รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:59 ได้รูปคลื่นแผ่นดินไหว จากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือวันนี้มาแล้ว รูปคลื่นนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหว MDJ ของจีน ซึ่งต่อเชื่อมกับเครือข่ายนานาชาติหรือ GSN โดยมีการคำนวนเปรียบเทียบว่ามีการทดลองนี้ประมาณเท่ากับระเบิด TNT ที่ 7,000 ตัน ซึ่งแรงกว่าการทดสอบครั้งที่แล้วในปี 2006  (<1,000 ตัน) และ 2009 (2,200 ตัน)IC.MDJ.00.BHZ.2013.043.02.57.00.000-2013.043.03.04.00.000
  • 15:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก สลายตัวแล้ว
  • 09.57 แผ่นดินไหวขนาด mb 4.9  mb 5.1 บริเวณ ประเทศเกาหลีเหนือ  ที่ความลึก 1.00 กม. เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ที่ทั่วโลกรู้เพราะคลื่นแผ่นดินไหวใดๆที่แรงกว่า M4.5 จะแผ่ไปทั่วโลกตามปกติอยู่แล้ว แต่ลักษณะคลื่นจะต่างกัน ดูตัวอย่างด้านล่าง (รูปนี้จากการทดลองนุ้กของประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 11 เดือนพฦษภาคม ปี 1998) สีแดงคือคลื่นจากการทดลองนุ้ก สีฟ้าคือคลื่นที่มาจากแผ่นดินไหวธรรมชาติ สัญญาณชุดนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหวของประเทศปากีสถาน จะเห็นคลื่นสีแดงจะมีลักษณะหัวโตตัวเล็ก คลื่นแรกที่มาถึง (Pn) จะสูงปริ๊ด แล้วคลื่นต่อๆไป (Pg,Sn,Lg) จะเล็กลง (Body Wave ใหญ่กว่า Surface wave) นี่คือคลื่นแผ่นดินไหวจากการทดลองนุ้ก ส่วนคลื่นสีฟ้าจะมีลักษณะหัว (Pn) เล็ก แล้วตัวจะมาโตทีหลัง  (Body Wave เล็กกว่า Surface wave) นี่คือแผ่นดินไหวตามปกติ Zucca5
    รูปด้านล่างคือการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่แล้วของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2006 ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด mb 4.3slide-13-728ดูให้ชัดๆเปรียบเทียบกันอีกที ดังรูปด้านล่าง ภาพบนซ้ายขวาคือคลื่อนแผ่นดินไหวจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ รูปด้านล่างซ้ายขวาคือแผ่นดินไหวธรรมชาติ (หากวัดด้วยมาตรา mb เทียบกับ Ms  จะเห็นได้ชัดเจนว่า mb ขนาด ที่วัดได้นั้น ใหญ่กว่า Ms มาก เช่นในแผ่นดินไหวของวันนี้ ขนาดวัดได้ mb 5.1 แต่ Ms ได้แค่ 4.0 เท่านั้น) slide-14-728
  • 09:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 อยู่ห่างจากโลกที่ระยะ 0.0131 AU ในเวลานี้ (ดาวเคราะห์น้อยจะเคลื่อนที่พาดผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของโลก และจะผ่านเหนือน่านฟ้าด้านเอเชีย เวลาประมาณ 02:25 เช้าวันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาในประเทศไทย จะอยู่ในเงาของโลกประมาณ 18 นาที) test9133
  • 05:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุโซนร้อนกีโน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00  พายุโซนร้อน 201315S ในมหาสมุทรอินเดีย ได้ชื่อเรียกเป็นทางการแล้วว่า Gino ความเร็วลม กสก ล่าสุด 45 น็อต  เคลื่อนที่ตามกฏการเลี้ยวซ้าย Gino
  • 10:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อนลูกใหม่ในมหาสมุทรอินเดีย 201315S ความเร็วลม กสก ล่าสุด 35 น็อต เคลื่อนที่ตามกฏการเลี้ยวซ้าย ซึ่งเป็นปกติของพายุในซีกโลกใต้201315S-110213
  • 09:00 Update ยอดเสียหายจากแผ่นดินไหว ขนาด 8.0 และ สึนามิที่เกาะลาตา (เกาะย่อยของหมู่เกาะโซโลมอน) ยอดเสียชีวิตเป็นทางการ 10 ราย (ไม่เป็นทางการ 13 ราย) บ้าน 590 หลัง ไร้ที่อยู่อาศัย 5,000 คน
  • 00:10 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 อยู่ห่างจากโลกที่ระยะ 0.0167 AU ในเวลานี้ (ดาวเคราะห์น้อยจะเคลื่อนที่พาดผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของโลก และจะผ่านเหนือน่านฟ้าด้านเอเชีย เวลาประมาณ 02:25 เช้าวันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาในประเทศไทย จะอยู่ในเงาของโลกประมาณ 18 นาที) test6751
  • สหรัฐฯ  – มีผู้เสียชีวิต 6 รายจากพายุฤดูหนาว “นีโม” ซึ่งทำให้หิมะตกเกือบ 30 นิ้วในคอนเน็กติกัด มิสซิสซิปปี นิวแฮมเชีย นิวยอร์ค
  • สหรัฐฯ  – เกิดพายุทอร์นาโดในเมืองลอเรนซ์ และอีกหลายเมืองในรัฐมิสซิสซิปปี มีรายงานความเสียหายของบ้านและเสาไฟฟ้า รวมทั้งต้นไม้หลายต้น
  • สหรัฐฯ  – คลิปทอร์นาโดถล่มเมือง Hattiesburg ในรัฐมิสซิสซิปปี มีผู้บาดเจ็บ 10 ราย สิ่งก่อสร้างเสียหายจำนวนมาก
  • เปรู – มีผู้เสียชีวิต 6 รายจากน้ำท่วมฉับพลันเหตุเพราะฝนตก 7 ชั่วโมงใน Arequipa มีบ้านหลายหลังถูกน้ำพัด รวมทั้งสะพานถล่ม 2 แห่ง

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:00 ภาพจากดาวเทียม MTSAT-2 ผ่านเว็บ JTWC แสดงให้เห็นว่าขณะนี้ไม่มีการก่อตัวของพายุหรือหย่อมความกดอากาศต่ำใดๆในอานุเขตที่มีอิทธิพลต่อไทย JTWC-050213
  • 11:30 ยาน SDO ส่งภาพในย่าน 193 อังสตรอม แสดงให้เห็นหลุมโคโรนา หรือรูโหว่ในบรรยากาศชั้นโคโรนา ของดวงอาทิตย์ โดยหลุมนี้กำลังหันตรงมายังโลก ในช่วงนี้ลมสุริยะอาจจะเพิ่มความเร็วขึ้นหลังจะเริ่มลดลงสู่ระดับปกติวานนี้ 
  • 10:00 พายุ Felleng ในมหาสมุทรอินเดีย สลายตัวแล้ว
  • 08:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012DA14 เข้ามาถึงระยะ 0.0378 AU แล้วในขณะนี้ นับถอยหลัง 10 วัน test5378
  • 06:00 ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆจากกรมชลฯ damgauge5-02-13
  • 04:00 พายุโซนร้อน Felleng ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือ 40 น็อต กำลังจะสลายตัว
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • หลายฝ่ายยังจับตาดูการปะทุของภูเขาไฟ Paluweh (Rokatenda) ในอินโดฯ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 10:57 แผ่นดินไหว ML 5.0 แถบหมู่เกาะอันดามัน ไม่ทราบความลึก
    d3b73e22-84f3-49b7-aa39-35b41faac60e

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 08:15 ดาวเคราะห์น้อยดวงสำคัญในรอบหลายปี  2012DA14 ขณะนี้อยู่ที่ระยะ 0.0413 AU จะเข้ามาเฉียดโลกที่ระยะ 0.000073 AU ใน 11 วันข้างหน้า test2909
  • 05:00 พายุโซนร้อน Felleng เคลื่อนออกห่างจากมาดากัสการ์แล้ว 13S-040213
  • 03:00 ระดับของรังสี X เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ ทั้งช่วงก่อนและหลัง การปะทุระดับ C8.4 เมื่อ 13:10 บ่ายวานนี้ Xray040213
  • รัสเซีย – เกิดเหตุพายุหิมะพัดถล่มพื้นที่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรคัมชัตกา เป็นเหตุให้สนามบินเปโตรพาฟลอฟส์ก-คัมชัตสกี ในเมืองเยลิโซโว ต้องประกาศยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศจำนวนมาก

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 29 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 กรมอุตุฯเตือนจะมีฝนตหนักภาคเหนือ จากประกาศเตือนภัยฉบับที่ 5 เริ่มจากคืนนี้ กดอ่าน

[stextbox id=”info”] เส้นเวลาเลื่อนไป 1 องศาลองติจูด ทุก 4 นาที [/stextbox]

  • 11:00 พายุโซนร้อน  FELLENG ในมหาสมุทรอินเดีย ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไซโคลน ความเร็วลมล่าสุด  65 น็อต 
  • 08:20 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 (วงโคจรสีฟ้าในภาพ) เวลานี้โคจรอยู่ที่ระยะห่างจากโลก  0.0633 AU ซึ่งโลก (จุดสีเขียวใกล้ๆกัน) และดาวเคราห์น้อยดวงนี้ จะเข้าสูระยะ MOID (ใกล้กันที่สุด) ที่ .00150678 AU เวลาตีสองเศษ (ไทย) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ นี้ 
  • 07:50 จากกราฟในแกน P ของดาวเทียม GOES -13 สนามแม่เหล็กโลกกลับเข้าสู่ระดับปกติ และในขณนี้จุดดับในด้านที่หันหาโลกเหลือเพียง 3 จุด ซึ่งทั้งหมดมีปฏิกิริยาต่ำมาก ถ้าไม่นับพวกชอบปล่อยข่าวลือในเมืองไทยแล้ว ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่นักดูออโรราในประเทศแถบอาร์กติกค่อนข้างจะอับโชคในการตามหาแสงเหนือสวยๆ 
  • 05:00 ประกาศกรมอุตุ 3 พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 3
  • 04:10 มีกลุ่มฝนแถวจังหวัดพิจิตรและพิษณุโลก
  • ออสเตรเลีย – เขื่อนไวเวนโฮ ที่กั้นแม่น้ำบริสเบน เกิดน้ำล้นสปิลเวย์ จนท ต้องใช้เวลา 7 วันเพื่อลดน้ำลง 

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 แผนที่อากาศจากกรมอุตุฯ มีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมกรุงเทพ อากาศหนาวจะหายไปในช่วงนี้ และบางแห่งอาจมีฝน 

[stextbox id=”alert”]วันนี้ข่าวลือเรื่องดวงอาทิตย์ปล่อย CME จากเว็บนี้ กดอ่าน ขอเตือนว่า ไม่เป็นความจริงนะครับ ดวงอาทิตย์สงบมากในเวลานี้ จุดดับทั้งหมดหันออกห่างจากโลก ลมสุริยะความเร็วต่ำมาก และ CME ที่ปะทุสุดท้ายก็ไปทางดาวพุธ ไม่เกี่ยวกับโลกเลย บทความนาซาอะไรที่อ้างมาก็หาไม่เจอ [/stextbox]

  • 12:50 สนามแม่เหล็กโลกเงียบสงบ ดวงอาทิตย์มีปฎิกิริยาต่ำมาก 
  • 12:40 ฝนหนักปทุม ดอนเมือง หลักสี่ สายไหม
  • 07:52 พายุโซนร้อนแกรีทางตะวันออกของเกาะซามัว ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนแล้วในขณะนี้ 
  • 07:50 ดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาต่ำมาก ความเร็วลมสุริยะ 277 km/sec สนามแม่เหล็กโลกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 06:30  อีกเดือนเศษ ชาวโลกจะได้ยลโฉมดาวหางดวงแรกของปีด้วยตาเปล่า ราวช่วงต้นมีนาคมหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็น ซึ่งดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากพอที่จะโดนอิทธิพลของลมสุริยะจนระเหิดน้ำแข็งออกเป็นหางยาวสวยงาม แต่ขณะนี้ ดาวหางนี้ยังอยู่ที่ใกล้วงโคจรของดาวอังคาร และเริ่มมีหางสั้นๆงอกออกมาแล้ว ยืนยันโดยภาพถ่ายจากทีมนักดาราศาสตร์ในอาเจนตินา ซึ่งได้ถ่ายภาพ ดาวหางแพนสตาร์ Pan STARRS เมื่อคืนนี้ด้วยกล้องสะท้อนแสงขนาด 0.3 เมตร (ซีกโลกใต้จะได้เห็นก่อน)
  • 06:00 ระดับน้ำในเขื่อนทั่วไทยล่าสุดวันนี้ ข้อมูลจากกรมชลประทาน เหลือเขื่อนศรีนครินทร์แห่งเดียวที่มีน้ำมากพอใช้ในหน้าแล้ง เขื่อนอื่นยังน่าห่วง 
  • 04:00 พายุโซนร้อนพีต้า Peta หรือ 201312S ใกล้เมือง Onslow ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 21 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 พบการก่อตัวของพายุโซนร้อน Oswald ในอ่าว Carpentaria ของประเทศออสเตรเลีย อาจขึ้นฝั่งบนคาบสมุทรเคปยอร์คใน 12 ชม นี้
  • 10:00 พายุโซนร้อน 10P ในแปซิฟิคใต้ ทางเหนือของเกาะซามัว ได้รับชื่อเป็นทางการแล้วว่า แกรี Garry พายุนี้มีแนวโน้มจะกลายเป็นไซโคลน ทิศทางการเคลื่อนที่จะผ่านทางตอนเหนือประเทศซามัวออกทะเลลึก
  • 08:15  ดาวหางแพนสตาร์หรือ C/2011L4 ขณะนี้อยู่ห่างโลก 1.93  AU ยังอยู่นอกวงโคจรของดาวอังคาร   ดาวหางนี้จะปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าในเดือนมีนาคมนี้
  • 08:10 ดาวหางไอซอน หรือ C/2012S1 ขณะนี้อยู่ห่างโลก 4.09 AU เลยวงโคจรของดาวพฤหัสเข้ามาเล็กน้อย  ดาวหางนี้จะปรากฏให้เห็นด้วยตาเปล่าในเดือนพฤศจิกายนนี้
  • 06:30 กทม 24 จันทบุรี 19°C ชัยภูมิ  17°C ลำพูน 17°C ลำปาง 14°C เชียงใหม่ 16°C แพร่ 14°C น่าน 14°C
  • 06:09 ระดับน้ำที่คงเหลือในเขื่อนต่างๆเวลานี้โดยกรมชลฯ
    image
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
  • ดาวเคราะห์น้อย (2013 BT15) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 4.6 เท่าของดวงจันทร์ ด้วยขนาดราว 15 เมตร ความเร็ว 6.97 กม/วินาที

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 19 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 หิมะถล่มอังกฤษ ไฟฟ้าดับบางพื้นที่ ถนนปิด โรงเรียนต้องปิดเรียนกว่า 3,000 แห่ง 
  • 07:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 ขณะนี้อยู่ห่างจากโลกราว 0.0978 AU หรือ 38.061 LD (38 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์)  ดาวเคราะห์น้อยซึ่งมีขนาด 45-58 เมตร ดวงนี้จะเดินทางเข้าใกล้โลกที่ระยะใกล้ผิวโลกยิ่งกว่าดาวเทียมค้างฟ้า คือที่ระยะประมาณ 22.000-27,000 กิโลเมตร ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลา 02:26 ไทย จะอยู่ในเงาโลก 18 นาที และจะกลับออกไป โดยไม่มีการปะทะ 
  • 07:00 หนองคาย 16.9 °C เลย 16.6 °C ขอนแก่น 16.1 °C อุบล 16 °C โคราช 17.3 °C ร้อยเอ็ด 16.1 °C มุกดาหาร 15 °C อุดร 15.1 °C หนองบัวลำภู 17.4 °C นครพนม 14.5 °C สกลนคร 14.2 °C กาฬสินธุ์ 14.7 °C  ชัยภูมิ 19 °C ศรีสะเกษ 16.5 °C สุรินทร์ 16.2 °C บุรีรัมย์ 15.2 °C เชียงราย 14.5 °C เชียงใหม่ 16.7 °C แม่ฮ่องสอน 16.4 °C ตาก 16.1 °C  น่าน 14.6 °C อุตรดิตถ์ 17 °C พิษณุโลก 17.2 °C กำแพงเพชร 17.5 °C  พิจิตร 18.2 °C สุโขทัย 17.8 °C พะเยา 13.9 °C ลำพูน 14.5 °C ลำปาง 14.5 °C แพร่ 14.6 °C เพชรบูรณ์ 16.9 °C
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 10 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 กราฟแผ่นดินไหวที่เขื่อนศรีนครินทร์บันทึกสัญญาณได้ดังภาพด้านล่าง และจนเที่ยงคืนแล้วทางกรมอุตุยังไม่มีคำตอบเรื่องนี้ พบที่มาว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาด 5.8 บริเวณ เกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 35.10 กม. เมื่อ 20.47 ตามเวลาไทย คลื่นส่งแรงมาถึงตัววัดที่เมืองกาญจน์ ทางกรุมอุตุ ได้ใช้รายงานจาก Geofon แสดงผลในส่วนของแผ่นดินไหวทั่วโลกไปแล้ว จึงไม่ได้มาขึ้นในรายงานแผ่นดินไหวของไทยและใกล้เคียง (ซึ่งควรจะขึ้น เพราะสุมาตรากับภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีผลต่อกันแน่นอน)
  • 19:00 พายุไซโคลน Naraelle ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางล่าสุด 75 น็อต เส้นทางพายุที่ได้รับการคาดการณ์ล่าสุดโดย TSR จะไปสลายตัวใกล้เมืองเพิร์ชของออสเตรเลีย 
  • 15:00 ยาน SDO ถ่ายภาพกลุ่มจุดดำหมายเลข 1654 ทางฝั่งตะวันออกของดวงอาทิตย์ ที่ขณะนี้กำลังหันหน้ามายังโลก กลุ่มจุดดำนี้ประกอบด้วยจุดดำขนาดใหญ่กว่าโลก 4 เท่าจำนวน 2 กลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วยแม่เหล็กความเข้มสูง มีโอกาส 40% ที่จะปะทุที่ระดับ M ซึ่งไม่ส่งผลร้ายใดต่อโลกแต่เป็นที่คาดหวังของนักดูแสงออโรราในแถบซีกโลกเหนือที่จะได้เห็นแสงเหนือสวยๆ
  • 05:00 พายุไซโคลนนาเรลเล Narelle ยังคงเคลื่อนตัวลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียอย่างช้าๆด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ราว 8 น็็อต
  • 04:00 พายุโซนามูสลายตัวแล้ว
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ฟิลิปปินส์ กำลังจะฟอร์มตัวเป็นพายุ ล่าสุดความกดอากาศลดลงเหลือ 1002 hPa
  • ดาวเคราะห์น้อย (99942 Apophis หรือ 2004MN4) กำลังเข้าใกล้โลกในระยะห่าง 38 เท่าของดวงจันทร์: ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 270 เมตร ความเร็ว 4.09 กม./วินาที พลังงาน 62 เมกกะตัน .

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 3 มกราคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:30 ลมสุริยะความเร็ว 294 km/s สภาพอวกาศรอบโลก -ปกติ-
  • 20:00 ภาพถ่ายจุดดับหมายเลข 1640 จากยาน SDO ซึ่งเป็นจุดดับเกิดใหม่ที่ขยายขนาดรวดเร็วมาก 
  • 18:00 หย่อมความกดอากาศต่ำหมายเลข 92W ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชัน 201301W ซึ่งถือเป็นพายุลูกแรกของปีนี้ ที่ฝั่งตะวันตกของฟิลิปปินส์  ทิศทางพายุเบื้องต้น ทาง TSR คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้แล้วเบี่ยงไปทางประเทศมาเลเซีย
[stextbox id=”warning”]มีผู้ไม่หวังดีเข้าโจมตีเว็บนี้อีกเมื่อเวลา 15:00 ทางเราพยายามแก้ไขอยู่ ขอบคุณมากครับ[/stextbox]
  • 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุโซนร้อนฟรีดาแล้ว เหลือเป็น RMNTS และจับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 92W ที่ฟิลิปปินส์ ที่มีแนวโน้มก่อตัวเป็นดีเปรสชันลูกต่อไป 
  • 03:00 พายุโซนร้อน Dumile กลายสภาพเป็นพายุไซโคลน
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ
[stextbox id=”info”]โลกเรากำลังผ่านเข้าสู่ธารสะเก็ดดาวของดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1 คืนนี้ ประเทศแถบซีกโลกเหนือจะได้เห็นฝนดาวตก  Quadrantids ฝนดาวตกแรกของปี 2556[/stextbox]

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)