รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 อุตุฯญี่ปุ่น หรือ JMA ประเมินเส้นทางซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ ไต้ฝุ่นจะมาที่ฝั่งเวียดนามในวันอาทิตย์ที่ 10 พ.ย. นี้
  • 15:30 ดาวหาง ISON ขณะนี้ผ่านวงโคจรของโลกแล้ว และกำลังมุ่งตรงไปทางดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 46 กม/วินาที นักดูดาวต่างพยายามจับภาพไว้ และคลิปนี้มาจากประเทศโคลัมเบีย ถ่ายโดย Alberto Quijano Vodniza race_strip2
  • 15:05 อ.บ้านบึง ชลบุรี ฝนตกพรำๆ
  • 15:00 ประกาศฉบับที่ 17 ของทาง JTWC คาดว่า ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหลังจากถล่มฟิลิปปินส์ จะลงสู่ทะเลจีนใต้แล้วมาขึ้นฝั่งเวียดนามราววันที่ 10 พ.ย. จากนั้นจะเข้าไปสลายตัวในลาว 
  • 14:30 ชาวฟิลิปปินส์บางส่วนเตรียมรับมือพายุโดยการปิดส่วนที่ลมจะชอนไชเข้าไป “ยก” บ้านให้สนิท นี่คือสิ่งที่พวกเค้าเรียนรู้ 
  • 13:57 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 280 กม/ชม ขึ้นอันดับพายุที่แรงที่สุดในโลกของปีนี้ ทิศทางยังเคลื่อนไปขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ โดยเกาะมินดาเนาเริ่มประสบฝนหนักแล้วเมื่อหลาย ชม ที่ผ่านมา 
  • 13:00 JTWC ยืนยันการสลายตัวของพายุดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทยเช่นกัน แสดงเฉพาะภาพซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนเท่านั้น 
  • 12:00 ทั่วโลกเวลานี้ เหลือซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในทะเลฟิลิปปินส์ลูกเดียวเท่านั้น 
  • 11:05 ดีเปรสชัน 30W ในอ่าวไทย สลายตัวแล้ว จับตาดูซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ฟิลิปปินส์ต่อไป 
  • 07:30 โมเดล GFS ของไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน จะเห็นเส้นทางหลังลงสู่ทะเลจีนใต้ พายุจะตรงไปเข้าอ่าวตังเกี๋ย ไม่มีผลกับไทย [wpvp_embed type=youtube video_code=l2y5mxk4QcM width=560 height=315]
  • 06:32 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เคลื่อนผ่านเกาะปาเลา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเกิน 260 กม/ชม ทิศทางมุ่งตะวันตก เริ่มก่อให้เกิดฝนตกหลายพื้นที่ในฟิลิปปินส์
  • 06:30 ฝนตกหนักที่ประจวบ และตกปานกลาง เพชรบุรี ชุมพร 
  • 04:13 ดีเปรสชัน 30W เคลื่อนตัวจากกัมพูชาลงอ่าวไทย ขณะที่ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนยังคงตรงเข้าหาฟิลิปปินส์  
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)