เหตุการณ์วันนี้
- 18:44 แผ่นดินไหวขนาด 4.9 (mb) ลึก 18 กม.พิกัด 93.90°E 9.28°N หมู่เกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย
- 16:00 เกิดฝนหนักน้ำท่วมในนครเฉิงตูมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เริ่มตั้งแต่ 15:00 ของวันที่ 3 ก.ค. ถึงวันที่ 03:00 ของวันที่ 4 ก.ค. เฉพาะที่สวนสาธารณะ People’s Park ใจกลางเมืองเฉิงตู ฝนตก 346.2 มม. ใน 12 ชั่วโมง เท่ากับปริมาณฝนทั้งปีตกในเวลาเพียงครึ่งวัน
- 14:13 แผ่นดินไหวขนาด 5.5 ลึก 20 กม.พิกัด 29.2°N129.1°E ในทะเลบริเวณใกล้เคียงหมู่เกาะโทะการะ จังหวัดคาโกะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 6- ตามมาตราชินโดะ
- 07:40 อาฟเตอร์ช็อกขนาด 4.1 ลึก 10 กม. พิกัด 95.58°E 22.01°N ประเทศพม่า
- 07:20 เรดาร์ตรวจอากาศ TMD สุวรรณภูมิ แสดงกลุ่มฝนภาคกลางตอนล่าง และจังหวัดรอบอ่าวไทยตอนใน ตลอด 1 ชั่วโมง 10 นาทีที่ผ่านมา
- 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในประเทศไทยย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้) จากกรมอุตุฯ
- 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในกรุงเทพฯย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม
- 06:03 แผ่นดินไหวขนาด 4.7 (mb) ลึก 10 กม.พิกัด 106.37°E 46.32°N ประเทศมองโกเลีย
- 01:00 แผนที่อากาศจาก JMA
- จำนวน พิกัดตำแหน่ง ขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้
- ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2568 เกิดแผ่นดินไหวมากถึง 927 ครั้งในบริเวณหมู่เกาะโทคาระ นอกชายฝั่งจังหวัดคาโกชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านรู้สึกหวาดกลัวและนอนไม่หลับ เนื่องจากรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาชี้แจงว่า โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จากเหตุการณ์นี้มี “ความเป็นไปได้ต่ำมาก” แม้ว่ากิจกรรมแผ่นดินไหวในหมู่เกาะโทคาระช่วงนี้จะรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงคำทำนายที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับ “แผ่นดินไหวใหญ่ในวันที่ 5 กรกฎาคม” ซึ่งสร้างความกังวลเพิ่มขึ้น. แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ปฏิเสธ “กฎโทคาระ” ที่ลือกันในอินเทอร์เน็ต ซึ่งอ้างว่าหากเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่องในหมู่เกาะโทคาระ จะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในพื้นที่อื่นของญี่ปุ่นตามมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้จัดการแถลงข่าวฉุกเฉิน โดยระบุว่าไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผ่นดินไหวจะสงบลงเมื่อใด และแนะนำให้ประชาชนในพื้นที่เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพ ผู้เชี่ยวชาญยังยืนยันว่าแผ่นดินไหวในหมู่เกาะโทคาระไม่มีความเชื่อมโยงกับร่องลึกนันไค ซึ่งเป็นบริเวณที่คาดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ
- 07:37 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานีดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์เรื่องของเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว โดยแยกสีเป็นแดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)
- 06:00 สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและเพื่อนบ้านตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาที่ตรวจวัดได้โดยกรมอุตุฯ
สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon เยอรมนี ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)