รายงานภัยพิบัติ​ 12 กุมภาพันธ์ 2563

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 รายชื่อเขื่อนที่มี % ของปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือน้อยในระดับวิกฤตเวลานี้ (ณ 12-2-63) *** เขื่อนอุบลรัตน์ใช้น้ำจาก Dead Storage จนติดลบ ระวังโครงสร้างเขื่อนจะมีปัญหา ตามงานวิจัยชิ้นนี้
  • 22:00 จุดความร้อนในกัมพูชาที่สูงในช่วงวันที่ลดลงแล้วเริ่มเพิ่มขึ้น ขณะที่จุดความร้อนในไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • 17:37 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.5 ลึก​ 80 กม. พิกัด​ 37.3°N141.4°Eจังหวัด​ฟุกุจิ​มะ​ ประเทศ​ญี่ปุ่น​ ความรุนแรง​ระดับ​ 4 ตา​มมาตรา​ชิน​โ​ด​ะ
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:30 กรุงเทพฯ​ 27°C เชียงราย​ 15°C เชียงใหม่​ 17°C ล​ำ​ปาง​ 18°C น่าน 19°C แม่ฮ่องสอน​ 15°C พิษณุโลก​ 24°C เลย 21°C มุกดาหาร​ 21°C โคราช​ 23°C ขอนแก่น​ 22°C กาญจนบุรี​ 22°C อุดร​ฯ 20°C ชลบุรี​ 26°C​ อุบล​ฯ 22°C ภูเก็ต​ 26°C
  • เพื่อลดปัญหาการระบุภูมิภาคและการเหยียดเชื้อชาติ องค์การอนามัยโรคหรือ WHO กำหนดชื่อเรียกปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า “COVID-19” 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี จังหวัดระนอง (RNTT) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำศุกร์ 1 กรกฏาคม

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:58 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.1 ลึก 10 กม. พิกัด 70.64°E 38.85°N พรมแดนอัฟกานิสถาม-ทาจีกิสถาน 
  • 18:30 ดวงอาทิตย์ไร้จุดดำปรากฏต่อเนื่องเป็นวันที่ 7SUN-010716-1830
  • 14:10 ฝนตก ปราจีณบุรี
  • 11:19 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.4 ลึก 46 กม. พิกัด 73.24°E 39.54°N พรมแดนทาจีกิสถาน-ซินเจียง 
  • 10:00 ฝนในไทยยังเติมเขื่อนน้อยมาก ณ 1 ก.ค. น้ำในเขื่อนภูมิพลยังแค่ 2% เขื่อนอุบลรัตน์ยังติดลบ Dam-20160701
  • 07:36 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.0 ลึก 10 กม. พิกัด 31.01°N 174.19°E หมู่กาะฮาวาย 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT จ.เชียงใหม่ ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-300616

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

พุธ 9 พฤษภาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:08 กล้องด้านสันเขื่อนเจ้าพระยา แสดงระดับน้ำและวัชพืชจำนวนมากที่ไม่ได้รับการดูแล 
  • 17:00 กล้องหมายเลข C2 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ระดับน้ำยังต่ำมาก ไม่ต่างจากเดือนมีนาคม 
  • 16:54 กล้องหมายเลข N67 ปากแม่น้ำน่านที่จังหวัดพิจิตร แสดงให้เห็นระดับน้ำที่มากขึ้น ตอม่อสะพานที่โผล่จนเห็นฐานในเดือนมีนาคม เริ่มกลับสู่ใต้ระดับน้ำ 
  • 14:00 ความกดอากาศต่ำกำลังแรง จากร่องรอยของ 19S กำลังจะก่อตัวเป็นพายุขึ้นมาอีกครั้ง บริเวณทางตอนใต้ของอินโดนีเซีย 
  • 06:13 แผ่นดินไหว 4.2 ใกล้แม่ฮ่องสอนในเขตพม่า 
  • 04:00 พายุดีเปรสชัน 19S ทางตอนใต้ของอินโดนีเซีย สลายตัวแล้ว
  • อินโดนีเซีย – มีผู้เสียชีวิต 3 คน และสูญหาย 5 คน หลังเกิดน้ำท่วมเมืองเทอร์นาเต จังหวัดโมลุกกะเหนือ จากฝนตกหนักซึ่งมีส่วนมาจากพายุ 19S
  • สหรัฐฯ – Alise Henry ถ่ายภาพนาคเล่นน้ำหลายตัว จากนอกชายฝั่ง Pascagoula รัฐมิสซิสซิปปี วันนี้ พายุนาคเล่นน้ำ หรือ พวยน้ำ (waterspout) เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายท่อน้ำขนาดใหญ่เชื่อมต่อระหว่างผืนฟ้าและ พื้นน้ำ ซึ่งเกิดจากการที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยบริเวณใกล้ๆ ผิวน้ำมีความชื้นสูงและไม่ค่อยมีลมพัด ทำให้อากาศที่อยู่ติดกับผืนน้ำยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่ จากนั้นจึงพุ่งเป็นเกลียวขึ้นไป

    ในช่วงที่อากาศพุ่งขึ้นเป็นเกลียววนนี้ หากน้ำในอากาศยังอยู่ในรูปของไอน้ำ เราจะยังมองไม่เห็นอะไร แต่หากอากาศขยายตัว และเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำจำนวนมาก ทำให้เราเห็นท่อหรือ “งวงช้าง” เชื่อมผืนน้ำและเมฆ

    พายุนาคเล่นน้ำ ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 10-600 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-10 เมตร ซึ่งในนาคเล่นน้ำแต่ละตัวอาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียวหรือหลายท่อได้ โดยแต่ละท่อจะหมุนด้วยอัตราเร็วในช่วง 20-80 เมตรต่อวินาที กระแสลมในตัวพายุมีความเร็วถึง 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจมีความเร็วสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถพลิกคว่ำเรือเล็กๆ ได้

    นอกจากพายุนาคเล่นน้ำจะหมุนวนรอบตัวเองแล้ว นาคเล่นน้ำยังสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วตั้งแต่ 3-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ค่อนข้างช้า ประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงมีคำแนะนำสำหรับชาวเรือให้สังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ แล้วหันเรือหนีไปในทิศตรงกันข้าม

    การเกิดพายุนาคเล่นน้ำอยู่ในช่วง 2-20 นาที (แต่เคยพบนานถึง 30 นาที) และหากนาคเล่นน้ำขึ้นฝั่ง ก็จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว

    เรียบเรียงจากบทความ “พายุนาคเล่นน้ำ” : สะพานเชื่อมนภาและวารี” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ