ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5
ช่วงวันสองวันนี้ มีข่าวจากสื่อต่างๆในไทย เรื่องดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ที่จะเข้าชนโลกใน 28 ปีข้างหน้า ซึ่งจะตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2040 หรือ พ.ศ. 2583 นั้น
ทางเว็บภัยพิบัติ ได้ตรวจสอบข้อมูลจาก NASA และขอชึ้แจงว่า ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ในขณะนี้ ค่าความเสี่ยงการชนกับโลก ในตารางทอริโน = 1 ในระดับสีเขียว ซึ่งแปลว่ายังไม่ควรมีความกังวลใดๆทั้งในระดับประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานรัฐฯ (อ้างอิง บทความเพิ่มเติม)
ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ได้รับการค้นพบในวันที่ 8 มกราคม 2554 ด้วยกล้อง 60 นิ้วชนิดสะท้อนแสง บนยอดเขาแคทารินา ในรัฐนเอริโซนา
ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 มีลักษณะเป็นก้อนหินแบบรี ขนาดของส่วนที่กว้างที่สุด 140 เมตร มีมวล 4 พันล้านกิโลกรัม มีแรงปะทะ 102 ล้านตัน และมีความเร็วในวงโคจร 14.67 กิโลเมตร/วินาที
จากการคำนวนในขณะนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 มีโอกาสชนกับโลกที่ 0.16% แปลว่าจะพลาดไปจากโลกสูงถึง 99.84% ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 2040
แต่ทั้งนี้ เนื่องจากเรายังไม่มีรูปแบบวงโคจรเต็มวงของ 2011 AG5 ซึ่งปกติเราต้องใช้วงโคจรเต็มวง 2 รอบเพื่อแน่ใจในการคำนวนโอกาสการเข้าชนของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ และการกำหนดรูปแบบวงโคจร จะทำในเดือนกันยายน ปี 2013 ซึ่ง ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 จะเข้ามาใกล้โลกที่ระยะ 147 ล้านกิโลเมตร
หลังจากนั้น จะมีการสังเกตช่วงการเข้า keyhole หรือ รูกุญแจ ของก้อนหินก้อนนี้ในปี 2023 ซึ่ง 2011 AG จะเข้ามาใกล้โลกมากถึงระยะ 1.6 ล้านกิโลเมตร และจะเป็นการกำหนดความแน่นอนระยะสุดท้าย เพราะหากดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 รอดรูกุญแจของมันได้ในปี 2023 นั่นแปลว่ารอบต่อไปจะเกิดการเข้าชนในความน่าจะเป็นที่สูงที่สุด และเรามีเวลา 17 ปีในการเตรียมการรับมือ
ปล. รูกุญแจ คือบริเวณที่แรงดึงดูดของโลกมีผลหักเหวงโคจรของ NEO ต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่สมมุติไว้ มีขนาดไม่กี่ไมล์ถึงไม่กี่ร้อยไมล์ และจะเป็นการสังเกตในรอบโคจรรอบสุดท้ายก่อนหน้าการเข้าชน 1 รอบ หาก NEO ไม่ผ่านเข้ารูกุญแจ การเข้าชนกับโลกในรอบต่อไปก็จะไม่เกิดขึ้น
ท่านสามารถกดดู ตารางข้อมูล และ วงโคจร จาก NASA ได้โดยตรงโดยคลิ็กที่ Link
Pingback: หลักการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย « Mr.Vop's Blog