สรุปภัยพิบัติโลก และสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2013

***บทความยังไม่สมบูรณ์ กำลังอยู่ระหว่างแก้ไข

จบจากปีแห่งข่าวลือโลกแตก 2012 โดยแทบไม่มีเหตุร้ายใหญ่โตใดๆ เข้าสู่คริสตศักราช 2013 ซึ่งกลับกลายเป็นปีที่โลกต้องจดจำในสถิติภัยพิบัติต่างๆแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายๆปี ทั้งพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ขณะขึ้นฝั่ง ทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในจุดที่ห่างจากรอยเลื่อนขอบทวีบ ทั้งอุกกาบาตที่เกือบทำให้เมืองใหญ่ของรัสเซีย ราบเป็นหน้ากลอง โดยหมดทางป้องกัน

ความเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสภาพภูมิอากาศโลกเริ่มส่งผลให้เห็น แม้ไม่ใช่สาเหตุของภัยพิบัติหลักๆทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสะสมตัวแล้วก่อผลให้แก่ภัยพิบัติในระยะยาว โดยเฉพาะภัยพิบัติในด้านภูมิอากาศเช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง หรือแม้แต่ภัยหนาว ให้รุนแรงขึ้น โดย ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือ

  1. ไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ก่อตัวในอ่าวไทย)
  2. BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.ก่อตัวจากฟิลิปปินส์พร้อมไห่เยี่ยน)
  3. พายุโซนร้อนเลฮาร์ (มาจาก LPA92W ก่อตัวในอ่าวไทย ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย)
  4. พายุไซโคลนเฮเลน (จากพอดึล TD32W ก่อตัวจากฟิลิปปินส์)

ซึ่งการเป็นเช่นนี้ได้  นั่นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งอุณหภมิน้ำที่สูงขึ้นในโซนอ่าวไทย รวมทั้งร่องลม ITCZ ที่มีกำลังแรง

ปีนี้ยังมีการก่อตัวของพายุในโซนกลางแปซิฟิค มากถึง 3 ลูก (พายุโซน C) ซึ่งก็ไม่เคยมีมาในปีอื่นๆ ทั้งหมดนี้ ยังไม่เท่ากับอุณหภูมิน้ำอุ่นที่สูงถึง 31 องศาสะสมตัวปลายเดือนตุลาคม สุดท้ายก็ก่อมหาพายุไห่เยี่ยน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมขณะขึ้นฝั่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา มหาพายุนี้ได้เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในวันที่ 8 พ.ย. สร้างความย่อยยับเหลือคณานับ

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นจากอะไร หากลงไปดูโดยข้อมูลทางลึกแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า กระแสน้ำเทอร์โมฮาลีน ซึ่งทำหน้าที่เฉลี่ยอุภหูมิของน้ำและอากาศทั่วโลก กำลังมีอาการสะดุดหรือไหลช้าลง ทำให้การเฉลี่ยความร้อนของน้ำทะเลไม่ทั่วถึง เกิดอาการแปรปรวนท ตรงที่ร้อนก็ร้อนจัด ตรงที่เย็นที่เย็นจัด ทน้ำที่ร้อยนผิดปกติ ทำให้มีการก่อตัวของพายุที่รุนแรงระดับซุปเปอร์ถึง 3 ลูกคือซุปเปอร์ไซโคลนไพลิน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิ และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

ปี 2013 ยังเป็นปีที่มีพายุ “เข้าไทย” ถึง4 ลูก คึอ

  1. TD 18W
  2. พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บ
  3. พายุดีเปรสชันวิลมา** TD30W
  4. พายุดีเปรสชันพอดึล TD32W (กรมอุตุเรียกโพดอล)

ยังมีน้ำท่วมใหญ่ยุโรป ชนิดที่ประเทศที่พัฒนาถึงขีดสุดอย่างเยอรมันไม่อาจแก้ไขได้ ท่วมทั้งออสเตรีย เช็ค และอีกหลายประเทศ เกิดฝนตกเกือบพัน มม. ในไม่กี่ชม จนน้ำท่วมบนเขาสูง เกิดคลื่นสึนามิภูเขาในอินเดีย และเหตุการณ์แบบนี้ก็ไปเกิดที่เสฉวน เกิดแล้งจัดในไทย เกิดทอร์นาโดขนาด EF-5 ในโอกลาโอมา เกิดทอร์นาโดในญี่ปุ่น เกิดหิมะตกเดือนพฤษภาคมในฮอกไกโด หิมะตกเดือนธันวาในที่ๆไม่ควรมีหิมะ คือประเทศอียิปต์

ซึ่งหากสายพานลำเลี่ยงน้ำเทอร์โมฮาลีนสะดุดลงจริงๆ สภาวะวิกฤตของภูมิอากาศโลกจะมาถึง พายุขนาดรุนแรงจะเกิดบ่อยขึ้น ฝนหนักหลายร้อย มม. แบบอินเดียปีนี้ สุดท้าย มีการประมาณว่าจะพาให้โลกเกิดการก้าวเข้าสู่ LIA หรือยุคน้ำแข็งย่อย ก็อาจเป็นไปได้

ทางด้านภัยพิบัติที่ไม่เกี่ยวกับภูมิอากาศโลก ในปี 2013 ก็ยังมีอีก โดยเฉพาะในวันที่ 15 ก.พ. นั่นคือ อุกาบาต ชิลยาบินส์

ภัยนี้ไม่มีทางป้องกัน ทั้งที่เราทุกคนทั่วโลก ต่างเทความมั่นใจให้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือที่มีหน้าที่โดยตรงกับการเฝ้าดูภัยพิบัติชนิดนี้ คือหน่วยงานอวกาศของยุโรป สหรัฐฯ หรือรัสเซีย

อุกาบาต ชิลยาบินส์ มาจากดาวเคราะห์น้อยไร้ชื่อ (เพราะตรวจไม่พบ) ขนาดราว 17-20 เมตรหนัก 7,000 ตัน เข้าสู่บรรยากาศโลกที่ความเร็ว 66,960 กม/ชม ลุกไหม้จนขนาดเล็กลงหลายเท่าและระเบิดตัวเองที่ความสูง 23.3 กม เหนือเขตชิลยาบินส์ แคว้นอูราล ซึ่งได้รับการชี้แจง (แก้ตัว) ว่าเป็นเพราะดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีขนาดเล็กกว่า 20 เมตร และมืดเกินกว่าจะตรวจพบล่วงหน้า (แปลกที่ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่สุดคือ  2008 TS26  มีขนาดเพียง 1 เมตร และมีความสว่างปรากฏเพียงแมกนิจูด 32 กลับมีการตรวจพบและบันทึกชื่อไว้) แรงอัดอากาศ (ช็อคเวฟ) จากการระเบิด แม้ในอากาศระดับสูง ก่อความเสียหายต่ออาคารและผู้คนนับพันตามรายงานจากสื่อต่างๆ

แรงระเบิดจากอุกกาบาตนี้ คำนวนได้เทียบเท่าระเบิด TNT หนัก 440 กิโลตัน คำถามคือหากอุกกาบาตนี้ไม่ระเบิดตัวเองในบรรยากาศระดับสูงเสียก่อน แต่กลับตกลงถึงพื้น พลังจากอำนาจระเบิดที่รุนแรงกว่าถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา (TNT 12.5 กิโลตัน)  จะสร้างความเสียหายให้มวลมนุษย์ชาติมากมายขนาดไหน

อีกภัยใหญ่ของปี คือแผ่นดินไหวนอกรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 7.1 ที่เกาะโบฮอล ประเทศฟิลิปปินส์ ความลึก 20 กม. แผ่นดินไหวนี้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้เกาะโบฮอลและเกาะโดยรอบอย่างมากมาย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โครงสร้างพิ้นฐานเสียหายหมดสิ้น

ภัยแผ่นดินไหวหรืออุกกาบาตนั้น คงไม่อาจไปจัดการอะไรได้ แต่ภัยที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพโลกร้อน ซึ่งหมายถึงการต้องเร่งกวดขันพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเราท่าน ให้เอาใจใส่สภาพรอบตัวมากกว่านี ก่อนจะสายเกินไป

** วิลมา และโซไรดา เป็นชือพายุของ PAGASA หรืออุตุฟิลปปินส์
** กรมอุตุไทยไม่หาทางเรียกชื่อพายุหากพายุไม่มีความเร็วตาม WMO กำหนด แต่จะตามแบบอุตุญี่ปุ่นก็ไม่ตามทั้งหมด (ญี่ปุ่นเรียกด้วยตัวเลขเช่น 1301) อุตุไทยจึงสร้างความสับสนเวลาระบุพายุ คือเรียกว่า “พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้” ซ้ำๆตลอดมา หากเกิด 2 ลูกพร้อมกันก็ไม่ทราบจะแยกยังไง
**JTWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 31 มี.ค.
**ทุ่นสึนามิไทย 23401 เกิดเสาอากาศหลุดจากชุด BPR ในวันที่ 21 ส.ค. จวบจนสิ้นปีก็ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม

 

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 10:00 เกิดน้ำท่วมในซิมบับเว ตาย 3
  • 09:00 ไซโคลนคริสทีน ขึ้นฝั่งถล่มเมือง Pilbara ของออสเตรเลีย ฝนหนัก บ้านพัง ต้นไม้ล้ม ไฟฟ้าดับ (เครดิตภาพจาก abc news)5180416-3x2-700x467
  • 06:30  กทม 20 °C หาดใหญ่ 24 °C ภูเก็ต 24 °C เชียงใหม่ 15 °C ลำปาง 13 °C ขอนแก่น 13 °C หนองคาย 14 °C ปราจีน 20 °C อุดร 12 °C
  • ไซโคลนคริสทีน ลดกำลังจากระดับ 2 เหลือระดับ 1 หลังขึ้นฝั่งออสเตรเลีย รอรายงานความเสียหาย201305S
  • มลพิษทางอากาศในจีน แผ่ขยายมาถึงฮ่องกง
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก EMSC)