รายงาน​ภัยพิบัติ​ 9 ตุลาคม​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:06 เกิดการปะทุระดับ X1.8 บนดวงอาทิตย์​ ซึ่ง CME ที่ปลดปล่อยออกมาจะก่อให้เกิดพายุแม่เหล็ก​โลก​ระดับ​ G4 ซึ่ง​โดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบร้ายแรงอะไร แน่อาจมีผลดีคือจะทำให้หลายประเทศแถบอาร์กติก​ได้เห็นแสงออโรร่าง่ายขึ้น
  • 14:00 สถานถาพเขื่อนภูมิพล​เวลานี้ ยังรั​บน้ำ​ได้อีก 28.33%
  • 13:00 ซูเปอร์​เฮอริเคน​ “มิลตัน” Milton มีพิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 23.8°N 85.9°W ในอ่​าวเม็กซิโก​ ความเร็วลม​ใกล้ศูนย์ก​ลางพายุ​ 140 น็อต​หรือ 259 กม./ชม. ความกด​อากาศ​ 908 hPa​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​ไปขึ้นฝั่ง​รัฐ​ฟลอริดา​ในวัน​พรุ่งนี้
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 06:00 เรดาร์​ตรวจฝน​จากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองจอก​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​กรุงเทพฯ​และ​ปริมณฑล​รวมทั้ง​บาง​จังหวัด​ใน​ภาค​กลาง​ตอน​ล่าง​และ​ภาค​ตะวันออก​ตลอด 25 นาที​ที่ผ่านมา
  • 01:00 พายุ​ดีเปรสชัน​ 21W ที่ก่อตัว​ขึ้น​ใหม่​ทางตะวันตก​ของ​มหาสมุทร​แปซิฟิก​ทางเหนือ​ของหมู่เกาะ​นอร์ท​เทิร์น​มาเรียนา​มี​พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ื24.6°N 148.2°E ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 25 น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1002 hPa​ เคลื่อนตัว​ขึ้น​ทางเหนือ​ค่อนตะวันออก​ ไม่มี​แนวโน้ม​ขึ้นฝั่ง​ประเทศ​ใด
  • 01:00​ ​แผนที่​อากาศ​จาก​ JMA
  • จำนวน พิกัดตำแหน่ง ขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ​ จ.ระนอง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติ 14 กันยายน 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:45 เกิดการปะทุในระดับความรุนแรง X4.5 จากจุดมืดหรือจุดปฏิกิริยาหมายเลข 3825 ที่ขอบด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ในทิศทางที่ไม่หันตรงมาทางโลกเรา จึงไม่เกิดผลกระทบใดๆ ยกเว้นเกิดการขาดหายของการสื่อสารวิทยุในช่วงคลื่น 30MHz เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงหลังจุดพีคของการปะทุคือ 23:29 ตามเวลาไทย ในประเทศแถบอเมริกาใต้และหมู่เกาะในแอตแลนติก ซึ่งเป็นข่วงกลางวันจึงหันหาดวงอาทิตย์พอดี
  • 19:05 เรดาร์ตรวจฝนจากสำนักการระบายน้ำ กทม ที่หนองแขม (แบบเคลื่อนไหว) แสดงกลุ่มฝนที่ตกในกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมทั้งบางจังหวัดในภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกตลอด 25 นาทีที่ผ่านมา
  • 17:56 แผ่นดินไหวขนาด 4.9 (mb) ลึก 60 กม.พิกัด 92.41°E 6.33°N หมู่เกาะนิโคบาร์ มหาสมุทรอินเดีย
  • 16:15 เรดาร์แบบรวมทั่วประเทศของกรมอุตุย้อนหลัง 6 ชั่วโมง หรือตั้งแต่ 10:15
  • 07:30 น้ำโขงเออเข้าท่วมถนนประจักษ์ บขส.หนองคาย ตลาดสดโพธิ์ชัย ตลาดสดชัยพร วัดโพธิ์ชัย Cr.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในกรุงเทพฯย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในประเทศไทยย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้) จากกรมอุตุฯ
  • 06:30 เรดาร์แบบรวมทั่วประเทศของกรมอุตุย้อนหลัง 6 ชั่วโมง หรือตั้งแต่ 00:30
  • 01:29 แผ่นดินไหวขนาด 5.0 (mb) ลึก 10 กม.พิกัด 86.56°E 31.57°N เขตปกครองตนเองทิเบต
  • 01:00 พายุโซนร้อน “บึบิงกา” Bebinca เคลื่อนตัวมาที่พิกัด 25.2°N 132.7°E ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโอกินาวา ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุคงที่ที่ 45 น็อต ความกดอากาศ 986 hPa แนวโน้มเคลื่อนตัวผ่านโอกินาวา จากนั้นทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นไปขึ้นฝั่งมณฑลเจ้อเจียงของจีน
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก JMA
  • จำนวน พิกัดตำแหน่ง ขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์เรื่องของเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว โดยแยกสีเป็นแดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 14 พฤษภาคม​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:55 จุดดำ​หมายเลข​ AR3664​ ที่ขอบด้านตะวันตกเฉียงใต้​ของดวงอาทิตย์​ และเคยปล่อย CME​ ใส่โลกเมื่อสัปดาห์​ก่อนจนเกิดพายุแม่เหล็กโลกครั้งใหญ่ไปแล้ว​นั้น  เวลานี้ปะทุแฟล์ระดับ X8.7 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดในวัฏจักรสุริยะนี้  แม้จะไม่หันตรงมาทางโลก แต่ความรุนแรงจากการปะทุครั้งนี้ก็ยังคงปลดปล่อย รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์ออกมาเป็นปริมาณมาก ส่งผลให้ เกิดการรบกวนการสื่อสารทางวิทยุในช่วงคลื่น 30​MHz​ บนผิวโลกเป็นวงกว้าง
  • 22:45 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 22:00 ไม่มีพายุแม่เหล็ก​โล​กในเวลานี้​ สนามแม่เหล็ก​โลก​อยู่​ในระดับปกติ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 02:15 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือตั้งแต่​ 20:15

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 16 กุมภาพันธ์​ 2567

เหตุการณ์วันนี้

  • 13:53 เกิดการ​ปะทุ​ขนาด X2.5 จากจุดมืดหมายเลข AR3576 บนดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เกิดการเหนี่ยวนำ​กระแสโปรตอนพุ่งสูง​ถึง 50 MeV​ ที่อาจส่งผล​กระทบ​ต่อ​การ​ทำงาน​ของ​ดาวเทียม​บางดวง
  • 07​:00​ เปรียบเทียบ​อุณหภูมิต่ำสุดในจังหวัดต่างๆของภาคเหนือ​เช้านี้และเช้าวานนี้ ที่มาจากกรมอุตุ
  • 01:43 ข้อมูล​จากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี โดย GISTDA​ แสดงตำแหน่ง​จุดความร้อน​ในประเทศ​ไทยและประเทศ​เพื่อนบ้าน​ล่าสุด​​

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 29 พฤศจิกายน​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:15 เรดาร์​ตรวจอากาศ​ระดับ​ตำบล​ จ.พัทลุง ของ​ ​TMD​ ​​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา
  • 18:45 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 15:12 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 (mb) ลึก​ 24 ​ กม.พิกัด 95.26°E 12.16°N หมู่เกาะ​อันดามัน​ มหาสมุทร​อินเดีย
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 06:45 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือตั้งแต่​ 00​:45
  • 02:50 เกิดการปะทุขนาด M9.8 จากบริเวณ​จุดมืด​หมายเลข​ 3500 ​ ส่งผลให้เกิดคลื่นรบกวนวิทยุช่วง​ความถี่​ ~20 MHz ในแปซิฟิก​ใต้ นอกจากนี้ยังพบ CME​ ในทิศทางของโลก คาดว่าจะเข้ากระทบสนามแม่เหล็ก​ในวันที่ 1 ธ.ค. แต่ไม่ส่งผลใดนอกจากเกิดแสงเหนือ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี เขื่อน​กิ่วลม​ จ.ลำปาง​ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์​เรื่อง​ของ​เวลาที่เกิดแผ่นดินไหว​ โดยแยกสีเป็น​แดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว​ กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุ​ตัวเลขที่ชัดเจน)​

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 18 กรกฎ​าคม 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:30 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 13:30
  • 15:30 เรดาร์​ฝน​ TMD ขอนแก่น​ (แบบ​เคลื่อนไหว) แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ ช่วง 1 ชั่วโมง​15 นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 07:18 เกิดการปะทุขนาด M6​ จากจุดมืดหมายเลข​ AR3363​ ที่ขอบตะวันตกเฉียงใต้​ของดวงอาทิตย์​ในทิศทางที่ไม่หันมาทางโลก​
  • 07:00 ไต้ฝุ่น​ “ตาลิม” Talim​ เคลื่อนตัว​ลงอ่าวตังเกี๋ย​ แล้วขึ้นฝั่ง​ครั้งที่​ 2 บริเวณ​เมืองชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง อ่อนกำลัง​ลง​เป็น​พายุ​โซน​ร้อน​ ความเร็วลม​ใกล้ศูนย์ก​ลางพายุ​ลดลงเหลือ​ 60 น็อต​ เคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในกรุงเทพฯ​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมงจาก​ศูนย์​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม​
  • 04:45 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 22:45

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 1​1 กุมภาพันธ์​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:48 เกิดการปะทุระดับ​ X1 จากจุด​มืดหมายเลข​ AR3217 บนดวงอาทิตย์​ในด้า​นที่​หัน​หาโลก ก่อให้เกิดการรบกวนวิทยุคลื่นสั้นบริเวณ​ทวีปอเมริกา​ใต้เนื่องจากเป็นช่วงกลางวันพอดี
  • 19:00 พายุ​ไซโคลน​ Freddy​ ในมหาสมุทร​อินเดีย​โซน​ซีกโลก​ใต้​ ทวี​ความเร็วลม​ใกล้ศูนย์ก​ลางพายุ​ขึ้นไปที่ 105 น็อต​ เทียบ​เท่า​ระดับ​ 3 ตามม​าตราเฮอริเ​คนแซฟเฟอร์​-ซิมป์สัน​ พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 14.8 S 103.0 E เคลื่อนตัว​ไป​ทางตะวันตก​
  • 18:35 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.1 (ML) ลึก​ 31.8 กม.พิกัด​ 23.38°N, 121.66°E ใน​ทะเล​ใกล้​ชายฝั่ง​เทศ​มณฑล​ฮ​วา​เหลียน​ ประเทศ​ไต้หวัน​ ความรุนแรง​ระดับ​ 4 ตา​มมาตรา​ใหม่​ของ​ CWB
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 01:00 พบการ​ก่อ​ตัวใหม่​ของ​พายุ​ดีเปรสชัน​ 13S ในมหาสมุทร​อินเดีย​โซน​ซีกโลก​ใต้​ ทวี​กำลัง​ขึ้นเป็น​พายุ​โซน​ร้อน​ได้ชื่อ​เรียกว่า​ Dingani ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 45 น็อต​พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 16.0°S 80.3°E เคลื่อนตัว​ไป​ทางตะวันตก​
  • 01:00 ​พ​ายุโซนร้อน​ Freddy ​เคลื่อนตัว​ออกจากทะเลติมอร์​ออกไป​สู่มหาสมุทร​อินเดีย​ ทวีกำลัง​ขึ้นเป็น​พายุ​ไซโคลน อ่อกำลัง​ลง​เป็น​พายุ​โซน​ร้อน​แล้วทวี​กำลัง​ขึ้นเป็น​พายุ​ไซโคลน​อีกครั้ง​ ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 75 น็อต​ ความกด​อากาศ​ 978 hPa​ พิกัด​ล่าสุด​อยู่ที่​ 14.6°S 105.4°E เคลื่อนตัว​ไป​ทางตะวันตก​ ไม่​มีแนวโน้ม​ขึ้นฝั่ง​ประเทศ​ใด
  • 01:00 พายุ​โซน​ร้อน​ GABRIELLE​ ในทะเลคอรัล ​ทางตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ของ​ออสเตรเลีย​ ทวีกำลัง​ขึ้นเป็น​พายุ​ไซโคลน​ จากนั้นอ่อนกำลัง​ลง​เป็น​พายุ​โซน​ร้อน​อีกครั้ง เคลื่อนตัว​ไปท​างตะวันออก​เฉียง​ใต้​จนออดนอกเขต​ร้อนที่พิกัด​ 26.6°S 164.4°  กลายเป็นพายุหมุน​นอกเขตร้อน “Sub tropical​ storm” ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ลดลงมาที่ 55 น็อต​ ความกด​อากาศ​ 980 hPa​ แนวโน้ม​อ่อนกำลัง​ลง​จน​สลายตัว​
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 15 มกราคม​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:31 เกิดการ​ปะทุ​ใน​ความรุนแรง​ระดับ​ M4.9 จากจุด​มืดหมายเลข​ 3190 บนดวงอาทิตย์​ในทิศทางที่ไม่หันตร​งมา​ทางโลก​ การปะทุนี้ไม้ส่งผล​ใดๆใน​เบื้องต้น​
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 10:36 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.7 ลึก 10​ กม. พิกัด 39.23°E 38.40°N จังหวัด​เอลาซิก ประเทศ​ตุรเคีย
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 หมอกลงจัดในหลายจังหวัด​ของภาคกลาง​และภาค​ตะวันออก​
  • 07:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ตอ​นบน​ ทั้งยอดภูและ​พื้น​ราบ Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 04:57 เกิดการ​ปะทุ​ใน​ความรุนแรง​ระดับ​ M  จำนวน 2 ครั้งติดๆกันจากจุด​มืดหมายเลข​ 3182 บนดวงอาทิตย์​ในทิศทางที่ไม่หันตร​งมา​ทางโลก​ การปะทุนี้ไม่ส่งผล​ใดๆใน​เบื้องต้น
  • 03:32 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.7  ลึก​ 149   กม.พิกัด​ 106.53°E 6.39°S เกาะ​ชวา​ ประเทศ​อ​ินโดนีเซีย​
  • แผนที่จุดความร้อนในภาคเหนือ​ย้อนหลัง 1 วัน
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 10 มกราคม​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:30 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 12:30
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 07:00 เปรียบเทียบอุณหภูมิต่ำสุดรายวัน ระหว่างวันที่ 6-9 มกราคม​ 2566
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ตอ​นบน​ ทั้งยอดภูและ​พื้น​ราบ Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • 06:30 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 00:30
  • 01:50 เกิดการ​ปะทุ​ใน​ความรุนแรง​ระดับ​ X​1.9 จาก​จุด​มืดหมายเลข​ 3184 บนดวงอาทิตย์​ในด้านที่หันหาโลก ปล่อยอนุภาคมีประจุทำปฏิกิริยา​ไอออน​ไน​ซ์กับ​ด้า​นบ​นของ​ชั้น​บรรยากาศ​โลก​ ก่อให้เกิดการ “แบล็ค​เอาท์” ของวิทยุคลื่นสั้นช่วง 25 MHz บริเวณมหาสมุทร​แปซิฟิก​ฝั่งอเมริกา​ใต้ ตามแผนที่นี้ คลิ๊ก
  • 01:00 ออสเตรเลีย​ไม่​เตือน​สึนามิ​จาก​แผ่นดินไหว​ใหญ่ในทะเลบันดา ใกล้​หมู่เกาะ​Tanimbar​ (ดอกจัน​สี​แดง​ในภาพ)​
  • 00:47 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 7.6 (Mw) ลึก 108  กม. พิกัด 129.98°E 7.11°S ในทะเลบันดา ใกล้หมู่เกาะ​ Tanimbar ประเทศ​อินโดนีเซีย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 6 มกราคม​ 2566

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:45 เรดาร์​แบบ​รวม​ทั่วประเทศ​ข​องกรมอุตุ​ย้อนหลัง​ 6​ ชั่วโมง​ หรือ​ตั้งแต่​ 14:45
  • 16:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​สูง​สุด​ใน​ภาค​เหนือ​ Cr​: กรมอุตุฯ
  • 15:30 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ภูเก็ต​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวลาใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 11:44 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.6   ลึก 10   กม. พิกัด 37.5N 137.3E จังหวัดอิชิกะวะ ประเทศ​ญี่ปุ่น​ ความรุนแรง​ระดับ​ 4​ ตา​มมาตรา​ชิน​โ​ดะ​
  • 10:30 เรดาร์​ฝน​ ​TMD​ ​สทิงพระ​ (แบบ​เคลื่อนไหว)​ แสดง​กลุ่ม​ฝน​ที่​ตก​ใน​ภาค​ใต้​ช่วง​ 1​ ชั่วโมง​ 15​ นาที​ที่ผ่านมา (เวล​าใน​ภาพ​เป็นเวลา​ UTC​ ต้องบวก​ 7​ ช​ั่วโมงให้เ​ป็นเวลาไทย)
  • 08:00 เกิดการปะทุในความรุนแรง​ระดับ​ X1.2 จากจุด​มืดหมายเลข​ AR3182  ที่ขอบด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ในทิศทางที่ไม่หันตรงมาทางโลก ไม่พบการปล่อยมวลสารโคโรนา​ (CME)​ ออกมาจากการปะทุครั้ง​นี้​ แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตและเอ็กซ์​เรย์จากการปะทุครั้งนี้ได้ทำปฏิกิริยา​ไอออนไนซ์กับด้านบนของ​ชั้น​บรรยากาศ​โลก​ก่อให้เกิดการ Black​out ของคลื่นวิทยุสื่อสาร​ความถี่ช่วง 30 MHz ในแถบแปซิฟิก​ใต้
  • 07:00 หย่อมความ​กดอากาศต่ำ​ 96W ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​ 15​ น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1007 hPa​ ในทะเล​จีน​ใต้​ เคลื่อนตัว​มา​ที่พิกัด​ 5.0°N 109.8°E แนวโน้ม​จะไม่เข้าอ่าวไทย
  • 07:00  แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​เหนือ​ วัดเฉพาะ​พื้นราบไม่รวมยอดดอย Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่​แสดง​อุณหภูมิ​ต่ำสุด​ใน​ภาค​ตะวันออก​เฉียง​เหนือ​ตอ​นบน​ ทั้งยอดภูและ​พื้น​ราบ Cr :กรมอุตุฯ
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝนในประเทศ​ไทย​ย้อนหลัง​ 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้)​ จากกรมอุตุฯ
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานี ดอยสุ​เทพ​ จ.เชียงใหม่​ กรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)