รายงานภัยพิบัติศุกร์ 18 กรกฎาคม 2568

เหตุการณ์วันนี้

  • 23:00 เกิดฝนหนักน้ำท่วมฉับพลันในเขตเคซีโอเรน (Keçiören) จังหวัดอังการา ประเทศตุรกี
  • 19:00 พายุดีเปรสชัน 09W หรือพายุหมายเลข 6 ตามวิธีเรียกแบบญี่ปุ่น หรือ Crising ตามวิธีเรียกแบบฟิลิปปินส์ มีพิกัดล่าสุดอยู่ที่ 19.3°N 122.5°E ที่ปากช่องแคบฟิลิปปินส์ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต ความกดอากาศ 991 hPa ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้ใช้ชื่อเรียกว่า “วิภา” Wipha ตามคิวการตั้งชื่อของประเทศไทย แนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ผ่านช่องแคบฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้  แล้วขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจวของจีนก่อนลงสู่อ่าวตังเกี๋ย  จากนั้นขึ้นฝั่งอีกครั้งทางตอนเหนือของเวียดนาม
  • 16:30 อาฟเตอร์ช็อกขนาด 5.1 (Mw) ลึก 10 กม. พิกัด 95.94°E 22.70°N ประเทศพม่า
  • 14:30 เรดาร์ฝน TMD ลำพูน (แบบเคลื่อนไหว) แสดงกลุ่มฝนที่ตกในภาคเหนือ ในช่วง 1 ชั่วโมง 15 นาที ที่ผ่านมา (เวลาในภาพเป็นเวลา UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)
  • 07:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W ในทะเลฟิลิปปินส์ หรือที่ JMA ยกระดับขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว (เรียกชื่อแบบฟิลิปปินส์ว่า Crising) พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 18.2°N 123.5°E ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 30 น็อต ความกดอากาศ 990 hPa พายุจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และจะได้ใช้ชื่อเรียกว่า “วิภา” Wipha ตามคิวการตั้งชื่อของประเทศไทย แนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์จากนั้นเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจวของจีนก่อน จากนั้นขึ้นฝั่งครั้งที่สามทางตอนเหนือของเวียดนาม
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในกรุงเทพฯย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในประเทศไทยย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้) จากกรมอุตุฯ
  • 06:54 กราฟแผ่นดินไหวชนิดที่ใช้ดูเวลาเกิดเหตุเป็นหลัก แสดงภาพตามแนวตั้ง (BHZ) จากสถานีเครือข่าย IRIS สาขาเชียงใหม่ (CHTO) จาก 07:00 เช้าเมื่อวานนี้จนถึงเวลานี้ เส้นกราฟตามแนวนอนเส้นละ 10 นาที แยกสีเส้นกราฟเพื่อให้ดูได้ง่าย ช่องแบ่งตามแนวตั้งช่องละ 1 นาที
  • 02:02 แผ่นดินไหวขนาด 5.2 (mb) ลึก 41 กม.พิกัด 99.22°E 0.23°S ในทะเลใกล้ชายฝั่งจังหวัดสุมาตราตะวันตก เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W ในทะเลฟิลิปปินส์ หรือที่ JMA ยกระดับขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว (เรียกชื่อแบบฟิลิปปินส์ว่า Crising) พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 17.0°N 124.7°E พายุจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และจะได้ใช้ชื่อเรียกว่า “วิภา” Wipha ตามคิวการตั้งชื่อของประเทศไทย แนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์จากนั้นเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจวของจีนก่อน จากนั้นขึ้นฝั่งครั้งที่สามทางตอนเหนือของเวียดนาม
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก JMA
  • จำนวน พิกัดตำแหน่ง ขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้
  • รมต.บริหารจัดการภัยพิบัติของรัฐพิหารในอินเดีย เผย มีผู้เสียชีวิต 33 ราย จากการถูกฟ้าผ่าในช่วงพายุฝนฟ้าคะนองของฤดูมรสุม ช่วงวันที่ 16-17 ก.ค.68 โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และแรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:45 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานีดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์เรื่องของเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว โดยแยกสีเป็นแดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)
  • 06:00 สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและเพื่อนบ้านตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาที่ตรวจวัดได้โดยกรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon เยอรมนี ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติพฤหัส 17 กรกฎาคม 2568

เหตุการณ์วันนี้

  • 18:00 เรดาร์ฝน TMD ลำพูน (แบบเคลื่อนไหว) แสดงกลุ่มฝนที่ตกในภาคเหนือ ในช่วง 1 ชั่วโมง 15 นาที ที่ผ่านมา (เวลาในภาพเป็นเวลา UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)
  • 18:00 เรดาร์ตรวจอากาศ TMD แบบเคลื่อนไหวรัศมี 240 กม.รอบสนามบินสุวรรณภูมิ แสดงกลุ่มฝนระหว่าง 1 ชั่วโมง 15 นาที ที่ผ่านมา
  • 17:00 ฝนปริมาณมากถึง 426 ม.ม. ถล่มนครควังจู (광주광역시) ประเทศเกาหลีใต้  เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ทางการต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน
  • 14:54 แผ่นดินไหวขนาด 4.7 (mb) ลึก 10 กม.พิกัด 94.39°E 23.69°N ประเทศพม่า
  • 11:28 ภูเขาไฟซากุระจิมะของญี่ปุ่น ปะทุเขม่าสูง 3,300 เมตร
  • 10:00 JMA ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W ในทะเลฟิลิปปินส์ขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน (เรียกชื่อแบบฟิลิปปินส์ว่า Crising) พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 15.0°N 127.3°E พายุจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และจะได้ใช้ชื่อเรียกว่า “วิภา” Wipha ตามคิวการตั้งชื่อของประเทศไทย แนวโน้มเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์จากนั้นเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และขึ้นฝั่งคาบสมุทรเหลย์โจวประมาณวันที่ 21 ก.ค.
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในกรุงเทพฯย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณฝนในประเทศไทยย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (07:00 วานนี้้ถึง 07:00 วันนี้) จากกรมอุตุฯ
  • 06:59 กราฟแผ่นดินไหวชนิดที่ใช้ดูเวลาเกิดเหตุเป็นหลัก แสดงภาพตามแนวตั้ง (BHZ) จากสถานีเครือข่าย IRIS สาขาเชียงใหม่ (CHTO) จาก 07:00 เช้าเมื่อวานนี้จนถึงเวลานี้ เส้นกราฟตามแนวนอนเส้นละ 10 นาที แยกสีเส้นกราฟเพื่อให้ดูได้ง่าย ช่องแบ่งตามแนวตั้งช่องละ 1 นาที
  • 05:30 เรดาร์ฝน TMD ขอนแก่น (แบบเคลื่อนไหว) แสดงกลุ่มฝนที่ตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง 1 ชั่วโมง15 นาทีที่ผ่านมา (เวลาในภาพเป็นเวลา UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)
  • 03:37 แผ่นดินไหวขนาด 7.2 (Mw) ลึก 40 กม.พิกัด 160.59°W 54.66°N ในทะเลทางใต้ของคาบสมุทรอลาสก้า
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 96W ในทะเลฟิลิปปินส์ (ทาง PAGASA ยกระดับเป็นพายุดีเปรสชั่น ให้ชื่อเรียกว่า Crising ) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 25 น็อต ความกดอากาศ 1000 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 12.7°N 129.3°E เคลื่อนตัวไปถามทิศตะวันตก มีแนวโน้มจะเข้ามาในทะเลจีนใต้และทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน (อาจได้ใช้ชื่อ “วิภา” Wipha)
  • 01:00 แผนที่อากาศจาก JMA
  • 01:00 พายุดีเปรสชั่น 01S ก่อตัวขึ้นใหม่ในมหาสมุทรอินเดียโซนซีกโลกใต้ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุ 35 น็อต ความกดอากาศ 1003 hPa พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 9.8°S 89.5°E ยังไม่มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่งประเทศใด
  • จำนวนพิกัดตำแหน่งขนาด และหมายเลข ของจุดมืด ซึ่งเป็นจุดปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์วันนี้

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • 06:52 กราฟแผ่นดินไหว ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา บันทึกจากสถานีดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ กรมอุตุฯ (กราฟนี้เน้นใช้ประโยชน์เรื่องของเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว โดยแยกสีเป็นแดงน้ำเงินสีละครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ดูง่าย ส่วนเรื่องขนาดแผ่นดินไหว กราฟนี้ไม่อาจใช้ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)
  • 06:00 สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยและเพื่อนบ้านตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาที่ตรวจวัดได้โดยกรมอุตุฯ

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon เยอรมนี ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงาน​ภัยพิบัติ​ 13 พฤษภาคม​ 2564

เหตุการณ์วันนี้

  • 19:00 พายุดีเปรสชั่น 03W ใน​ทะเล​ฟิลิปปินส์​  เคลื่อนตัวเข้าประชิดฝั่งเกาะมินดาเนาของประเทศฟิลิปปินส์ ด้วย​ความเร็ว​ลม​ใกล้​ศูนย์กลาง​พายุ​ 30 น็อต​ จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในไม่กี่ชั่วโมง​จากนี้​
  • 19:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92A ในทะเลอาหรับ ความเร้วลมใกล้​ศูนย์กลาง​ 30 น็อต​ ความกด​อากาศ​ 1000  hPa​ แนวโน้ม​เคลื่อนตัว​ขึ้น​ไปทางทิศเหนือ
  • 18:32 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 5.0 ลึก​ 114 ​ กม.พิกัด​ 145.45°E 5.56°S เกาะ​นิว​กินี ประเทศ​ปาปัว​นิ​วกินี
  • 16:42 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 6.0 (Mw)​ ลึก​ 10​ กม.​พิกัด​ 82.45°W 6.67°N ในทะเลทางใต้ของปานามา
  • 10:42 แผ่นดินไหว​ขนาด​ 4.5 (mb) ลึก​ 10​ กม.พิกัด​ 99.26°E 24.40°N มณฑล​ยูนนาน​ ประเทศ​จีน
  • 08:00 สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ​ไทยวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 4,887 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมยืนยันแล้ว 93,794 ราย เสียชีวิต​ราย​ใหม่​ 32​ ราย รวมเสียชีวิต​สะสม 518  ราย​
  • 07:00 แผนที่แสดงปริมาณ​ฝน​สะสม​ในรอบ 24 ชั่วโมง​จากศูนย์​ควบคุม​ระบบ​ป้องกัน​น้​ำ​ท่วม​ กทม
  • 05:30 ในรอบ 24 ชม. ที่ผ่านมา​ ทั่วโลก​มีประเทศ​ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโรค COVID-19 สูงสุดในวันเดียว 5 อันดับ​แรกได้แก่ อินเดีย 362,406​ ราย บราซิล​ 74,349ราย สหรัฐ​ฯ​ 32,686ราย อาร์เจนตินา​ 24,475 รายและฝรั่งเศส​ 21,498  ราย
  • 01:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 96W ที่พิกัด 7.0°N 129.9°E ใน​ทะเล​ฟิลิปปินส์​ ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น 03W ได้ชื่อ​เรียกจาก PAGASA​ ว่า Crising มีแนวโน้มทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเกาะมินดาเนาของประเทศฟิลิปปินส์ต่อไป
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง เจ็ดโมงเช้าบ่ายโมง หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานีเขื่อน​กิ่วลม จ.ลำปาง(LAMP) ของสำนักเฝ้าระวังฯ กรมอุตุฯ จากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 06:45 เช้านี้

สรุปรายการแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกทั่วโลกจาก Geofon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้ (เวลาในตารางเป็น UTC ต้องบวก 7 ชั่วโมงให้เป็นเวลาไทย)

รายงานภัยพิบัติประจำศุกร์ 14 เมษายน 60

เหตุการณ์วันนี้

  • 21:01 แผ่นดินไหวขนาด 4.1 ลึก 10 กม.จังหวัด Niigata ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรงระดับ 3 ตามมาตราชินโดะ 20170414230523395-142301
  • 18:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92B ในมหาสมุทรอินเดีย มีแนวโน้มจะกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนไปขึ้นฝั่งพม่าภายใน 96 ชั่วโมงจากนี้C9XtkJUWsAA8jG7
  • 17:50 ฝนตก อ.เถิน จ.ลำปาง ดูภาพ
  • 16:48 เรดาร์ฝนหลวงอมก๋อยแสดงกลุ่มฝนใน จ.ลำพูนและ จ.เชียงใหม่ เวลานี้ 
  • 16:16 ฝนตก จ.ศรีษะเกษ ดูภาพ
  • 16:00 หย่อมความกดอากาศต่ำ 92W ในทะเลฟิลิปปินส์ ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชัน 02W มีแนวโน้มจะขึ้นฝั่งเกาะซามาร์ใน 24 ชม.นี้ ทางอุตุฟิลิปปินส์ให้ชื่อเรียกว่า Crising02W-20170414-1500
  • 15:58 ฝนตก จ.เชียงใหม่ ภาพโดย @ying_yupajb
  • 13:00 ภาพดาวเทียมจาก JTWC แสดงหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 92W ทางตะวันออกของทะเลฟิลิปปินส์ และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังปานกลาง 92B ในอ่าวเบงกอล ทั้ง 2 ลูกมีโอกาสจะกลายเป็นพายุดีเปรสชันJTWC-20170414-1300
  • 12:53 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 5.2 ลึก 10 กม. พิกัด 43.53°E  12.10°N บริเวณคาบสมุทรอาราเบีย gfz2017hgqm
  •  07:50 ทั่วโลกยังไม่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนทุกชนิด ในทุกมหาสมุทร 
  • 04:00 พายุหมุนเขตร้อนทั่วโลกทุกลูก สลายตัวหมดแล้ว
  • 03:00 จ.ชัยภูมิ – เกิดพายุฤดูร้อนพร้อมลูกเห็บขนาดใหญ่พัดกระหน่ำหนักในพื้นที่ อ.ภักดีชุมพลนานกว่า1 ชั่วโมง ทำให้มีบ้านเรือนราษฎร ยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก โรงเลี้ยงหม่อนไหม สวนผลไม้ ชาวบ้านในหมู่บ้านโนนหว้าและโนนผักหวาน หมู่ 7ต.แหลมทอง อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเบื้องต้นได้รับความเสียหายบ้านพังเกือบทั้งหลังมากกว่า 40 หลังคาเรือน ที่มา
  • แผนที่อากาศจากกรมอุตุวันนี้ ตีหนึ่ง / เจ็ดโมงเช้า / บ่ายโมง / หนึ่งทุ่ม

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียงจากกรมอุตุ

  • กราฟแผ่นดินไหวจากสถานี อ่างเก็บน้ำสอง จ.แพร่ ของกรมอุตุจากเวลา 07:00 เมื่อวานนี้ถึง 07:00 เช้านี้
    wave_PHRA-130417

สรุปรายการแผ่นดินไหวจาก Geogon ช่วง 07:00 เมื่อวานนี้ ถึง 07:00 เช้าวันนี้