รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 1 ธันวาคม 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 08:24 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 6.5 [Mw] บริเวณ หมู่เกาะบารัต ดายา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 30 กม.
  • 08:00 ภาพจากกล้อง LASCO C3 ล่าสุด สภาพดาวหางไอซอน น่าจะเรียกได้ว่า “ตาย” ไปแล้ว หลังผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้ ส่วนหัวและหางแทบไม่มีแสงแล้ว (กดดูภาพเคลื่อนไหว) ghost_strip2
  • 07:30 กทม 24°C เชียงใหม่ 23°C เชียงราย 20°C กาญจน์ 21°C ขอนแก่น 19°C เลย 20°C ลำปาง 21°C นครพนม 20°C โคราช 20°C น่าน 20°C พะเยา 20°C ชุมพร 23°C หาดใหญ่ 24°C สตูล 24°C กำแพงเพชร 22°C ลำพูน 24°C นราธิวาส 27°C สุรินทร์ 18°C อุบล 19°C อุดร  20°C
  • 05:16 ภาพดาวเทียมย้อมสีจาก TWC  ความกดอากาศสูงปกคลุมทั่วไทย ฝนทิ้งช่วง อากาศเย็นลง 
  • ฝนสะสมหลายชั่วโมง มีน้ำป่าจากเทือกเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช ไหลลงสู่พื้นที่ราบลุ่ม 6 อำเภอ คือ นบพิตำ พรหมคีรี ลานสะกา พิปูน ฉวาง และท่าศาลา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 15:13 ความกดอากาศสูงลงปกคลุมเกือบทุกภาค อากาศเย็น แดดแรง ภาคใต้ฝนน้อยลง รอฝนระลอกใหม่จากหย่อมความกดอากาศต่ำปลายอ่าวไทย
  • 06:30 กทม 22°C ชัยภูมิ 20°C ขอนแก่น 16°C เชียงราย 19°C เชียงใหม่ 22°C ลำปาง 20°C มุกดาหาร 17°C  สกล 16°C ร้อยเอ็ด 17°C อุบล 18°C อุดร 16°C เลย 16°C
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร 
  • 07:30 กทม 26°C ชัยภูมิ 20°C เชียงใหม่ 24°C ฝนตก เชียงราย 22°C ฟ้าปิด น่าน 21°C เลย 18°C ร้อยเอ็ด 18°C หนองคาย 20°C ตรัง 27°C อุดร 19°C
  • 07:00 หย่อมความกดอากาศในพม่าต่อเนื่องถึงภาคเหนือของไทย ทำให้มีฝนตกในเชียงใหม่และอีกหลายจังหวัด 
  • 06:30 จากมุมมองของกล้อง LASCO C3 ส่วนหัวของดาวหางไอซอนที่ดูเหมือนจะเสียหายได้กลับปรากฏขึ้นเปล่งแสงอีกครั้งจากอีกด้านของแผ่นบังแสง20131128_2330_c3_512
  • 04:48 ดูเหมือนส่วนของดาวหางไอซอนที่โผล่ออกจากโลหะบังแสงของกล้องLASCO C2 จะมีแสงน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะมีความเสียหายหนักจากการโคจรเข้าประชิดดวงอาทิตย์

20131128_2148_c2_512

  • 02:15 พายุเลฮาร์ ที่อินเดียใกล้จะสลายตัวแล้ว ภาคใต้ของไทยยังมีโอกาสโดนฝนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและหย่อมความกดต่ำจากปลายอ่าวไทย 
  • 01:48 ภาพจากโปรแกรมติดตามดาวหาง ISON ณ จุดที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ISONTrack
  • 01:24 ดาวหางไอซอนหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2 จนหมด เหลือหางโผล่มาหน่อย 20131128_1824_c2_512
  • 00:37 หัวของดาวหางไอซอน เริ่มหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2 20131128_1736_c2_512
  • 00:30 หัวของดาวหางไอซอน เริ่มหายเข้าไปหลังโลหะบังแสงของกล้อง LASCO C3 20131128_1730_c3_512
  • 00:12 หัวของดาวหางไอซอน เข้าใกล้โลหะบังแสงของกล้อง LASCO C2  20131128_1712_c2_512
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]พายุไซโคลน ไต้ฝุ่น เฮอริเคน คือพายุชนิดเดียวกัน คนเราเรียกชือต่างกันเพราะสถานที่เกิดนั้น เกิดคนละมหาสมุทรกัน ก็แค่นั้น ไม่มีอะไรที่มีพลังแรงกว่าอะไร[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:28 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO 20131128_2228_c3_512
  • 21:30 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO SOHO LASCO C3-2130
  • 20:51 แผ่นดินไหว แมกนิจูด 5.6 บริเวณ ทางทิศใต้ของประเทศอิหร่าน ที่ความลึก 16.4 กม. แรงสั่นไหว หรือความเร่งสูงสุดที่ผิวโลก 16%g วัดโดย [USGS] ยอดตายเป็นทางการ 7 ราย บาดเจ็บ 72 ราย (ภาพจาก  Khaberfarsi.com)Screen-Shot-2013-11-28-at-18.39.47
  • 19:45 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHOcomet-ison-11-28-2013-soho-300x300
  • 19:30 ยอดตายจากมหาพายุไห่เยี่ยน ล่าสุดเพิ่มมาที่ 5,560 ราย
  • 15:16 พายุเลฮาร์ ขึ้นฝั่งประเทศอินเดียแล้วในเวลานี้ ซึ่งทางการอินเดียได้อพยพ ปชช กว่า 26,000 ตามแนวชายฝั่งไปอยู่ในที่ปลอดภัยก่อนหน้านี้แล้ว
  • 12:00 รัฐบาลฟิลิปปินส์ควัก 347 ล้านเปโซ (255 ล้านบาท) เปิดโครงการปลูกป่าฟื้นป่าชายเลนต้านพายุ หลังเหตุการณ์ไห่เหยี่ยน 
  • 10:00 ตำแหน่งวันนี้ของดาวหางไอซอน ที่จะยะ 0.084AU จากดวงอาทิตย์ ก่อนเข้าจุดเฉียดtest8338
  • 09:00 ตำแหน่งล่าสุดของพายุโซนร้อนเลฮาร์ที่ชายฝุ่งอินเดีย คาดว่าจะขึ้นฝั่งในช่วงค่ำของวันนี้ 
  • 07:58 ภาพดาวเทียมย้อมสี จาก TWC หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนจากปลายแหลมญวณ นำฝนเข้าถล่มภาคใต้วันนี้ ส่วนพายุเลฮาร์อ่อนกำลังลงใกล้สลายตัวที่ชายฝั่งอินเดีย
  • 07:30 ภาพล่าสุดเวลานี้ จากกล้อง LASCO C3 ของยาน SOHO  ดาวหางไอซอนกำลังพุ่งเข้าเฉียดผิวดวงอาทิตย์ วงกลมดำตรงกลางคือโลหะบังแสง เงาดำด้านบนขวาคือแขนที่เชื่อมกับแผ่นโลหะBaHtTA4CcAA349x
  • 04:00 พายุโซนร้อนเลฮาร์ลดความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางลงเหลือเพียง 40 น็อตและยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง  คาดว่าจะขึ้นฝั่งอินเดียไม่เกิน 24 ชม นี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:00 หย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดจากการสลายตัวของดีเปรสชันเอเลสเซีย ที่ชายฝั่งด้านเหนือของออสเตรเลีย กลับทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง 
  • 21:30 พายุไซโคลนเลฮาร์ ลดกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้วในเวลานี้ แนวโน้มจะอ่อนแรงลงเรื่อยๆก่อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย
  • 11:16 ภาพดาวเทียมย้อมสีล่าสุดจาก TWC ไซโคลนเลฮาร์อยู่ใกล้ฝั่งอินเดีย หย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น 
  • 10:00 ดูเหมือนว่าดาวหางไอซอนจะมีปัญหาเสียแล้ว คลิปขนาด 31MB จากยาน STEREO-A ของนาซา แสดงให้เห็นส่วนนิวเคลียสของดาวหางที่ดูเหมือนจะ “หาย” ไปอย่างกระทันหัน (ต้องโหลดไปดูแบบเต็มจอ) โดยในภาพนี้จะเห็นดาวหางอีกดวงคือ เอ็นเก้ ที่ด้านบน twocomets_strip2
  • 08:00 ทิศทางพายุเลฮาร์ จะขึ้นฝั่งอินเดียราวช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ ในสภาพของไซโคลนความแรงระดับ 1ni201305
  • 07:30 กทม 27°C ชัยภูมิ 23°C เชียงใหม่ 24°C เชียงราย 22°C สมุย 27°C ขอนแก่น 22°C หาดใหญ่ 26°C มุกดาหาร 21°C เลย 21°C น่าน 22°C พะเยา 22°C
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”black”]ขณะนี้มีสื่อปล่อยข่าวโดยใช้ชื่อพายุที่สะกดผิดๆ ตามนี้ ขอยืนยันว่าไซโคลนเลฮาร์ไม่ได้มาเข้าไทยตามที่สื่อรายนั้นลง เลฮาร์จะไปขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย ส่วนฝนปลายสัปดาห์นี้จะมาจากมรสุม ตอ เฉียงเหนือและหย่อมความกดต่ำที่มาจากปลายแหลมญวณ ไม่ใช่เลฮาร์[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 17:00 โมเดล GFS แสดงเส้นทางไซโคลนเลฮาร์ และกลุ่มฝนที่เคลื่อนจากทะเลจีนใต้เข้ามาทางภาคใต้ช่วงปลายสัปดาห์นี้  [wpvp_embed type=youtube video_code=67cbIwrDysQ width=560 height=315]
  • 16:15 ฝนตกหลายเขตใน กทม (ภาพจากเรดาร์สำนักระบายน้ำ)BKKRain-20131126-1615
  • 15:12 กลุ่มฝนจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทยพัดขึ้นถึง ภาคกลางตอนล่าง อีสานล่างและภาคตะวันออก เกิดฝนตกหลายบริเวณในเวลานี้
  • 12.12 น. เรดาร์ กทม.พบฝนตกเขตหนองแขม บางบอน เคลื่อนตัวออกสู่ อ.กระทุ่มแบน แนวโน้มคงที่
  • 12:00 ยอดความเสียหายจากไห่เยี่ยน นับถึงวันนี้ (26 พ.ย. 56) ตาย 5,240 บาดเจ็บ 25,615 สูญหาย 1,613 ไร้ที่อยู่ 659,268
  • 08:30 ทั่วโลกเหลือพายุหมุนเขตร้อนลูกเดียว คือพายุไซโคลนเลฮาร์ Lahar ในมหาสมุทรอินเดีย ทิศทางมุ่งไปอินเดีย ไม่มีผลกับไทยTSR-20131126
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556

[stextbox id=”info”]ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนไปมาก ปีนี้ ประเทศไทยกลายเป็น “ทางผ่านพายุ” ถึง 4 ลูก ไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน คือไซโคลนไพลิน (มาจาก LPA90W ในอ่าวไทย)  BOB05 (มาจากวิลมา หรือ TD30W ที่ถล่มภาคใต้ 8 พ.ย.) เลฮาร์ (มาจาก LPA92W ที่ถล่มภาคใต้ 21 พ.ย) และ เฮเลน (จากพอดึล )[/stextbox]

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 พายุดีปรสชัน Alessia ที่ประเทศออสเตรเลีย สลายตัวแล้ว
  • 17:30 พายุโซนร้อนเลฮาร์ ทางตะวันตกของหมู่เกาะอันดามัน แปรสภาพเป็นพายุไซโคลนแล้วในเวลานี้ ทิศทางมุ่งไปอินเดีย 
  • 17:00 ซินาบุง ปะทุถึง 8 ครั้งใน 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา ขณะนี้ ปชช กว่า 12,300 ราย ถูกสั่งให้อพยพออกมาแล้ว ดูกล้องสดที่นี่BZ6KHm9IYAARXne
  • 16:00 ตำแหน่งของภูเขาไฟซินาบุงในเกาะสุมาตรา ซึ่งหากการปะทุทำให้ลดแรงดันลงไปได้ก็เป็นเรื่องดี หากระเบิดขึ้นมาก็ขอให้ระดับความแรงต่ำกว่า VEI 6 เพราะหากถึง 6 จะมีสึนามิเกิดขึ้นมาได้ (จากการประเมิณน่าจะอยู่ที่ระดับ VEI 4 ไม่เกิน VEI 5)sinabung volcano - Google Maps
  • 15:00 ทางการอินโดฯยกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟซินาบุงในสุมาตราขึ้นระดับสูงสุดแล้วขณะนี้ (อ่านเนื้อข่าว BBC) ภาพจาก AP
  • 13.27 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ตามมาตราโมเมนต์ บริเวณ หมู่เกาะฟลอ์คแลนด์ ที่ความลึก 2 กม.
  • 13:30 ฝนตกเขตพระนคร ป้อมปราบฯ  นนทบุรี บางกรวย
  • 12.56 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.1 ตามมาตราคลื่นตัวกลาง บริเวณ หมู่เกาะคุริว ที่ความลึก 40 กม.
  • 12:00 ตาย 13 รายในสหรัฐฯ จากพายุฤดูหนาวในรัฐโอคลาโฮมา เท็กซัส แคลิฟอเนีย อริโซนาและนิวเม็กซิโก ในภาพเป็นต้นไม้ล้มในแคลิฟอเนียจากลมกระโชก เครดิตภาพ AP winter_storm_damage_photo
  • 08:30 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองบังกาลอร์ (ประเทศอินเดีย) จากปริมาณน้ำฝน  108 มม ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
  • 07:30 ภาพชัดๆ – การปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟเอทนา ในอิตาลี ทางการยังไม่มีคำสังอพยพ 
  • 05:09 พายุโซนร้อนเลฮาร์ เคลื่อนห่างออกไปถึงเกาะนิโคบาร์แล้ว ภาคใต้ฝนซา ฟ้าเปิด
  • ภาพการปะทุของภูเขาไฟซากุระชิมา ในญี่ปุ่น 16:30 ตามเวลาที่นั่นเมื่อวานนี้ ถ่ายจากบนรถไฟโดย @KiriJax BZ4FO7uCMAATtKD
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 20:02 ภาพดาวเทียมจาก TWC พายุโซนร้อนเลฮาร์ ในทะเลอันดามัน กำลังแปรสภาพเป็นพายุไซโคลน ทิศทางมุ่งไปอินเดีย
  • 19:00 พายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน ได้ชื่อเรียกแล้วว่า เลฮาร์ Lehar
  • 11:12 กลุ่มฝนส่วนหนึ่ง แยกตัวออกจากหย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ที่ปกคลุมภาคใต้แล้วเคลื่อนไปเป็นพายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน กลุ่มฝนส่วนน้อยนี้ ลอยขึ้นตะวันออกเฉียงเหนือมาก่อฝนตกในภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกวันนี้
  • 11.05 น. ศรีราชา (ต.สุรศักดิ์) ฝนตก
  • 11:00 ฝนตกบางแสน
  • 09:00 ยอดตาย 7 ราย หาย 20 จากพายุโซนร้อนเฮเลน ถล่มอัตรประเทศ 2 วันก่อน Odisha1--621x414
  • 08:00 กลุ่มฝนที่แยกตัวจากพายุโซนร้อน 05B เคลื่อนขึ้นเหนือมาทางภาคกลางและภาคตะวันออกในวันนี้
  • 07:57 ภาพดาวเทียมพายุโซนร้อน 05B ในอันดามัน กำลังแปรสาพเป็นพายุไซโคลน ไปอินเดีย 
  • 02:00 พายุโซนร้อน ALESSIA ขึ้นฝั่งประเทศออสเตรเลีย 201302S-20131124
  • ช่างภาพญี่ปุ่นชื่อคากายะใช้กล้อง Canon EOS 1D C ตั้งหน้ากล้อง 3 วิ ความไวแสง ISO2000 ถ่ายดาวหางไอซอนจากภูเขาไฟฟูจี เมื่อเช้าวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมาfuji_strip
  • ภูเขาไฟเอทนา ในอิตาลี ปะทุอีกรอบเมื่อไม่กี่ ชม ที่ผ่านมานี้
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • คลื่นแผ่นดินไหวจากสถานี CMMT เชียงใหม่ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556

เหตุการณ์วันนี้

  • 22:33 ถ.ประตูลอด อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราชฝนตกน้อยลง ระดับน้ำยังไม่ เครดิตภาพ @Ai_Dechtanu
    BZxC-NDCUAAve4A
  • 22:10 น้ำท่วมชุมพร ล่าสุดมีปัญหาจราจร 2 จุด คือ ถ.สาย41 (เอเซีย) กม ที่ 25-26 อ.สวี ลึก 60-70 ซม และแยกปฐมพรสูง 100 ซม
  • 22:05 ภาพดาวหางไอซอน ถ่ายไม่กี่ ชม ที่ผ่านมานี้ จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟฟริกา โดย Gerald Rhemann ผ่านกล้องดูดาว ison-231113
  • 22:00 รถทัวร์ปรับอากาศ ป.2 กทม.-ระนอง โดนกระแสน้ำพัดตะแคงอยู่ข้างทางผู้โดยสาร 30 คน ออกมาได้แล้วไม่มีคนเจ็บ (ถ.สายชุมพร-พะโต๊ะ/สื่อสาร5สายชลชุมพร)
  • 21:50 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ที่ถล่มภาคใต้ของไทย ลงอันดามันทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน 05B แล้ว กำลังจะกลายเป็นไซโคลนไปอินเดีย 201305B
  • 20:13 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ลงอันดามันไปแล้ว แต่ยังไม่วาย ทิ้งติ่งเมฆฝนไว้ให้ตกชุมพร กระบี่ และอีก 2-3 จังหวัด 
  • 12:30 สื่อฟิลิปปินส์ รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,233 รายแล้ว
  • 11:30 คลองท่าดี นครศรีธรรมราช น้ำล้นตลิ่งหลายจุด
  • 11:23 ภาพภายใน อ.ชะอวด มีน้ำท่วงขังระดับ 30 ซ.ม. เครดิตคุณ นาตา เฟียส์ 1441420_253493208136999_1364808703_n
  • 11:15 คลองนาท่อม บ้านท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง น้ำล้นตลิ่ง 66 ซม
  • 11:00 ขณะนี้ มีสะพานขาด บริเวณ ม.9 ต.นาเหรง อ.นบพิตำ ถ.ท่าพุด-ยอดเหลือง รถไม่สามารถสัญจรได้ Cr.ธนัชทัศน์ E29PQK via @PrachaRuamchai  1470204_253490644803922_985064649_n
  • 10:40 บ้านพอน ถลาง ภูเก็ต ฝนตกหนักมาก มีลมแรง
  • 09:59 สาย 403 ทุ่งสง-ห้วยยอด สัญจรได้ช่องทางเดียว เนื่องน้ำท่วมขัง
  • 09:30 ท่าศาลา นครศรี ฝนยังตก ถนนบางสายน้ำเริ่มข้ามถนนแล้ว
  • 05:00 ประกาศเตือนภัย- ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ฉบับที่ 16 กดอ่าน
  • 02:00 พายุเฮเลน ที่อินเดีย สลายตัวแล้ว
  • กรุงชิง นบพิตำ นครศรีสิกฤติถนนสะพานถูกตัดขาดอย่างน้อย 3 สายประชาชนกว่า 100 ครัวเรือนยังอพยพไม่ได้
  • NDRRMC รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไห่เยี่ยนล่าสุดที่ 5,209 ราย
  • เกิดน้ำท่วมเากะ Rhodes ของกรีซ สญหาย 2 ราย
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่งเจ็ดโมงเช้าบ่ายโมงหนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ (มีปัญหาในการรายงานค่าความลึก )

  • ยังไม่มีเหตุการณ์

แผ่นดินไหวทั่วโลก ขนาดใหญ่กว่า M4.0 เป็นต้นไปจาก EMSC (วัดขนาดต่ำกว่า 4.0 ได้เฉพาะในบริเวณยุโรปและใกล้เคียง)

มหาพายุไห่เยี่ยน

**แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อมีการสอบเทียบกับสำนักอุตุฯหลายแห่งใหม่หลังผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ค่าความเร็วลมสูงสุดของพายุไห่เยี่ยนคลาดเคลื่อนไป ค่าที่แท้จริงคือความเร็วลมที่ 315 กม./ชม ความกดอากาศ 895 hPa ข้อมูลในบทความนี้ให้แก้ไขตามนี้

มหาพายุไห่เยี่ยน – ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น”ชนิดขึ้นฝั่ง” ที่มีพลังสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ตั้งแต่มีการตั้งชื่อและติดตามพายุเป็นรูปแบบ

ปีพายุ 2013[1] คือปีที่โลกต้องจดจำ หลังจากที่มีการประกาศไปก่อนแล้วว่าซุปเปอร์ไต้ฝุ่น[2]อุซางิ ที่เข้าฮ่องกงช่วงวันที่ 20 กันยายน ถือเป็นมหาพายุที่มีพลังสูงสุดในโลกประจำปีนี้ แล้วจู่ๆ ก็มีพายุทรงพลังแบบที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อนได้ปรากฏขึ้นมา เบียดซุปเปอร์ไต้ฝุ่นอุซางิชิดซ้าย และทำลายสถิติมหาพายุลูกที่ขึ้นหิ้งอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ปี 1969 คือซุปเปอร์เฮอริเคนคาไมล์ แม้แต่เนชันแนลจีโอกราฟฟิคถึงกับประมาณพลังของซุปเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน[3] หรือ โยลันดา[4] ว่ามีพลังเท่ากับเฮอริเคนแซนดี้บวกกับเฮอริเคนแคทรีนาเลยทีเดียว

ยอดผู้เสียชีวิตจากมหาพายุไห่เยี่ยนล่าสุดอยู่ที่ 6,340 ราย สูญหาย 1,061  ราย (ยอดยืนยัน) ทรัพย์สินเสียหาย 2,860 ล้านเหรียญ

การก่อตัว

พายุหมุนเขตร้อน ก่อตัวจากความอุ่นของน้ำทะเล (SST) ระยะความลึก 50 เมตร ที่ร้อนเกินกว่า 28°C ในภาพคืออุณหภูมิน้ำทะเลในเดือนตุลาคม จะเห็นอุณภูมิน้ำทะเลอยู่ในแถบสีม่วงคือช่วง 30°C

ผลจากน้ำอุ่นเกินขนาดที่ไหลสะสมในทะเลฟิลิปปินส์ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2013 เวลา 13:00 ทาง JTWC ได้รายงานว่าพบหย่อมความกดอากาศต่ำ 2 หย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันในทะเลฟิลิปปินส์ คือ หย่อมความกดอากาศต่ำ  98W และหย่อมความกดอากาศต่ำ  99W หย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 นี้พัฒนาตัวอย่างรวดเร็ว (ทาง PAGASA นับลำดับของหย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 หย่อม โดยลำดับของตัวเองเป็น WP91 และ WP92) เวลา 18:00 ของวันที่ 3 พ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำทั้ง 2 หย่อมทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ซึ่งได้รับหมายเลขลำดับว่า 30W และ 31W ทางอุตุนิยมฯฟิลิปปินส์หรือ PAGASA ให้ชื่อเรียกพายุดีเปรสชัน TD 30W ว่า  วิลมา ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนเข้าอ่าวไทย ถล่มระยอง เลยเข้าประจวบ เพชรบุรี เกิดน้ำป่า ต้นไม้ล้ม จากนั้นก็ข้ามฝั่งลงอันดามัน ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดีย (สื่อไทยที่ชอบมั่ว ไปเรียกวิลมาว่าเป็นไห่เยี่ยน)

แต่พายุดีเปรสชัน TD 31W ต่างหาก ที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ ดีเปรสชันนี้ ทาง PAGASA ให้ชื่อเรียกว่าโยลันดา หรือที่เราทั้งหลายเรียกว่า ไห่เยี่ยน

วันที่ 4 พ.ย. เวลา 13:00 ทาง JTWC ยกระดับโยลันดาหรือไห่เยี่ยน ให้เป็นพายุโซนร้อน TS 31W ขณะที่วิลมา TD 30W ยังคงเป็นพายุดีเปรสชันตามเดิม

ในวันนี้วิลมาซึ่งเคลื่อนที่เร็วได้ขึ้นฝั่งฟิลิปปินส์ไปก่อน ซึ่งเป็นเรื่องเล็กๆของคนที่นั่นกับพายุระดับดีเปรสชัน แต่สิ่งที่น่ากลัวรออยู่ นั่นคือโยลันดาหรือไห่เยี่ยน  ซึ่งเคลื่อนที่ช้ามาก เหมือนสะสมพลังงานความร้อนจากทะเล ที่จะทวีกำลังตัวเอง และสุดท้าย..มันก็ทำสำเร็จ

วันที่ 5 พ.ย. เวลา 13:00 พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ทางสถาบัน TSR ที่ลอนดอน ประเมินไห่เยี่ยนว่าจะมีพลังแค่ไต้ฝุ่นระดับ 3 แต่ยังไม่ทราบเส้นทางหลังลงทะเลจีนไต้ และได้ออกคำเตือนไปยังเกาะต่างๆในแถบไมโครนีเซีย รวมถึง แย็ปและปาเลา ในทางผ่านพายุ วันที่ 6 พ.ย เวลา 00:13 ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ทวีกำลังกลายสภาพเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2 และยังคงทวีกำลังอย่างรวดเร็ว ช่วงเช้าทวีกำลังขึ้นเป็นระดับ 3   และช่วงหัวค่ำ ก่อน 20:00 พายุไห่เยี่ยนก็กลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เคลื่อนเข้าถล่มเกาะปาเลา ในภาพอินฟราเรดด้านล่างจะเห็นตาพายุชัดเจนแม้ในยามกลางคืน

เช้าวันที่ 7 พ.ย. ไห่เยี่ยนกลายเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นสมบูรณ์แบบ นั่นคือไต้ฝุ่นพลังระดับ 5 ความเร็วลมรอบศูนย์กลางพายุ 260 กม/ชม ทิศทางยังคงมุ่งเข้าหาฟิลิปปินส์

ถึงตอนนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศอพยพคนจำนวนหลายแสน และข้อผิดพลาดก็เกิด มีคนฟิลิปปินส์จำนวนมาก ไม่ยอมอพยพ ในความเข้าใจของพวกเขา ไห่เยี่ยนก็ไม่ต่างจากไต้ฝุ่นลูกอื่นๆที่โดนมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต เป็นลมแรงที่พาพัดบ้านพัง พวกเขารับมือพายุโดยการปิดบ้านให้สนิท ไม่ให้ลมเข้าได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้หากพายุลูกนั้นเป็นพายุธรรมดาและบ้านอยู่ห่างทะเล

และนรกก็มาเยือน

เช้าวันที่ 8 พ.ย. พายุไห่เยี่ยนขึ้นฝั่ง  (กดดูภาพเคลื่อนไหว) ในความเร็วลมกระโชกสูงสุดถึง 314 กม/ชม ความกดอากาศที่ศูนย์กลางต่ำกว่า  858 hPa ทำลายสถิติพายุหมุนเขตร้อนชนิดขึ้นฝั่งทุกลูกเท่าที่มีการบันทึกตัวเลขมา (แรงถึง 8.1 เกินขนาด 8.0 ที่เป็นมาตรวัดสูงสุดของเทคนิคดโวแร็ค Dvorak)

ตาพายุเคลื่อนผ่านดูลัก Dulag แต่แนวลมที่รุนแรงกลับพาดผ่านตานาอวน ในภาพด้านล่างพายุเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตก และจะเห็นเมืองตาโคลบันด้านบน กระแสลมที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาในวงสีม่วงได้นำคลื่นทะเลสตอร์มเสิร์จที่รุนแรงไม่ต่างจากคลื่นสึนามิ เข้าถล่มตาโคลบันจนแหลกยับ

นี่คือคลื่นสตอร์มเสิร์จ ตัวจริงที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในภัยพิบัติครั้งนี้  [wpvp_embed type=youtube video_code=bHGhkcSbonY width=560 height=315] (ภาพบันทึกจากซามาตะวันออก ซึ่งคลื่นยังไม่แรงและสูงเท่าที่ตาโคลบัน)

 คลื่นสูงเกิน 5 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมหาศาล ตามภาพคือระดับน้ำวันที่ 6-9 พ.ย.

พื้นที่ๆเกิดความเสียหาย ตามแนวเส้นทางพายุ 

ภาพไห่เยี่ยนพร้อมตาพายุขณะจะขึ้นฝั่ง มองจากอวกาศ โดยดาวเทียม MTSAT-1RBYhrQN6CUAASSXw

หลังออกจากฟิลิปปนส์ ไห่เยี่ยนก็ไปขึ้นฝั่งเวียดนามแล้วไปสลายตัวในประเทศจีนวันที่ 11 พ.ย. ตามเส้นทางพายุนี้ (ตัวย่อดูตามหมายเหตุด้านล่าง)

วิดีโอด้านล่างนี้สรุปให้เห็นความเร็วลม พลังทำลาย และความเสียหายในวันแรก (8 พ.ย.) เฉพาะในตาโกลบัน รวบรวมโดย Josh Morgerman จาก iCycone.com  [wpvp_embed type=youtube video_code=4wrgrJwYdy8 width=560 height=315]

ข้อสรุปที่น่าห่วงในอนาคต คืออุณภูมิน้ำทะลที่สูงขึ้น ทำให้พายุรุนแรงขึ้น ตามกราฟจะเห็นความร้อนของน้ำทะเลเทียบกันหลายๆปี และนี่อาจเป็นข้อสรุปถึงหายนะจากธรรมชาติที่่ต้องมาศึกษากันต่อไปว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำจของมนุษย์หรือไม่

หมายเหตุ

  1. ฤดูพายุไต้ฝุ่น ปกติเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมไปสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนของทุกปีในปีปกติ ภายหลังสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปอาจมีพายุบางลูกเกิดก่อนและก่อตัวหลังจากเดือนที่กล่าวมาแล้วได้
  2. ลำดับของพายุเกิดขึ้นและนับตามความเร็วลม โดยก่อตัวตั้งแต่เบาสุด คือหย่อมความกดอากาศต่ำ แรงขึ้นมาเป็นพายุดีเปรสชัน แรงขึ้นมาอีกเป็นพายุโซนร้อน แรงขึ้นมาอีกก็จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งแยกชื่อเรียกไปตามที่เกิด เช่น เกิดแถวอเมริกาจะเรียกว่าเฮอริเคน เกิดในมหาสมุทรอินเดียเรียกไซโคลน เป็นต้น ในขั้นของไต้ฝุ่นนี้ จะแยกออกเป็นหลายระดับแล้วแต่มาตราของสำนักอุตุที่ติดตามพายุจะเลือกใช้ เช่นมาตราซัฟเฟอร์-ซิมปสันนั้นจะแยกไต้ฝุ่นเป็น 5 ระดับ เมื่อทวีกำลังแรงขึ้นไปจนสุด คราวนี้ก็จะกลายเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ซุปเปอร์ไซโคลน ซุปเปอร์เฮอริเคน ซึ่งถือเป็นขั้นสูงสุดของมาตราพายุทุกมาตรา
  3. ชื่อพายุไห่เยี่ยน แปลว่านกนางแอ่น ใช้ชื่อตามตารางชื่อพายุของ WMO
  4. ทางฟิลิปปินส์จะใช้ตารางชื่อพายุของตัวเอง ไล่จาก A-Z โดยไม่มีตัว X นั่นคือมี 25 ชื่อต่อปี และเผื่อไว้อีก 10 ชื่อกรณีปีนั้นมีพายุมากเกินไป
  5. หมายเลขหย่อมความกดอากาศต่ำแบบของ WMO จะขึ้นต้นด้วย 9 เสมอ เลขจะวนใช้ไปตั้งแต่ 90-99 แล้วเริ่ม 90 ใหม่ ตามด้วยตัวอักษรบอกโซนตามคำอธิบายข้อ 6
  6. ลำดับหมายเลขประจำตัวพายุ แบบของ WMO จะเริ่มนับ 01 ใหม่ทุกปีพายุ ตัวอักษรหมายถึงโซนที่เกิดพายุซึ่งมี 8 โซน คือ
    A – ทะเลอาราเบียน
    B – อ่าวเบงกอล
    C – โซนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิค
    E – โซนตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิค
    L – มหาสมุทรแอตแลนติก
    P – ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค (135E – 120W)
    S – มหาสมุทรอินเดียใต้เส้นศูนย์สูตร (20E – 135E)
    W – โซนตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค
  7. ตัวย่อชนิดพายุในภาพดาวเทียม
    LPA คือหย่อมความกดอากาศต่ำ
    TD คือ ดีเปรสชัน
    TS คือ พายุโซนร้อน
    TY คือ พายุไต้ฝุ่น
    STY คือ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น