รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 พฦษภาคม 2558 (ครบ 1 ปี แผ่นดินไหวใหญ่เชียงราย)

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:47 เกิดการปะทุขนาด M1.9 จากจุดดับหมายเลข 2339 ที่ขอบตะวันออกของดวงอาทิตย์ ไม่ส่งผล้ายอะไรกับโลก เป็นลักษณะปกติที่เกิดบ่อยๆmay5_2015
  • 14:00 TSR ปรับการประเมินเส้นทางพายุโนอึล โดยพายุจะเลี้ยวขึ้นทางเหนือเล็กน้อยหลังเข้าสู่ทะเลฟิลิปปินส์และจะทวีกำลังไปถึงไต้ฝุ่นระดับ 406W-20150505-1400
  • 13:40 กรุงเทพมหานครฝนหยุดตก
  • 12:30 น้ำท่วมขังถนนรามคำแหงช่วงซอย 23 เครดิตภาพ Maymu_uCEOGCrBVIAA55At
  • 11:15 ฝนอ่อนถึงปานกลาง ลักษณะกระจายปกคลุมเขตมีนบุรี สะพานนสูง สายไหม บางเขน ลาดพร้าว จตุจักร วังทองหลางคลองเตย ยานนาวา สาทร บางคอแหลม บางรัก ปทุมวัน ราษฏร์บูรณะ จอมทอง
  • 11:00 สรุปยอดจากแผ่นดินไหวเนปาล ล่าสุด (ไม่เป็นทางการ) 7,659 ราย แบ่งเป็น 7,557 รายในเนปาล 26 รายในจีน 72 รายในอินเดีย 4 รายในบังคลาเทศ
  • 10:45 ฝนอ่อนลักษณะกระจายเขตวัฒนา คลองเตย วังทองหลาง ลาดพร้าว หลักสี่ สายไหม ดอนเมือง
  • 10:26 PTWC ออกเอกสารฉบับที่ 4 เป็นฉบับสุดท้าย กดอ่าน ให้ถือว่าผลของสึนามิผ่านไปแล้ว มีผู้สังเกตุพบระดับน้ำผิดปกติเล็กน้อยแถบชายฝั่งของเมือง MORESBY และแนะนำให้ทางปาปัวยังคงเฝ้าระวังต่อไปอีกระยะตามวิจารณญาณของ จนท ท้องถิ่น ทาง PTWC ถือว่ายกเลิกการเตือนสึนามิในพื้นที่่อื่นทุกประเทศแล้ว
  • 09:39 ทาง PTWC ออกเอกสารฉบับที่ 3 กดอ่าน ยกเลิกการเตือนสึนามิในพื้นที่อื่น คงเหลือเฉพาะในประเทศปาปัวนิวกินีเท่านั้น โดยคลื่นสึนามิ (ถ้ามี) จะมาถึงเมือง KAVIENG เมืองใหญ่สุดของเกาะนิวไอร์แลนด์ อาณาเขตปาปัวฯ เวลา 09:58 ตามเวลาไทย
  • 09:16 ทาง PTWC ออกเอกสารฉบับที่ 2 กดอ่าน ยกเลิกการเตือนสึนามิในพื้นที่อื่น คงเหลือเฉพาะในประเทศปาปัวนิวกินีเท่านั้น โดยคลื่นสึนามิ (ถ้ามี) จะมาถึงเมือง KAVIENG เมืองใหญ่สุดของเกาะนิวไอร์แลนด์ อาณาเขตปาปัวฯ เวลา 09:58 ตามเวลาไทย
  • 09:15 ทางญี่ปุ่นไม่มีการเตือนสึนามิจากแผ่นดินไหวนิวบริเต็น
  • 08:52 ทุ่นสึนามิหมายเลข 52402 ที่พิกัด 11.869°N 154.039°Eแสดงระดับน้ำผิดปกติ 15 ซม 52402-20150505
  • 08:51 ศูนย์เตือนสึนามิฮาวาย ไม่เตือนสึนามิ ตามเอกสารนี้ กดอ่าน
  • 08:50 ทาง PTWC ออกเอกสารฉบับที่ 1 เตือนสึนามิตลอดแนวชายฝั่งปาปัวนิวกินี กดอ่าน ประเทศหรือพื้นที่ที่อยู่ในข่ายการเตือนสึนามิครั้งนี้ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเชีย แย็ป กวม ปาปัวฯ วานูอาตู มาแชล ญี่ปุ่น ฟิจิ ฟิลิปปินส์ ตองกา
  • 08:44 [USGS] รายงานแผ่นดินไหว แมกนิจูด 7.4  บริเวณ เกาะนิวบริเต็น ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 63 กม.NEWBRITEN050515
  • 07:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ 93W ใกล้หมู่เกาะมาแชล และตำแหน่งล่าสุดของพายุโซนร้อน TS06W โนอึลJTWC-20150505-0700
  • 06:01 ภาพดาวเทียมในเวลานี้ของพายุโซร้อน “โนอึล” ใกล้เกาะแย็ป พายุนี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นไต้ฝุ่นใน 24 ชม ข้างหน้า 06W-20150505-0601
  • 04:00 ภูเขาไฟ Turrialba ซึ่งหลับไปนาน 130 ปีและตื่นขึ้นมาในช่วงปี 90’s ในคอสตาริกา หลังสุดเริ่มมีปฏิกิริยาถี่ขึ้น และขณะนี้ได้ปะทุเขม่าสูงราว 2.5 กม โดยมีรายงานว่ากลิ่นและควันลอยไปไกลถึงกรุง San jose ที่อยู่ห่างออกไป 60 กม. 0,,18313286_303,00
  • รายชื่อชาวต่างชาติที่สูญหายในเหตุแผ่นดินไหวเนปาล ดาวน์โหลด
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

ภูเขาไฟในหมู่เกาะอันดามัน

ภูเขาไฟบนเกาะบาร์เรน Barren เป็นภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น (Composite cone) ที่มีฐานกว้างขนาด 2 กม.ตั้งอยู่บนเกาะบาร์เรน ซึ่งเป็นเกาะไร้คนอาศัยกว้างราว 3 กิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะอันดามัน เป็นภูเขาไฟแห่งเดียวในเอเชียใต้ที่ยังไม่สงบ มีบันทึกการปะทุย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ 1787.และเกิดเรื่อยมาหลายครั้งนับถึงปัจจุบัน พลังงานของภูเขาไฟอยู่ในระดับต่ำ โอกาสที่จะระเบิดรุนแรงเกินไปกว่า VEI ขนาด 2 จึงมีน้อยมาก  แม้มีความเชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 9.1 ในสุมาตราปี 2004 หรือแผ่นดินไหว 7.8 ในเนปาลที่เพิ่งเกิดไปก็ตาม โอกาสเกิดสึนามิจึงมีน้อยมากเช่นเดียวกัน

barren-island-hotspot_01

116005

เกาะภูเขาไฟบาร์เนน มองจากด้านทิศตะวันตกของเกาะ จะเห็นช่องเปิดให้ลาวาไหลลงทะเลด้านนี้

ภูเขาไฟลูกนี้มีปล่องรูปโคนตรงกลางของตัวเกาะ ความสูงของปล่องราว 354 เมตร พิกัดของตัวเกาะอยู่ที่ 12.278°N 93.858°E ตัวเกาะมีทางไหลของลาวาลาดลงทะเลไปทางทิศตะวันตกตามภาพด้านล่าง

220px-Barren_I_locale

ตำแหน่งของเกาะบาร์เรน อยู่ในวงกลมสีแดงของภาพ ทางตะวันออกของหมู่เกาะอันดามันที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้

ประวัติการปะทุุ

  • การปะทุในปี 2015 – มีการปะทุเขม่าสูง 3 กิโลเมตร.ในช่วงวันที่ 22-28 เมษายน
  • การปะทุในปี 2014 – มีการปะทุเขม่าสูงไม่เกิน 1 กิโลเมตรเดือนเมษายน 3907bar2s
  • การปะทุในปี 2013 – มีการปะทุเขม่าสูง 6 กิโลเมตรในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และ มีการปะทุเขม่าสูง 3.6 กิโลเมตรในวันที่ 17 ตุลาคม
  • การปะทุในปี 2010 – มีการปะทุเขม่าสูง 1.5 กิโลเมตร ในวันที่ 3 มกราคม และอีกครั้งในวันที่ 17 กันยายน ไม่ได้บันทึกความสูงของกลุ่มเขม่า
  • การปะทุในปี 2009 – มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม
  • การปะทุในปี 2005  – มีการปะทุเขม่าและลาวาจากด้านตะวันตกของปล่องในวันที่ 28 พฤษภ่าคม การปะทุเขม่าและลาวาดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมิถุนายน [clip]
  • การปะทุในปี 1995 – มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) ช่วงเดือนมกราคม และปะทุพ่นลาวาแบบน้ำพุสูง 150 เมตรเมื่อวันที่ 11 พฤษภ่าคม จากนั้นยังมีปฎิกิริยาต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฏาคม
  • การปะทุในปี 1994 – มีการปะทุเขม่า ในวันที่ 20 ธันวาคม
  • การปะทุในปี 1991 – มีการปะทุลาวา ในเดือนเมษายน ลาวาไหลออกทางตะวันออกเฉียงเหนือของปล่อง มีการปะทุพ่นกรวดหินร้อน (Lapilli) สูงราว 50 เมตร มีเสียงระเบิดสั้นๆ
  • การปะทุในปี 1787 –  มีการปะทุเปลวไฟ ลาวา แบบระยะต่ำและถี่ (Strombolian eruption) มีลาวาไหลออกจากปล่อง ไหลออกด้านตะวันตกไปลงทะเล

อ้างอิง
http://www.volcanolive.com/barrenisland.html
http://www.volcano.si.edu/volcano.cfm?vn=260010
http://www.volcanodiscovery.com/barren_island.html
https://catalog.data.gov/dataset/global-significant-volcanic-eruptions-database-4360-bc-to-present

กล้อง CCTV ส่องภูเขาไฟสำคัญทั่วโลก http://volcano-webcam.com/

หมายเหตุ– แม้จะมีโอกาสเกิดสึนามิน้อย (การเกิดสึนามิต้องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในระดับ VEI หรือดัชนีวัดความแรงในการระเบิดของภูเขาไฟ ตั้งแต่ 6 ขึ้นไปเท่านั้น) แต่การเฝ้าระวังจะยังคงอยู่ทุกนาที ในกรณีที่เกิดสึนามิ ทางเว็บเราจะไม่ใช้ทุ่นเตือนสึนามิ 5 ตัวทั้งของไทยและอินเดียเนื่องจากอยู่ไกลเกินไป แต่จะใช้สถานีวัดระดับน้ำชายฝั่ง Port Blair แทน ติดตามการเฝ้าระวังจากเราได้ตลอดเวลาBarrenAlertMethod