[stextbox id=”black”]ช่วงนี้ควรระวังการปล่อยข่าวเรื่องพายุสุริยะ โดยที่ไม่มีที่มาที่ไป เอะอะอ้างนาซา แต่ไม่มีต้นฉบับเอกสารใดๆ[/stextbox]
เหตุการณ์วันนี้
- 23:00 พายุโซนร้อนเบอร์ทา นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ สลายคัวแล้ว
- 19:45 โมเดลเส้นทางพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ฮาลอง จากสำนักอุตุนิยม 6 ประเทศ พายุมีเส้นทางขึ้นฝั่งที่ชิโกกุและเคลื่อนขึ้นทางเหนือผ่านชูโงะกุไปลงทะเลญี่ปุ่น จากนั้นก็สลายตัว
- 17:30 ตำแหน่งของไต้ฝุ่นฮาลอง (TY11W) และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นเจนนิวีฟ (STY07E) ในเวลานี้
- 17:00 ไต้ฝุ่นระดับ 4 เจนนิวีฟ (TY07E) ทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 5 หรือซุปเปอร์ไต้ฝุ่น (STY07E) แล้วในเวลานี้ ตำแหน่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะมาแชล กลางมหาสมุทรแซฟิค ยังไม่มีแนวโน้มขึ้นฝั่งประเทศใด
- 16:50 กลุ่มฝนเคลื่อนตัวจากนครปฐม เข้ามาตกทั่ว กทม
- 15:35 ฝนตก แม่กลอง via @amm_sweet
- 12:00 ปัจจุบัน เราอยู่ในวัฏจักรสุริยะที่ 24 ซึ่งปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์อยู่ในช่วง “ขาลง” หลังจากเกิด “สองยอด” ไปแล้วคล้ายวัฏจักรสุริยะที่ 23 เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ซึ่งเท่ากับโอกาสที่จะปะทุรุนแรงในช่วงต่อจากนี้นั้นจะเกิดขึ้นน้อย
- 08:00 เฮอริเคนเจนนีวีฟ ข้ามเส้นแบ่งวัน 180° เปลี่ยนชื่อเป็น “ไต้ฝุ่นเจนนีวิฟ”
- 05:30 ไต้ฝุ่นระดับ 2 ฮาลอง (TY11W) เคลื่อนห่างโอกินาวาออกมาเล็กน้อย ทิศทางขึ้นเหนือตรงไปชิโกกุ ตามโมเดลจาก TSR ขอบของแรงลมยังไม่ส่งผลต่อส่วนใดๆของญี่ปุ่น ยกเว้นหมู่เกาะปะการัง The Daitō Islands (大東諸島, Daitō-shotō) ซึ่งมีประชากรราว 2 พันคน
- 05:00 พายุทั้ง 3 ลูกในแปซิฟิคตะวันออก โดนน้ำทะเลร้อนจากเอลนิญโญ ขณะนี้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ทุกลูก
- 04:30 พายุโซนร้อนเบอร์ทา เคลื่อนเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐโดยไม่เข้าใกล้แผ่นดิน ล่าสุดกำลังจะหันหัวออกแอตแลนติคหลังเข้าเขตแคนาดา
- ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในระยะนี้ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยรวม 7 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 3 จังหวัด ได้แก่ นครพนม ตราด และเชียงราย ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยใน 4 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี อุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ โดยจ.ปราจีนบุรี น้ำป่าจากดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในตำบลแก่งดินสอ อ.นาดี เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย จ.อุบลราชธานี น้ำท่วมขยายวงกว้างใน 24 อำเภอ บ้าน 50,695 ครัวเรือน 162,219 คน อพยพ 2,122 คน น้ำท่วมบ้านเรือน 1,608 หลัง ถนน 298 สาย พื้นที่การเกษตรเสียหาย 62,240 ไร่
- แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม
[stextbox id=”black”]ที่มีคนแตกตื่นพบว่าจับปลาทูได้จำนวนมากกว่าปกติหลายเท่าในอ่าวไทยช่วงนี้ เป็นเพราะมาตราการปิดอ่าวไทย 8 จังหวัด หรือพื้นที่รูปตัว ก ซึ่งปิด 2 เดือนคือ 1 มิ.ย. ถึง 31 ก.ค. และเริ่มปีนี้เป็นปีแรก ปลาจึงมีเป็นจำนวนมาก[/stextbox]
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )
แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)
- 22:53 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.6 บริเวณ KEPULAUAN SANGIHE ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 177 กม.
- 20:51 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.3 บริเวณ เกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 88 กม.
- 19:30 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.1 บริเวณ ทางทิศตะวันออกของ UZBEKISTAN ที่ความลึก 5 กม.
- 18:36 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.0 [mb] บริเวณ จูจุย ประเทศอาเจนตินา ที่ความลึก 200 กม.
- 17:51 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.4 [mb] บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 75 กม.
- 17:45 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.9 [mb] บริเวณ นอกชายฝั่ง OAXACA ประเทศเม็กซิโก ที่ความลึก 47 กม.
- 15:50 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.3 บริเวณ ประเทศคอสตาริกา ที่ความลึก 20 กม.
- 14:13 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.6 [mb] บริเวณ ประเทศฟิจิ ที่ความลึก 551 กม.
- 12:24 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.1 [mb] บริเวณ เกาะแคพพูลาวัน ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 80 กม.
- 10:26 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.8 [mb] บริเวณ ASCENSION ISLAND ที่ความลึก 2 กม.
- 08:37 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.6 [mb] บริเวณ ทางเหนือของสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติค ที่ความลึก 2 กม.
- 04:49 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.7 บริเวณ จังหวัดปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 81 กม.
- 03:35 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.1 [mb] บริเวณ เกาะนิวบริเต็น ประเทศปาปัวนิวกินี ที่ความลึก 52 กม.
- 03:05 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.4 บริเวณ ทางทิศตะวันออกของ หมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ที่ความลึก 10 กม.
- 01:45 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 4.9 [mb] บริเวณ ทางเหนือของสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติค ที่ความลึก 10 กม.