[stextbox id=”black”]เรื่องรังสีจักวาลคอสโม จากดาวอังคาร ให้ปิดมือถือ เป็นโจ๊กตลกที่ฝรั่งอำเล่นในวันเมษาหน้าโง่ April Fools’ Day ประจำปี 2008 และเลิกเล่นกันไปนานแล้วทั่วโลก เหลือแต่เมืองไทย ที่ยังนิยมแชร์เรื่องแย่ๆนี้กันต่อไปไม่จบสิ้น[/stextbox]
เหตุการณ์วันนี้
- 19:00 อุตุญี่ปุ่นและ JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซาที่เวียดนามแล้ว
- 17:00 ตำแหน่งล่าสุดวันนี้ของดาวหางไอซอน ระยะห่างดวงอาทิตย์ 0.923AU
- 15:00 ตำแหน่งล่าสุดของพายุทั้ง 3 ลูกใกล้บ้านเรา ดีเปรสชันกรอซา กำลังจะสลายตัวแถวเวียดนาม พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังเข้าหาฟิลิปปินส์ และดีเปรสชัน 30W ที่คาดว่าจะมีเส้นทางผ่านอ่าวไทย ค่อยๆทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนแบบช้าๆ
- 13:30 ทางการอินโดฯอพยพประชาชนหลายร้อยคน หลังภูเขาไฟ ซินาบัง ในสุมาตราปะทุอีกรอบ
- 13:00 JTWC ประกาศการสลายตัวของพายุกรอซา (ให้เป็น RMNTS) และให้พายุ 31W เป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า ไห่เยี่ยน (海燕 ภาษาจีน หมายถึงนกนางแอ่น)
- 11:00 พายุโซนร้อนกรอซา อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน คาดว่าจะสลายตัวในเวียดนาม ไม่เกิน 24 ชม ข้างหน้านี้
- 07:30 โมเดล GFS ของพายุ 30W และ 31W (ในภาพยังมีเส้นทางเดิมของ 29W อยู่) แสดงให้เห็นพายุ 30W จะเคลื่อนไปขึ้นฝั่งทางใต้ของเวียดนามผ่านกัมพูชา ลงอ่าวไทยและข้ามภาคใต้ของไทยออกไปทางอันดามัน ส่วน 31W (ไห่เยี่ยน) จะเอียงขึ้นไปทางอ่าวตังเกี๋ย [wpvp_embed type=youtube video_code=lXleL4fIt8s width=560 height=315]
- 06:30 ภาพดาวเทียมของดีเปรสชัน 30W ปกคลุมเหนือน่านฟ้าฟิลิปปินส์ในเวลานี้
- 05:00 ไต้ฝุ่นกรอซา นอกชายฝั่งเวียดนาม ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้
- 04:00 เส้นทางของดีเปรสชัน 30W คำนวนล่าสุดจาก TSR พายุจะขึ้นฝั่งเวียดนามผ่านกัมพูชาลงอ่าวไทยและผ่านภาคใต้ตอนบนไปถึงอันดามัน
- 01:30 ดีเปรสชัน 30W ขึ้นสู่ฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
- ทางการอินโดฯ อพยพคน 1,300 คนหนีการปะทุของภูเขาไฟชินนาบังในเากะสุมาตรา
- แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม
[stextbox id=”black”]ไม่มีคำว่า “ริกเตอร์” ในข่าวแผ่นดินไหวของ CNN BBC หรือญี่ปุ่น ไม่มีทั้งนั้น เพราะมันผิดหลัก มีแต่คนไทยที่ใช้ [/stextbox]
แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )
- คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้
แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.5 เป็นต้นไปจาก Geofon (วัดขนาดต่ำกว่า 4.5 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)
- แผ่นดินไหวขนาด 5.0 บริเวณ Andaman Islands ประเทศอินเดีย เมื่อเวลา 19.56 (ไทย) ที่ความลึก 27 กม. วัดค่าแบบ A
- แผ่นดินไหวขนาด 5.1 บริเวณ ทางใต้ของ มณฑลซินเจียง ประเทศจีน เมื่อเวลา 15.04 (ไทย) ที่ความลึก 20 กม. วัดค่าแบบ M
- แผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณ ประเทศไต้หวัน เมื่อเวลา 05.56 (ไทย) ที่ความลึก 10 กม. วัดค่าแบบ C
- แผ่นดินไหวขนาด 5.2 บริเวณ หมู่เกาะเซาท์แซนวิซ เมื่อเวลา 00.46 (ไทย) ที่ความลึก 58 กม. วัดค่าแบบ A
- แผ่นดินไหวขนาด 5.3 บริเวณ หมู่เกาะตองกา เมื่อเวลา 00.10 (ไทย) ที่ความลึก 212 กม. วัดค่าแบบ A