รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 8 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:20 ศูนย์กลางความหนาวจัด (สีม่วง) ในสหรัฐฯ ขยายขนาดขึ้นอีกครั้ง อุณหภูมิต่ำสุดที่มิเนโซตาขณะนี้ -28°C  us_temps_cent_640x480
  • 11:43 ภูเขาไฟซินาบุงในเกาะสุมาตรา ปะทุเขม่าอีกรอบในเวลานี้ 
  • 08:20 ศูนย์กลางความหนาวจัด (สีม่วง) ในสหรัฐฯ ลดขนาดลงเกือบหมดแล้ว อุณหภูมิต่ำสุดที่มิเนโซตาขณะนี้ -22°C us_temps_cent_640x480
  • 02:20 จุดดับขนาดใหญ่หมายเลข 1944 บนดวงอาทิตย์ปะทุขนาด X1.2 เกิด CME ในทิศทางตรงมาหาโลกเรา ประเทศในแถบละติจูดเหนือมีโอกาสได้เห็นแสงออโรราในสองสามวันนี้ ระดับพายุรังสีล่าสุดที่ S2
  • คำอธิบายเรื่องอากาศเย็นผิดปกติเวลานี้ในอเมริกา ปกติ โลกจะทีลมหมุนเย็นเหนือเส้นอาร์คติคที่ขั้วโลก (ผมเรียกลมมงกุฏ) ฝรั่งเรียก Polar Vortex อยู่แล้ว ลมนี้ปกติจะ “ถูกกัก” ไว้ด้วยลมหมุนอีกสายหนึ่ง (เส้นสีดำ) ที่เรียกว่าเจ็ทสตรีม ความผิดปกติระยะแรกคือ (1) ปีนี้ลมเจ็ทสตรีมแรงมาก กักลม Polar Vortex ไว้จนเย็นจัดและหนักมาก โดยในปีอื่นๆนั้น ลมเจ็ทสตรีมไม่แรงเท่านี้ ลม Polar Vortex ก็มีโอกาสหลุดรั่วออกมาบ้าง ไม่อัดอั้น (2) แต่ปีนี้ลมเจ็ทสตรีมแรงและกักไว้ไม่ให้รั่ว สุดท้ายลม Polar Vortex ก็หนักจนดันลมเจ็ทสตรีมให้โค้งลงมา ประกอบกับลมร้อนศูนย์สูตรปีนี้ก็ร้อนมาก ลมร้อนก็พยายามต่อสู้ (3) ผลก็คือส่วนที่โค้งที่ลงมาจาก Polar Votex โดนลมร้อนจากมหามุทร 2 สายดันขึ้น ส่วนโค้งที่เย็นก็โป่ง ลงมาในอเมริกาพอดีBdY8iGsCQAEeEGb
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 7 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:20 อุณหภูมิต่ำสุดในสหรัฐฯขณะนี้ (เวลา 03:20) คือ -32°C ที่มิเนโซตา us_temps_cent_640x480
  • 14:00 ทั่วโลกเวลานี้เหลือพายุหมุนเขตร้อนลูกเดียวคือ 07P ในแปซิฟิคใต้ ซึ่งได้รับชื่อเรียกแล้วว่า IAN ทิศทางไม่ขึ้นแผ่นดินที่ประเทศใด 
  • พายุโซนร้อน Bejisa แถวมาดาร์กัสกา และพายุโซนร้อน 01B ใกล้ศรีลังกา สลายตัวแล้ว
  • เกิดฝนตกหนัก ในหลายเมืองของซาอุดิอาระเบีย BdVMGJwCEAAWfV1
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • 14:27 แผ่นดินไหว ประเทศพม่า ขนาด 4.6 (19.97,98.00)
  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 6 มกราคม 2557

[stextbox id=”info”]ความเร็วลมเพิ่มขึ้นทุก 1 km/hr มนุษย์จะรู้สึกถึงอุณหภูมิที่ลดลงจากที่วัดตอนลมนิ่ง 0.4°C นี่คืออุณภูมิ feel like หรือ wind chill ในข่าวพยากรณ์ฝรั่ง ซึ่งต้องระวังในการอ่านข่าวเพราะมันเป็นค่า 2 ค่าไม่เท่ากัน โดยเฉพาะภัยหนาวในสหรัฐฯขณะนี้[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:55 อุณหภูมิเวลา 04:20 ในสหรัฐฯขณะนี้หนาวจัด โดยเฉพาะในรัญมิเนโซตา อุณหภูมิลดต่ำลงถึง -34°C (วัดที่ลมนิ่ง)us_temps_cent_640x480
  • 13:30 พบหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีโอกาสก่อตัวเป็นพายุหย่อมแรกของปี 2014 ที่เกาะกวม ได้ใช้หมายเลขแรกของปี คือ 90W 20140106_0632Z-vis
  • 10:40 ภูเขาไฟซินนาบุงในเกาะสุมาตรา ยังมีควันพวยพุ่งออกมาตลอดเวลา 
  • 09:00 ทั่วโลกในเวลานี้มีพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูก และเป็นพายุโซนร้อนทั้ง 3 ลูก คือ Bejisa ใกล้มาดาร์กัสกา 01B ที่ศรีลังกา และ 07P ในแปซิฟิคใต้ ทางตะวันออกของออสเตรเลีย 
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 5 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 14:00 ภาพถ่ายพายุฤดูหนาวเฮอคิวลิสจากอวกาศ พายุปกคลุมจากแคนนาดามาถึงตอนเหนือของสหรัฐฯ อุณหภูมิเย็นจัดยังเกิดขึ้นทั่วไป ทางการสหรัฐฯคาดการว่าอาจมีอุณหภูมิลดต่ำถึง -38°C ได้ในรัฐฯตอนบน ล่าสุด ยอดตายอยู่ที่ 16 รายBdM5ghZCQAADJqY
  • 06:00 พบการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดปานกลางในแปซิฟิคใต้ 
  • ภูเขาไฟชินนาบุงในเกาะสุมาตรา ปะทุรอบใหม่วานนี้ ปล่อยเถ้าขึ้นฟ้าสูงกว่า 4 กม. และมีลาวาไหลออกมาเป็นทางยาวกว่า 3 กม โดยมีการปะทุย่อยราว 50 ครั้งในวันเสาร์ที่ผ่านมา ล่าสุดมีการส่งอพยพ ปชช กว่า 2 หมื่นคนออกห่างภูเขาไฟแล้ว 420
  • สภาพหนาววิกฤตยังเกิดอยู่อย่างต่อเนื่องในแถบตะวันตกเฉียงเหนือตลอดจนด้านเหนือของอเมริกา และมีการพยากรณ์อากาศว่าชิคาโกจะได้พบสภาพอากาศที่หนาวเย็นที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา อุณหภูมิอาจลดต่ำลงใกล้ -23°C ยอดตายล่าสุดทั่วประเทศ 11 ราย และการประกาศภาวะฉุกเฉินทางภัยพิบัติในรัฐนิวยอร์คและนิวเจอซียังมีผลให้ ปชช ทุกคนอยู่แต่ในเคหสถานBdJoz1QCEAEoEJy
  • 02:03 เกิดการปะทุขนาด M4 บริเวณจุดดับ  1943 และ 1944 บนดวงอาทิตย์ jan4_2014_m4
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 4 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 โลกโคจรไปที่จุดเพอริฮีเลียน Perihelion หรือจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในปีนี้
  • 17:00 เกิดพายุโซนร้อนในซีกโลกเหนือลูกแรกของปีนี้ 01B ในอ่าวเบลกอล ทางตะวันออกของศรีลังกา 201401B
  • 08:00 พายุไซโคลน Bejisa ทางตะวันออกของมาดาร์กัสกา อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน 
  • 07:30 ดาวเคราะห์น้อย 2014 AF5 ขนาด 3-10 เมตร กำลังจะเข้าเฉียดโลกที่ระยะ 1/4 จากโลกไปดวงจันทร์
  • 06:30 กทม 20°C หาดใหญ่ 23°C ภูเก็ต 25°C สมุย 24°C เชียงใหม่ 17°C ขอนแก่น 17°C ลำปาง 16°C ลพบุรี 20°C หนองคาย 17°C แพร่ 16°C อุบล 18°C อุดร 16°C
  • เกิดเหตุพนังกั้นน้ำของแม่น้ำซีเวิร์น ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของอังกฤษพังจากระดับน้ำที่สูงมาก น้ำบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนจำนวนมาก
  • หลายรัฐในสหรัฐฯโดนพายุหิมะถล่มหนัก บางพื้นที่มีหิมะตกหนาถึง 60 เซนติเมตร รัฐนิวยอร์คและนิวเจอร์ซี่ ต่างต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน  ให้ประชาชนอยู่แต่ภายในบ้าน และปิดโรงเรียนหลายร้อยแห่ง ล่าสุดตายแล้ว 9 ราย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 3 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 ไซโคลน Bejisa เคลื่อนห่างออกจากมาดาร์กัสกา แนวโน้มอ่อนจะกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในไม่กี่ ชม ข้างหน้านี้ 
  • 06:30 กทม 19°C หาดใหญ่ 24°C สุราษฎ์ 23°C เชียงใหม่ 16°C แม่ฮ่องสอน 14°C พิษณุโลก 18°C ปราจีณ 19°C สตูล 24°C อุบล 16°C อุดร 16°C
  • นับถึงขณะนี้ กระบวนการกลับขั้วของดวงอาทิตย์ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ขั้วเหนือใต้กลับด้านกับปี 1997 กระบวนการนี้เกิดขึ้นช้าๆ ตามคลิปด้านล่างนี้ ขั้วม่วง (ลบ) และเขียว (บวก) ได้สลับด้านกันบนล่าง โดยไม่มีผลอะไรให้รู้สึกเหมือนข่าวลือต่างๆนานา [wpvp_embed type=youtube video_code=B4UtVo7-yJA width=560 height=315] 
  • เกิดอหิวาตกโรค ระบาดในประเทศไนจีเรีย ตาย 25 (ผู้ใหญ่ 22 เด็ก 3) ติดเชื้อจำนวนมาก
  • ลมสุริยะทวีความเร็วลมเกิน 600 กม/วินาทีนขณะนี้ เกิดพายุแม่เหล็กโลกที่ระดับ kp=5 ระดับโปรตอนเพิ่มสูง ประเทศแถบเหนือมีโอกาสเห็นแสงออโรรามากขึ้น
  • ประเทศอังกฤษเผชิญเหตุน้ำท่วมฉับพลัน หลังพายุหิมะพัดถล่ม จนทำให้พนังแม่น้ำหลายแห่งพังลง โดยเฉพาะพนังกั้นน้ำของแม่น้ำซีเวิร์น ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของสหราชอาณาจักร ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน โดยลมที่พัดแรง และคลื่นสูง ได้พัดเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของประเทศ ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำประสบภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่เวลส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ และไอร์แลนด์เหนือ ที่นับเป็นพื้นที่กระทบหนักที่สุด
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 2 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 09:00 Peter Rosén ถ่ายภาพแสงเหนือแรกของปีใหม่นี้ (2557) ได้ที่อุทยานแห่งชาติ Abisko ในสวีเดนfirstauroras_strip
  • 08:00 พายุไซโคลน Bejisa ทางตะวันออกของมาดาร์กัสกา ทวีกำลังจากระดับ 2 เป็นระดับ 3 ทิศทางยังไม่เป็นอันตรายกับประเทศใด 
  • 06:30 กทม 19°C หาดใหญ่ 25°C กระบี่ 23°C ลพบุรี 19°C จันทบุรี 18°Cเชียงใหม่ 15°C ลำปาง 14°C อุบล 15°C อุดร 14°C
  • 01:52 เกิดการปะทุขนาด M9.9 จากบริเวณจุดดับหมายเลข 1936 บนดวงอาทิตย์ Bc63_tYCQAAVdKH
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 มกราคม 2557

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:03 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.6 [Mw] บริเวณ ประเทศวานูอาตู ที่ความลึก 200 กม. ลึกเกินกว่าจะส่งผลใดๆ
  • 10:00 พายุไซโคลน  Bejisa  ทางตะวันออกของมาดาร์กัสกา  ทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 2 ทิศทางมุ่งลงใต้

    201306S

     

  • 06:30 ดอนเมือง 19°C หาดใหญ่ 23°C เชียงใหม่ 15°C ลำปาง 13°C นราฯ 25°C หนองคาย 14°C แพร่ 13°C พะเยา 13°C อุบล 14°C อุดร 12°C
    01:00 ดอนเมือง 21°C สุวรรณภูมิ 22°C หาดใหญ่ 26°C ภูเก็ต 25°C เชียงใหม่ 17°C อุบล 16°C นครพนม 14°C พะเยา 14°C เลย 13°C
  • 04:00 พายุโซนร้อนคริสทีนที่ออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

สรุปภัยพิบัติโลก และสัญญาณความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2013

***บทความยังไม่สมบูรณ์ กำลังอยู่ระหว่างแก้ไข

จบจากปีแห่งข่าวลือโลกแตก 2012 โดยแทบไม่มีเหตุร้ายใหญ่โตใดๆ เข้าสู่คริสตศักราช 2013 ซึ่งกลับกลายเป็นปีที่โลกต้องจดจำในสถิติภัยพิบัติต่างๆแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบหลายๆปี ทั้งพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ขณะขึ้นฝั่ง ทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในจุดที่ห่างจากรอยเลื่อนขอบทวีบ ทั้งอุกกาบาตที่เกือบทำให้เมืองใหญ่ของรัสเซีย ราบเป็นหน้ากลอง โดยหมดทางป้องกัน

ความเปลี่ยนแปลงทีละน้อยของสภาพภูมิอากาศโลกเริ่มส่งผลให้เห็น แม้ไม่ใช่สาเหตุของภัยพิบัติหลักๆทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสะสมตัวแล้วก่อผลให้แก่ภัยพิบัติในระยะยาว โดยเฉพาะภัยพิบัติในด้านภูมิอากาศเช่น พายุ คลื่นความร้อน ภัยแล้ง หรือแม้แต่ภัยหนาว ให้รุนแรงขึ้น โดย ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือ

  1. ไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ก่อตัวในอ่าวไทย)
  2. BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.ก่อตัวจากฟิลิปปินส์พร้อมไห่เยี่ยน)
  3. พายุโซนร้อนเลฮาร์ (มาจาก LPA92W ก่อตัวในอ่าวไทย ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย)
  4. พายุไซโคลนเฮเลน (จากพอดึล TD32W ก่อตัวจากฟิลิปปินส์)

ซึ่งการเป็นเช่นนี้ได้  นั่นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งอุณหภมิน้ำที่สูงขึ้นในโซนอ่าวไทย รวมทั้งร่องลม ITCZ ที่มีกำลังแรง

ปีนี้ยังมีการก่อตัวของพายุในโซนกลางแปซิฟิค มากถึง 3 ลูก (พายุโซน C) ซึ่งก็ไม่เคยมีมาในปีอื่นๆ ทั้งหมดนี้ ยังไม่เท่ากับอุณหภูมิน้ำอุ่นที่สูงถึง 31 องศาสะสมตัวปลายเดือนตุลาคม สุดท้ายก็ก่อมหาพายุไห่เยี่ยน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมขณะขึ้นฝั่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ เท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา มหาพายุนี้ได้เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในวันที่ 8 พ.ย. สร้างความย่อยยับเหลือคณานับ

ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เกิดขึ้นจากอะไร หากลงไปดูโดยข้อมูลทางลึกแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า กระแสน้ำเทอร์โมฮาลีน ซึ่งทำหน้าที่เฉลี่ยอุภหูมิของน้ำและอากาศทั่วโลก กำลังมีอาการสะดุดหรือไหลช้าลง ทำให้การเฉลี่ยความร้อนของน้ำทะเลไม่ทั่วถึง เกิดอาการแปรปรวนท ตรงที่ร้อนก็ร้อนจัด ตรงที่เย็นที่เย็นจัด ทน้ำที่ร้อยนผิดปกติ ทำให้มีการก่อตัวของพายุที่รุนแรงระดับซุปเปอร์ถึง 3 ลูกคือซุปเปอร์ไซโคลนไพลิน ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิ และซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

ปี 2013 ยังเป็นปีที่มีพายุ “เข้าไทย” ถึง4 ลูก คึอ

  1. TD 18W
  2. พายุโซนร้อนหวู่ติ๊บ
  3. พายุดีเปรสชันวิลมา** TD30W
  4. พายุดีเปรสชันพอดึล TD32W (กรมอุตุเรียกโพดอล)

ยังมีน้ำท่วมใหญ่ยุโรป ชนิดที่ประเทศที่พัฒนาถึงขีดสุดอย่างเยอรมันไม่อาจแก้ไขได้ ท่วมทั้งออสเตรีย เช็ค และอีกหลายประเทศ เกิดฝนตกเกือบพัน มม. ในไม่กี่ชม จนน้ำท่วมบนเขาสูง เกิดคลื่นสึนามิภูเขาในอินเดีย และเหตุการณ์แบบนี้ก็ไปเกิดที่เสฉวน เกิดแล้งจัดในไทย เกิดทอร์นาโดขนาด EF-5 ในโอกลาโอมา เกิดทอร์นาโดในญี่ปุ่น เกิดหิมะตกเดือนพฤษภาคมในฮอกไกโด หิมะตกเดือนธันวาในที่ๆไม่ควรมีหิมะ คือประเทศอียิปต์

ซึ่งหากสายพานลำเลี่ยงน้ำเทอร์โมฮาลีนสะดุดลงจริงๆ สภาวะวิกฤตของภูมิอากาศโลกจะมาถึง พายุขนาดรุนแรงจะเกิดบ่อยขึ้น ฝนหนักหลายร้อย มม. แบบอินเดียปีนี้ สุดท้าย มีการประมาณว่าจะพาให้โลกเกิดการก้าวเข้าสู่ LIA หรือยุคน้ำแข็งย่อย ก็อาจเป็นไปได้

ทางด้านภัยพิบัติที่ไม่เกี่ยวกับภูมิอากาศโลก ในปี 2013 ก็ยังมีอีก โดยเฉพาะในวันที่ 15 ก.พ. นั่นคือ อุกาบาต ชิลยาบินส์

ภัยนี้ไม่มีทางป้องกัน ทั้งที่เราทุกคนทั่วโลก ต่างเทความมั่นใจให้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือที่มีหน้าที่โดยตรงกับการเฝ้าดูภัยพิบัติชนิดนี้ คือหน่วยงานอวกาศของยุโรป สหรัฐฯ หรือรัสเซีย

อุกาบาต ชิลยาบินส์ มาจากดาวเคราะห์น้อยไร้ชื่อ (เพราะตรวจไม่พบ) ขนาดราว 17-20 เมตรหนัก 7,000 ตัน เข้าสู่บรรยากาศโลกที่ความเร็ว 66,960 กม/ชม ลุกไหม้จนขนาดเล็กลงหลายเท่าและระเบิดตัวเองที่ความสูง 23.3 กม เหนือเขตชิลยาบินส์ แคว้นอูราล ซึ่งได้รับการชี้แจง (แก้ตัว) ว่าเป็นเพราะดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีขนาดเล็กกว่า 20 เมตร และมืดเกินกว่าจะตรวจพบล่วงหน้า (แปลกที่ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่สุดคือ  2008 TS26  มีขนาดเพียง 1 เมตร และมีความสว่างปรากฏเพียงแมกนิจูด 32 กลับมีการตรวจพบและบันทึกชื่อไว้) แรงอัดอากาศ (ช็อคเวฟ) จากการระเบิด แม้ในอากาศระดับสูง ก่อความเสียหายต่ออาคารและผู้คนนับพันตามรายงานจากสื่อต่างๆ

แรงระเบิดจากอุกกาบาตนี้ คำนวนได้เทียบเท่าระเบิด TNT หนัก 440 กิโลตัน คำถามคือหากอุกกาบาตนี้ไม่ระเบิดตัวเองในบรรยากาศระดับสูงเสียก่อน แต่กลับตกลงถึงพื้น พลังจากอำนาจระเบิดที่รุนแรงกว่าถึง 35 เท่าเมื่อเทียบกับระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา (TNT 12.5 กิโลตัน)  จะสร้างความเสียหายให้มวลมนุษย์ชาติมากมายขนาดไหน

อีกภัยใหญ่ของปี คือแผ่นดินไหวนอกรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 7.1 ที่เกาะโบฮอล ประเทศฟิลิปปินส์ ความลึก 20 กม. แผ่นดินไหวนี้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้เกาะโบฮอลและเกาะโดยรอบอย่างมากมาย มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โครงสร้างพิ้นฐานเสียหายหมดสิ้น

ภัยแผ่นดินไหวหรืออุกกาบาตนั้น คงไม่อาจไปจัดการอะไรได้ แต่ภัยที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพโลกร้อน ซึ่งหมายถึงการต้องเร่งกวดขันพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเราท่าน ให้เอาใจใส่สภาพรอบตัวมากกว่านี ก่อนจะสายเกินไป

** วิลมา และโซไรดา เป็นชือพายุของ PAGASA หรืออุตุฟิลปปินส์
** กรมอุตุไทยไม่หาทางเรียกชื่อพายุหากพายุไม่มีความเร็วตาม WMO กำหนด แต่จะตามแบบอุตุญี่ปุ่นก็ไม่ตามทั้งหมด (ญี่ปุ่นเรียกด้วยตัวเลขเช่น 1301) อุตุไทยจึงสร้างความสับสนเวลาระบุพายุ คือเรียกว่า “พายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้” ซ้ำๆตลอดมา หากเกิด 2 ลูกพร้อมกันก็ไม่ทราบจะแยกยังไง
**JTWC ยกเลิกการเฝ้าระวังสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 31 มี.ค.
**ทุ่นสึนามิไทย 23401 เกิดเสาอากาศหลุดจากชุด BPR ในวันที่ 21 ส.ค. จวบจนสิ้นปีก็ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม

 

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 10:00 เกิดน้ำท่วมในซิมบับเว ตาย 3
  • 09:00 ไซโคลนคริสทีน ขึ้นฝั่งถล่มเมือง Pilbara ของออสเตรเลีย ฝนหนัก บ้านพัง ต้นไม้ล้ม ไฟฟ้าดับ (เครดิตภาพจาก abc news)5180416-3x2-700x467
  • 06:30  กทม 20 °C หาดใหญ่ 24 °C ภูเก็ต 24 °C เชียงใหม่ 15 °C ลำปาง 13 °C ขอนแก่น 13 °C หนองคาย 14 °C ปราจีน 20 °C อุดร 12 °C
  • ไซโคลนคริสทีน ลดกำลังจากระดับ 2 เหลือระดับ 1 หลังขึ้นฝั่งออสเตรเลีย รอรายงานความเสียหาย201305S
  • มลพิษทางอากาศในจีน แผ่ขยายมาถึงฮ่องกง
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียงหากต่ำกว่า M4.5 (จาก EMSC)