รายงาน​ภัยพิบัติ​ 12 พฤษภาคม​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 พายุ​แม่เหล็ก​โล​กสิ้นสุดลง ความปั่นป่วน​ของสนาม​แม่เหล็ก​โลกลดระดับลงเป็นปกติแล้ว
  • 18:39 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 6.2 ลึก​ 10​ กม.พิกัด 92.17°W 14.55°N เอล ปลาตานา ประเทศ​กัวเตมาลา
  • 16:05 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 25 นาที​ที่ผ่านมา
  • 12:00 แท่งกราฟชนิด 3 ชั่วโมง​ แสดงให้เห็น​ว่าพายุแม่เหล็ก​โลกจากการเข้าปะทะของมวลสาร CME ที่ปะทุออกมาจากจุดดำหมายเลข​ AR3664 บนดวงอาทิตย์​ ลดระดับ​ลงมาที่ G3 อย่างวมบูรณ์ แนวโน้ม​ลดระดับ​ลงอย่าง​ต่อ​เนื่อง​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 02:00 แท่งกราฟชนิด 3 ชั่วโมง​ แสดงให้เห็น​ว่าพายุแม่เหล็ก​โลกจากการเข้าปะทะของมวลสาร CME ที่ปะทุออกมาจากจุดดำหมายเลข​ AR3664 บนดวงอาทิตย์​ ลดระดับ​ลงมาที่ G3 ยังคงมีรายงานการเห็นแสงเหนือมาจากหลายประเทศ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​วชิราลงกรณ์​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 11 พฤษภาคม​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00​ เรดาร์​ฝน​ TMD ลำ​พูน​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​เหนือ​ ในช่วง 1 ชั่วโมง​ 15​ นาที​ ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 18:00 แท่งกราฟชนิด 3 ชั่วโมง​ แสดงให้เห็น​ว่าพายุแม่เหล็ก​โลกจากการเข้าปะทะของมวลสาร CME ที่ปะทุออกมาจากจุดดำหมายเลข​ AR3664 บนดวงอาทิตย์​ ขึ้นลงที่ระดับ G4​- G5 หลายพื้นที่​ในละติจูด​ต่ำ มีโอกาส​ได้เห็​นแสงออโรรา ซึ่งเป็นเหตุการณ์​ที่ไม่พบในยามปกติ
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 15:15 เรดาร์​ฝน​ TMD ชัยนาท​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​​กลาง​ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 08:00 พายุแม่เหล็ก​โลกจากการเข้าปะทะของ มวลสาร CME ที่ปะทุออกมาจากจุดดำหมายเลข​ AR3664 บนดวงอาทิตย์​ เพิ่มระดับขึ้นไปที่  G5 หรือ ค่า K-Index ระดับ 9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด อาจส่งผลต่อการทำงานของดาวเทียมดวงที่โคจรอยู่ในเส้นทางของอนุภาค อาจมีการรบกวนคลื่นวิทยุความถี่ HF ภาคพื้นดิน รวมถึงมีกระแสเหนี่ยวนำในหม้อแปลงไฟ​ฟ้า​และท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่​​
  • 05:10 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองแขม (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 25​ นาที​ที่ผ่านมา

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​
  • สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 29 พฤศจิกายน​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:15 เรดาร์​ตรวจอากาศ​ระดับ​ตำบล​ จ.พัทลุง ของ​ ​TMD​ ​​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา
  • 18:45 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 15:12 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 (mb) ลึก​ 24 ​ กม.พิกัด 95.26°E 12.16°N หมู่เกาะ​อันดามัน​ มหาสมุทร​อินเดีย
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 06:45 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือตั้งแต่​ 00​:45
  • 02:50 เกิดการปะทุขนาด M9.8 จากบริเวณ​จุดมืด​หมายเลข​ 3500 ​ ส่งผลให้เกิดคลื่นรบกวนวิทยุช่วง​ความถี่​ ~20 MHz ในแปซิฟิก​ใต้ นอกจากนี้ยังพบ CME​ ในทิศทางของโลก คาดว่าจะเข้ากระทบสนามแม่เหล็ก​ในวันที่ 1 ธ.ค. แต่ไม่ส่งผลใดนอกจากเกิดแสงเหนือ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 2​4 มีนาคม​ 2566​

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:00 แผนที่​จุด​ความร้อน​จากดาวเทียม​ Suomi NPP​
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 13:00 Peter Forister ​ถ่ายภาพเสาแห่ง​แสงเหนือ จากอุทยานแห่งชาติ​เชนแนนโดอา (Shenandoah)​ รัฐเวอร์จิเนีย ผลจากพาย​ุแม่เหล็ก​โลก​ระดับ G4 Impact​ credit​ : Peter Forister
  • 11:04 เกิดพายุ​แม่เหล็ก​โลก​ระดับ G4 หรือ K-index = 8 ซึ่งถือว่า​รุนแรง​ที่สุด​ใน​รอบ​ 6 ปีโดยไม่มีสาเหตุ​ที่แน่ชัด มีผู้สังเกตุ​เห็น​แสงออโรราในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะ​บริเวณเส้นละติจูดที่ต่ำกว่าที่พบได้ตามปกติ ยกตัวอย่าง​เช่นภาพที่ Peter Hill ถ่ายได้จากเซาท์​ดาโกตา
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 06:30 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 00:30
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 4 พฤศจิกายน​ 2564​

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:25 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.1 ลึก 10 กม. พิกัด 147.53°E 6.73°S เกาะนิ​วกิ
  • 22:00 มีรายงานพบแสงเหนือแถบละติจูด​ต่ำเช่นที่เมืองเร็กซ์ฟอร์ด รัฐมอนทานา สหรัฐ​ฯ ซึ่งเป็นผลจากพายุแม่เหล็ก​โลกที่ค่อนข้างรุนแรง​ Image​ credit​ Keith Taylor
  • 20:45 ผลจาก CME จากดวงอาทิตย์ ลมสุริยะทวีความเร็วลมเป็น 660.5 กิโลเมตรต่อวินาที ก่อให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลกที่ระดับ KP=7 ส่งผลกระทบระดับ G3 อาจก่อให้กิดการรบกวนสัญญาณวิทยุในบางช่วงคลื่น รบกวนดาวเทียม และเกิดแสงออโรราในประเทศแถบเหนือ
  • 19:00 หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 91W​ เคลื่อนตัว​มา​อยู่​ที่​พิกัด​ 12.5°N 125.0°E ในจังหวัดซามาร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​ 15​ น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1006​ hPa​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​มา​ทางทะเล​จี​นใต้
  • 19:00 พบการ​ก่อ​ตัวใหม่​ของ​หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 90A ที่พิกัด​ 10.9°N 68.1°E ในทะเล​อาหรับ​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​ 15​ น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1006​ hPa​​ ยังไม่มีเส้นทางเคลื่อนตัว​ที่ชัดเจน
  • 17:00 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 16:45 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.8 ลึก 10 กม. พิกัด 68.54°E 24.35°N ปากีสถาน
  • 16:30 ภาพมุมสูง แสดงพื้นที่น้ำท่วม ต.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา Cr: ปภ.
  • 16:00​ พายุ​โซน​ร้อน​ “วานดา” Wanda ในมหาสมุทร​แอตแลนติก​มีพิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ ​ 41.5 N 39.5 W ความเร็วลม​ใกล้ศูนย์ก​ลางพายุ​ 45​ น็อต​ ยังไม่​มีแนวโน้ม​ที่จะ​ขึ้นฝั่ง​ประเทศ​ใด​
  • 13:00 พบการ​ก่อ​ตัวใหม่​ของ​หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 91W ที่พิกัด 12.9°N 126.4°E​ ในทะเล​ฟิลิปปินส์​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​ 15​ น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1006​ hPa​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​มาทางทะเล​จี​นใต้​
  • 08:30 ทุ่นสึนามิ​หมายเลข​ 23401 ของไทย ตำแหน่ง 8°51’36” N 88°32’54” E หยุดส่งสัญญาณ (ขาดการติดต่อกับระบบดาวเทียมของ NDBC)​ โดยไม่ทราบสาเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าของ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา ​
  • 07:45  เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 07:45 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 7,982 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เริ่มระบาด 1,943,424 ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 68 ราย รวมเสียชีวิต​สะสมตั้งแต่เริ่มระบาด 19,462 ราย
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 07:00​ สถานการณ์​น้ำ​ใน​แม่น้ำ​เจ้าพระยา​
  • 06:49 ตารางแสดงจำนวน 20 อันดับแรกของประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​จากโรค COVID-19​ รายใหม่ต่อวันสูงสุดในโลก (ช่องสีแดงขวาสุด)​ ช่วง 24 ชั่วโมง​ที่ผ่านมา​ (ข้อมูล​จาก​ worldometers.info)
  • 05:00 ฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม เป็นเหตุให้น้ำแม่สุรินทร์เอ่อล้นไหลหลากท่วมบ้านเรือนราษฎร และ น้ำในลำห้วยแม่จ๋าเส้นทาง 108 สะพานข้ามบ้านแม่จ๋ากัดเซาะ​คอสะพานขาด รถบรรทุกตกลงไป 1 คัน Cr: @เปิ้ล_แฟลชนิวส์​
  • 02:45 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)​
  • 02:30 เรดาร์​ TMD​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​จังหวัด​แม่ฮ่องสอน​เวลานี้
  • 01:00 แผนที่​อากาศ​ของ​ JMA​ ไม่​แสดงการ​ก่อ​ตัวของ​หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ใด​ๆ​ในทะเล​ฟิลิปปินส์​หรือ​ทะ​เ​ลจีน​ใต้​เวลานี้​
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี อ.สุขสำราญ จ.ระนอง (RNTT)​ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 23 มีนาคม​ 2564​

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:30 เรดาร์​ฝน​ TMD สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​​ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาทีที่ผ่านมา​
  • 11:30 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 401  ราย ยอดผู้ป่วยสะสมยืนยันแล้ว 28,277  ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 1 ราย รวมเสียชีวิต​สะสม 92 ราย
  • 09:48 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.7 (mb) ลึก​ 27 กม. พิกัด​ 71.83°W 7.46°N ประเทศ​เวเนซุเอลา​
  • 07:35 ลมสุริยะความเร็ว 530.7 km/sec
  • 01:26 สรุปยอด COVID-19 ทั่วโลก แสดงเฉพาะประเทศที่มีผู้ป่วยสะสมที่ยืนยันแล้วมากกว่า 1,450,000 ราย
  • 01:15 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 (mb) ลึก​ 153 กม. พิกัด​ 176.71°E 37.93°S เกาะ​เหนือ​นิวซีแลนด์​
  • 00:23 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6 ลึก​ 10 กม. พิกัด​ 93.01°E 31.98°N เขต​ปกครอง​ตนเอง​ทิเบต​
  • ความเร็วที่เพื่มขึ้นของลมสุริยะก่อพายุแม่เหล็กโลก ในระดับ Kp Index = 6 ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาซึ่งยังไม่เป็นผลร้ายอะไรนอกจากการเกิดแสงเหนือแสงใต้ และเวลานี้ค่า Kp ลดลงเป็นปกติ อยู่ที่ระดับ 1 แล้ว (หากค่า Kp ไปถึง 8 หรือ 9 คือดาวเทียม การสื่อสารวิทยุ จะเริ่มถูกพายุแม่เหล็กรบกวน อาจขัดข้องไม่ทำงาน หรือในขั้นรุนแรงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวัตถุที่มีลักษณะยาวบนผิวโลกได้ เช่นท่อส่งน้ำมัน หรือขดลวดในหม้อแปลง อาจทำให้หม้อแปลงระเบิดเกิดไฟฟ้าดับได้)
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อน​กิ่วลม จ.ลำปาง(LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 6 สิงหาคม 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:45 ฝนเล็กน้อยถึงปานกลางปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครเกือบทั้งหมด ยกเว้นเขตหนองจอก เคลื่อนทิศตะวันออก มุ่งต่อไปทางทิศเหนือ
  • 22:00 พายุโซนร้อน “ฟรานซิสโก” ขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ที่เมืองคย็องจู ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลดลงเหลือ 35 น็อต ความกดอากาศ 998 hPa
  • 13:00 ศูนย์กลางพายุโซนร้อน “ฟรานซิสโก” เคลื่อนตัวจากเกาะคิวชูลงสู่ทะเลญี่ปุ่น แนวโน้มขึ้นฝั่งเกาหลีใต้คืนนี้ ความเร็วลม กศก 45 น็อต ค่าความกดอากาศ 996 hPa 
  • 13:00 พายุโซนร้อน “ฟรานซิสโก” เคลื่อนจากเกาะคิวชูกตรงไปเกาหลี ขณะที่พายุดีเปรสชัน 11W ในทะเลฟิลิปปินส์ ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า “กรอซา” มุ่งขึ้นเหนือไปญี่ปุ่น มีโอกาสกลายเป็นไต้ฝุ่นเช่นเดียวกับพายุโซนร้อน “เลกีมา” ที่กำลังมุ่งไปไต้หวัน (ชื่อพายุ “กรอซา” Krosa  ក្រសារ ตั้งโดยประเทศกัมพูชา หมายถึงนกกระสา หรือพายุหมายเลข 10 ตามวิธีตั้งชื่อของ JMA)
  • 10:00 พายุทุกลูกทางตะวันออกของมหาสมุทรแปวิฟิก สลายตัวแล้ว
  • 08:19 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.9 ลึก 5 ก.ม.พิกัด 23.66°N 121.54°E เทศมณฑลฮวาเหลียน ชายฝั่งตะวันออกของไต้หวัน ความรุนแรงระดับ 5 ตามมาตราเมอร์คัลลี
  • 07:00 พายุไต้ฝุ่น “ฟรานซิสโก” หรือพายุหมายเลข 8 ขึ้นฝั่งญี่ปุ่นที่เกาะคิวชูแล้วเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ล่าสุดอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลม 45 น้อต ความกดอากาศ 992 hPa คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปขึ้นฝั่งเกาหลีใต้เป็นลำดับต่อไป
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
    ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก
  • 07:00 ลมสุริยุทวีความเร็วขึ้นเป็น 711.6 km/sec เกิดพายุแม่เหล็กโลกที่ระดับ KP-Index=5 ผู้ที่รอชมแสงออโรรา มีโอกาสเห็นได้ง่ายขึ้น
  • 06:00  เรดาร์ของสำนักการระบายน้ำ ตรวจพบกลุ่มฝนเล็กน้อยกระจายบางพื้นที่ในกรุงเทพฯ และมีฝนในอีกหลายจังหวัดของภาคกลางและภาคตะวันออก
  • 00:00 โซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูกได้แก่หย่อมความกดอากาศต่ำ 94W ที่ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน 11W พายุไต้ฝุ่น “ฟรานซิสโก” ที่เข้าประชิดฝั่งเกาะคิวชูของญี่ปุ่น และพายุโซนร้อน “เลกีมา” ที่กำลังมุ่งไปขึ้นฝั่งไต้หวัน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP)
    ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวทั่วโลกและอาฟเตอร์ช็อกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติพฤหัส 16 พฤษภาคม​ 2562

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 ระดับของพายุแม่เหล็กโลกกลับสู่สภาพปกติตั้งแต่ก่อนเที่ยงคืนวานนี้
  • 20:00 ดาวเคราะห์น้อย 2019 JH7 ขนาด 4 เมตร ความเร็ว 9.6 กม./วินาที เข้าใกล้โลกที่ระยะ 20% ของความห่างโลก-ดวงจันทร์
  • 13:52 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.8(mb) ลึก​ 19 กม. พิกัด 94.23°E 7.40°N ใกล้หมู่เกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย 
  • 11:04 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.1 ลึก​ 138 กม. พิกัด​ 76.85°W 2.24°S พรมแดน​เปรู​-เอกวาดอร์
  • 08:00 น. กทม. ฝนหยุดตก ปริมาณฝนสูงสุดเขตเขตบางนา 51.0 มม.
  • 07:32 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.1 ลึก​ 105 กม. พิกัด​ 69.08°W  31.46°S ประเทศ​อาร์เจน​ติ​นา
  • 07:30 กทม.มีฝนเล็กน้อยเบาบางเขตพระโขนง บางนา ประเวศ แนวโน้มลดลง ต่อเนื่องฝนเล็กน้อย-ปานกลาง อ.พระประแดง อ.เมืองสมุทรปราการ อ.บางพลี อ่าวไทย เคลื่อนทิศตะวันออกช้า ๆ [ดูภาพเรดาร์]
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา ขาว=ไม่มี เขียว=เบามาก เหลือง=เบา ส้ม=ปานกลาง แดง=หนัก ม่วง=หนักมาก

  • 06:00 กทม.มีฝนเล็กน้อย-ปานกลางเขตทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ บางคอแหลม สาทร ยานนาวา ปทุวัน บางรัก คลองเตย วัฒนา พระโขนาง ส่วนหลวง บางนา ประเวศ ต่อเนื่อง อ.พระประแดง อ.เมืองสมุทรปราการ
  • 06:00 ทุ่นสึนามิของไทยทั้ง 2 ตัวมีสภาพดี ทำงานตามปกติ
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง (LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้


สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 6 พฤษภาคม 2561

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร 
  • 18:30 เกิดพายุแม่เหล็กโลกจากความเร็วลมสุริยะที่เกิน 600 กม/วินาที เหตุจากหลุมโคโรนาขนาดใหญ่บนดวงอาทิตย์หันมาตรงกับโลกเราพอดี
  • 16:23 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.3 ลึก 9 กม.พิกัด 96.53°E 34.56°N มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน
  • 15:10 เรดาร์ TMD แสดงกลุ่มฝนก่อตัวใน จ.นนทบุรี ส่งผลให้เกิดฝนหนักใน จ.นนทบุรี ปทุมฯ และหลายเขตทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ เวลานี้
  • 10:00 กทม มี ฝนเล็กน้อยถึงปานกลางเขตประเวศ ลาดกระบัง มีนบุรี สะพานสูง หนองจอก และฝนเล็กน้อยเขตลาดพร้าว | รอบนอกฝนเล็กน้อย อ.เมือง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ดูภาพเรดาร์
  • 07:30 กทม มีฝนตกเขตประเวศ สวนหลวง
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้า บ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี SRDT เขื่อนศรีนครินทร์ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำอาทิตย์ 12 พฤศจิกายน 2560

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:00 พายุโซนร้อนไห่ขุยอ่อนกำลังเป็นดีเปรสชัน แนวโน้มสลายตัวall-00
  • 08:00 วานนี้ เขื่อนอุบลรัตน์ระบายน้ำที่ 22 ล้าน ลบม.น้ำไหลเข้าวานนี้ 8 ล้าน ลบม. ล่าสุดเวลานี้ ปริมาณน้ำคงเหลือในเขื่อน 109% UbonRatDam-201711112-0700
  • 12:00 พายุนอกเขตร้อน Rina ในแอตแลนติกสลายตัวแล้ว
  • 07:00 ภาพกระแสลมแสดงตำแหน่งของพายุดีเปรสชันไห่ขุยในทะเลจีนใต้ที่กำลังจะสลายตัวแล้วหย่อมความกดอากาศต่ำ 90B ใกล้ศรีลังกาที่มีโอกาสจะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกใหม่สัปดาห์หน้าWind-20171112-0700
  • 07:00 กราฟฟิคจากสำนักระบายน้ำ แสดงปริมาณฝนที่ตกใน กทม 24 ชม.ที่ผ่านมา
  • 04:00 อัพเดทโมเดลเส้นทางพายุจากสำนักอุตุฯ 6 ประเทศ ทุกสำนักเห็นว่าพายุโซนร้อนไห่ขุยจะสลายตัวในทะเลก่อนขึ้นฝั่งเวียดนาม ยกเว้น อุตุฯเกาหลี (KMA)  ที่เห็นว่าพายุไห่ขุยน่าจะเข้ามาสลายตัวในแผ่นดินเวียดนาม30W-20171112-0400
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี สถานี CMMT เขียงใหม่ ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้