ภาพแสดงสภาพของทุ่นเตือนสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 21 มิ.ย.59
ทุ่น 2 ตัวของประเทศอินเดียในอ่าวเบงกอลคือ หมายเลข 23228 และ 23226 ไม่ส่งสัญญาณ
ทุ่น 7 ตัวในอันดามัน มี 4 ตัวไม่ส่งสัญญาณ คือ หมายเลข 23223 23218 23217 และ 23401 (ตัวหลังนี้รับผิดชอบโดยประเทศไทย)
ทุ่น 1 ตัวคือ 23227 ส่งสัญญาณผิดเพี้ยน
เหลือทุ่นใช้งานได้ปกติ 2 ตัว คือหมายเลข 23219 และ 23220
แต่- ทุ่น 2 ตัวนี้อยู่ในระยะไกลเกินไป (ไม่อยู่ดักหน้าคลื่นสึนมิหากมีแผ่นดินไหวในบริเวณสุมาตรา)
ข้อแนะนำ- ในเหตุการณ์ลักษณะนี้ เราจะใช้สถานีตรวจระดับน้ำทะเลเกาะซาบัง ทางเหนือของสุมาตราแทน จุดนี้อยู่กั้นกลางพอดี หากเกิดสึนามิมาจากด้านเดียวกับเมื่อปี 2547 คลืนจะผ่านเกาะซาบังก่อนจะมาถึงไทย โดยมีระยะห่างราวๆ 408 กม.วัดจากซาบังถึงภูเก็ต
หากคำนวนจากความเร็วเดินทางของคลื่นสึนามิปี 2547 คือ 804 กม./ชม เราจะมีเวลาเตรียมตัวอพยพประมาณ 30 นาที แต่ในความจริงเราจะอพยพไปตั้งแต่เริ่มเตือนแผ่นดินไหวแล้ว นั่นคือจะมีเวลาเพิ่มมากขึ้นกว่า 30 นาทีในการขึ้นที่สูง
จึงถือว่ายังไม่ควรกังวลเกินไป
**** หมายเหตุ
ทุ่นเตือนสึนามิหมายเลข 23401 หยุดส่งสัญญาณประมาณเวลา 07:15 วันที่ 19 มีนาคม 59 ตามเวลาในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเสาอากาศหลุดจาก BPR