รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2555

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:00 ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นโบพา ทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเป็น 140 น็อต (CAT5) หรือ 260 กม/ชม กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดของปีนี้ 
  • 15:00 ไต้ฝุ่นโบพา กลับทวีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเป็น 115 น็อตเช่นเดิม  (CAT4) หลังจากอ่อนกำลังลงไปช่วงหนึ่ง 
  • 14:00 Ensemble Model ที่นักข่าวไทยเอามาใช้กันผิดๆในช่วงพายุแคมี (แกมี) จะเอามาใช้ในช่วงนี้ เมื่อตัวแปรในการคำนวนต้องนำมาใช้ทุกตัว 
  • 10:57 ไต้ฝุ่นโบพา เหลือความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 105 น็อต  (CAT3) แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ  ภาพจากดาวเทียม MTSAT-1R 
  • 06:00 ไต้ฝุ่นโบพา เหลือความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 115 น็อต  (CAT4) แนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • 18:55 ทาง TMD (กรมอุตุ) รายงานว่ามีแผ่นดินไหว ประเทศพม่า บริเวณ (23.69,96.21) ขนาด 6.0 ห่างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 506 กม. บอกความลึกไม่ได้ ไม่มีเครื่องมือ  แต่ทาง Geofonz วัดได้ที่ขนาด 4.7 บริเวณ  23.18°N 96.08°E  ที่ความลึก 27 กม. โดยวัดค่าแบบ Manual ถือเป็นอันยุติ (ค่าต่างกันกับของไทยมาก) 

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

ความผิดพลาดในคำทำนายเกี่ยวกับสภาพอากาศโลกของ IPCC

IPCC กับคำทำนายที่น่าตื่นตระหนกที่ได้ลงตีพิมพ์ใน นิวยอร์คไทมส์
เดือนกันยายน 1995 มีรายงานจาก นิวยอร์คไทมส์ว่า นักวิทยาศาสตร์ของ IPCC ได้มีคำพยากรณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างใกญ่หลวงของสภาพอากาศโลกออกมา (ตอนนั้น IPCC กำลังเตรียมออกภาคประเมิณ SAR ในปี 1996)

ตาม Link ด้านล่างนี้
http://select.nytimes.com/gst/abstract.html?res=F60613FB3C5D0C7B8DDDA00894DD494D81

เรามาดูว่าอีก 15 ปีต่อมา คำพยากรณ์ของ IPCC ถูกต้องแค่ไหน

ภาพด้านล่างนี้ คือกราฟแสดงการเพิ่มอุณหภูมิโลกในช่วง 100 ปีข้างหน้า (จาก 1990-2090) โดยมีโมเดลการคำนวนค่าที่แตกต่างกันถึง 9 แบบแยกตามสีต่างๆ เกือบทุกแบบแสดงความสอดคล้องกันของการเพิ่มอุณหภูมิโลกในช่วง 100 ปีมากบ้างน้อยบ้างตามวิธีทางคณิตศาสตร์

ส่วนด้านล่างนี้ คือระดับอุณหภูมิโลกที่เกิดจริง วัดถึงเดือน พ.ค. 2011 (เก็บข้อมูล 32 ปี โดยเริ่มจาก 1979 ก่อนกราฟด้านบน 11 ปี)

เมื่อนำกราฟทั้งสองมาทับกัน จะพบความแตกต่างดังรูปด้านล่างนี้

จากที่เห็น พบว่ามีเพียงโมเดลการคำนวนแบบ MRI2 (สีบานเย็น) ที่มีค่าใกล้เคียงความจริง ที่เหลืออีก 8 โมเดล ล้วนคำนวนว่าโลกจะร้อนกว่าที่เป็น