รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

เหตุการณ์วันนี้

[stextbox id=”info”]ตามที่่มีข่าวลือเรื่องพายุสุริยะจากจุดดับที่ใหญ่กว่าโลกคือหมายเลข 1678 ซึ่งเป็นจุดดับที่เติบโตเร็วมากโดยใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงนั้น ขณะนี้จุดดับ 1678 ได้หันพ้นขอบดวงอาทิตย์ด้านที่หันหาโลกแล้ว ไม่ส่งผลใดๆโดยตรงต่อโลกทั้งสิ้น[/stextbox]

  • 22:30 ที่แย่คือกรมอุตุไทยที่ใช้ข้อมูลของญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นปรับลดระยะทางพายุ กรมอุตุไทยก็ยังไม่ได้ปรับตาม จึงออกรายงานมาแบบนี้ กดอ่าน (เส้นทางพายุเปลี่ยนทุก 3-6 ชั่วโมง)
  • 19:30 TSR ยืนยันการสลายตัวของดีเปรสชัน 02W แต่ทางญี่ปุ่นซึ่งประกาศว่าพายุกลายเป็นโซนร้อนและใช้ชื่อ “ซานซาน” ไปแล้วนั้น ลำดับต่อไปชื่อพายุอาจเหลื่อมกัน  (ในแผนที่จะเห็นว่าเหลือพายุไซโคลนฮารูนาเพียงลูกเดียว)TSR-220213-n
  • 19:00 ภาพจากดาวเทียม METEO-7 แสดงการขึ้นฝั่งที่มาดากัสการ์ของพายุไซโคลนฮารูนา20130222.1200.meteo7.x.vis1km_high.16SHARUNA.80kts-963mb-230S-439E.100pc
  • 19:00 JMA ปรับเส้นทางพายุใหม่ โดยคาดว่าพายุจะสลายตัวโดยไม่ขึ้นฝั่งมาเลเซียตามรายงานของทางฝรั่ง 
  • 13:00 หย่อมความกดอากาศต่ำที่คลุมไทยหายไปหมด อากาศจะเริ่มเย็นลง 
  • 11:30 เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง JMA ของญี่ปุ่น (กรมอุตุไทยใช้ข้อมูลด้านอากาศจากที่นี่) และหน่วยงาน JTWC ของสหรัฐฯ เรื่องพายุดีเปรสชัน 02W โดยทาง JMA ประกาศว่าพายุได้ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนและให้ใช้ชื่อพายุว่า “ซานซาน” และทิศทางพายุจะเคลื่อนไปทางประเทศมาเลเซีย ซึ่งไทยก็ประกาศไปตามนั้น แต่ทาง JTWC และ TSR ของอังกฤษ กลับระบุว่าพายุจะอ่อนกำลังลงและสลายตัวในวันนี้ โดยเฉพาะ JTWC นำข้อมูลพายุออกจากการเฝ้าระวังไปแล้ว  (พายุลูกนี้ทางฟิลิปปินส์ใช้ชื่อว่า Crising ตามระบบตั้งชื่อของตนหรือ PAGASA)1302-00-220213
  • 11:00 กรมอุตุออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 กดอ่าน
  • 07:30 มีการเผยแพร่ภาพฝนตกเป็นไฟบนดวงอาทิตย์ ตามนี้ โดยเป็นภาพที่นำมาจากเว็บของ NASA เป็นการปะทุและเกิดโพรมิแนนซ์บนดวงอาทิตย์ในวันที่ 19 ก.ค. 2554 (ปีที่แล้ว) และวงโค้งของโพรมิแนนซ์สลายตัวจากแรงดึงดูดจึงเกิดเปลวไฟแยกเป็นจุดๆตกลงบนผิวดวงอาทิตย์เหมือนฝนตก เป็นภาพที่หาดูได้ยาก
  • 05:00 NASA จับตาบริเวณจุดดับ 1678 ซึ่งขยายขนาดอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสเกิดการปะทุที่มีระดับ M หรือ X ได้
  • 00:30 พายุไซโคลนฮารูนา ที่มาดากัสการ์ ทวีกำลังขึ้นเป็นไซโคลนระดับ CAT3 ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 185 กม/ชม 201316S-220213
  • สุรินทร์ – ล่าสุดจังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มอีก 1 อำเภอ คืออำเภอกาบเชิง รวมแล้ว 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.จอมพระ อ.รัตนบุรี อ.เขวาสินรินทร์ อ.ศรีณรงค์ อ.สำโรงทาบ อ.ท่าตูม อ.ศีขรภูมิ อ.สังขะ และอ.พนมดงรัก จำนวน 79 ตำบล 994 หมู่บ้าน ร้อยละ 46.89 ของพื้นที่ทั้งหมด ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 87,244 ครัวเรือน สำหรับพื้นที่การเกษตร ได้แก่ นาข้าวได้รับความเสียหายแล้ว 95,742 ไร่

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก USGS)

3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

  1. สวัสดีครับ
    ผมสงสัยข้อมูลเรดาห์อากาศของ http://www2.tmd.go.th/radar ครับ ว่ามีความสอดคล้องกับเวลาจริงมากขนาดไหน ซึ่งหากผมดูเทียบกับภาพอากาศของ ม.โกชิ แล้ว ออกคนละเรื่อง เช่น ข้อมูลของ ม.โกชิ ที่ 13022206GMT ภาคใต้ฟ้าจะปิดเป็นส่วนใหญ่ แต่ภาพเรดาห์ภาคใต้ เหมือนไม่อับเดดเลยครับ

      • ต้องขออภัย ผมหมายถึง มหาวิทยาลัยโคชิ ที่ตั้งบนเกาะชิโกะกุ ประเทศญี่ปุ่น แต่อาศัยความคุ้นเคยอ่านทัพศัพท์ KOCHI

ส่งความเห็นที่ imail ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *