รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:01 ศูนย์กลางพายุนารี เข้าประชิดฝั่งเวียดนามแล้วในเวลานี้  
  • 21:10 ไต้ฝุ่นวิภา ลดความเร็วลมลง จากระดับ 3 มาอยู่ที่ระดับ 2
  • 21:00 เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำคงเหลือ 128.56% จากระดับเก็บกักปกติ   PSKDAM-14OCT13-2100
  • 18:30 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อนพริสซิลลา  PRISCILLA ทางตะวันตกของชายฝั่งเม็กซิโก
  • 18:00 เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำคงเหลือ 128.98% จากระดับเก็บกักปกติ   pskdam-20131014-1800
  • 17:15 ฝนตกปราจีนบุรี
  • 16:30 ไต้ฝุ่นนารี ลดกำลังลงเหลือความเร็วลมใกล้ศนย์กลาง 148 กม/ชม (CAT1) ยังเคลื่อนเข้าใกล้ฝั่งเวียดนามช้าๆ 201324W-20131014-1700
  • 15:00 เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำคงเหลือ 129.40% จากระดับเก็บกักปกติ  pskdam-20131014-1500
  • 13:00 ตำแหน่งไต้ฝุ่นทั้ง 2 ลูก จากดาวเทียม 
  • 10:45 เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 1,580 คิว/วิ ปากคลองโผงเผง-ปากคลองบางบาลยังท่วม เขื่อนพระราม 6 ระบาย 654 คิว/วิ 
  • 10:30 ทุ่นสึนามิไทย (23401) เสียมาตั้งแต่เดือนสิงหา ป่านนี้ยังไม่มีการซ่อม ตัวล่าง (23227) ของอินเดีย ต้นเดือนตุลาก็เสีย แต่ซ่อมแล้ว 
  • 10:00 ขณะนี้ทั่วโลกมีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูก คือพายุโซนร้อนอ๊อกตาเว แปซิฟิคตะวันออก แถวเม็กซิโก ไต้ฝุ่นนารีในทะเลจีนใต้และไต้ฝุ่นวิภา ในแปซิฟิคตะวันตก
  • 09:32 ภาพดาวเทียมล่าสุดของไต้ฝุ่นนารี แสดงลักษณะและตำแหน่งใกล้ฝั่งเวียดนามเวลานี้ 
  • 09:00 เขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำคงเหลือ 130.23% จากระดับเก็บกักปกติ pskdam-20131014-0900
  • 08:00 ไต้ฝุ่นวิภา ลดกำลังลงจากระดับ 4 มาที่ระดับ 3
  • 05:00 ยิ่งใกล้ยิ่งแม่น ตอนนี้ ผลการประเมินเส้นทางพายุเกือบทุกสำนักในแปซิฟิคสำหรับพายุนารี เริ่มใกล้เคียงกัน แม้แต่ TSR จากลอนดอน ก็ออกมาคล้ายกัน โดยส่วนใหญเห็นว่าพายุจะสลายตัวในลาว 201324W-20131014-0500nari-20131014-0500
  • 04:00 พายุโซนร้อน Octave หรือ TS15E ในแปซิฟิคตะวันออกมีแนวโน้มจะวกกลับเข้าหาประเทศเม็กซิโก 
  • 00:00 เขื่อนป่าสักฯ เพิ่มอัตราการระบายน้ำเป็น 744 คิว/วินาที pskdam-20131013-2400
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)