รายงาน​ภัยพิบัติ​ 3 มกราคม​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:42 ภาพถ่ายจากยาน SOHO​ แสดงให้เห็นว่าเกิดการปะทุจากจุด​มืดหมายเลข​ AR3163​ ฝั่งด้านหลังของดวงอาทิตย์​ การปะทุนี้ไม่ส่งผลกับโลกด็จริง แต่จากการหมุนรอบตัวเอง​ของ​ดวงอาทิตย์​ จุดมืดนี้จะหันมาทางโลก​ในไม่กี่วันข้างหน้า​ ซึ่งต้องจับตากันต่อไป​
  • 12:00 ดวงอาทิตย์​มีจำนวน​จุดมืดพุ่งสูงกว่าจำนวนที่พยากรณ์​ไว้ (เส้นสีแดง)​ในวัฏจักร​สุริยะ​ปัจจุบัน​ (วัฏจักร​สุริยะ​ที่ 25) ด้วยอัตราเร็วมาก หากยังเป็นไปแบบนี้ จุด Solar Maximum จะมาถึงเร็วกว่าที่เคยเป็นมาในวัฏจักร​สุริยะ​ก่่อนหน้านี้ ​
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ตอ​นบน​ ทั้งยอดภูและ​พื้น​ราบ Cr :กรมอุตุฯ
  • 06:30 กรุงเทพฯ​ 23​°C เชียงราย​ 13​°C เชียงใหม่​ 15​°C แม่ฮ่องสอน​ 14​°C ลำปาง​ 14​°C น่าน​ 16​°C เลย​ 19°C โคราช​ 19​°C  นครพนม​ 18​°C ร้อยเอ็ด​ 18​°C อุดร​ 19​°C  อุบล​ 19​°C สกลนคร 18​°C พิษณุโลก​ 22​°C เพชรบูรณ์​ 22​°C กาญจนบุรี​ 23​°C ตาก​ 19​°C ชลบุรี​ 22​°C
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติอังคาร 28 พฤษภาคม​ 256

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 ดวงอาทิตย์อยู่ในวัฏจักรสุริยะที่ 24 มาตั้งแต่ช่วงปี 2551 และล่าสุดก็ได้เข้าสู่ช่วง Solar minimum มาหลายเดือน ซึ่งเป็นช่วงจุดดำบนดวงอาทิตย์แทบไม่ปรากฏให้เห็น มาวันนี้มีสัญญาณปรากฏขึ้นมาว่าขั้วแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์กำลังสลับข้าง ในวัฏจักรสุริยะที่ 24 นั้นขั้วแม่เหล็กจะเป็น +/- ขณะที่วันนี้พบจุดดำที่มีขั้วแม่เหล็กปรากฏเป็น -/+ เป็นสัญญาณการเริ่มเข้าสู่วัฏจักรสุริยะที่ 25 เนื่องจากทุกวัฏจักรสุริยะ ขั้วแม่เหล็กจะสลับขั้วเสมอ แต่จุดดำแบบนี้อาจเกิดแล้วเว้นช่วงไปนาน หรือเกิดต่อเนื่อง ถ้าเป็นแบบแรกก็ยังคงต้องรอต่อไป หากเป็นแบบหลังก็จะมีการเริ่มนับการเข้าสู่วัฏจักรสุริยะใหม่อย่างเป็นทางการ
  • 21:15 ฝนปานกลางบริเวณอ่าวไทย จ.สมุทรปราการต่อเนื่องพื้นที่ กทม.ในเขตบางนา พระโขนง คลองเตย บางรัก ปทุมวัน ราชเทวี ดินแดง พญาไท ดุสิต บางพลัด ต่อเนื่องพื้นที่ จ.นนทบุรี  [ดูภาพเรดาร์]
  • 18:00 ฝนถล่มเมืองตักศิลา จ.มหาสารคาม ภาพ: บริเวณริมคลองสมถวิล และอีกหลายจุดในเขตเทศบาลเมือง เครดิตภาพ – สวพ91
  • 16:50 กลุ่มฝนเคลื่อนตัวจาก จ.นครนายก เข้า จ.สระบุรี 
  • 15:48 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.1 (MLv) ลึก​ 8 กม. พิกัด​ 6.68°E  46.43°N ประเทศ​สวิตเซอร์แลนด์
  • 08:06 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.5 (mb) ลึก​ 10 กม. พิกัด 100.66°E  5.23°S นอก​ชายฝั่ง​ทางตะวันตก​เฉียง​ใต้​ของ​เกาะ​สุมาตรา
  • 08:00 ดาวเคราะห์น้อย 2019 KT ขนาด 17 เมตร จะเข้าใกล้โลกที่ระยะ 80% ของระยะห่างโลก-ดวงจันทร์
  • 07:56 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 (mb) ลึก​ 10 กม. พิกัด 100.82°E  5.13°S นอก​ชายฝั่ง​ทางตะวันตก​เฉียง​ใต้​ของ​เกาะ​สุมาตรา
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้


สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

วัฏจักรสุริยะที่ 24

วัฏจักรสุริยะ (Solar Cycle) คือ รอบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณ “จุดดับของดวงอาทิตย์ ” (Sunspot) สมัยนี้อาจเรียกจุดมืด หรือจุดดำ สำหรับวัฏจักรสุริยะหนึ่งๆ จะกินระยะเวลาโดยประมาณ 11 ปี
ปริมาณของจุดดับนั้น ในช่วงต่ำสุด หรือ Solar Minimum อาจมีเพียง 2-3 จุด แต่ในช่วงที่มีมากที่สุด หรือช่วง  Solar Maximum อาจจะมากกว่า 160 จุดถึง 200 จุด

ในช่วงเริ่มวัฏจักร หรือ รอบ (cycle) ใหม่จะมีปริมาณของจุดดับน้อย และก็จะมีปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้น และมากที่สุดในช่วงกลางวัฏจักร และค่อยๆน้อยลงในช่วงปลายวัฏจักร ก่อนจะเริ่มนับรอบ (cycle ) ใหม่อีกครั้ง
แต่ในบางครั้ง จำนวนจุดมืดก็ไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรสุริยะ โดยเฉพาะในระหว่างปี 1645-1715 เป็นช่วงระยะเวลาที่แทบจะไม่ปรากฏจุดมืดใดๆ บนผิวดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ว่า “ช่วงต่ำสุดมอนเดอร์ (Maunder Minimum)”

สิ่งที่นักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัวบอกจุดเริ่มต้นของวัฏจักร คือ การนับจำนวนจุดดับบนดวงอาทิตย์ ช่วงท้ายวัฏจักรจุดดับจะเกิดขึ้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เมื่อวัฏจักรใหม่เริ่มต้นเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น จุดดับจะเกิดขึ้นอยู่ในแนวเส้นรุ้งที่สูง คือ ค่อนไปทางขั้วดวงอาทิตย์ ราว 25-30 องศาทั้งเหนือและใต้ และมีขั้วของสนามแม่เหล็กในจุดดับตรงข้ามกับรอบที่ผ่านมา เมื่อวัฏจักรเข้าสู่จุดสูงสุด จุดดับบนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนตัวมาอยู่ใกล้กับแนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะถึงจุดสูงสุดเมื่อจุดดับมีจำนวนประมาณ 160 จุด อีก วิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือนำตำแหน่งของจุดดับมาเขียนแผนภูมิเทียบกับเวลา เราจะได้แผนภูมิที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวผีเสื้อ (Butterfly Diagram)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 นักดาราศาสตร์ได้พบจุดมืดบนดวงอาทิตย์ที่มีขั้วแม่เหล็กสลับกับวัฏจักรที่ผ่านมา จุดมืดนั้นเกิดขึ้นที่ละติจูด 30 องศาเหนือ มีชื่อตามระบบเรียกของโนอาว่า เออาร์ 10981 (AR10981) หรือเรียกแบบย่อว่า จุด 981 จุดนี้มีขนาดใหญ่เท่าโลก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเล็กเทียบกับจุดทั่วไปบนดวงอาทิตย์ มีอายุอยู่ได้เพียง 3 วันก็สลายไป แต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อย่างเป็นทางการ

วัฏจักรสุริยะที่อยู่ถัดกันอาจมีการเหลื่อมเวลาเล็กน้อย ซึ่งอาจกินเวลานานถึงหนึ่งปี ดังนั้น แม้วัฏจักรใหม่จะเริ่มแล้ว แต่วัฏจักรที่ผ่านมาก็อาจจะยังไม่สิ้นสุดเสียทีเดียว นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังคิดว่า มีความเป็นไปได้ที่ วัฏจักรที่ 23 อาจจะยืดเยื้อเช่นเดียวกับ วัฏจักรที่ 20 ที่ครองแชมป์การเป็นวัฏจักรที่กินระยะเวลานานที่สุดก็เป็นได้