รายงานภัยพิบัติประจำศุกร์ 9 กันยายน

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 จับตาดูหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 91W ที่ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนลงทะเลจีนใต้เป็นดีเปรสชันเข้าใกล้ไทยสัปดาห์หน้า (อุตุฯบอกจะมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าไทย แต่โมเดลสำนักอื่นส่วนใหญ๋มองว่าจะไม่เข้าไทย จะเลี้ยวขึ้นไปทางเวียดนามตอนบนแทน)tmd-01-090916
  • 12:00 พายุหมุนเขตร้อนทั่วโลกสลายหมดแล้ว เหลือลูกที่เกิดใหม่ที่เกาะกวมคือ 16W TSR-20160909-1300
  • 07:30 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.3 (mb) ลึก 1 กม. พิกัด 129.08°E 41.30°N ประเทศเกาหลีเหนือ (จากรูปคลื่น น่าจะเป็นการทดลองนิวเคลียร์ เหตุผลIC.MDJ.00.BHZ.2016.253.00.30.02.000-2016.253.01.00.02.000Cr31oP6VUAALLpX
  • 07:03 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.3 ลึก 144 กม. พิกัด 65.75°W  31.42°S จังหวัด Cordoba  ประเทศอาร์เจนตินาgfz2016rskx
  • 03:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 98W บริเวณเกาะกวม ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน 16W ทิศทางเคลื่อนไปตะวันตกเฉียงเหนือ16W-20160909-0300
  • 04:46 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 6.1 ลึก 10 กม. พิกัด 158.52°E 54.63°S บริเวณใกล้เกาะแม็คควอรี gfz2016rsgj
  • 02:36 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.8 ลึก 54 กม. พิกัด 102.00°E 4.52°S ในทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา gfz2016rscb
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT จ.เชียงใหม่ ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-080916

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำพุธที่ 6 มกราคม 2559

เหตุการณ์วันนี้

  • 16:00 เกิดพายุแม่เหล็กโลกระดับ  G1 เป็นช่วงสั้นๆจากความเร็วลมสุริยะที่เพิ่มขึ้น
  • 12:00 ล่าสุดมีกราฟแผ่นดินไหวจากสถานี MDJ ของจีนออกเผยแพร่ โดยเน้นการเปรียบเทียบไปที่ 2 ปีล่าสุด ปรากฏว่ารูปกราฟแบบ broadband ที่เว็บเราลงเมื่อช่วงแรกนั้น แสดงค่าผิด ทำให้การวิเคราะห์ของทางเราในช่วงอรกนั้นผิดตามไปด้วย โดยล่าสุดพบว่า รูปคลื่นแผ่นดินไหวเปรียบเทียบ 2 ปีคือ 2016 และ 2013 มีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งกลับกลายเป็นว่า คำอ้างเรื่อง H-Bomb ของเกาหลีเหนือมีน้ำหนักน้อยลง เพราะขนาดของคลื่น p-wave ทั้ง 2 ปี มีค่าพอๆกัน คือราวๆ  ~5-10 กิโลตันTNT ซึ่งไม่น่าจะใช่ H-Bomb เพราะเบาเกินไปCYAleJ0UsAcDcIQ
  • 11:00 มีการเปรียบเทียบลักษณะของ  p-wave ของการทดลองนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือครั้งนี้ (สัเขียว) ว่าคล้ายกับการทดลองเมื่อปี 2013 (สีแดง)CYAstzwUMAQAgki
  • 10:33 ข่าว ตปท ยืนยันแผ่นดินไหว 5.1 ในเกาหลีเมื่อ 08:30 ที่ผ่านมา เป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดิน และทางเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นชนิด H-Bomb
  • 09:56 ความเร็วลมสุริยะเพิ่มขึ้นถึง 621 กม/วินาที มีแนวโน้มทำให้จะเกิดพายุแม่เหล็กในสนามแม่เหล็กโลก (ไม่มีอันตราย) นักท่องเที่ยวที่รอชมแสงออโรรา เตรียมตัวชมace-mag-swepam-24-hour-20160106-0956
  • 09:00 กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเชียงใหม่ของ IRIS แบบ High Gain แสดงให้เห็นว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินแน่นอน ต่างจากกราฟแบบ Broadband  ที่แสดงค่าผิด plot_fCHTO.IU.10.BHZ-20160106
  • 08:30 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 พิกัด41.29°N 129.04°E ประเทศเกาหลีเหนือ ดูจากกราฟแผ่นดินไหวในครั้งแรกจะพบว่ามันดูไม่เหมือนการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินเพราะมีรอยหยักเล็กนำหน้ามาก่อน ปกติจะเกิดเส้นชันในครั้งแรกเลย ภายหลังพบว่า ทางเกาหลีเหนืออ้างว่าเป็นการทดลองนิวเคลียร์ชนิด H-Bomb ซึ่งต้องมีการระเบิด 2 รอบ จึงมีลักษณะกราฟดังภาพ) ด้านล่างสุดเป็นตัวอย่างกราฟแผ่นดินไหวจากการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือที่ผ่านมา 3 ครั้งในปี 2006 2009 และ 2013 จะเห็นเส้นกราฟชันขึ้นทันที)gfz2016ajgmINCN-20160601-0830NK_3Tests_1
  • 07:00 กทม 24°C ดอยอินทนนท์ -2°C เชียงราย 12°C ลำปาง 12°C แม่ฮ่องสอน 12°C เชียงใหม่ 14°C เลย 14°C ตาก 18°C นครสวรรค์ 19°C โคราช 20°C พิษณุโลก 18°C หัวหิน 22°C ชัยภูมิ 19°C กระบี่ 22°C น่าน 13°C พัทยา 24°C
  • 06:00 พายุไซโคลน Ula ด้านใต้ของหมู่เกาะฟิจิอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน 06P-20160106-0600
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง /หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้wave_CMMT-050116

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:59 ได้รูปคลื่นแผ่นดินไหว จากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือวันนี้มาแล้ว รูปคลื่นนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหว MDJ ของจีน ซึ่งต่อเชื่อมกับเครือข่ายนานาชาติหรือ GSN โดยมีการคำนวนเปรียบเทียบว่ามีการทดลองนี้ประมาณเท่ากับระเบิด TNT ที่ 7,000 ตัน ซึ่งแรงกว่าการทดสอบครั้งที่แล้วในปี 2006  (<1,000 ตัน) และ 2009 (2,200 ตัน)IC.MDJ.00.BHZ.2013.043.02.57.00.000-2013.043.03.04.00.000
  • 15:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก สลายตัวแล้ว
  • 09.57 แผ่นดินไหวขนาด mb 4.9  mb 5.1 บริเวณ ประเทศเกาหลีเหนือ  ที่ความลึก 1.00 กม. เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ที่ทั่วโลกรู้เพราะคลื่นแผ่นดินไหวใดๆที่แรงกว่า M4.5 จะแผ่ไปทั่วโลกตามปกติอยู่แล้ว แต่ลักษณะคลื่นจะต่างกัน ดูตัวอย่างด้านล่าง (รูปนี้จากการทดลองนุ้กของประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 11 เดือนพฦษภาคม ปี 1998) สีแดงคือคลื่นจากการทดลองนุ้ก สีฟ้าคือคลื่นที่มาจากแผ่นดินไหวธรรมชาติ สัญญาณชุดนี้วัดได้จากสถานีวัดแผ่นดินไหวของประเทศปากีสถาน จะเห็นคลื่นสีแดงจะมีลักษณะหัวโตตัวเล็ก คลื่นแรกที่มาถึง (Pn) จะสูงปริ๊ด แล้วคลื่นต่อๆไป (Pg,Sn,Lg) จะเล็กลง (Body Wave ใหญ่กว่า Surface wave) นี่คือคลื่นแผ่นดินไหวจากการทดลองนุ้ก ส่วนคลื่นสีฟ้าจะมีลักษณะหัว (Pn) เล็ก แล้วตัวจะมาโตทีหลัง  (Body Wave เล็กกว่า Surface wave) นี่คือแผ่นดินไหวตามปกติ Zucca5
    รูปด้านล่างคือการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่แล้วของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2006 ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด mb 4.3slide-13-728ดูให้ชัดๆเปรียบเทียบกันอีกที ดังรูปด้านล่าง ภาพบนซ้ายขวาคือคลื่อนแผ่นดินไหวจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ รูปด้านล่างซ้ายขวาคือแผ่นดินไหวธรรมชาติ (หากวัดด้วยมาตรา mb เทียบกับ Ms  จะเห็นได้ชัดเจนว่า mb ขนาด ที่วัดได้นั้น ใหญ่กว่า Ms มาก เช่นในแผ่นดินไหวของวันนี้ ขนาดวัดได้ mb 5.1 แต่ Ms ได้แค่ 4.0 เท่านั้น) slide-14-728
  • 09:30 ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA14 อยู่ห่างจากโลกที่ระยะ 0.0131 AU ในเวลานี้ (ดาวเคราะห์น้อยจะเคลื่อนที่พาดผ่านเข้ามาทางตอนเหนือของโลก และจะผ่านเหนือน่านฟ้าด้านเอเชีย เวลาประมาณ 02:25 เช้าวันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาในประเทศไทย จะอยู่ในเงาของโลกประมาณ 18 นาที) test9133
  • 05:00 พายุโซนร้อนฮาเลย์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุโซนร้อนกีโน ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)