCTV ที่สะพานพระแม่ย่าแสดงระดับน้ำในแม่น้ำยม สุโขทัย เพิ่มสูง แนวโน้มล้นตลิ่ง ประชาชนริมน้ำควรเก็บของขึ้นสูง
  • 08:00 โมเดลเส้นทางพายุโซนร้อน “คาจิกิ” かじき จากสำนักอุตุนิยมฯ 6 ประเทศ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า พายุจะเคลื่อนตัวย้อนกลับออกจากเวียดนามไปขึ้นฝั่งทางมณฑลกวางตุ้งของจีน
  • 07:30 บ้านท่าเมือง ต.ท่าเมือง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี เบื้องต้นระดับขึ้นต่อเนื่อง ภาพจากไลน์กลุ่มแจ้งเตือนสาธารณภัย
  • 07:15 มีฝนตกใน จ.อุบลฯ และบางอำเภอในจังหวัดรอบๆ มาอย่างต่อเนื่องนับจากวานนี้ 
  • 07:00 ภาพแผนที่ลมระดับผิวพิ้น แสดงตำแหน่งพายุโซนร้อน “คาจิกิ” และ “เหล่งเหลง” เวลานี้ ลักษณะของคาจิกิทอดยาวออกไปเหมือนจะเกิดการรวมตัวแบบฟูจิวารากับหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดใหม่ในทะเลจีนใต้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พายุลูกนี้ย้อนกลับทิศทาง
  • 07:00 โมเดลจาก TSR ประเมินว่า พายุ “คาจิกิ” จะเลี้ยวกลับเช่นเดียวกับโมเดลของ JMA
  • 07:00 พายุโซนร้อน  “คาจิกิ” かじき ขึ้นฝั่งเวียดนามช่วงสองชั่วโมงที่ผ่านมา ล่าสุด เคลื่อนเข้า สปป ลาว โดยศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E107°05′ N15°55′ ในแขวงเซกอง JMA ประเมินว่าหลังจากนี้พายุเคลื่อนตัวย้อนกลับออกไปในทะเลจีนใต้
  • 07:00 พายุโซนร้อน “เหล่งเหลง” กำลังเคลื่อนตัวออกจากทะเลฟิลิปปินส์ เส้นทางมีแนวโน้มจะผ่านทะเลจีนตะวันออกไปขึ้นฝั่งเกาหลีโดยจะทวีความรุนแรงไปถึงระดับไต้ฝุ่น
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 04:00 ศูนย์กลางพายุดีเปรสขัน 16W ในทะเลเวียดนาม เคลื่อนตัวเลียบชายฝั่งโดยไม่ขึ้นฝั่ง ล่าสุดทวีความเร็วลมเป็น 35 น็อต ความกดอากาศ 996 hPa กลายเป็นพายุโซนร้อน ได้ใช้ชื่อเรียกว่า “คาจิกิ” Kajiki かじき ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น หมายถึงปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ปลากระโทง ล่าสุดศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E107°50′ N16°25′ ประชิดชายฝั่งเวียดนาม หลังจากนี้คาดว่าจะเคลื่อนตัวย้อนกลับออกไปในทะเลจีนใต้มุ่งไปทางไต้หวัน
  • 01:00 ซูเปอร์เฮอริเคน Dorian ใกล้ชายฝั่งฟลอริดา อ่อนกำลังลงเป็นเฮอริเคนระดับ 4 ความเร็วลม 231 กม./ชม คาดว่าจะเคลื่อนตัวเลียบชายฝั่งะวันออกสหรัฐฯไปทางเหนือโดยไม่ขึ้นฝั่ง มีรายงานมีผู้เสียชีวิตรายแรกเป็นเด็กในประเทศบาฮามาส
  • เฮอริเคน ‘ดอเรียน’ ถล่มเกาะบาฮามาส เสียชีวิตแล้ว 5 ราย [ข่าว VOA]
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 2 กันยายน 62

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:50 WMO ให้โค้ดเนมพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลเวียดนามว่า 16W และประเมินเส้นทางว่าถือกำเนิดที่ทะเลเวียดนามไม่ได้ก่อตัวจากทะเลจีนใต้ รวมทั้งจะขึ้นฝั่งเวียดนามในไม่กี่ชั่วโมงจากนี้ ซึ่งแตกต่างจาก JMA มาก
  • 22:00 พายุดีเปรสขันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ความเร็วลม 30 น็อต  ล่าสุดศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E109°25′ N16°55′ .ในทะเลเวียดนาม เริ่มหมุนตัวหันออกจากฝั่ง 
  • 22:00 กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมกรุงเทพและปริมณฑลจากเหนือลงใต้
  • 19:00 ปรากฏณ์หย่อมความกดอากาศต่ำนิรนามขึ้นในทะเลจีนใต้ อาจเป็นตัวแปรสำคัญทำให้พายุดีเปรสชันหันหัวออกจากเวียดนาม ในลักษณะคล้ายปรากฏการณ์ฟูจิวารา
  • 19:00 พายุดีเปรสขันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W เคลื่อนจากเกาะไหหลำลงทะเลเวียดนาม ล่าสุดศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E108°10′ N18°10′ ความเร็วลม 30 น็อต JMA ประเมินว่า หลังจากนี้พายุจะหมุนวนอยู่ในทะเลเวียดนามโดยไม่ขึ้นฝั่ง
  • 13:15 เรดาร์ TMD แสดงกลุ่มฝนที่ตกใจจังหวัดอุบลฯ และบางอำเภอในจังหวัดข้างเคียงเวลานี้ 
  • 13:00 พายุดีเปรสขันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ขึ้นฝั่งเกาะไหหลำแล้วเมื่อก่อนเที่ยงที่่ผ่านมา ล่าสุดศูนย์กลางอยู่ที่พิกัด E109°20′ N18°25′ บนเกาะไหหลำ ความเร็วลม 30 น็อต JMA ประเมินว่า หลังจากนี้พายุจะหมุนวนอยู่ในทะเลเวียดนามโดยไม่ขึ้นฝั่ง
  • 12:00 โมเดลเส้นทางพายุจากสำนักอุตุฯ 6 ประเทศ ส่วนใหญ่เห็นคล้ายกันว่าพายุโซนร้อน “เหล่งเหลง” จะเคลื่อนจากทะเลฟิลิปปินส์ขึ้นเหนือไปทางทะเลจีนตะวันออก (พายุลูกนี้ไม่ส่งผลใดๆกับไทย)
  • 10:00 พายุดีเปรสชันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ในทะเลฟิลิปปินส์ ได้รับโค้ดเนม 15W จาก WMO และใช้ชื่อ “พายุหมายเลข 13” ตาม JMA ล่าสุดกลายเป็นพายุโซนร้อนได้ใช่ชื่อว่า เหล่งเหลง 玲玲 เป็นชื่อผู้หญิงที่ตั้งโดยทางฮ่องกง เส้นทางมุ่งไปทางทะเลจีนตะวันออก
  • 10:00 พายุดีเปรสขันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลจีนใต้อยู่ที่พิกัด N18°30′ E110°20′ ทางใต้ของเกาะไหหลำ ความเร็วลม 30 น็อต ความกดอากษศ 998 hPa คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามคืนนี้ต่อเนื่องพรุ่งนี้เช้า อาจส่งผลให้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 05:41 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.8 ลึก 10 กม.นอกชายฝั่งตะวันตกของสุมาตราเหนือ
  • 04:00 พายุเฮอริเคน “Dorian” กลายเป็น “ซูปเปอร์เฮอริเคน” บริเวณใกล้ชายฝั่งฟลอริดา ความเร็วลม 296 กม.ชม. เส้นทางมีแนวโน้มจะเคลื่อนเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯขึ้นไปทางเหนือ
  • 04:00 พายุดีเปรสขันที่ก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 91W ในทะเลจีนใต้อยู่ที่พิกัด N18°55′ E112°00′ ความเร็วลม 30 น็อต คาดว่าจะเคลื่อนเข้าทะเลเวียดนามช่วงเย็นวันนี้
  • 02:00 เกิดพายุแม่เหล็กโลกจากความเร็วลมสุริยะที่เพิ่มขึ้น ประเทศในแถบใกล้ขั้วโลกมีโอกาสเห็นแสงออโรรามากขึ้นในช่วงนี้
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 90W ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน 14W ยังคงทวีกำลังต่อเนื่องจนอาจเป็นพายุโซนร้อน ทิศทางมีแนวโน้มจะตรงไปทางไต้หวัน-ญี่ปุ่น
  • ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุพายุ “พอดึล” จ.มุกดาหาร 1 ราย – จ.พิษณุโลก1 ราย – จ.อุบลราชธานี 1 ราย – จ.ขอนแก่น 3 ราย จมน้ำ ไฟช็อด 1 ราย – จ.ร้อยเอ็ด 1 ราย – จ.พิจิตร 1 ราย – จ.อำนาจเจริญ 1 ราย จมน้ำ สูญหาย 1 ราย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)